โครงสร้าง ของเขต และ อำนาจหน้าที่ของ สำนักงาน เขต

โครงสร้างกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน

กรุงเทพมหานคร (กทม.)มีสภากรุงเทพมหานครที่มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (..)
 มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง  และประธานสภา  กทม. 1 คน  รองประธานสภา  กทม. ไม่เกิน  คน  ซึ่งสภา  กทมเลือกจากสมาชิกสภาพ  โดยให้ดำรงตำแหน่งวาระละ  ปี
สำนักงานเขตเป็นองค์การบริหารของเขต  มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานการ
ปกครองของที่การพัฒนาชุมชน  การส่งเสริมอาชีพ  การทะเบียน  การโยธา  การรักษาที่สาธารณะ  การสาธารณสุข  การจัดเก็บรายได้  การรักษาความสะอาด   การดูแลและรักษาให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร  หรือที่กฎหมายอื่นกำหนด

            โครงสร้างกรุงเทพมหานครปัจจุบันเป็นไปตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ..2528  ซึ่งประกอบด้วย

1.             สภากรุงเทพมหานคร

2.             ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

3.             เขตและสภาเขต


1.              สภาเขตกรุงเทพมหานคร

               



อำนาจหน้าที่ของสภากรุงเทพมหานคร

1.             การตราข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร

2.             ควบคุมการบริหารงานของกรุงเทพมหานคร

3.             ตราข้อบังคับเกี่ยวกับจรรยาบรรณของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร

4.             ตราข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภา กทม. และ

รองประธานสภา กทม. ฯลฯ และกิจการอื่นอันเป็นอำนาจหน้าที่ของสภากรุงเทพมหานคร


2.              ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

1. การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

        กรุงเทพมหานครมีผู้ว่าราชการหนึ่งคนเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร  ซึ่งราษฎรเป็นผู้ลง

คะแนนเสียงเลือกตั้ง  ซึ่งการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปัจจุบันเป็นไปตาม พรบ.การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  พ.. 2531   ซึ่งมีขั้นตอนการการปฏิบัติคล้ายกับการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร  เว้นแต่

1.             ถือว่าพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้งหมดเป็นเขตเลือกตั้งเดียว

2.             กรณีผู้สมัครมีคะแนนเท่กันให้จับสลากต่อหน้าปลัดกรุงเทพมหานคร

       2. อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

                ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ทั่วไปตามพระราชบัญญัติไว้ในมาตรา

 49  แห่ง  พรบ.ระเบียบบริหารกรุงเทพมหานคร  พ.. 2528 ดังนี้

1.             เร่งกำหนดนโยบาย  และบริหารราชการ กทม. ให้เป็นไปตามกฎหมาย

2.             สั่ง อนุญาต อนุมัติเกี่ยวกับราชการกรุงเทพมหานคร

3.             แต่งตั้งและถอดถอนรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

4.             บริหารราชการตามคณะรัฐมนตรี  นายกรัฐมนตรี  หรือรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงมหาดไทย

5.             วางระเบียบเพื่อปรับปรุงงานของ กทม. ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

6.             รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติของ กทม.

7.             อำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ

 กทม. ..2528

                                8.   เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้าง กทมและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร




                3.  เขตและสภาเขต

                     กรุงเทพมหานครแบ่งการปกครองออกเป็นเขต  ซึ่งปัจจุบันมี  50  เขต  มีฐานะคล้ายคลึงกับการปกครองระดับอำเภอ  ซึ่งแต่ละเขตจะจัดองค์กรใน  ส่วน  ประกอบด้วย  สำนักงานเขต  และสภาเขต

1.              สำนักงานเขต

                               สำนักงานเขตมีผู้อำนวยการเขตเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ  และลูกจ้างกรุงเทพมหานครรับผิดชอบการปฏิบัติราชการภายในเขต