รอผลสัมภาษณ์งาน สอง อาทิตย์

สัมภาษณ์ผ่านแล้ว แต่รอผลสัมภาษณ์จากอีกบริษัทหนึ่งอยู่

สัมภาษณ์ผ่านไปด้วยดีแต่อยากได้งานกับอีกที่มากกว่า ปัญหาหนักใจที่ไม่รู้ว่าต้องรับมือยังไง ถ้าพลาดขึ้นมาสุดท้ายอาจจะไม่ได้อะไรเลย

บางครั้งการสมัครงานก็เหมือนการสอบแอดมิชชั่น คุณจะมีบริษัทที่เป็นอันดับหนึ่งในดวงใจที่อยากเข้าไปทำงาน แต่โชคชะตาก็เล่นตลก HR โทรมาแจ้งว่าคุณผ่านสัมภาษณ์และอยากรับคุณเข้าทำงานแต่ดันไม่ใช่ที่ๆ คุณอยากเข้าจริงๆ ในขณะเดียวกันบริษัทที่อยากได้ก็ยังไม่แจ้งผลสัมภาษณ์งานเสียที ไม่กล้าปฏิเสธที่แรกไปตรงๆ เพราะไม่มั่นใจว่าจะได้งานจริงหรือเปล่า แต่จะให้บอกตรงๆ ว่ากำลังรอผลฯ อีกที่หนึ่งก็ดูเป็นการเสียมารยาท รับมือกับสถานการณ์นี้ยังไงดี?

เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ

บริษัท A = บริษัทที่อยากเข้าเป็นอันดับสอง + ได้รับออฟเฟอร์
บริษัท B = บริษัทที่อยากเข้าเป็นอันดับหนึ่ง + ยังไม่รู้ผลสัมภาษณ์
สถานการณ์ : บริษัท A โทรมาแจ้งผลสัมภาษณ์ว่าผ่าน โดยการลังดำเนินการส่งเอกสารการรับเข้าทำงาน (Job Offer) ให้กรอกเอกสารแล้วส่งกลับไปเป็นการยืนยัน ในขณะที่คุณต้องการรอผลสัมภาษณ์จากบริษัท B ที่อยากร่วมงานด้วยมากกว่า

ห้ามบอกบริษัท A เด็ดขาดว่าคุณกำลังรอผลของอีกที่หนึ่งอยู่

อาจจะฟังดูแปลก แต่ตามหลักจิตวิทยาแล้วการที่คุณซื่อสัตย์ในคำตอบและบอกบริษัท A ไปตรงๆ ว่าคุณกำลังรอผลสัมภาษณ์จากอีกที่หนึ่งอยู่นั้น เป็นการบอกนัยๆ ว่าบริษัท A ไม่ได้สลักสำคัญขนาดที่คุณจะตอบตกลงในทันที โดยที่บริษัท B ต่างหาก ที่เป็นที่ๆ คุณอยากเข้าจริงๆ หลังจากวางสายมีแนวโน้มสูงมากที่ HR จะเริ่มสัมภาษณ์คนอื่นต่อเพราะไม่อยากเสียเวลากับความไม่แน่นอนของคุณ มันคงดีกว่าที่พวกเขาจะมูฟออนและคิดว่าคุณปฏิเสธงานเสียแต่เนิ่นๆ ดีกว่าเป็นตัวสำรองหรือรับคุณมาแล้ว คุณเปลี่ยนใจไปเริ่มงานที่อื่นภายหลัง เรียกว่าเป็นการตัดไฟตั้งแต่ต้นลม

