ขั้นตอนการดำเนินการประกันคุณภาพภายในมีกี่ขั้นตอน

ขั้นตอนการดำเนินการประกันคุณภาพภายในมีกี่ขั้นตอน
สรุปอธิบายขั้นตอนการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา และ การจัดทำรายงานการประเมินตนเอง SAR

ขั้นตอนการดำเนินการประกันคุณภาพภายในมีกี่ขั้นตอน
สรุปอธิบายขั้นตอนการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา และ การจัดทำรายงานการประเมินตนเอง SAR

1) ศึกษา ทำความเข้าใจมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา วางแผน กำหนดกรอบแนวทาง การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และเอกสาร สารสนเทศ หลักฐานเชิงประจักษ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมใช้ในการตรวจสอบ และประเมินคุณภาพภายใน

2) วิเคราะห์มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ทั้ง 3 มาตรฐาน 21 ประเด็นพิจารณา กำหนดเครื่องมือ วิธีการประเมิน สารสนเทศ ที่ใช้ประกอบการประเมินแต่ละมาตรฐาน แต่ละประเด็นพิจารณา

3) แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายใน มีผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ร่วมประเมินด้วย ชี้แจงขั้นตอน เครื่องมือ วิธีการประเมินแก่คณะกรรมการ ผู้บริหาร ครู และผู้เกี่ยวข้อง ที่จะรับการประเมินคุณภาพภายใน

4) เก็บรวบรวมข้อมูลตามเครื่องมือ วิธีการประเมิน และแหล่งข้อมูลตามที่ได้วางแผนไว้ ทั้งนี้ ควรใช้วิธีการประเมิน และแหล่งข้อมูลที่หลากหลายตามบริบทของสถานศึกษา ตามความเหมาะสมและความเพียงพอของแต่ละประเด็นการพิจารณา ของแต่ละมาตรฐาน

5) บันทึกคุณภาพแต่ละประเด็นพิจารณาแต่ละมาตรฐานโดยการสังเกต สอบถาม และตรวจสอบร่องรอยเอกสารหลักฐานเชิงประจักษ์ จากการปฏิบัติงานตามสภาพจริงของสถานศึกษา โดยใช้การประเมิน Evidence based Assessment พร้อมให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขแก่ผู้เกี่ยวข้องที่รับการประเมิน

6) ตัดสินคุณภาพแต่ละมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ให้เป็นไปตามหลักการตัดสินโดยอาศัยความเชี่ยวชาญ expert judgement เปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ ตามเกณฑ์ระดับคุณภาพ ตามคู่มือแนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้วิธีการประเมินแบบองค์รวม Holistic Approach ผลการตัดสินระดับคุณภาพผ่านการตรวจทานผลการประเมินจากคณะกรรมการระดับเดียวกัน Peer Review และมีความเห็นสอดคล้องกันของผู้ประเมินภายในทั้งหมดร่วมกัน

7) สรุปและเขียนรายงานผลการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

8)รายงานผลการประเมิน ต่อคณะกรรมการสถานศึกษาฯ ให้ความเห็นชอบ

9) นำเสนอรายงานผลการประเมินตนเองต่อหน่วยงานต้นสังกัด

10) เผยแพร่ผลการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา แก่ผู้เกี่ยวข้อง, ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา

11) นำผลการประเมินคุณภาพภายในไปใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในปีต่อไป และเตรียมรับการประเมินคุณภาพภายนอกต่อไป

ขอบคุณที่มา : Facebook งานประกันคุณภาพการศึกษา สพม 42

        การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การดำเนินกิจกรรมและภารกิจต่าง ๆ ทั้งด้านวิชาการ การบริการ / การจัดการ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง คือ ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม คือ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคมโดยรวม ว่าการดำเนินงานของสถานศึกษาจะมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่ได้กำหนดไว้ การประกันคุณภาพมีแนวคิดอยู่บนพื้นฐานของการ "ป้องกัน" ไม่ให้เกิดการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพและผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพ (จุลสาร สมศ. ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มิถุนายน - กรกฎาคม 2544)

ระบบและกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา

        ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาไทยตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 47 ประกอบด้วย 2 ระบบคือ 

        1.ระบบการประกันคุณภาพภายในและ 

        2. ระบบการประกันคุณภาพภายนอก

ภาพวงจรการประกันคุณภาพการศึกษา

ขั้นตอนการดำเนินการประกันคุณภาพภายในมีกี่ขั้นตอน

กระบวนการประกันคุณภาพภายใน

        ระบบการประกันคุณภาพภายใน หมายถึง ระบบการประเมินผล และการติดตามตรวจสอบคุณภาพและ มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัด ที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น สถานศึกษาจะต้องพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารและการ ปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึงหลักการและกระบวนการดังต่อไปนี้

1. หลักการสำคัญของการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษามี 3 ประการคือ

        -    จุดมุ่งหมายของการประกันคุณภาพภายใน คือ การที่สถานศึกษาร่วมกันพัฒนาปรับปรุง คุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา ไม่ใช่การจับผิดหรือทำให้บุคลากรเสียหน้า โดย เป้าหมายสำคัญอยู่ที่ การพัฒนาคุณภาพให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน

        -    การที่จะดาเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามจุดมุ่งหมายการประกันคุณภาพภายใน ต้องทำให้การ ประกันคุณภาพการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการและการทำงานของ บุคลากรทุกคนในสถานศึกษาไม่ใช่เป็นกระบวนการที่แยกส่วนมาจากการดำเนินงานตามปกติ ของสถานศึกษาโดยสถานศึกษาจะต้องวางแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการที่มีเป้าหมายชัดเจน ทำตามแผนตรวจสอบประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบที่มีความ โปร่งใสและมีจิตสำนึกในการพัฒนาคุณภาพการทำงาน

