คำศัพท์ เกี่ยวกับ การเงิน การคลัง

มูลค่าเงินตามเวลา (Time Value of Money : TVM) คือ แนวคิดพื้นฐานด้านการเงินที่จะบอกว่า “เงิน” ในแต่ละช่วงเวลาจะมี “มูลค่า” ไม่เท่ากัน พูดง่าย ๆ คือ มูลค่าของเงินจะเปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลานั่นเอง ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถเปรียบเทียบมูลค่าของเงินในเวลาที่แตกต่างกันได้อย่างเหมาะสม

มูลค่าในอนาคต (Future Value: FV)

มูลค่าในอนาคต (Future Value : FV) คือ มูลค่ารวมของเงินต้น (มูลค่าปัจจุบัน) กับผลตอบแทนที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง โดยเราสามารถคำนวณมูลค่าของเงินในอนาคตได้ดังนี้

มูลค่าในอนาคต (FV)=  มูลค่าปัจจุบัน x (1 + อัตราผลตอบแทน)ระยะเวลา
=  PV x (1 + i)n

ตัวอย่างเช่น นำเงินจำนวน 500,000 บาทไปลงทุน โดยได้รับผลตอบแทน 8% ต่อปี อยากทราบว่าอีก 3 ปีข้างหน้า จะมีเงินเท่าไหร่

FV  =  500,000 x (1 + 0.08)3  =  629,856 บาท

ซึ่งสามารถแยกคำนวณทีละปี ได้ดังนี้
ปีที่ 1 FV  =  500,000 x (1 + 0.08)1  =  540,000 บาท
ปีที่ 2 FV  =  540,000 x (1 + 0.08)1  =  583,200 บาท
ปีที่ 3 FV  =  583,200 x (1 + 0.08)1  =  629,856 บาท

จะเห็นว่า... เงินต้นปีที่ 2 จำนวน 540,000 บาท มีผลตอบแทนของปีที่ 1 รวมอยู่ด้วย 40,000 บาท ผลตอบแทนที่ได้รับในปีที่ 2 จึงมากกว่าปีแรก (43,200 บาท เมื่อเทียบกับดอกเบี้ยปีแรก 40,000 บาท) แสดงว่าเราได้รับผลตอบแทนจากดอกเบี้ย หรือที่เรียกว่า “ดอกเบี้ยทบต้น” (Compound Interest) ด้วย

มูลค่าปัจจุบัน (Present Value : PV)

มูลค่าปัจจุบัน (Present Value : PV) คือ มูลค่า ณ วันนี้ของเงินจำนวนหนึ่งที่จะได้รับในอนาคต ซึ่งคำนวณได้จากสูตร

มูลค่าปัจจุบัน (PV)  =มูลค่าในอนาคต
หรือ PV   =FV(1 + อัตราผลตอบแทน)ระยะเวลา(1 + i)n

ตัวอย่างเช่น วางแผนจะเรียนต่อปริญญาโทในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยต้องใช้เงินประมาณ 300,000 บาท จึงนำเงินไปลงทุน คาดว่าจะได้ผลตอบแทน 7% ต่อปี อยากทราบว่าจะต้องลงทุนด้วยเงินต้นจำนวนเท่าไหร่


PV  =300,000=  213,896 บาท(1 + 0.07)5

ดังนั้น ต้องลงทุนวันนี้จำนวน 213,896 บาท และได้ผลตอบแทนอย่างน้อย 7% ต่อปี จึงจะมีเงิน 300,000 บาท ในอีก 5 ปีข้างหน้า แต่ถ้าเปลี่ยนใจจะเรียนปริญญาโทในอีก 3 ปีข้างหน้า ก็จะต้องเริ่มลงทุนด้วยเงิน 244,889 บาท [300,000 / (1 + 0.07)3] เพิ่มขึ้นถึง 30,993 บาท นั่นเป็นเพราะระยะเวลาน้อยลง จึงต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มขึ้น