ตอบบริษัท A ไปว่าคุณต้องการเวลาในการอ่านรายละเอียด

ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่แคนดิเดตจะขอเวลาในการอ่านรายละเอียด Job Offer การให้ความสำคัญกับเอกสารเป็นเรื่องที่ควรทำ โดยคุณอาจขอเวลาอย่างน้อย 3 วัน มากสุดไม่เกิน 1 อาทิตย์เพื่อไม่ให้ผิดสังเกตุ ซึ่งสามารถเพิ่มน้ำหนักคำพูดของคุณด้วยการอ้างเหตุผลอย่างการแจ้งลาออกกับบริษัทปัจจุบันร่วมด้วยได้ การให้กรอบระยะเวลาชัดเจนนอกจากจะช่วยให้บริษัท A สบายแล้วยังเป็นการสร้าง Deadline ให้กับบริษัท B ในการแจ้งผลสัมภาษณ์อีกด้วย

โทรหาบริษัท B เพื่อติดตามผลสัมภาษณ์ทันที

หลังจากวางสายจากบริษัท A แล้ว ที่ต้องทำคือการโทรหาบริษัท B ทันทีเพื่อตามผลสัมภาษณ์ แจ้ง HR ไปว่าคุณเพิ่งได้รับออฟเฟอร์จากบริษัทหนึ่ง แต่บริษัท B คืออันดับหนึ่งที่อยากเข้า ไม่แน่ใจว่าคุณยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาหรือไม่ ถ้าใช่ HR สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้เมื่อไหร่ สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากวางสายเป็นไปได้หลายทาง แต่ที่แน่ๆ พวกเขารู้แล้วว่าอาจเสียคุณไปให้บริษัทอื่นหากไม่รีบดำเนินการให้แล้วเสร็จ

กรณีบริษัท B ตอบรับคุณเข้าทำงาน

หากพวกเขาสามารถแจ้งผลการสัมภาษณ์ได้ภายในกรอบเวลาที่คุณตั้งเอาไว้ อย่าลืมขอเอกสาร Job Offer อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อความอุ่นใจ เนื่องจากการรับปากเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอที่จะยืนยันได้ว่าเขาจะรับคุณเข้าทำงาน 100%

ทางฝั่งบริษัท A คุณสามารถโทรไปปฏิเสธงานได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องปิดบังเหตุผลอีกต่อไป หากบริษัท A ยังอยากได้ตัวคุณเข้าทำงาน พวกเขาจะเสนอ Counter Offer หรือข้อเสนอที่ดีกว่าเดิมเพื่อรั้งตัวคุณเอาไว้ ทั้งนี้ก็ขี้นอยู่กับการตัดสินใจอีกทีว่าข้อเสนอนั้นน่าสนใจมากพอที่จะทำให้คุณเปลี่ยนใจหรือไม่ แต่จำไว้ว่า คุณต้องขอบคุณที่พวกเขาสละเวลาในการสัมภาษณ์ ให้ความสนใจในโปรไฟล์ของคุณ เพราะคุณไม่รู้หรอกว่าในอนาคตอาจมีเหตุให้วนกลับมาเจอกันก็ได้ ดังนั้นอย่าตัดความสัมพันธ์ให้จบไม่สวย

กรณีบริษัท B ไม่มีความชัดเจนให้

ในกรณีที่บริษัท B ไม่สามารถตอบได้ว่าจะสามารถแจ้งผลการสัมภาษณ์ของคุณได้เมื่อไหร่ หรือมีท่าทีปฏิบัติกับคุณแปลกไป เช่น ตอบแบบส่งๆ ขอไปที ไม่อยากตอบคำถามอะไรที่เป็นประโยชน์กับคุณ หรือปล่อยให้คุณตกอยู่ในสถานการณ์คลุมเครือโดยไม่สนว่าคุณจะรู้สึกยังไง คุณสามารถรอเวลาจนถึง Deadline ที่ได้ให้ไว้กับบริษัท A ด้วยความหวังว่าพวกเขาจะติดต่อกลับ แต่ถ้าไม่ นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าคุณควรมูฟออนไปต่อกับบริษัท A ดีกว่า บางที…ความไม่ชัดเจนนั่นแหละคือความชัดเจนแล้ว

