ประเทศแรกที่รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ เยือนในการเสด็จประพาสยุโรป

การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการเสด็จพระราชดำเนินไปยังต่างประเทศในทวีปยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสยาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสานสัมพันธไมตรีแก่ประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป เพื่อให้ประเทศที่พระองค์เสด็จประพาสเหล่านั้นมองเห็นว่าประเทศสยามเป็นประเทศที่มีการพัฒนาตนเองและไม่ได้ล้าหลังป่าเถื่อน และเพื่อโอกาสในการร่วมกันแก้ไขปัญหาความมั่นคงและส่งเสริมความเป็นเอกราชของประเทศสยาม แม้จะอยู่ในช่วงท่ามกลางยุคล่าอาณานิคมก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะมีมูลเหตุมาจากกรณีพิพาทระหว่างสยามกับฝรั่งเศสในเหตุการณ์วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 หรือในปี พ.ศ. 2436 ที่ทำให้สยามเสียดินแดนมากที่สุดเท่าที่มีการเสียดินแดนให้แก่ชาติตะวันตก ผลจากการเสด็จพระราชดำเนินดังกล่าวนั้นทำให้พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่มาจากทวีปเอเชียที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนทวีปยุโรปอย่างจริงจังโดยทรงรู้จักแฝงแนวความคิดจิตวิทยาและการปฏิบัติตามธรรมเนียมยุโรปอีกด้วย
สำหรับประเทศที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินจากทั้งสองครั้ง มีดังต่อไปนี้
สหราชอาณาจักร
ฝรั่งเศส
เบลเยียม
เยอรมนี
อิตาลี
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
เดนมาร์ก
เชโกสโลวาเกีย
สวิตเซอร์แลนด์
จักรวรรดิรัสเซีย
สำหรับรายละเอียดแต่ละครั้ง มีดังต่อไปนี้

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงริเริ่มการเสด็จเยือนต่างประเทศทั้งในทวีปเอเชียและยุโรปทั้งอย่างเป็นทางการและเป็นการส่วนพระองค์แล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศด้วยพระราชประสงค์เช่นเดียวกับพระราชบิดา คือ เสด็จไปเจริญพระราชไมตรีกับต่างประเทศกับการเสด็จไปรักษาพระวรกายของพระองค์ มิเพียงแต่เท่านั้นยังทรงขยายเส้นทางไปสู่อินโดจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและแคนาดา และทุกครั้งยังมีสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จเคียงคู่เสมอ

ในระยะเวลา 9 ปีแห่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2468-2477) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ได้เสด็จประพาสต่างประเทศรวม 4 ครั้ง ดังนี้

การประพาสต่างประเทศครั้งที่ 1 ในปีที่ 5 ของการครองราชสมบัติ พ.ศ. 2472 ระหว่างวันที่ 31กรกฎาคม- 11 สิงหาคม พ.ศ.2472 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศสิงคโปร์ ชวา และบาหลี ซึ่งขณะนั้นอยู่ในการปกครองของประเทศอังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้เพื่อเจริญทางพระราชไมตรีและทอดพระเนตรภูมิสถานบ้านเมืองและความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศเหล่านั้น

การประพาสต่างประเทศครั้งที่ 2 ในปีที่ 6 ของการครองราชสมบัติ ระหว่าง พ.ศ. 2473 ระหว่างวันที่ 6เมษายน –8 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน (เฉพาะส่วนที่เป็นประเทศเวียดนาม และกัมพูชาปัจจุบัน) ซึ่งขณะนั้นอยู่ในการปกครองของประเทศฝรั่งเศส เพื่อเจริญพระราชไมตรีและก้าวข้ามจากความบาดหมางทั้งกับเจ้านายพื้นเมืองเดิมและสร้างสัมพันธภาพที่ดีเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ทางการทูต

