ถอด คํา ประพันธ์ นิราศ นรินทร์ คํา โคลงบทที่ 41

นิราศนรินทร์คำโคลง

    นิราศนรินทร์เป็นบทประพันธ์ประเภทนิราศคำโคลงที่โด่งดังที่สุดในยุครัตนโกสินทร์ ทัดเทียมได้กับ"กำสรวลศรีปราชญ์ "และ"ทวาทศมาส"ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้แต่งคือ นายนรินทร์ธิเบศร์(อิน) แต่งขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ไปทัพพม่าในสมัยรัชกาลที่สอง ไม่มีบันทึกถึงประวัติของผู้แต่งไว้ ทราบแต่ว่าเป็นข้าราชการ ตำแหน่ง มหาดเล็กหุ้มแพรในกรมพระราชวังบวรฯ และมีผลงานที่ปรากฏนอกจากนิราศเรื่องนี้ เป็นเพลงยาวอีกบทหนึ่งเท่านั้น แต่แม้จะมีผลงานเพียงน้อยนิด แต่ผลงานของกวีท่านนี้จัดว่าอยู่ในขั้นวรรณคดี และเป็นที่นิยมอ่านกันอย่างแพร่หลาย
   เนื้อหาของ นิราศนรินทร์ก็ดำเนินตามแบบฉบับนิราศทั่วไป คือ มีการเดินทางและคร่ำครวญถึงการพลัดพรากจากนางอันเป็นที่รัก โดยได้รับอิทธิพลอย่าสูงจากกำสรวลศรีปราชญ์
(ซึ่งในสมัยนั้นถือว่าการเอาอย่างโบราณเป็นเรื่องดี) แต่นิราศนรินทร์มีจุดเด่นที่การใช้คำที่ไพเราะ รื่นหูข้อความกระชับลึกซึ้งและกินใจ จะถือว่าเป็นนิราศคำโคลงที่ไพเราะที่สุดก็ย่อมได้
    โคลงบทที่ 2 กรุงศรีอยุธยาล่มสลายไปจากการเสียกรุง แต่ก็มีเมืองล่องลอยมาจากสวรรค์อันมีพระที่นั่งสถูปแก้วอันสวย งามด้วยบุญบารมีที่สั่งสมของพระเจ้าแผ่นดินก็ได้ทำนุบำรุงศาสนาให้เจริญ รุ่งเรือง เปิดทางให้บ้านเมืองไปสู่ความดีงามและยังฟื้นเมืองให้ตื่นจากการหลับใหล หลังจากการเสียกรุง
    โคลง บทที่ 3 ความรุ่งเรืองของศาสนานั้นมีมากไปทั่วยิ่งกว่าแสงอาทิตย์ ผู้คนได้รับพระธรรมจากการฟังธรรมอยู่เป็น ประจำเจดีย์มากมายได้ถูกสร้างขึ้นสูงตระหง่านฟ้ายอดเจดีย์สวยงามยิ่งกว่าแสงนพเก้าเสมือนเป็นหลักแห่งโลกและเป็นที่มหัศจรรย์แห่งสรวงสวรรค์
    โคลงบทที่ 4 โบสถ์วิหารระเบียงธรรมาสน์และศาลาต่างๆนั้นกว้างใหญ่ขยายไปถึงสวรรค์หอพระไตรปิฎกเสียงระฆังในหอระฆังยามพลและแสงตะเกียงจากโคมแก้วอันมากมายนั้นสามารถทำให้แสงจันทร์สว่างน้อยลง
     โคลงบทที่ 8 เมื่อจำต้องจากนางอันเป็นที่รักไปด้วยความอาลัยเหมือนกับต้องปลิดหัวใจของตนออกไปกับนางถ้าหากว่าดวงใจสามารถแบ่งออกได้ก็จะผ่าออกเป็นสองซีก ซีกหนึ่งจะเก็บไว้กับตนเอง แต่อีกซีกหนึ่งจะมองให้นางรักษาไว้
    โคลงบทที่ 10 จะฝากนางไว้กับฟากฟ้าหรือผืนดินดีเพราะกลัวว่าพระเจ้าแผ่นดินจะมาลอบเชยชมนางจะฝากนางไว้กับสายลมช่วยพัดพานางบินหนีไปบนฟ้าแต่ก็กลัวลมพัดทำให้ผิวนางมีรอยช้ำ