จะเห็นว่า... โอกาสในการสร้างผลตอบแทนเกิดขึ้นจากระยะเวลา ดังนั้น แนวคิดเรื่องมูลค่าของเงินตามระยะเวลาจึงเป็นแนวคิดพื้นฐานที่ควรนำมาพิจารณาเสมอเมื่อมีการตัดสินใจทางการเงิน

กองทุนรวมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เปิดให้ซื้อขายหน่วยลงทุนได้เสมือนหุ้น โดยผู้ลงทุนสามารถส่งคำสั่งซื้อหรือขายผ่านโบรกเกอร์ได้เหมือนการซื้อขายหุ้นทั่วไป และเป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนที่เน้นการสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงดัชนีอ้างอิง อาทิ ดัชนีราคาหุ้น ดัชนีราคาหุ้น SET50 ดัชนีราคาตราสารหนี้​กองทุนรวมตราสารหนี้  (Fixed Income Fund)กองทุนรวมที่นำเงินไปลงทุนในตราสารหนี้ (เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ภาคเอกชน)กลุ่มหลักทรัพย์ลงทุน (Portfolio)หลักทรัพย์ทั้งหมดในความครอบครองของผู้ลงทุนรายใดรายหนึ่ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยหลักทรัพย์จำนวนตั้งแต่ 2 ชนิด หรือ 2 บริษัทขึ้นไป วัตถุประสงค์ในการสร้าง Portfolio ของผู้ลงทุนก็เพื่อกระจายความเสี่ยงในการลงทุนด้วยการกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์ของหลายกิจการ หรือหลายประเภทการจับคู่คำสั่งซื้อขายโดยอัตโนมัติ  (Automatic Order Matching : AOM)

เป็นวิธีการซื้อขายที่ผู้ซื้อและผู้ขายส่งการเสนอซื้อและเสนอขายด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเข้ามายังระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ โดยที่ระบบคอมพิวเตอร์ของตลาดหลักทรัพย์จะทำการเรียงลำดับ และจับคู่คำสั่งซื้อขายให้โดยอัตโนมัติ

1. การจัดเรียงลำดับคำสั่งซื้อขาย

เมื่อสามารถส่งคำสั่งซื้อขายเข้ามา ระบบการซื้อขายจะเก็บคำสั่งซื้อขายไว้ตั้งแต่เวลาที่ส่งคำสั่งซื้อขาย จนถึงสิ้นวันทำการ และจัดเรียงคำสั่งซื้อขายตามลำดับของราคาและเวลาที่ดีที่สุด (Price then Time Priority) โดยมีหลักการคือ

(1) คำสั่งซื้อที่มีราคาเสนอซื้อสูงที่สุดจะถูกจัดเรียงไว้ในลำดับที่หนึ่ง และถ้ามีราคาเสนอซื้อที่สูงกว่าถูกส่งเข้ามาใหม่จะจัดเรียงราคาเสนอซื้อที่สูงกว่าเป็นการเสนอซื้อในลำดับแรกก่อน และถ้ามีการเสนอซื้อในแต่ละราคามากกว่าหนึ่งรายการ ให้จัดเรียงตามเวลา โดยการเสนอซื้อที่ปรากฏในระบบการซื้อขายก่อนจะถูกจัดไว้เป็นการเสนอซื้อในลำดับก่อน

(2) คำสั่งขายที่มีราคาเสนอขายต่ำที่สุดจะถูกจัดเรียงไว้ในลำดับที่หนึ่ง และถ้ามีราคาเสนอขายที่ต่ำกว่าถูกส่งเข้ามาใหม่จะจัดเรียงราคาเสนอขายที่ต่ำกว่าเป็นการเสนอขายในลำดับแรกก่อน และถ้ามีการเสนอขายในแต่ละราคามากกว่าหนึ่งรายการให้จัดเรียงตามเวลา โดยการเสนอขายที่ปรากฏในระบบการซื้อขายก่อนจะถูกจัดไว้เป็นการเสนอขายในลำดับก่อน