-การประพาสต่างประเทศครั้งที่ 3 ในปีที่ 7 ของการครองราชสมบัติ ระหว่างวันที่ 6 เมษายน – 28 กันยายน พ.ศ. 2474 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และแคนาดา การเสด็จฯครั้งนี้นอกจากเพื่อกระชับสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศแล้วยังเพื่อรักษาพระเนตรที่สหรัฐอเมริกาด้วย เป็นเวลานานถึง 3 เดือนเต็ม และในพระราชวโรกาสที่เสด็จฯถึงกรุงวอชิงตัน เมื่อวันที่28 เมษายน พ.ศ. 2474 นั้นเอง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์นิวยอร์ค ไทม์ แสดงพระราชประสงค์จะทรงจำกัดพระราชอำนาจของพระองค์ และพระราชทานอำนาจนั้นแก่ราษฎรในการปกครองประเทศในรูปแบบเทศบาลขึ้นก่อนเพื่อเป็นฐานก้าวไปสู่ระบอบประชาธิปไตยในโอกาสต่อไป

4 ในปีที่ 8-9 ของการครองราชสมบัติ และ ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475 แล้ว ทั้งสองพระองค์เสด็จประพาสยุโรป 9 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส อิตาลี (นครรัฐวาติกัน) อังกฤษ เดนมาร์ก เยอรมนี เบลเยี่ยม เชคโกสโลวาเกีย ฮังการี และสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476 เพื่อกระชับสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ และเพื่อทรงรักษาพระเนตรอีกครั้งในประเทศอังกฤษ จนกระทั่งถึงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2477ซึ่งเป็นวันสละราชสมบัติ ณ ประเทศอังกฤษ

อาจกล่าวได้ว่าการเสด็จประพาสต่างประเทศ ทั้ง 4 ครั้งในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นไปเพื่อการเจริญสัมพันธไมตรี การทอดพระเนตรความเจริญของต่างประเทศเพื่อนำมาประยุกต์ในการพัฒนาประเทศสยามสืบต่อจากการปฏิรูปในสมัยรัชกาลที่ 5 อนึ่ง การเสด็จไปรักษาพระสุขภาพ โดยการผ่าตัดพระเนตรครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาในพ.ศ. 2474 และรักษาพระเนตรครั้งที่ 2 และรักษาพระทนต์ในประเทศอังกฤษ พ.ศ.2476

ภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของทั้งสองพระองค์ในต่างประเทศสะท้อนให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงเคียงข้างกันทั้งในยามสุขและยามทุกข์ ทั้งการเสด็จประพาสในประเทศ ภูมิภาคต่างๆทั้งในประเทศ และต่างประเทศ จนกระทั่งวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484

ในหลวงรัชกาลที่ 5 เคยมีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จเยือนยุโรป ตั้งแต่ครั้งเสด็จกลับจากการประพาสสิงคโปร์และชวาในปี พ.ศ. 2414 แต่ถูกทัดทานเอาไว้จากผู้สำเร็จราชการ คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์

ภายหลังเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ หรือ Gustave Rolin-Jaequemyns ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินชาวเบลเยี่ยม ได้กราบทูลเสนอแนะผ่านกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ ให้ในหลวงรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรป ตั้งแต่ก่อนการเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 จนกระทั่งภายหลัง สถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศมีความบีบคั้นและทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้พระองค์ปรึกษาหารือกับเจ้าพระยาอภัยราชาฯ และบุคคลที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยอีกสองท่าน โดยการปรึกษาหารือครั้งนั้น ทำให้พระองค์ตัดสินพระทัยเสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรก โดยมีกรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีมหาดไทย กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีต่างประเทศ และเจ้าพระยาอภัยราชาฯ ร่วมกันกำหนดเส้นทาง

จากพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2439 บ่งชี้ให้เห็นว่า แนวพระราชดำริในการเสด็จประพาสยุโรปครั้งนั้น ประกอบด้วยแนวทาง 3 ประการ คือ การสร้างสัมพันธไมตรีอันดี ความพยายามให้มีการปกครองที่เสมอกัน และเพื่อส่งเสริมสัมพันธไมตรีให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักของประเทศต่างๆ ในยุโรป ซึ่งอาจมีประโยชน์ทางการเมืองแก่ประเทศไทยในอนาคต และที่สำคัญที่สุดคือ เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างไทยกับฝรั่งเศส