กรณีบริษัท B ติดต่อกลับมาเมื่อคุณตกลงกับบริษัท A ไปแล้ว

สถานการณ์อึดอัดใจจะเกิดขึ้นเมื่อคุณตกลงรับออฟเฟอร์จากบริษัท A ไปแล้ว แต่บริษัท B ดันติดต่อกลับมาในภายหลังว่าคุณผ่านสัมภาษณ์ ในกรณีนี้คุณต้องใช้วิจารญาณมากขึ้น เนื่องจากการตัดสินใจกลับไปยังบริษัท B อาจหมายถึงการที่ความสัมพันธ์ของคุณกับบริษัท A จะจบลงไม่ดีเท่าไหร่นัก คุณทำให้พวกเขาเสียเวลาในการเตรียมเอกสารและหยุดขั้นตอนการสรรหาบุคลากรไปโดยเปล่าประโยชน์ ทางเลือกนี้ คุณต้องแน่ใจว่า…

  • คุณรับได้ ถ้าในอนาคตการกลับมาสัมภาษณ์งานกับบริษัท A อาจมีปัญหา
  • คุณโทรปฏิเสธบริษัท A อย่างเป็นทางการและมีเหตุผล ไม่หนีหายไปเฉยๆ
  • คุณโทรแจ้งบริษํท A ทันที่ที่ตัดสินใจได้ ไม่ล่าช้าจนเกินไป

ปีที่แล้วมีช่วงเวลาที่ผมว่างมากๆ ก็เลยทำให้มีเวลาได้คุยกับเพื่อนๆที่เมืองไทยบ่อยขึ้น หนึ่งในหัวข้อที่คุยกันและมักถูกถามบ่อยๆคือ ประสพการณ์การสัมภาษณ์งานใน Canada ก็เลยคิดว่าอาจจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะน้องๆคนรุ่นใหม่ที่สนใจงาน Software Development ใน North America ก็เลยเอามาเล่าสู่กันฟัง

สิ่งแรกเลยสำหรับการสมัครงานใน Canada และ U.S. คือ Resume ซึ่งเปรียบเสมือนกับใบเบิกทางเพื่อให้ได้รับการเรียกสัมภาษณ์งาน ดังนั้นการขัดเกลา Resume เป็นสิ่งที่สำคัญอันดับต้นๆ และต้องทำออกมาให้อ่านง่าย เมื่อกวาดสายตาดูแล้ว รู้ได้ในทันทีว่าคนๆนี้น่าสนใจ ตรงตามที่เค้าต้องการ ถ้าไม่อย่างงั้นมีโอกาสสูงที่จะถูกทิ้งลงถังขยะในทันที

Resume ที่ยอมรับกันใน Canada และ U.S. ต้องไม่เอารูปถ่ายหรือข้อมูลส่วนตัวมาแสดง เพราะผิดกฏหมายเกี่ยวกับสิทธิส่วนบุคคลและความยุติธรรมในการสมัครงาน เพราะฉะนั้นไม่ว่าคุณจะมีอายุ 27 หรือ 37 คุณจะสูงแค่ไหน หรือมีหน้าตาดีขนาดไหนก็ไม่สำคัญหลังจากที่ผมย้ายเข้ามา Canada และใช้เวลาปรัปตัวอยู่เกือบเดือน ก็เริ่มค้นหางานที่น่าสนใจแล้วลงมือทำ Resume ทันที มีเพื่อนต่างชาติหลายคนแนะนำให้สมัครงานแบบหว่านแหไปเลย คือประมาณว่าส่งไปเป็นร้อยบริษัท โดยไม่ต้องสนใจว่าเราจะมีทักษะที่เค้าต้องการหรือไม่ แต่โดยส่วนตัวแล้วผมไม่เห็นด้วยกับวิธีนี้ ผมก็เลยสมัครเฉพาะงานที่ผมประเมินแล้วมีความมั่นใจว่า มีทักษะที่เค้าต้องการ และสามารถทำได้จริง