2. การจับคู่การซื้อขาย (Matching)

เมื่อคำสั่งซื้อขายผ่านเข้ามาในระบบซื้อขายแล้ว ระบบซื้อขายจะตรวจสอบว่าคำสั่งนั้นสามารถจับคู่กับคำสั่งด้านตรงข้ามได้ทันทีหรือไม่ ถ้าคำสั่งนั้นสามารถจับคู่ได้ทันที ระบบก็จะทำการจับคู่ให้ แต่ถ้าคำสั่งนั้นไม่สามารถจับคู่ได้ ระบบจะจัดเรียงคำสั่งซื้อขายนั้นตามหลักการ Price then Time Priority ตามที่กล่าวข้างต้นเพื่อรอการจับคู่คำสั่งต่อไป

การซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ (Over the Counter)รูปแบบของการเจรจาเพื่อตกลงทำการซื้อขายรูปแบบหนึ่ง ทั้งนี้ ปริมาณของตราสาร และราคาที่ตกลงจะซื้อจะขายกันนั้น ขึ้นอยู่กับการตกลงกันเองระหว่างคู่ค้าทั้งสองฝ่ายการทำคำเสนอซื้อหุ้นต่อผู้ถือหุ้นทั่วไป (Tender Offer) การแจ้งแก่ผู้ถือหุ้นทุกรายถึงความต้องการที่จะซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้น โดยระบุจำนวนหุ้น ราคา และกำหนดเวลาที่ต้องการรับซื้อ โดยทั่วไปมักจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ทำคำเสนอซื้อมีวัตถุประสงค์ที่จะเข้าไปมีอำนาจควบคุมการบริหารงานของบริษัทการเสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชน (Public Offering)

 

การที่บริษัทมหาชนจำกัดนำหลักทรัพย์มาเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป โดยจะต้องกระทำผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นผู้ประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์ (Underwriter) รวมทั้งต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และต้องจัดทำหนังสือชี้ชวนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดกำไรส่วนทุนจากการขายหลักทรัพย์  ​(Capital Gain)กำไรจากการลงทุนในหลักทรัพย์ที่เกิดขึ้นจากการขายหลักทรัพย์ออกไปในราคาที่สูงกว่าราคาที่ซื้อมา

​ค่านายหน้า (Commission)

ค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ผู้ลงทุนจะต้องชำระให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นนายหน้าในอัตราที่ตกลงกันระหว่างลูกค้าและบริษัท

​เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)

มาตรการที่นำมาใช้หยุดการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นการชั่วคราว ในกรณีที่สภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์มีความผันผวนรุนแรง ราคาหลักทรัพย์โดยรวมลดลงมาเพื่อให้ผู้ลงทุนมีเวลาตรวจสอบข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการลงทุนอย่างครบถ้วน

ดอกเบี้ยค้างรับ (Accrued Interest)

ดอกเบี้ยสะสมที่เกิดจากการลงทุนในตราสารหนี้ นับจากวันจ่ายดอกเบี้ยงวดล่าสุดจนถึงวันคำนวณดอกเบี้ย

​ดัชนี SET50 (SET50 INDEX)  ​​

ดัชนีราคาหุ้นที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดทำขึ้นเพื่อใช้แสดงระดับและความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นสามัญ 50 หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตามราคาตลาดสูง และการซื้อขายมีสภาพคล่องอย่างสม่ำเสมอ

ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET INDEX)

ดัชนีราคาหุ้นที่คำนวณโดยการถัวเฉลี่ยราคาหุ้นสามัญแบบถ่วงน้ำหนักด้วยจำนวนหุ้นจดทะเบียน โดยใช้หุ้นสามัญจดทะเบียนทุกหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange)

หนังสือตราสาร ซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า "ผู้สั่งจ่าย" สั่งบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า "ผู้จ่าย" ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า "ผู้รับเงิน"