        -    การประกันคุณภาพเป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ครู อาจารย์และบุคลากรอื่น ๆ ในสถานศึกษาโดยในการดำเนินงานจะต้องให้ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้เรียน ชุมชน เขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลเข้ามามีส่วนร่วมในการกาหนด เป้าหมาย วางแผน ติดตามประเมินผลพัฒนาปรับปรุง ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันผลักดันให้ สถานศึกษามีคุณภาพ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ เป็นไปตามความต้องการของ ผู้ปกครอง สังคม และประเทศชาติ

2. กระบวนการการประกันคุณภาพภายในตามแนวคิดของการประกันคุณภาพ มี 3 ขั้นตอนคือ 

        -    การควบคุมคุณภาพ เป็นการกำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนา สถานศึกษาให้เข้าสู่มาตรฐาน

        -    การตรวจสอบคุณภาพ เป็นการตรวจสอบ และติดตามผลการดำเนินงานของสถานศึกษาให้ เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

3. กระบวนการประกันคุณภาพภายในตามแนวคิดของหลักการบริหารที่เป็นกระบวนการครบวงจร (PDCA) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ

        -    การร่วมกันวางแผน (Planning)

        -    การร่วมกันปฏิบัติตามแผน (Doing) 

        -    การร่วมกันตรวจสอบ (Checking) 

        -    การร่วมกันปรับปรุง (Action)

        การควบคุมคุณภาพและการตรวจสอบคุณภาพก็คือกระบวนการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพตามหลักการบริหารนั่นเอง โดยการควบคุมคุณภาพ คือ การที่สถานศึกษาต้องร่วมกันวางแผนและดาเนินการตามแผน เพื่อพัฒนา สถานศึกษาให้มีคุณภาพตามเป้าหมายและมาตรฐานการศึกษา ส่วนการตรวจสอบคุณภาพ คือ การที่สถานศึกษาต้องร่วมกันตรวจสอบเพื่อพัฒนาปรับปรุงคุณภาพให้เป็นไปตามเป้าหมายและมาตรฐานการศึกษาเมื่อ สถานศึกษามีการตรวจสอบตนเองแล้วหน่วยงานในเขตพื้นที่การศึกษาและต้นสังกัดก็เข้ามาช่วยติดตามและ ประเมินคุณภาพเพื่อให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาปรับปรุงสถานศึกษา ซึ่งจะทำให้สถานศึกษามีความอุ่นใจ และเกิดความตื่นตัวในการพัฒนาคุณภาพอยู่เสมอ

การประเมินคุณภาพภายนอก

        การประเมินคุณภาพภายนอก คือ การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม การตรวจสอบคุณภาพและ มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสานักงานรับรองมาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เพื่อมุ่งให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ผู้ประเมินภายนอกมีความเป็นอิสระ และเป็นกลาง ไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้งกันการประเมินคุณภาพภายนอกจะ นำไปสู่การเข้าถึงคุณภาพการศึกษาด้วยความเป็นกลาง เพื่อสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา อย่างแท้จริง

แนวคิดและหลักการของการประเมินคุณภาพภายนอก

        การประเมินภายนอกของ สมศ. เป็นการประเมินโดยใช้รูปแบบ “ กัลยาณมิตรประเมิน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

    1. เพื่อตรวจสอบ ยืนยันสภาพจริงในการดาเนินงานของสถานศึกษาและประเมินคุณภาพการศึกษาตาม มาตรฐานการศึกษาที่กำหนด

    2. เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็นจุดเด่น-จุดด้อยของสถานศึกษา เงื่อนไขของความสำเร็จ และ สาเหตุของปัญหา

    3. เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด

    4. เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง

    5. เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน

ความสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก

    การประเมินคุณภาพภายนอก มีความสำคัญและมีความหมายต่อสถานศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชน ดังต่อไปนี้

    1. เป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานและพัฒนาตนเองให้เต็มตามศักยภาพอย่างต่อเนื่อง

    2. เพิ่มความมั่นใจและคุ้มครองประโยชน์ให้ผู้รับบริการทางการศึกษาว่าสถานศึกษาได้จัดการศึกษามุ่งสู่ คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีความสามารถ และมีความสุขเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

    3. สถานศึกษาและหน่วยงานที่กำกับดูแล เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานต้สังกัด สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนท้องถิ่นมีข้อมูลที่จะช่วยตัดสินใจในการ วางแผนและดาเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการและ บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด

    4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายมีข้อมูลสาคัญในภาพรวมเกี่ยวกับคุณภาพและมาตรฐานของ สถานศึกษาทุกระดับทุกสังกัด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแนวนโยบายทางการศึกษาและการ จัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

ความแตกต่างระหว่างการประกันคุณภาพภายในและภายนอก

การประกันคุณภาพภายใน                             การประกันคุณภาพภายนอก

ผู้รับผิดชอบ :โรงเรียน                                        ผู้รับผิดชอบ : สำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมิน  

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา                                 คุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) 

กระบวนการ                                                    กระบวนการ

การควบคุมคุณภาพ                                 การตรวจสอบคุณภาพ 

การตรวจสอบคุณภาพ                                 การประเมินคุณภาพ 

ประเมินคุณภาพ                                      การให้การรับรอง 

อ้างอิง

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2554). มาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ :  บริษัทพิมพ์ดี จำกัด.

อุทุมพร จามรมาน. (2545). 9ขั้นตอนการทำประกันคุณภาพการศึกษาที่ครบวงจร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545