สรุปแล้วในวันนั้นผมสมัครไปแค่ 20 บริษัทเท่านั้นเอง หลังจากที่สมัครงานไปแล้วก็ต้องมานั่งรอการติดต่อกลับมาทางอีเมลล์จากบริษัทที่เค้าสนใจ และต้องการขอนัดสัมภาษณ์งาน ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ทรมานใจที่สุด เพราะใจจะว้าวุ่น กระส่ำกระสาย ลุ้นทุกวันที่ตื่นขึ้นมาในตอนเช้า ว่าจะมีอีเมลล์มาจากบริษัทเหล่านั้นบ้างมั้ยนะ

หลังจากที่รอคอยมาเป็นเวลาเกือบ 3 อาทิตย์ ผมก็ได้รับอีเมลล์ขอนัดสัมภาษณ์งานจากสองบริษัทที่ได้สมัครไป ที่สำคัญคือเป็นสองบริษัทที่อยากทำงานด้วยมากๆ วันนั้นเลยดีใจมาก นั่งจ้องอีเมลล์เดิมๆซ้ำแล้วซ้ำอีกทั้งวันเพื่อให้แน่ใจ

บริษัทแรกเป็นบริษัทที่ผลิตกล้องที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม บริษัทนี้อยู่ที่เมืองอื่นใกล้ๆกับ Vancouver บริษัทชื่อ Point Grey Research (PGR) ซึ่งผมมีประสบการณ์ตรงในการใช้กล้องของบริษัทนี้มากว่า 6 ปี ในช่วงที่ยังทำงานอยู่ที่บริษัท Seagate

บริษัทที่สองเป็นบริษัทที่พัฒนาซอฟท์แวร์สำหรับ Retail Point of Sale System ที่มีกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นธุระกิจโทรศัพท์มือถือ และผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์ทั้งใน Canada และในU.S. บริษัทนี้ชื่อ iQmetrix

ก่อนที่จะเล่าถึงประสบการณ์การสัมภาษณ์ของแต่ละบริษัท ก็ต้องขออธิบายก่อนว่ากระบวนการสัมภาษณ์งานใน Canada โดยส่วมมากแล้วก็จะมีขั้นตอนตามนี้ครับ

- สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์

- สัมภาษณ์ที่บริษัท (อาจจะมากกว่า 1 รอบ)

- เสนองานและต่อลองเงินเดือน

- เซ็นต์สัญญาจ้างงาน

เมื่อผมรู้สึกว่าพร้อมแล้ว ก็จัดการตอบอีเมลล์ไปยังบริษัทแรก เพื่อทำการนัดวันและเวลาในการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ซึ่งก็นัดใว้ประมาณสองวันถัดไป

นี่เป็นการสัมภาษณ์งานทางโทรศัพท์ครั้งแรกในชีวิตของผม และต้องพูดเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ทำให้ต้องมีการเตรียมตัวมากเป็นพิเศษ ช่วงก่อนถึงวันสัมภาษณ์ ผมก็นั่งค้นคว้า (ใช้ Google ) หาข้อมูลเพื่อหาคำแนะนำเกี่ยวกับการสัมภาษณ์งานทางโทรศัพท์ในแคนาดา ผมก็ได้เรียนรู้ว่าการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เป็นอะไรที่ดูเหมือนจะง่ายแต่ก็ไม่ง่าย เพราะเป็นการสื่อสารโดยที่แต่ละคนไม่สามารถมองเห็นการแสดงออกทางสีหน้า หรือภาษาทางกายของกันและกันได้เลย คนสัมภาษณ์จะถามคำถามทั่วๆไป แต่เค้าก็จะสังเกตุสิ่งต่างๆเหล่านี้ในระหว่างที่สนทนากัน

- การตรงต่อเวลา

- ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร

- น้ำเสียงและอัธยาศัยในระหว่างการสื่อสาร

- ความมั่นใจในการเล่าประสบการณ์การทำงาน

- ความสนใจของเราเกี่ยวกับบริษัท

เวลาเล่าประสบการณ์การทำงานให้ เรียบเรียงคำพูดให้ดี โดยใช้รูปแบบ STAR ตามนี้

- Situation : เล่าถึงสถานะการณ์ในเวลานั้นว่าเกิดอะไรขึ้น

- Task : อธิบายว่าเราเข้ามามีส่วนร่วมได้ยังไง

- Action : แล้วเราตัดสินใจหรือทำอะไรลงไป

- Result : ในท้ายที่สุด ผลลัพธ์ออกมาเป็นแบบไหน

เมื่อถึงวันที่นัดสัมภาษณ์ ผมตื่นเต้นจนนอนแทบไม่หลับ เลยตื่นแต่เช้ามาซ้อมคำพูดของตัวเองอีกรอบ ให้แน่ใจว่าพูดชัดถ้อยชัดคำ ให้เป็นธรรมชาติที่สุด และสำคัญมากๆคือ หามุมที่เงียบที่สุดในบ้าน เพื่อให้มีสมาธิในการสนทนา

พอถึงเวลา โทรศัพท์ก็ดังขึ้น การสนทนาต้องเริ่มแล้ว ถอยหลังไม่ได้แล้ว ทันทีที่รับสายก็ทักทายและแนะนำตัวออกไปอย่างเนียนๆ คำถามก็พรั่งพรูออกมา “จบจากที่ไหนมา” “เคยทำงานกับบริษัทนี้ใช่มั้ย” “ทำไมถึงสนใจอยากทำตำแหน่งนี้” “ยินยอมที่จะย้ายไปเมืองอื่นมั้ย” (เพราะอยุ่กันคนละเมือง) แล้วการสนทนาก็ใหลไปเรื่อยๆ... เป็นเวลาประมาณชั่วโมงกว่าๆ ในตอนท้ายก็ต้องถามว่าจะรู้ผลได้ตอนไหน เค้าก็บอกว่าอาทิตย์หน้าก็น่าจะรู้ผล หลังจากที่วางสาย การสัมภาษณ์ยังไม่จบสมบูรณ์ซะทีเดียว เพราะยังเหลืออีกหนึ่งขั้นตอนซึ่งถือได้ว่าเป็นวัฒนะธรรมของชาติตะวันตกจริงๆ คือการเขียนอีเมลล์ถึงคนที่เราสมภาษณ์ด้วยเมื่อกี้นี้ เพื่อแสดงความขอบคุณที่เค้าให้โอกาสเรา และเพื่อเน้นย้ำอีกรอบว่าสนใจงานตำแหน่งนี้จริงๆ แล้วหลังจากนั้นก็ถือว่าจบไปสำหรับการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับบริษัทแรก

กลับมาประเมิณตัวเอง คิดว่าทำได้ค่อนข้างดี ถึงแม้ว่าจะรู้สึกประหม่าไปหน่อยในช่วงแรกๆ เพราะเป็นครั้งแรก สิ่งที่คาใจคือคำถามที่ว่า “ช่วยเล่าเกี่ยวกับตัวเองให้ฟังหน่อย” เป็นคำถามที่ตอนนั้นไม่รู้ว่าต้องตอบแบบไหนที่ดีที่สุด ก็เลยไปค้นคว้าต่อว่าจริงๆแล้วเค้าต้องการคำตอบแบบไหนกัน ซึ่งก็ได้รู้ว่ามันคนละแบบกับที่เราตอบไปเลย ก็บอกตัวเองว่า ไม่เป็นไรเดี๋ยวเอาไปปรับปรุงสำหรับการสามภาษณ์ทางโทรศัพท์กับบริษัทที่สอง

หลังจากนั้นไม่นานผมก็ส่งอีเมลล์ไปติดต่อขอนัดวันและเวลาสำหรับการสมัภาษณ์ทางโทรศัพท์กับบริษัทที่สอง แล้วผมก็เลือกระยะเวลาให้ทิ้งห่างกันออกไปสักสองวัน เพื่อใช้เวลาสองวันนั้นในการเตรียมตัวให้พร้อม

ระหว่างที่เตรียมตัวผมก็ได้เรียนรู้ว่าการทำ script คำถาม-คำตอบ นั้นช่วยได้มากเลยทีเดียว ซึ่งผมก็ได้ทำลิสต์คำถามที่เป็นคำถามยอดนิยมที่มักจะถูกเอามาใช้ในการสัมภาษณ์งาน แล้วผมก็เรียบเรียงคำตอบให้เป็นคำพูดของตัวเองสำหรับคำถามแต่ละอัน

วัตถุประสงค์ของการทำ script ไม่ใช่เพื่อการท่องจำ แต่เป็นการฝึกฝนและสร้างความคุ้นเคย ให้เราสามารถตอบคำถามออกไปได้อย่างมั่นใจและเป็นธรรมชาติที่สุด เพราะในระหว่างการสัมภาษณ์ เราจะมีเวลาเพียงไม่กี่วินาที ในการทำความเข้าใจคำถาม ถ้าเราเตรียมตัวมาดี คำถามเหล่านี้จะไม่สามารถเซอร์ไพรส์เราได้ เพราะเรามีคำตอบรอใว้อยู่แล้ว และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ เราต้องเรียนรู้ที่จะเอาศัพท์ทางเทคนิคมาใช้บ้าง เพื่อแสดงให้เห็นถึงระดับความรู้ ความเข้าใจในสายงานของเรา เพราะหลายครั้งคนที่มาสัมภาษณ์เรา ก็ไม่ได้มีความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับสายงานของเราเท่าไหร่ สิ่งเหล่านี้จึงสามามรถสร้างความประทับใจได้ไม่น้อยเลย

และแล้วก็ถึงวันนั้นที่นัดไว้ ผมก็ตื่นตั้งแต่เช้าเหมือนเดิม เพื่อเตรียมความพร้อมเป็นครั้งสุดท้าย เมื่อถึงเวลาโทรศัพท์ก็ดัง แต่ครั้งนี้ผมไม่ได้ประหม่าเหมือนเก่าเพราะรู้แล้วว่าต้องเจอกับอะไรบ้าง การทักทายก็เป็นกันเองและเรียบเนียนกว่าเดิม ทำให้คนที่สัมภาษณ์ก็รู้สึกง่ายไปด้วย คำถามที่ถามออกมาไม่ค่อยแตกต่างไปจากคำถามใน script ที่เตรียมไว้ ทำให้ผมสามารถตอบออกไปได้อย่างเป็นธรรมชาติและมั่นใจ ส่วนไฮไลท์ของการสัมภาษณ์ในครั้งนี้คือ คนที่สัมภาษณ์ผมเค้ามีความสนใจในงานอดิเรกแบบเดียวกันกับผม ซึ่งก็คือชอบทำ DIY Electronics เหมือนๆกัน เท่านั้นแหละครับ การสนทนาของเราไหลยาวไป 2 ชั่วโมงกว่า ในช่วงท้ายๆผมก็ถามคำถามเกี่ยวกับทีมงานและบริษัท แล้วก็ถามถึงวันที่จะได้รู้ผลการสัมภาษณ์ และท้ายที่สุดที่ขาดไม่ได้คือ การเขียนอีเมลล์เพื่อแสดงการขอบคุณแก่คนที่มาสัมภาษณ์

แล้วหนึ่งอาทิตย์ก็ผ่านไป ไม่นานผมก็ได้รับอีเมลล์มาจากบริษัทแรก ด้วยความดีใจและตื่นเต้นก็รีบเปิดอ่านขึ้นมาอ่านอย่างไม่รั้งรอ อ่านไปได้สองบรรทัด เท่านั้นแหละครับ หัวใจหล่นไปอยู่ที่ตาตุ่ม เนื้อหาในอีเมลล์บอกประมาณว่า เค้าประทับใจในทักษะและประสบการณ์ของผม แต่ว่า...มีผู้สมัครอีกคนหนึ่งที่มีทักษะและประสบการณ์ดีเหมือนกัน และเค้าอยู่ที่เมืองเดียวกับบริษัทซึ่งทำให้เค้าเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า….ผมซึ่งอยู่ต่างเมือง….ใกลออกไป วันนั้นทำให้ผมได้เรียนรู้ว่า Location หรือ ตำแหน่งที่เราอยู่ เป็นปัจจัยที่สุ่มเสี่ยงมาก หากบริษัทที่สมัครไปนั้นอยู่กันคนละเมืองกับเรา

จากวันนั้นผมก็ให้เวลากับตัวเองในการสงบสติอารมณ์ แล้วก็มองต่อไปข้างหน้าว่ายังมีความหวังอยู่กับอีกบริษัท แล้วไม่นานอีเมลล์จากบริษัทที่สองก็มาถึง แต่คราวนี้ผมไม่กล้ารีบเปิดอ่าน ตั้งสติอยู่สักพักหนึ่งแล้วก็เปิดอีเมลล์ขึ้นมา อ่านไปได้สองบรรทัดเหมือนเดิม แต่คราวนี้อ่านซ้ำๆหลายรอบมาก ออกอาการเหมือนคนเป็น OCD สรุปใจความสำคัญได้ว่า... “คุณได้ไปต่อครับ” วันนั้นทั้งวันครับ...เปิดอ่านอีเมลล์แล้วนั่งยิ้มอยุ่คนเดียว

ในวันเดียวกันนั้นเองผมก็ตอบอีเมลล์กลับไปเพื่อขอนัดวันและเวลาในการสัมภาษณ์งานที่บริษัท iQmetrix

การสัมภาษณ์งานที่บริษัทในวงการไอที เป็นสิ่งที่ยากกว่าการสัมภาษณ์งานทางโทรศัพท์หลายเท่าตัวเลยทีเดียว แต่ถ้าเตรียมตัวมาดีก็ไม่ต้องกลัวครับ ซึ่งพี่ Google ก็ช่วยเราได้มากในการเตรียมตัว สิ่งที่ผมรู้ว่าต้องเจอแน่ๆ คือการแก้โจทย์ปัญหาและเขียนโปรแกรมสดๆบนกระดาน Whiteboard มันเป็นเทรนด์ที่รู้จักกันดีในวงการไอที ไม่ว่าจะเป็น Google, Microsoft, Facebook, Amazon,... สาระสำคัญมันอยู่ที่โจทย์ที่เค้าจะให้เราไปแก้นั้น ถูกเลือกหรือออกแบบมาให้ยากและไม่สามารแก้โจทย์ได้หากไม่เคยเห็นโจทย์นี้มาก่อนเลย ...แล้วผมรู้ได้ยังไง.... พี่ Google เป็นคนบอกครับ เพราะฉะนั้นทักษะในการใช้งานพี่ Google ให้มีประสิทธิภาพนั้นสำคัญมากๆ

เรามาดูกันครับว่าทำไมเค้าถึงเลือกเอาโจทย์ยากมาให้ทำ

- เค้าอยากเห็นการตอบสนองของเรา เมื่อเราเจอโจทย์ยากแล้วเราจะทำตัวยังไง

- เค้าอยากรู้ว่าเรามีทักษะในการสื่อสารแค่ไหน เค้าไม่เคยบอกว่าห้ามถามครับ เพราะเค้าคาดหวังให้เราถาม ถ้าเรารู้จักถามเราก็จะหาคำตอบได้ง่ายขึ้น

- เค้าอยากรู้ว่าเรามีความอดทนแค่ไหน เราไม่สามารถแก้โจทย์ในเวลาแค่ชั่วโมงเดียวแน่นอน อาจจะยาวถึง 3 ชั่วโมง เค้าจะดูว่าเราจะยอมแพ้กลางทางหรือว่าไปให้สุดทาง

- เค้าอยากดูด้วยว่าสไตล์การเขียนโปรแกรมของเรา อ่านง่ายแค่ไหน (Clean Code) และได้ใช้หลัการที่เป็นที่ยอมรับของสากลหรือไม่ (Design Patterns)

ส่วนตัวผมเองก็เก็บตัวทั้งวันทั้งคืน เพื่อฝึกฝนโจทย์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพราะมันมีมากมายเหลือเกิน แต่นี่คือสิ่งที่ดีที่สุดที่ผมจะทำได้ในเวลานั้น

แล้วก็ถึงวันที่ผมต้องเดินทางไปสัมภาษณ์ที่บริษัท เจอหน้าใครก็ยิ้มทักทายตลอดตั้งแต่ผู้หญิงที่อยู่ตรง Front Desk ก็บอกเค้าว่ามาสัมภาษณ์งานกับคนชื่อนี้ เค้าก็พาเราเข้าไปที่รอในห้องประชุมห้องหนึ่งที่มีกระดาน Whiteboard ใหญ่ๆสองอัน รู้ตัวทันทีว่าต้องได้สัมผัสเจ้า Whiteboard สองอันนี้แน่ๆ

พอนั่งรอสักพักก็มีคนเดินเข้ามา 3 คนซึ่งเป็นหัวหน้าทีมของแต่ละทีมที่ต้องการมาทดสอบ Candidate เมื่อเจอกันก็ตามธรรมเนียม ทักทายด้วยการจับมือกัน สอบถามเกี่ยวกับประวัติโดยทั่วไป แล้วไม่นานเราก็เข้าสู่ชั่วโมงที่รอคอย เค้าก็อธิบายโจทย์ให้ฟัง แล้วก็บอกว่าช่วยแสดงฝีมือบน Whiteboard ให้ดูหน่อย ทันทีที่ผมฟังเค้าอธิบายโจทย์จนจบ ผมแอบยิ้มและหัวเราะดังๆในใจ ….นี่มันโจทย์ที่เคยทำเมื่อสองคืนก่อนนี่นา ต้องรีบสงบสติอารมย์ไม่ให้เค้ารู้ว่าเรารู้คำตอบอยุ่แล้ว ทันใดนั้นก็แกล้งทำเป็นโง่ขึ้นมา ทำท่าทีว่าไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง แกล้งถามคำถามให้เค้ารู้สึกว่าเรามีสายตาที่เฉียบแหลมและถามได้อย่างตรงประเด็น

หลังจากที่ดึงเกมส์ใว้เป็นเวลาชั่วโมงกว่าๆ คิดว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องปล่อยอาวุธและเผด็จศึกสักที หลังจากนั้นก็ให้โอากสเค้าเข้ามาตรวจสอบความถูกต้อง เค้าก็พยายามหาจุดมาวิจารณ์เราเพราะอยากดูว่าเราเป้นคนที่สามมารถรับการวิจารย์ได้มั้ย เป็นคนมี Ego สูงแค่ไหน พอเค้าสาสมใจเค้าก็บอกว่าดีมาก แสดงความขอบคุณกันและกันที่มาสัมภาษณ์ในวันนี้ หลังจากนี้เค้าจะคุยกันในทีม แล้วจะแจ้งผลทางอีเมลล์อีกที

หลังจากวันนั้นก็รอไปได้ประมาณ 2 อาทิตย์ก็ได้รับอีเมลล์ คราวนี้ผมเปิดอีเมลล์อ่านด้วยความหวังเต็มเปี่ยม แล้วก็เป็นไปตามที่หวังเอาใว้ แล้วอาทิตย์ต่อมาผมก็เข้าไปเซ็นต์สัญญาจ้างงาน สรุปเวลาทั้งหมดที่ผมใช้ในการหางานที่ Canada ตั้งแต่เริ่มทำ Resume จนไปถึงเซ็นต์สัญญาจ้างงานก็ประมาณ 3 เดือน

หลังจากนั้นประมาณ 2 ปี ก็มีบริษัทกับเอเจนซี่ที่ติดต่อมาหาผมโดยตรงเพื่อขอสัมภาษณ์งาน แต่ขอเก็บใว้เล่าให้ฟังคราวต่อไป เพราะต้องเล่ากันอีกยาว