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives)

ตราสารทางการเงินที่มูลค่าหรือราคาของตราสารนั้นเกี่ยวเนื่องกับมูลค่าของสินทรัพย์ที่ตราสารนั้นอ้างอิงอยู่ (Underlying Asset) ซึ่งอาจเป็นตราสารทุน ตราสารหนี้ เงินตราต่างประเทศ สินค้าโภคภัณฑ์ หรือสินทรัพย์อ้างอิงประเภทอื่น ๆ

ตราสารหนี้ที่ไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย ​(Zero Coupon Bonds) 

ตราสารหนี้ที่ไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย (Coupon) ในช่วงอายุของตราสารนั้น ๆ โดยจะออกเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนในราคาที่ต่ำกว่าราคาหน้าตั๋ว และผู้ลงทุนจะได้รับเงินตามหน้าตั๋วเมื่อตราสารหนี้ครบกำหนดชำระ

​ตลาดการเงิน (Financial Market)

แหล่งการลงทุนและระดมทุนซึ่งแบ่งเป็นตลาดเงิน (ระยะสั้น) และตลาดทุน (ระยะยาว)

​ตลาดเงิน (Money Market)

แหล่งระดมเงินออมและให้สินเชื่อระยะสั้นที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี ตราสารทางการเงินที่ซื้อขาย ได้แก่ เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วเงินคลัง

ตลาดทุน (Capital Market)

แหล่งระดมเงินออมและให้สินเชื่อระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ซึ่งโดยปกติการหาเงินทุนสามารถกระทำได้จาก 2 แหล่ง คือ จากตลาดตราสารทุน และตลาดตราสารหนี้

​ตลาดแรก (Primary Market)

แหล่งกลางที่ผู้ต้องการระดมเงินทุนจะนำตราสารทางการเงินออกใหม่ประเภทต่าง ๆ เสนอขายให้แก่นักลงทุนทั้งที่เป็นสถาบันและประชาชนทั่วไป

ตลาดรอง (Secondary Market)

แหล่งกลางสำหรับการซื้อขายเปลี่ยนมือความเป็นเจ้าของตราสารทางการเงินที่ได้ผ่านการซื้อในตลาดแรกมาแล้

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ​(The Stock Exchange of Thailand : SET) 

จัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 เพื่อทำหน้าที่เป็นแหล่งระดมทุนระยะยาวที่มีประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์และให้บริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนควบคุมดูแลให้การซื้อขายหลักทรัพย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นระเบียบ คล่องตัวและยุติธรรม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดการซื้อขายหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518

ตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ  ​(Market for Alternative Investment : MAI)

จัดตั้งภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเป็นตลาดทางเลือกในการระดมทุนระยะยาวของธุรกิจ เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2542  โดยมีพันธกิจในการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

-  สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน

-  เติบโตอย่างยั่งยืนด้วยความโปร่งใส มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

-  เสริมสร้างเครือข่ายเพื่อความพร้อมในการแข่งขัน

ตั๋วเงินคลัง (Treasury Bill)

ตราสารหนี้ระยะสั้นไม่เกิน 12 เดือนที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออกจำหน่ายโดยวิธีประมูล โดยผู้ที่ชนะการประมูลชำระเงินในราคาส่วนลด (discount) จากราคาที่ตราไว้ เมื่อถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน ผู้ถือตั๋วเงินคลังจะได้รับเงินคืนเต็มจำนวนตามราคาที่ตราไว้

ตั๋วสัญญาใช้เงิน  (Promissory Note)​

ตราสารที่บุคคลผู้หนึ่งที่เรียกว่า "ผู้ออกตั๋ว" ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่า "ผู้รับเงิน"

นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker)

บริษัทหลักทรัพย์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ลงทุน โดยได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่านายหน้าจากผู้ลงทุนเป็นผลตอบแทน 

บัญชีเงินสด (Cash  Account)

บัญชีเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ผู้ลงทุนวางหลักประกันไว้จำนวนหนึ่ง โดยบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นนายหน้าให้แก่ผู้ลงทุนนั้น จะอนุมัติวงเงินในการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เหมาะสมกับฐานะการเงิน และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ลงทุน

​ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง  (Depository Receipt : DR)

ตราสารที่ออกและเสนอขายโดย บริษัท สยามดีอาร์ จำกัด ผู้ลงทุนที่ถือใบแสดงสิทธิฯ ดังกล่าว จะได้รับผลประโยชน์ต่าง ๆ เช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิประโยชน์ทางการเงิน (Financial Right) หรือสิทธิในการออกเสียงลงคะแนน (Voting Right) ซึ่งผู้ถือจะต้องมีสัญชาติไทย และออกเสียงลงคะแนนโดยผ่านบริษัท สยามดีอาร์ จำกัด เท่านั้น

​ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์ (Warrant)

ตราสารการเงินที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหลักทรัพย์ที่ใบสำคัญแสดงสิทธิฯ นั้นอ้างอิงอยู่ (Underlying Securities)  ในจำนวน ราคา และตามระยะเวลาที่กำหนดไว้  ซึ่งผู้ลงทุนสามารถเลือกใช้หรือไม่ใช้สิทธิได้  

ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ ​(Transferable Subscription Rights : TSR)

ตราสารทางการเงินที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่แต่ละรายถืออยู่ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท โดยผู้ถือหุ้นเดิมที่ไม่ประสงค์จะใช้สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว สามารถขายหรือโอนสิทธิให้แก่ผู้อื่นได้

ใบสำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (Non-Voting Depository Receipt : NVDR)

ตราสารประเภททุนที่ออกโดย บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด มีสถานะเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนโดยอัตโนมัติ และมีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ผู้ลงทุนสามารถซื้อขายได้ในลักษณะเช่นเดียวกับการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนทั่วไป และจะได้รับผลตอบแทนทางการเงินเช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ แต่จะไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น

​ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrant : DW)

ตราสารการเงินที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหรือขายดัชนีหลักทรัพย์ (Index) หรือหลักทรัพย์อ้างอิง (Underlying Securities) ซึ่งอาจเป็นหุ้นของบริษัทอื่น ในราคาและระยะเวลาใช้สิทธิที่กำหนดไว้ โดยบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์เป็นผู้กำหนดว่าจะเลือกการส่งมอบเป็นหลักทรัพย์หรือเงินสดก็ได้

​ผู้ค้าหลักทรัพย์ (Dealer)

สถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตทำธุรกรรมด้านการค้าตราสารหนี้จากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยทั่วไปแล้ว Dealer จะมีรายได้จากกำไรส่วนต่างระหว่างราคาซื้อ และราคาขาย (Spread)

ผู้ประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์ (Underwriter)

บริษัทหลักทรัพย์ที่ทำหน้าที่ในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ให้แก่บริษัทที่ต้องการกระจายหลักทรัพย์ให้แก่ประชาชนทั่วไป  โดยบริษัทหลักทรัพย์รายหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งทำข้อตกลงในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์กับบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์  และรับเอาหลักทรัพย์ออกมาเสนอขายต่อประชาชน

พันธบัตรหรือหุ้นกู้ (Bond) 

ตราสารแห่งหนี้ระยะยาวซึ่งผู้ออกมีข้อผูกพันตามกฎหมายที่จะชำระดอกเบี้ยและเงินต้นแก่ผู้ซื้อตามเวลาที่กำหนด  ทั้งนี้

-  ในต่างประเทศจะใช้คำว่า Bond สำหรับตราสารหนี้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (Secured Bond)  และจะใช้คำ ว่า Debenture สำหรับตราสารหนี้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (Unsecured Bond)

-  ในประเทศไทยนิยมใช้ Bond หรือพันธบัตรในการเรียกตราสารหนี้ภาครัฐ และใช้ Debenture หรือหุ้นกู้ในการเรียกตราสารหนี้ภาคเอกชน 

พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ​(BOT Bond)

ตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อใช้เป็นเครื่องมือเพื่อดำเนินนโยบายการเงิน

พันธบัตรภาครัฐ (Government Bond)

ตราสารหนี้ที่ออกโดยกระทรวงการคลังเพื่อระดมเงินทุนจากนักลงทุนและประชาชน  

มูลค่าตามบัญชี (Book Value) 

มูลค่าของหุ้นสามัญหรือมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (Net Asset Value) ตามงบดุลล่าสุดของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ที่คำนวณได้จากการนำสินทรัพย์รวมหักด้วยหนี้สินรวม (ส่วนของผู้ถือหุ้น)

ระบบไร้ใบหุ้นหรือไร้ใบหลักทรัพย์  (Scripless System)

วิธีการระบุหลักทรัพย์ที่มีอยู่ในครอบครองโดยการบันทึกข้อมูลไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ โดยไม่ต้องมีใบหุ้นที่มีลักษณะเป็นกายภาพ เช่น กระดาษ ซึ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ช่วยลดการสูญหาย การถูกทำลาย และการปลอมแปลงใบหุ้น รวมถึงสะดวกต่อการส่งมอบหลักทรัพย์หลังการซื้อขาย โดยไม่ต้องมีการส่งมอบหรือรับมอบใบหุ้นจริง เพียงแต่เป็นการโอนและรับโอนหลักทรัพย์ที่ซื้อขายกันทางบัญชีเท่านั้น  ระบบฯ พัฒนาและให้บริการโดย บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด

ระบบบาทเนท ​​(Bank of Thailand Automated High-value Transfer Network : BATHNET)

ระบบเครือข่ายทางอิเลคทรอนิกส์ของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อการรับส่งข้อความทางการเงิน และคำสั่งโอนเงินในลักษณะ on-line กันระหว่างสถาบันที่มีบัญชีเงินฝากกับธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้การโอนเงินและการติดต่อธุรกิจทางการเงินเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย

สัญญาซื้อขายฟิวเจอร์ส (Futures Contract)

สัญญาระหว่างคู่สัญญาสองฝ่ายที่ตกลงราคากัน ณ ปัจจุบัน และจะมีการส่งมอบสินทรัพย์และชำระเงินในอนาคตตามราคาที่ตกลงไว้ ไม่ว่าราคาในขณะนั้นจะเป็นเท่าไร

สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (Association of Investment Management Companies)

สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ พ.ศ. 2535 ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2537 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รวมของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทบริษัทจัดการลงทุน ในอันที่จะสร้างมาตรฐานและพัฒนาการประกอบธุรกิจ พัฒนาการลงทุนและตลาดทุนไทย รักษาผลประโยชน์และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุนในกองทุนรวม

​สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (Association of Securities Companies)

สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ พ.ศ. 2535 จดทะเบียนตามกฎหมายดังกล่าวเมื่อ 17 กันยายน 2535  มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รวมของบริษัทหลักทรัพย์ทุกประเภท ในอันที่จะร่วมมือกันและให้ความร่วมมือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ในการส่งเสริมพัฒนาตลาดทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ของไทย

สัญญาฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับดัชนี SET50 (SET50 Index Futures)

สัญญา Futures ซึ่งมีสินค้าอ้างอิงเป็น SET50 Index  โดยทำการซื้อขายในบริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (TFEX) ซึ่งผู้ลงทุนสามารถเปิดบัญชีและซื้อขายผ่านบริษัทโบรกเกอร์ที่เป็นสมาชิกของ TFEX

สิทธิจองซื้อหุ้นออกใหม่ (RIGHTS หรือ Subscription Right)​

สิทธิที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์มอบให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ในการที่จะจองซื้อหุ้นสามัญ และ/หรือหุ้นบุริมสิทธิ ที่ออกใหม่จากการเพิ่มทุนของบริษัท  โดยผู้ถือหุ้นจะได้สิทธิตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือครองอยู่