นอกจากนี้ เป้าหมายสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกของไทยในสายตาชาวยุโรป เพื่อเป็นการเกื้อหนุนสถานะทางการเมืองระหว่างประเทศของไทย รวมไปถึงประโยชน์ในทางอธิปไตยของประเทศ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ “เป็นการประชาสัมพันธ์สยามประเทศด้วยพระองค์เอง” เป็นการสร้างภาพลักษณ์ความศิวิไลซ์ของไทยให้เป็นที่ประจักษ์ต่อมหาอำนาจและสาธารณชนในตะวันตก

ในการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2440 ในหลวงรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสประเทศในยุโรป รวม 13 ประเทศ ประกอบด้วย อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย ฮังการี (ภายหลังแยกเป็นประเทศออสเตรียและประเทศฮังการี) รัสเซีย สวีเดน นอร์เวย์ (ปัจจุบันแยกประเทศเป็น 2 ประเทศ คือ สวีเดนและนอร์เวย์) เดนมาร์ก อังกฤษ เบลเยียม เยอรมนี ฮอลันดา (หรือเนเธอร์แลนด์) ฝรั่งเศส สเปนและโปรตุเกส

การเสด็จพระประพาสยุโรปครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่พระมหากษัตริย์ของไทย ทรงดำเนินไปยังประเทศที่ห่างไกลเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ท่ามกลางบริบทประเทศที่กำลังเผชิญการคุมคามจากลัทธิจักรวรรดินิยมอย่างรุนแรง โดยพระองค์ได้ทรงปฏิญาณพระองค์ไว้ดังที่ปรากฏเป็นลายพระราชหัตถเลขา คำปฏิญาณตอนหนึ่งมีใจความว่า …

“ข้าพเจ้าขอปฏิญาณตนเฉพาะหน้าพระสงฆ์เถรานุเถรทั้งหลาย อันประชุมอยู่ ณ ที่นี้ ว่าการที่ข้าพเจ้าคิดจะไปประเทศยุโรป ณ ครั้งนี้ ด้วยข้าพเจ้ามุ่งต่อความดีแห่งพระราชอาณาจักร แลด้วยความหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ตัวข้าพเจ้าด้วย เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าตั้งใจจะรักษาตนให้สมควรแก่ที่เป็นเจ้าของประชาชนชาวสยามทั้งปวง จะรักษาเกียรติยศแห่งราชอาณาจักรอันเป็นเอกราชนครนี้จนสุดกำลังที่ข้าพเจ้าจะป้องกันได้ …”

การเตรียมการที่สำคัญก่อนการเสด็จประพาสยุโรป คือ การตั้งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน โดยพระองค์ได้ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระอรรคราชเทวี (ตำแหน่งก่อนการแต่งตั้ง) ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถและผู้สำเร็จราชการฯ อีกทั้งยังทรงเตรียมการด้านการประกาศเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเสนาบดีและขุนนาง เพื่อให้งานด้านต่างๆ ที่พระองค์ได้ทรงเริ่มต้นไว้ สามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนให้มีการประกาศให้ราษฎรทั่วไปได้รับทราบ

วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2440 เรือพระที่นั่งมหาจักรีได้เคลื่อนออกจากท่าราชวรดิฐ มุ่งหน้าสู่ยุโรป จนกระทั่งวันที่ 14 พฤษภาคม จึงได้เดินทางถึงเมืองเวนิส ประเทศอิตาลี ใช้เวลาทั้งสิ้นราว 5 สัปดาห์ ในช่วงเวลาการเดินทาง พระองค์ได้แวะเมืองหลายแห่งตามเส้นทาง ประกอบด้วย สิงคโปร์ ลังกา เอเดน อียิปต์ และเป็นการใช้เวลาระหว่างเสด็จทางเรือในการเตรียมพระองค์และบุคคลในคณะให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน

สำหรับการเสด็จประพาสยุโรปในครั้งนั้น นอกเหนือไปจากการเรียนรู้ความเจริญก้าวหน้าของโลกตะวันตกเพื่อนำมาปรับปรุงบ้านเมืองแล้ว วัตถุประสงค์สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การสร้าง “ภาพลักษณ์” ของ “ความศิวิไลซ์” ของไทยในการรับรู้ของมหาอำนาจและสาธารณชนในประเทศชาติตะวันตก แม้ว่าในทางการเจรจาอาจจะยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤติทางการเมืองโดยเฉพาะระหว่างสยามและฝรั่งเศสได้ทั้งหมด แต่ก็ถือได้ว่าปัญหาได้บรรเทาความตึงเครียดลงระดับหนึ่ง

เบื้องหลังการสร้าง “ภาพลักษณ์” ให้ชาวยุโรปโดยเฉพาะชาวราชสำนักต่างๆ เห็น “ความศิวิไลซ์” ของชาวสยามนั้น ก็มาจากเหตุผลหนึ่งที่ว่า ในยุคล่าอาณานิคมนั้น บรรดาชาติมหาอำนาจตะวันตกจะมีพื้นฐานความคิดที่ว่า ชาติของคนที่มีอารยะ หรือมี “ความศิวิไลซ์” คือ ชาติของชาวผิวขาว จึงเป็นความจำเป็นของชาวผิวขาว (White Man’s Burden) ที่จะต้องเข้ามาช่วยให้ชาติอื่นๆ ที่ป่าเถื่อน ล้าหลัง มีความเป็นรัฐที่ศิวิไลซ์ยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า แท้จริงภาพลักษณ์ของความมีอารยะหรือศิวิไลซ์ จึงขึ้นอยู่กับมุมมองและกรอบอ้างอิงของชาติที่มีอำนาจมากกว่า เพื่อถือเหตุนั้นเข้ามาล่าอาณานิคมในดินแดนที่ตนเองคิดว่าป่าเถื่อนล้าหลัง แต่เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและผลประโยชน์มากมายที่ตนเองต้องการ

นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมภาพลักษณ์ของความศิวิไลซ์ของสยาม จึงต้องมีความเหมาะสมเมื่อมองจากมุมของวัฒนธรรมยุโรป ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 5 ท่านทรงตระหนักในข้อนี้เป็นอย่างดี และการเสด็จประพาสยุโรปในครั้งแรกของพระองค์ ก็ได้เปลี่ยนภาพจำของชาวสยามในการรับรู้ของชนชาติตะวันตก ไปสู่ภาพลักษณ์แห่ง “ความศิวิไลซ์” ได้อย่างสำเร็จและงดงาม

การเสด็จประพาสยุโรปของ รัชกาลที่ 5 Soft Power ในการรักษาเอกราชอธิปไตยของไทย : ตอนที่ 2

ประเทศใดที่รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรป

ในการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2440 ในหลวงรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสประเทศในยุโรป รวม 13 ประเทศ ประกอบด้วย อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย ฮังการี (ภายหลังแยกเป็นประเทศออสเตรียและประเทศฮังการี) รัสเซีย สวีเดน นอร์เวย์ (ปัจจุบันแยกประเทศเป็น 2 ประเทศ คือ สวีเดนและนอร์เวย์) เดนมาร์ก อังกฤษ เบลเยียม เยอรมนี ...

ประเทศแรกที่รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จประพาสเป็นครั้งแรกคือประเทศใด

พุทธศักราช ๒๔๑๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จพระราชด าเนินเยือนสิงคโปร์และชวาอย่างเป็นทางการ ซึ่งถือเป็น ครั้งแรกที่พระองค์ได้เสด็จไปทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ วัตถุประสงค์ของการเสด็จพระราชด าเนินในครั้งนั้นก็เพื่อศึกษาความ เจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ รวมทั้งแบบอย่างการปกครองของ ...

ประเทศแถบยุโรปและเอเชียที่รัชกาลที่ 5 เสด็จเยือนมีประเทศใดบ้าง

การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.
สหราชอาณาจักร.
ฝรั่งเศส.
เบลเยียม.
เยอรมนี.
อิตาลี.
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี.
เดนมาร์ก.
เชโกสโลวาเกีย.

เพราะเหตุใดรัชกาลที่5 ทรงเสด็จประพาสต่างประเทศ

การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการเสด็จพระราชดำเนินไปยังต่างประเทศในทวีปยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสยาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสานสัมพันธไมตรีแก่ประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป เพื่อให้ประเทศที่พระองค์เสด็จประพาสเหล่านั้นมองเห็นว่าประเทศ ...