    โคลงบทที่ 11 จะฝากนางไว้กับใครดีจะฝากนางไว้กับนางอุมาหรือชายาพระนารายณ์ก็เกรงว่าจะเข้าใกล้ชิดนางพี่คิดจนสามโลกจะล่วงลับไปก็คิดได้ว่าจะฝากนางไว้ในใจตนเองดีกว่าฝากไว้กับคนอื่น
    โคลงบทที่ 22 เดินทางมาโดยทางน้ำล่วงหน้ามาจนถึงตำบลบางยี่เรือขอให้เรือแผงช่วยพานางมาด้วย แต่บางยี่เรือไม่รับคำขอน้ำตาพี่จึงไหลนอง
    โคลงบทที่ 37 เดินทางต่อไปจนถึงตำบลบางพ่อซึ่งน้ำแห้งเหือดจนมองไม่เห็นมีแต่บ่อน้ำตาที่คงเต็มไปด้วยเลือดพี่ก็อยากให้นางผู้มีความงาม5ประการมาซับน้ำตาพี่แล้วค่อยจากไป
    โคลงบทที่ 41 เห็นต้นจากแตกกิ่งก้านสลับกับต้นระกำทำให้ชอกช้ำระกำใจว่าเคยเป็นเวรกรรมที่คงเคยทำกันมาทำให้เราต้องจากกัน ไกลขอให้ครั้งหน้าเราคงได้อยู่ด้วยกัน
    โคลงบทที่ 45 เป็นการเปรียบเทียบของหน้านางกับดวงจันทร์ แต่ดวงจันทร์มีรอยตำหนิเป็นรอยกระต่าย แต่ใบหน้าของน้องนางสวยงามไม่มีตำหนิไม่มีสิ่งใดมาเปรียบเทียบ เพราะหน้าของน้องงามกว่าดวงจันทร์ ยิ่งมองยิ่งงามกว่านางฟ้า
    โคลงบทที่ 118 เดินทางมาถึงตระนาวศรีความโศกเศร้าก็กระหน่ำซ้ำเติมเข้ามาความโศกเศร้าที่จากนางาไม่ว่าจะเดินผ่านทุ่งนา ป่า ท้องน้ำ หรือสถานที่ใดไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางน้ำ ก็สามารถสังความไปถึงน้ำได้ตลอด
    โคลงบทที่ 122 ไม่ว่าจะเป็นพระอินทร์ผู้มีพันตาผู้เฝ้าดูระวังโลกพระพรหมผู้มีสี่หน้าแปดหูที่คอยฟังสรรพเสียงใดๆหรือจะเป็นพระนารายณ์ที่บรรทมอยู่หลังนาค เมื่อเราทั้งสองต้องพลัดพรากจากกัน เราสองคร่ำครวญอยู่ซ้ำซากแต่เทพพระองค์ก็ไม่สนใจ
    บทที่ 139 ในอกของพี่นั้นมันเต็มไปด้วยความรู้สึกที่อยากจะระบายยออกมาบรรยายให้น้องได้ทราบความรู้สึกของพี่นั้นมากมาย ดังนั้น พี่จึงเอาเขาพระสุเมรุมาเป็นปากกา  เอามหาสมุทรเป็นน้ำหมึก แล้วเขียนเป็นตัวหนังสือไนอากาศเป็นแผ่นกระดาษ จารึกลงไปก็ยังไม่พอเพราะความรู้สึกของพี่นั้นมีมาก ผู้เลอโฉมลงมาจากฟ้าจะรับรุ้ความรู้สึกในใจของพี่หรือไม่
    บทที่ 140 ภูเขาพังทลาย สวรรค์ 6 ชั้น ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จะหายไปจากโลก ความรักของพี่นั้นก็ไม่หาย ถึงไฟมาผลาญล้างทวีปทั้ง4 ก้ไม่สามารถล้างความอาลัยของพี่ได้
    บทที่ 141 พี่ได้คร่ำครวญถึงความรักของพี่จนสั่นกึกก้องทั้งแผ่นดิน และท้องฟ้า เป็นข้อความที่บรรยายถึงความโศกเศร้าของพี่ ข้อความเหล่านั้นขอให้น้องรับไว้เป็นต่างหน้า  ให้นึกถึงอดีตระหว่างเรา

ที่มา : http://i-belight.blogspot.com/2008/09/blog-post_4680.html

 

ขอความดีงามจงบังเกิดแก่แผ่นดินอันกว้างใหญ่ และประเสริฐยิ่งกว่าดินแดนในโลก จนอาจข่มสวรรค์แผ่นดินนั้นเปรียบดังเมืองสวรรค์ ณ ยอดเขาพระสุเมรุ และเป็นที่ค้ำจุนโลกอันกว้างใหญ่ แผ่นดินที่กล่าวถึงนี้คือกรุงศรีอยุธยาอันเรืองรุ่งโรจน์จับฟ้า และความสว่างรุ่งเรืองนั้นแจ้มแจ้งยิ่งกว่าแสงเดือน จะเปรียบได้ก็กับแสงตะวัน พระนครศรีอยุธยามีเสนาอำมาตย์คอยพิทักษ์รักษาพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงขจัดความทุกข์ของประชาราษฎร และทำลายข้าศึกให้สิ้นไป จนตลอดโลกก็ราบคาบเรียงดังหน้ากลอง บรรดาศัตรูเสี้ยนหนามเพียงได้ยินชื่อกรุงศรีอยุธยาก็พากันน้อมตัวกราบไหว้อยู่กันไสว เพราะความยำเกรงบรรดาเจ้าเมืองต่างๆก็ส่งดอกไม้เครื่องราชบรรณการมาถวายแด่พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาอันพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยานั้นได้ทรงขยายพระราชอาณาเขตให้กว้างขวางออกไป ทรงจัดให้บ้านเมืองมีความสุขสงบราบคาบ พระองค์ก็ทรงทำนุบำรุงบรรดาทวย


๒. อยุธยายศล่มแล้ว  ลอยสวรรค์ ลงฤา

สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร  เจิดหล้า

บุญเพรงพระหากสรรค์   ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ

บังอบายเบิกฟ้า  ฝึกฟื้นใจเมือง


โคลงบทที่2


กรุงศรีอยุธยาล่มสลายไปจากการเสียกรุง แต่ก็มีเมืองล่องลอยมาจากสวรรค์อันมีพระที่นั่งสถูปแก้วอันสวยงามด้วยบุญบารมีที่สั่งสมของพระเจ้าแผ่นดินก็ได้ทำนุบำรุงศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง เปิดทางให้บ้านเมืองไปสู่ความดีงามและยังฟื้นเมืองให้ตื่นจากการหลับใหลหลังจากการเสียกรุง


                                                            ๓.เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น   พันแสง
                                                  รินรสพระธรรมแสดงค่ำเช้า     เจดีย์ระดะแซง
                                              เสียดยอด  ยลยิ่งแสงแก้วเก้า    แก่นหล้าหลากสวรรค์

โคลงบทที่3


ความรุ่งเรืองของศาสนานั้นมีมากไปทั่วยิ่งกว่าแสงอาทิตย์ ผู้คนได้รับพระธรรมจากการฟังธรรมอยู่เป็นประจำ เจดีย์มากมายได้ถูกสร้างขึ้นสูงตระหง่านฟ้ายอดเจดีย์สวยงามยิ่งกว่าแสงนพเก้า เสมือนเป็นหลักแห่งโลกและเป็นที่มหัศจรรย์แห่งสรวงสวรรค์


๔. โบสถ์ระเบียงมรฑปพื้น  ไพหาร

ธรรมาสน์ศาลาลาน  พระแผ้ว

หอไตรระฆังขาน  ภายค่ำ

ไขประทีปโคมแก้ว  ก่ำฟ้าเฟือนจันทร์


โคลงบทที่4


โบสถ์ วิหาร ระเบียง ธรรมาสน์และศาลาต่างๆนั้น กว้างใหญ่ขยายไปถึงสวรรค์ หอพระไตรปิฎก เสียงระฆังในหอระฆังยามพลบค่ำ และแสงตะเกียงจากโคมอันมากมายนั้นสามารถทำให้แสงจันทร์สว่างน้อยลง


โคลงบทที่8


เมื่อจำต้องจากนางอันเป็นที่รักไปด้วยความอาลัยเหมือนกับต้องปลิดหัวใจของตนออกไปกับนาง ถ้าหากว่าดวงใจสามารถแบ่งออกได้ก็จะผ่าออกป็นสองซีก ซีกหนึ่งจะเก็บไว้กับตนเอง แต่อีกซีกหนึ่งจะมอบให้นางรักษาไว้


๑๐. โฉมควรจักฝากฟ้า  ฤาดิน ดีฤา

เกรงเทพไท้ธรณินทร์  ลอบกล้ำ

ฝากลมเลื่อนโฉมบิน  บนเล่า นะแม่

ลมจะชายชักช้ำ  ชอกเนื้อเรียมสงวน


โคลงบทที่10


จะฝากนางไว้กับฟากฟ้าหรือผืนดินดี เพราะกลัวว่าพระเจ้าแผ่นดินจะมาลอบเชยชมนาง จะฝากนางไว้กับสายลมช่วยพัดพานางบินหนีไปบนฟ้า แต่ก็กลัวลมพัดทำให้ผิวนางมีรอยช้ำ


โคลงบทที่11


จะฝากนางไว้กับใครดี จะฝากนางไว้กับนางอุมาหรือชายาพระนารายณ์ ก็เกรงว่าจะเข้าใกล้ชิดนาง พี่คิดจนสามโลกจะล่วงลับไปก็คิดว่าจะฝากนางไว้ในใจตนเองดีกว่าฝากไว้กับคนอื่น


โคลงบทที่22


เดินทางมาโดยทางน้ำล่วงหน้ามาจนถึงตำบลบางยี่เรือ ขอให้เรือแผงช่วยพานางมาด้วย แต่บางยี่เรือไม่รับคำขอน้ำตาพี่จึงไหลนอง


โคลงบทที่37


เดินทางต่อไปจนถึงตำบลบางพ่อ ซึ่งน้ำแห้งเหือดจนมองไม่เห็น มีแต่บ่อน้ำตาที่คงเต็มไปด้วยเลือด พี่ก็อยากให้นางผู้มีความงาม๕ประการมาซับน้ำตาพี่แล้วค่อยจากไป


โคลงบทที่41


เห็นต้นแตกจากกิ่งก้านสลับกับต้นระกำ ทำให้ชอกช้ำระกำใจว่าเคยเป็นเวรกรรมที่คงเคยทำกันมาทำให้เราต้องจากกันไกล ขอให้ครั้งหน้าเราคงได้อยู่ร่วมกัน


                                                              ๔๕. ชมแขคิดใช่หน้า  นวลนาง

                                                           เดือนดำหนิวงกลาง  ต่ายแต้ม

                                                    พิมพ์พักตร์แม่เพ็ญปราง  จักเปรียบ ใดเลย

                                                             ขำกว่าแขไขแย้ม   ยิ่งยิ้มอัปสร

โคลงบทที่45


เป็นการเปรียบเทีนบของหน้านางกับดวงจันทร์ แต่ดวงจันทร์มีรอยตำหนิเป็นรอยกระต่าย แต่ใบหน้าของน้องนางสวยงามไม่มีตำหนิไม่มีสิ่งใดมาเปรียบเทียบ เพราะใบหน้าของน้องงามกว่าดวงจันทร์ ยิ่งมองยิ่งงามกว่านางฟ้า


๑๑๘. ถึงตระนาวตระหน่ำซ้ำ  สงสาร อรเอย

จรศึกโศกมานาน  เนิ่นช้า

เดินดงท่งทางละหาน  หิมเวศ

สารสั่งทุกหย่อมหญ้า  ย่านน้ำลานาง


โคลงบทที่118


เดินทางมาถึงตะนาวศรีความโศกเศร้าก็กระหน่ำซ้ำเติมเข้ามา ความโศกเศร้าที่จากนางไม่ว่าจะเดินผ่านทุ่งนา ป่า ท้องน้ำ หรือสถานที่ใด ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางน้ำ ก็สามารถสั่งความไปถึงน้ำได้ตลอด


๑๒๒. พันเนตรภูวนาถตั้ง  ตาระวัง ใดฮา

พักตร์สี่แปดโสตฟัง อื่นอื้อ

กฤษณนิทรเลอหลัง นาคหลับ ฤาพ่อ

สองพิโยคร่ำรื้อ เทพท้าวทำเมิน


โคลงบทที่122


ไม่ว่าจะเป็นพระอินทร์ ผู้มีพันตา ผู้เฝ้าดูระวังโลก พระพรหมผู้มีสี่หน้าแปดหูที่คอยฟังสรรพเสียงใดๆ หรือจะเป็นพระนารายณ์ที่บรรทมอยู่หลังนาค เมื่อเราทั้งสองต้องพลัดพลากจากกัน เราสองคร่ำครวญอยู่ซ้ำซากแต่เทพพระองค์ก็ไม่สนใจ


โคลงบทที่134


แม่น้ำทั้ง 4 สายก็เหือดแห้ง เหล่าปลาใหญ่ มังกร พญานาคต่างพากันหาที่ซ้อนตัว แม้แต่หยาดฝน หยุดฝนก็ไม่มีสักหยด แดดก็ร้อนแต่ถึงแม้กายจะร้อนแต่ก็ไม่ร้อนเท่าใจของพี่


โคลงบทที่138


ลมที่พัดมาต้องอก(กาย)นั้นดังหนึ่งพิษ ความหนาวกลุ้มอยู่ในนอกรู้สึกช้ำใจ

อ้า...น้องผู้ประหนึ่งพวงดอกไม้อันงามของข้า น้องพัดให้ครั้งเดียวก็รู้สึกเย็นยิ่งกว่าลมพัด


โคลงบทที่139


ในอกของพี่นั้นมันเต็มไปด้วยความรู้สึกที่อยากจะระบายออกมาบรรยายให้น้องได้ทราบความรู้สึกของพี่นั้นมากมาย ดังนั้นพี่จึงเอาเขาสุเมรุมาเป็นปากกา เอามหาสมุทรเป็นน้ำหมึก แล้วเขียนเป็นตัวหนังสือในอากาศเป็นแผ่นกระดาษ จารึกลงไปก็ยังไม่พอ เพราะความรู้สีกของพี่นั้นมีมาก ผู้เลอโลมลงมาจากฟ้า จะรับรู้สึกในใจของพี่หรือไม่


๑๔๐. ตราบขุนคิริข้น

ขาดสลาย แลแม่

รักบ่หายตราบหาย

หกฟ้า

สุริยจันทรขจาย

จากโลก ไปฤา

ไฟแล่นล้างสี่หล้า

ห่อนล้างอาลัย


โคลงบทที่140


ภูเขาพังทลาย สวรรค์๖ชั้น ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ จะหายไปในโลก ความรักของพี่นั้นก็ไม่หายไป ถึงไฟมาผลาญ ล้างทวีปทั้ง4 ก็สามารถล้างความอาลัยของพี่ได้


โคลงบทที่141


พี่ได้คร้ำครวญถึงความรักของพี่จนสั่นกึกก้องทั้งแผ่นดินและท้องฟ้า เป็นข้อความที่บรรยายถึงความโศกเศร้าของพี่ ข้อความเหล่านั้นขอให้น้องรับไว้เป็นต่างหน้าให้นึกถึงอดีตระหว่างเรา ผู้แต่ง นายนรินทร์ธิเบศ(อิน)