หุ้นกู้ (Debenture)

ตราสารหนี้ที่บริษัทนำออกจำหน่ายเพื่อเป็นการกู้เงินจากผู้ลงทุน หุ้นกู้จะมีกำหนดเวลาไถ่ถอนคืนที่แน่นอน โดยผู้ถือหุ้นกู้มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของบริษัท และได้รับดอกเบี้ยตอบแทนเป็นงวด ๆ ตามอัตราที่กำหนดไว้ตลอดอายุของหุ้นกู้ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยจะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับฐานะกิจการของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ และระดับอัตราดอกเบี้ยในตลาดขณะที่นำหุ้นกู้ออกจำหน่ายครั้งแรก

หุ้นกู้ชนิดทยอยคืนเงินต้น (Amortizing Debenture)​

หุ้นกู้ที่ทยอยชำระคืนเงินต้นบางส่วนให้แก่ผู้ถือ โดยกำหนดจำนวนเงินและงวดที่จะชำระไว้ล่วงหน้าในหนังสือชี้ชวน

หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (Subordinated Debenture)

หุ้นกู้ที่ผู้ถือมีสิทธิได้รับชำระคืนเงินภายหลังเจ้าหนี้ทั่วไปและภายหลังหุ้นกู้ชนิดอื่น ในกรณีที่บริษัทผู้ออกหุ้นกู้นั้นล้มละลาย

​หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture)

หุ้นกู้ประเภทที่ระบุให้สิทธิผู้ถือที่จะแปลงสภาพหุ้นกู้นั้นไปเป็นหุ้นสามัญของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้นั้นตามอัตราราคาแปลงสภาพ และเวลาที่กำหนดไว้ได้

​หุ้นกู้ภาคเอกชน  (Corporate Bond)

หุ้นกู้ที่ภาคเอกชนเป็นผู้ออกเพื่อการระดมทุนจากนักลงทุนและประชาชนทั่วไปเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการ

หุ้นกู้ไม่มีประกัน (Unsecured Bond)​

หุ้นกู้ที่ผู้ออกหุ้นกู้มิได้จัดให้มีหลักประกันเพื่อการชำระหนี้

​หุ้นกู้ระยะสั้น (Short-term Debenture)

หุ้นกู้ที่มีกำหนดเวลาชำระคืนไม่เกิน 270 วัน แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้ที่มีการจัดให้มีผู้แทนถือหุ้นกู้ หุ้นกู้ด้อยสิทธิ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ

​หุ้นกู้อนุพันธ์ (Structure Note)

ตราสารหนี้ประเภทหนึ่งที่อัตราผลตอบแทนหรือมูลค่าเงินต้นไปอิงหรือเชื่อมโยงกับสิ่งอื่น เช่น ดัชนีต่าง ๆ ตลอดจนสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาล

​หุ้นทุนซื้อคืน / หุ้นคงคลัง (Treasury Stock)

หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ และตราสารทุนอื่นที่มีสิทธิและลักษณะเทียบเท่าหุ้นสามัญของกิจการ ซึ่งกิจการหรือบริษัทย่อยของกิจการได้ซื้อคืนกลับมาจากผู้ถือหุ้น หุ้นทุนซื้อคืนนี้ไม่ถือเป็นสินทรัพย์ของกิจการ แต่เป็นการลดสิทธิเรียกร้องของผู้ถือหุ้นในสินทรัพย์ของกิจการ

หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock)​

หลักทรัพย์ประเภทตราสารทุนที่บริษัทออกจำหน่ายเพื่อเป็นการระดมเงินทุนมาดำเนินกิจการ  ผู้ถือหุ้นฯ มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของเช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นสามัญ และมีสิทธิพิเศษอื่น ๆ เช่น ได้รับเงินปันผลในอัตราที่กำหนดไว้แน่นอนและก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ แต่จะไม่ได้รับสิทธิลงคะแนนเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น

หุ้นสามัญ (Common Stock)​

หลักทรัพย์ประเภทตราสารทุนที่บริษัทออกจำหน่ายเพื่อเป็นการระดมเงินทุนมาดำเนินกิจการ  ผู้ถือหุ้นฯ มีสถานะเป็นเจ้าของบริษัทตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือ มีสิทธิออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้น (ตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ตนถืออยู่) รวมทั้งจะได้รับผลตอบแทนในรูปเงินปันผลเมื่อบริษัทมีกำไรเพียงพอที่จะจ่ายปันผล และได้สิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นออปชั่น (Options)​ตราสารสิทธิที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการที่จะซื้อหรือขายสินค้าหรือหลักทรัพย์ตามจำนวน เวลา และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา ออปชั่นแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

(1) ตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือซื้อทรัพย์สินอ้างอิง "Call Options"

(2) ตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือขายทรัพย์สินอ้างอิง "Put Options"

ผู้ซื้อออปชั่นจะต้องจ่ายเงิน "ค่าพรีเมี่ยม" (Premium) ให้กับผู้ขายออปชั่น ซึ่งผู้ซื้อเลือกที่จะใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้ แต่ผู้ขายออปชั่นมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาหากผู้ซื้อขอใช้สิทธิ  โดยราคาที่ผู้ซื้อสามารถใช้สิทธิซื้อหรือขายตามสัญญาออปชั่น เรียกว่า "ราคาใช้สิทธิ" (Exercise Price หรือ Strike Price)​


อื่น ๆ​

การชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ : Clearing and Settlement

การชำระค่าซื้อขายแบบยอดสุทธิ : Net Settlement

การซื้อขายรายใหญ่ : Big Lot

การซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต : Internet Trading

การบันทึกมูลค่าทางบัญชีตามมูลค่ายุติธรรม : Mark-to-Market

การเปิดเผยข้อมูล : Disclosure

กำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย : Earnings before Interest, Taxes, Depreciation and Amortization (EBITDA)

กำไรสุทธิต่อหุ้น : Earning Per Share (EPS)

เงินปันผล : Dividend

บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ : Listed Companies

ปริมาณการซื้อขาย : Volume

ผู้ออกหลักทรัพย์ : Issuer

มูลค่าที่ตราไว้ : Face Value หรือ Par value

มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ : Net Asset Value (NAV)

ราคาตลาด : Market Price

ราคาเปิด : Opening Price

ราคาปิด : Closing Price

ราคาเสนอซื้อ : Bid

ราคาเสนอขาย : Offer

ราคาเสนอซื้อ(สูงสุด) / เสนอขายสูงสุด(ต่ำสุด) ของหลักทรัพย์ : Ceiling & Floor

วันครบกำหนดอายุของตราสารหนี้ : Maturity Date

วันจ่ายดอกเบี้ย : Coupon Payment Date

วันชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ : Settlement Date

ส่วนต่างระหว่างราคาเสนอซื้อและราคาเสนอขาย : Bid-Offered Spread

หนังสือชี้ชวน : Prospectus

หน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือ : Credit Rating Agency

หน่วยย่อยของอัตราผลตอบแทน : Basis Point

หน่วยลงทุน : Unit Trust

อัตราดอกเบี้ย : Coupon Rate

อัตราผลตอบแทน : Yield

อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล : Dividend Yield

อัตราผลตอบแทนถึงวันครบกำหนด : Yield to Maturity (YTM)​


ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง 
คำศัพท์ เกี่ยวกับ การเงิน การคลัง

คำศัพท์ เกี่ยวกับ การเงิน การคลัง

​ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย​ ในหัวข้อห้องเรียนนักลงทุน/มือใหม่ลงทุน/ศัพท์ลงทุน และ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย​