ชาติแรกที่เข้ามาค้าขายกับอยุธยา

เนื้อหา

แบบประเมินเว็บไซต์ประกอบการเรียน

จำนวนผู้เข้าชม

การค้าสมัยกรุงศรีอยุธยา

         การค้าสมัยกรุงศรีอยุธยาเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 1893 ตั้งแต่ปีที่พระเจ้าอู่ทอง ทรงสร้างพระนครใหม่ แล้วทำการราชาภิเษก ทรงพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดี ขนานนามราชธานี ว่า กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา คำว่า ทวาราวดี เอามาจากชื่ออาณาจักรเดิม คือ อาณาจักรทวาราวดี

           อายุของกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่ปี พ.ศ.1893 ถึง พ.ศ.2320 เป็นจำนวน 417 ปี บ้านเมืองที่มีความเจริญและความเสื่อมจนกระทั่งสิ้นสูญการค้าขายของประเทศในช่วงนี้ มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุการณ์บ้านเมือง โดยมีชาวยุโรปเข้ามาค้าขายอันมีวิธีค้าที่ทำใกล้บ้านเมืองต้องปรับปรุงลักษณะการค้าต่าง ๆ เข้าหาเพื่อให้ทัดเทียมกันในเชิงการค้า ไม่ให้ชาวต่างชาติเอาเปรียบได้ง่าย ๆ นอกจากนี้ ลักษณะการค้ากับชนชาวเอเชียด้วยกันเป็นอย่างหนึ่ง ส่วนการค้ากับชาวยุโรปก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง นิสัยไทยรักชาติ รักศาสนา รักอิสรภาพ มองเห็นลักษณะการค้าของชนชาวยุโรปเป็นการเมืองไปบ้าง เป็นการศาสนาไปบ้าง ก็เลยทำให้การติดต่อค้าขายไม่ราบรื่น ต้องชะงักหรือขาดตอนเป็นคราว ๆ ภาวะการค้าในระยะเวลา 417 ปี ของสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงผิดแผกแตกต่างกัน และกรุงศรีอยุธยา ได้แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ

  1.ตั้งแต่สมัยพระรามาธิบดีอู่ทอง จนถึงสิ้นแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 คือตั้งแต่ปี พ.ศ.1893- 2034 จัดเป็นตอนต้นของการค้าในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นการค้าแบบโบราณที่เป็นอย่างไทยแท้

  2.ตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่2 จนถึงสิ้นแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตั้งแต่ปีพ.ศ.2034-2230จัดเป็นตอนกลางของการค้าในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นการค้าซึ่งมีอิทธิของชนชาวยุโรปเข้ามาเจือปน เริ่มต้นตั้งแต่ชนชาติโปรตุเกส เข้ามาในแผ่นดิน สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เป็นครั้งแรก

  3.ตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระเทพราชา จนถึง เสียกรุงศรีอยุธยาในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ คือตั้งแต่ปี พ.ศ.2231 -2310 จัดเป็นตอนปลายของการค้าในสมัยศรีอยุธยา เป็นการค้าซึ่งอิทธิพลของชาวยุโรป คลายออกไป

    เมื่อพระเจ้าอู่ทอง ตั้ง กรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นอิสระ หัวเมืองฝ่ายใต้ที่เป็นราชอาณาเขตของกรุงสุโขทัยเดิม ได้เข้ามาขึ้นอยู่กับกรุงศรีอยุธยาทั้งหมด นับตั้งแต่เมืองราชบุรี เพชรบุรีลงไปจนกระทั่งเมืองยะโฮร์ สุดแหลมมลายู อาณาเขตทิศเหนืออยู่เพียงเมืองลพบุรี ติดต่อกับอาณาเขตสุโขทัย ส่วนทางตะวันออก พระเจ้าอู่ทองได้ทำสงครามขยายอาณาเขต ตีได้นครทม ซึ่งเป็นราชธานีของเขมร อาณากรุงศรีอยุธยาทางทิศตะวันออก   ในสมัยพระเจ้าอู่ทองจึงขยายออกไปประมาณเท่าที่อยู่ในเวลานี้ 

      สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นสมัยรุ่งเรือง ยุคหนึ่งของของประวัติศาสตร์ไทย คนโบราณในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อพูดถึงความเจริญก็จะหมายถึง สมัยกรุงศรีอยุธยา “ครั้งบ้านเมืองดี”  การค้าขายของประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางเป็นสมัยที่มีชาวยุโรปหลายชาติมาติดต่อค้าขายกับประเทศไทยเป็นครั้งแรก ประวัติการค้าขายของไทยในระยะนี้จึงมีมาก โดยการค้าขายตั้งแต่ปี พ.ศ.2000 เป็นต้นมา มีจดหมายเหตุต่างประเทศพูดถึงมาก

          ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา ได้กล่าวถึงการค้าภายในประเทศไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก การค้าต่างประเทศเป็นอีกส่วนหนึ่ง ที่แยกกล่าวถึงการค้าภายในไว้เป็นส่วนหนึ่ง เพื่อให้ทราบว่า ไทย แต่โบราณได้ทำการค้าขายโดยวิธีใด   จะเป็นการค้าขายเหมือนในสมัยนี้หรือไม่ ซึ่งเราได้ทราบจากศิลาจารึก ว่า ไทยมีตลาดเป็นสาธารณะสำหรับการค้าขาย โดยเฉพาะตลาดของเราเรียกว่า ปสาน ซึ่งนักปราชญ์ว่ามาจากคำ Bazaar  ในภาษาเปอร์เซีย ถ้าเรานึกภาพอย่างแขกไม่ออก ก็ให้คิดไปถึงตลาดสำเพ็งหรือสภาพตลาดสดที่หัวลำโพง ในสมัยโบราณไทยมีตลาดจัดไว้เป็นประจำโดยเฉพาะมาแล้ว และเราได้ทราบจากจดหมายเก่า ๆ ในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ว่าการค้าขายของไทยมีชนิดทุนเดียว มีหุ้นส่วน มีบัญชี มีขายเงินสด เงินเชื่อ มีลูกจ้าง ฯลฯ อย่างสมัยนี้แทบทุกอย่าง สรุปความว่า ไทยมีวัฒนธรรมในการค้ามาแล้วตั้งแต่ สมัยโบราณดึกดำบรรพ์อย่างพร้อมมูล ไทยไม่ได้ค้าแบบแลกเปลี่ยน Barter อันเป็นวิธีของมนุษย์ที่เพิ่งเริ่มเจริญนั้นอย่างเดียว ไทยเป็นชาติมีวัฒนธรรมในการค้า โดยมีบทบัญญัติเป็นกฎหมายมาแล้วร่วม 700 ปี ลักษณะการค้าขายภายในคงเป็นอย่างที่กล่าวมานี้ตลอดไป และก็การค้าภายในนั้นเมื่อมีการค้าต่างประเทศมากขึ้น ย่อมติดต่อเกี่ยวโยงกับการค้าต่างประเทศแน่นเข้าทุกที ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางมีชาวต่างประเทศเข้ามาทำการค้าขายหลายชาติ หลายภาษา ต่างชาติได้นำสินค้าของประเทศตนเข้ามาซื้อขายแลกเปลี่ยนกับสินค้าพื้นเมืองไทย ทำให้การค้าภายในต้องหมุนอนุโลมตามการค้าต่างประเทศยิ่งขึ้นทุกที

          ผ่านมาถึงช่วงที่การค้าของสมัยกรุงศรีอยุธยา ซบเซา ปรากฏว่าการค้าที่เมืองต่าง ๆ บนคาบสมุทรภาคใต้ยิ่งดำเนินไปเป็นปกติบางเมืองยิ่งมีการค้ามากขึ้นกว่าแต่ก่อน ชาวต่างประเทศยังคงเดินทางมาค้าขายเป็นปกติ บันทึกของชาวต่างประเทศและเอกสารของฝ่ายไทยกล่าวตรงกันว่าภาคใต้ของไทยเป็นทำเลการค้ากับต่างประเทศดีที่สุดในเอเชีย หากได้มีการพัฒนาเส้นทางผ่านคาบสมุทรและมีท่าเรือที่ดี ก็จะเป็นทำเลการค้าของโลก ดังที่ได้กล่าวถึงในหนังสือประวัติการค้าของไทยจัดพิมพ์โดยกระทรวงพาณิชย์ เมื่อปี พ.ศ.2486 ความตอนหนึ่งว่า “..........แม้นฮอลันดากับอังกฤษตลอดจน โปรตุเกส และ สเปญ ต่างพากันหยุดการค้าขายในกรุงศรีอยุธยาไปชั่วคราวก็ตาม แต่ชนชาติเหล่านั้นยังดำเนินการค้าขายในภาคตะวันออกไม่ทอดทิ้ง อังกฤษแม้นจะถอนการค้าขาย   จาก กรุงศรีอยุธยา แต่ยังขอสิทธิการค้าในเมืองละคร(นครศรีธรรมราช) ซึ่งฮอลันดาก็มีอยู่ตลอดจนเมืองสงขลา และปัตตานี ต่อไปอีก แม้การค้าของไทยจะชงัก ซึ่งเป็นไปตามการผันแปรเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์บ้านเมืองแต่ทำเลของไทยยังคงเป็นทำเลที่ดีที่สุด และเหมาะกับการค้าขายของโลกเสมอไปโดยประเทศไทยมีเมืองเรียงรายอยู่ตามชายฝั่งทะเลทางด้านตะวันตก ตะวันออกหน้านอกหน้าใน เป็นเมืองท่าเหมาะที่ทำการค้าขายได้ทั้งสองฝั่งสมุทร อนึ่งฝั่งทะเลทั้งสองนี้ เชื่อมกันได้มาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์แล้ว เมืองตกโกลา (ตะกั่วป่า) ทางฝั่งตะวันตกทะเลหน้านอกเคยเชื่อมกับเมืองครหิ(ไชยา) ตลอดลงมาถึงบ้านดอน (สุราษฎร์ธานี ) ทางฝั่งตะวันออกทะเลหน้าใน เมืองตรังทะเลหน้านอกเคยเชื่อมกับทะเลหน้าใน เช่น นครศรีธรรมราช และสงขลา เมืองมะริด เคยเชื่อมกับเมืองประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ตามที่พวกพ่อค้าแขกฝรั่งไทยเคยขนสินค้าผ่านแต่โบราณเสมอมา” ตัวอย่างการขนสินค้าและการเดินทางบกจากฟากทะเลหนึ่งตัดข้ามคาบสมุทรไปยังอีกฟากหนึ่ง เพื่อความรวดเร็วสะดวกมีมาแล้วเช่นนี้ ถ้าไทยพยายามให้ตะวันตกกับตะวันออก ของไทยมาพบกัน เชื่อมกันได้หลาย ๆ แห่งให้สะดวกและรวดเร็วดั่งเช่นถนนสายตรัง-พัทลุงในปัจจุบัน และทำเมืองท่าสองฝั่งให้ดีก็จะเป็นประโยชน์แก่การค้าของประเทศอย่างยิ่งใหญ่

การค้าระหว่างประเทศสมัยอยุธยา

การค้ากับต่างประเทศในสมัยอยุธยาตอนต้น เป็นการค้ากับประเทศในเอเชีย ที่สำคัญได้แก่ การค้ากับจีน อาณาจักรในแหลมมลายู หมู่เกาะชวา และประเทศทางมหาสมุทรอินเดีย เช่น อินเดีย ลังกา เปอร์เซีย และอาหรับ 

ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง การค้าทางตะวันออกได้ขยายจากจีนไปเกาหลี ญี่ปุ่น ทางทะเลจีนใต้ขยายจากหมู่เกาะอินโดนีเซียไปยังหมู่เกาะฟิลิปปินส์ และเวียดนาม การค้าส่วนใหญ่เป็นการค้าทางเรือ ใช้เรือสำเภาเป็นพาหนะ เมืองท่าที่สำคัญ คือ กรุงศรีอยุธยา นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี มะริด ทวาย ตะนาวศรี และไทรบุรี ส่วนการขนส่งสินค้าจากเมืองท่าทางตะวันตกมายังกรุงศรีอยุธยา และจากกรุงศรีอยุธยาไปเมืองท่าทางตะวันตกใช้เส้นทางบก เพื่อจะได้ไม่ต้องอ้อมแหลมมลายู

ชาติแรกที่เข้ามาค้าขายกับอยุธยา

การค้ากับชาติตะวันตก 

ชาติตะวันตกเริ่มเข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พ.ศ. 2060) โดยโปรตุเกสเป็นชาติแรก แต่การค้ากับชาติตะวันตกเริ่มขึ้นอย่างจริงจังและกว้างขวางในรัชสมัยสมเด็จพระเอกทศรถเป็นต้นไป และถือว่าเจริญถึงขีดสุดในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

เมื่อพ่อค้าชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยานั้น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงให้การต้อนรับชาวตะวันตกอย่างดี กล่าวคือ ทรงอนุญาตให้โปรตุเกสตั้งบ้านเรือน ห้างร้าน ค้าขายและเผยแพร่คริสต์ศาสนาได้ ซึ่งโปรตุเกสก็ตอบแทนโดยช่วยจัดหาปืน กระสุนดินดำให้ และยังเข้ารับราชการในกองอาสาปืนไฟถึง 300 คน

ชาติแรกที่เข้ามาค้าขายกับอยุธยา

นอกจากชาวโปรตุเกสแล้วชาวตะวันตกชาติอื่นที่เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ สเปน ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส 

พ่อค้าชาวยุโรปที่เข้ามาติดต่อในครั้งนั้น เข้าในรูปของบริษัทการค้า เช่น บริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ บริษัทอินเดียตะวันออกของ ฝรั่งเศส เป็นต้น 

ชาวตะวันตกเหล่านี้เข้ามาตั้งห้างค้าขายทั้งในเขตกรุงศรีอยุธยา และเมืองท่าชายทะเลอื่น ๆ ของไทย เช่น นครศรีธรรมราช ปัตตานี สงขลา และมะริด เป็นต้น 

ในบรรดาพ่อค้าตะวันตกที่เข้ามาติดต่อ ค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาในช่วงนั้น พ่อค้าฮอลันดามีอิทธิพลมากที่สุด การค้าของชาติตะวันตกเจริญรุ่งเรืองขึ้นโดยลำดับจนถึงรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. 2165) จึงซบเซาลง ห้างของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา และบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษถึงกับปิดกิจการลงในปี พ.ศ. 2165 และ พ.ศ. 2167 ตามลำดับ 

จนถึงรัชสมัยพระเจ้าปราสาททองจึงได้มีการฟื้นฟูการค้ากับชาติตะวันตกขึ้นอีก ในช่วงนี้ทาง กรุงศรีอยุธยายอมอนุญาตให้ฮอลันดาผูกขาดการค้าสินค้า 2 ประเภท คือ หนังกวางและไม้ฝาง ฮอลันดากลายเป็นชาติที่มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจของกรุงศรีอยุธยา ทั้งยังเข้าคุมการค้าระหว่างกรุงศรีอยุธยากับญี่ปุ่นอีก ทำให้กรุงศรีอยุธยาไม่ได้รับประโยชน์จากการค้าเท่าที่ควร สมเด็จพระเจ้าปราสาททองจึงทรงหาทางแก้ไข โดยการหาตลาดใหม่ทางอินเดีย แถบชายฝั่งโคโรแมนเดิล และเมืองกัลกัตตา นอกจากนั้นยังทรงบัญญัติประเภทของสินค้าต้องห้ามเพิ่มเติม (สินค้าต้องห้ามคือ สินค้าที่ต้องซื้อขายผ่านพระคลังสินค้าของรัฐบาล) ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ฮอลันดาพยายามบีบบังคับกรุงศรีอยุธยาในเรื่องการค้ากับญี่ปุ่นจนกลายเป็นกรณีพิพาทขึ้น แต่ในที่สุดก็ยุติลงด้วยการทำสนธิสัญญา 11 สิงหาคม พ.ศ. 2207

การค้ากับต่างประเทศในสมัยกรุงศรีอยุธยาเริ่มเสื่อมโทรมลง เมื่อสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชาทรงขับไล่ชาวตะวันตกรวมทั้งพ่อค้าฝรั่งเศสออกไป ส่วนพ่อค้าอังกฤษ และฮอลันดาไม่ค่อยได้ติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยามาตั้งแต่ฝรั่งเศสเข้ามามีอิทธิพล ดังนั้นการค้ากับต่างประเทศจึงเสื่อมโทรมลง 

สินค้าขาเข้าที่กรุงศรีอยุธยาต้องการมี 2 ประเภท คือ สินค้าที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยของอาณาจักร ได้แก่ พวกอาวุธปืนกระสุนดินดำ และสินค้าที่ทางรัฐบาลพิจารณาเห็นว่า จะทำกำไร ได้แก่ ผ้าไหม ผ้าแพร ผ้าลาย เครื่องถ้วยชาม และเครื่องกระเบื้อง ผู้ซื้อสินค้าเหล่านี้ คือ พระมหากษัตริย์ เจ้านาย และขุนนาง

สินค้าออก สินค้าออกของราชอาณาจักรอยุธยาขายผ่านพระคลังสินค้า ทั้งนี้เพราะสินค้าพื้นเมืองบางชนิดเป็นที่ต้องการของชาวต่างประเทศมาก หากปล่อยให้ซื้อขายกันโดยเสรีเกรงว่าของเหล่านั้นจะหมดสิ้นไป ไม่มีใช้ในราชการบ้านเมือง จึงกำหนดให้เป็นสินค้าต้องห้าม ต้องซื้อขายผ่านพระคลังสินค้า เช่น ไม้กฤษณา นอแรด ดีบุก งาช้าง ไม้จันทน์ ไม้หอม และไม้ฝาง เป็นต้น สินค้าต้องห้ามนี้เพิ่มประเภทขึ้นโดยลำดับ เช่น ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง สินค้าต้องห้าม เช่น ดินประสิว ตะกั่ว ฝาง หมากสง หนังสัตว์ เนื้อไม้ งาช้าง ดีบุก ไม้หอม เป็นต้น

สินค้าที่ชาวต่างประเทศต้องการมากอีกอย่างหนึ่ง คือ ข้าว ตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ข้าวกลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญ โดยส่งไปประเทศจีนไม่น้อยกว่าปีละ 65,000 หาบ บางปีส่งไปหลายแสนหาบ และบางปีถึง 1 ล้าน 5 แสนหาบ

ชาติแรกที่เข้ามาค้าขายกับอยุธยา

        เงินตราหลักที่ใช้ยังคงเป็นพดด้วงเช่นเดียวกับสมัยสุโขทัย เพียงแต่มีการปรับปรุงให้สวยงามและมีขนาดเล็กกะทัดรัดขึ้น ปลายขาสั้นและไม่ชิดกันเหมือนของสุโขทัย รวมทั้งมีการทำรอยบากให้เล็กลงและตื้นขึ้น และเริ่มมีรอยเมล็ดข้าวสารมาแทนที่ เงินพดด้วงในสมัยนี้มีตราประทับเพียง 2 ตรา โดยตราที่ประทับอยู่ด้านบนคือ ตราจักร ซึ่งเป็นตราประจำแผ่นดิน ส่วนด้านหน้าเป็นตราประจำรัชกาลลักษณะต่าง ๆ เช่น ตราพุ่มข้าวบิณฑ์ ตราพระมหานครินทร์ ตราช่อดอกไม้ ตราช่ออุทุมพร ตราราชวัตร ตราช้าง และตราสังข์ เป็นต้น

ข้อมูลจาก :: http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=moonfleet&month=03-2011&date=03&group=194&gblog=13

ชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยาชาติแรก คือ ประเทศอะไร

ชาติตะวันตกเริ่มเข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พ.ศ. 2060) โดยโปรตุเกสเป็นชาติแรก แต่การค้ากับชาติตะวันตกเริ่มขึ้นอย่างจริงจังและกว้างขวางในรัชสมัยสมเด็จพระเอกทศรถเป็นต้นไป สำหรับการทำมาค้าขายกับต่างชาติโดยเฉพาะชาตินักเดินเรือจากยุโรปในช่วงที่ถือว่าเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดก็คือในรัช ...

ประเทศใดบ้างที่เข้ามาค้าขายกับ กรุงศรีอยุธยา

นอกจากชาวโปรตุเกสแล้วชาวตะวันตกชาติอื่นที่เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ สเปน ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส

ชาติตะวันตกชาติแรกที่อยุธยามีความสัมพันธ์ด้วยคือประเทศใด

โปรตุเกสเป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาเมืองไทยตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 16 ทั้งในด้านการทูตและในด้านการศาสนา จึงทำให้กรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้นได้เห็น “ฝรั่ง” เข้ามาตั้งถิ่นฐานทำการค้า ตลอดจนมีการเผยแผ่ศาสนาคริสเตียนนิกายคาทอลิกซึ่งสามารถจูงใจให้บรรดาคนจีนที่มาตั้งบ้านเรือนอยู่แล้ว และคนไทยบางส่วน “เข้ารีต” เป็นคริสเตียน ...

ชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยคือชาติใด

การค้า สังคม การเมือง และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม สรุปแล้วโปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เริ่มเข้ามาติดต่อกับไทย มีการแลกเปลี่ยนการเยือนของบุคคลสำคัญระหว่างกันมาตลอด

ชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยาชาติแรก คือ ประเทศอะไร ประเทศใดบ้างที่เข้ามาค้าขายกับ กรุงศรีอยุธยา ชาติตะวันตกชาติแรกที่อยุธยามีความสัมพันธ์ด้วยคือประเทศใด ชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยคือชาติใด ชาวตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยา คือชาติใด ชาวต่างชาติที่เข้ามาค้าขายกับอาณาจักรอยุธยา ได้แก่ การค้าขายสมัยอยุธยาเป็นแบบใด รากฐานทางเศรษฐกิจในสมัยอยุธยามี 2 ลักษณะคือ ชื่อการค้าของไทยในสมัยต่างๆได้แก่ ผลิตผลของอยุธยาซึ่งเป็นที่ต้องการของชาวต่างชาติ คือ ชาติตะวันตกที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับอยุธยา มีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร