ขั้นตอนการทำงานของกระบวนการกลุ่มหมายถึงอะไร

กระบวนการทำงานกลุ่ม ประโยชน์ของการทำงานกลุ่ม อุปสรรคของกระบวนการทำงานกลุ่ม ทักษะการทำงานกลุ่ม

 ทำงานกลุ่ม กับ ทำงานเดี่ยว แบบไหนดีกว่ากัน

 การสะท้อนความคิดเห็นก่อนปฏิบัติการ ( Initial Reflection ) 
จากการที่ข้าพเจ้าได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาไทย ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ มาเป็นเวลา ๓๑ ปี ได้มอบหมายกิจกรรมให้นักเรียนนำไปปฏิบัติทั้งในชั่วโมงเรียนและนอกเวลาเรียน ลักษณะงานที่นักเรียนได้นำปฏิบัติมีทั้งงานในลักษณะที่เป็นรายบุคคล และเป็นกระบวนการกลุ่ม กิจกรรมที่เป็นกระบวนการกลุ่มมีตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป และไม่เกิน ๑๐ คน ซึ่งคาดหวังว่างานที่มอบหมายให้นักเรียนนำไปปฏิบัติทั้งสองลักษณะต้องเสร็จเรียบร้อย มีคุณภาพ และส่งตรง
ตามเวลาที่กำหนด แต่ผลปรากฏว่าชิ้นงานมักจะมีปัญหาเรื่องการกำหนดส่ง มีนักเรียนบางส่วนที่ส่งงานไม่เป็นไปตามข้อตกลง เมื่อซักถามมักให้เหตุผลต่าง ๆ นานา เช่น ลืมไว้ที่บ้าน งานได้ไม่ครบไม่สามารถเย็บเล่มส่งได้เนื่องจากชิ้นงานบางส่วนอยู่ที่เพื่อน ซึ่งวันที่กำหนดส่งไม่มาโรงเรียน ฯลฯ เมื่อเกิดสภาพปัญหาเช่นนี้ ข้าพเจ้าจึงได้ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นว่า การปฏิบัติกิจกรรมเพื่อทำชิ้นงานส่งครู นักเรียนคิดว่าการทำงานในรูปแบบใดที่เหมาะสมและสะดวกสำหรับนักเรียน ระหว่างการทำเป็นรายบุคคลกับการทำเป็นกระบวนการกลุ่ม 
การวางแผนปฏิบัติการ ( Planing )
ในการจัดการเรียนการสอนข้าพเจ้ามักใช้เทคนิคการสอนกระบวนการกลุ่ม จุดประสงค์เพื่อต้องการให้นักเรียนร่วมกันคิดร่วมกันทำ แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องการส่งงานที่ไม่เป็นไปตามกำหนด และเพื่อไม่ให้เกิดสภาพปัญหาดังที่กล่าวมา ดังนั้นหลังจากเปิดภาคเรียนที่ ๒ ได้ ๑ สัปดาห์ ข้าพเจ้าจึงทำความตกลงกับนักเรียนโดยให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมว่าต้องการทำในลักษณะใดระหว่างทำเป็นรายบุคคลกับทำเป็นกระบวนการกลุ่ม พร้อมทั้งให้นักเรียนเขียนถึงข้อดีและข้อเสียของการปฏิบัติกิจกรรมทั้งสองลักษณะ ปรากฏว่านักเรียนจำนวน ๑๓๒ คน ให้ความคิดเห็นว่าการปฏิบัติงานเป็นรายบุคคลดีกว่ากระบวนการกลุ่มเป็นจำนวน ๔๒ คน และการปฏิบัติงานโดยกระบวนการกลุ่มดีกว่าทำเป็นรายบุคคลเป็นจำนวน ๙๐ คนจากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่านักเรียนให้ความคิดเห็นว่าการปฏิบัติกิจกรรมโดยใช้กระบวนกลุ่มดีกว่าการปฏิบัติกิจกรรมที่ทำเป็นรายบุคคล จึงให้นักเรียนร่วมกันกำหนดข้อปฏิบัติในการทำงาน 
การปฏิบัติการ ( Action )
เมื่อถึงเวลาสอนและมีกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้กระบวนการกลุ่ม จะให้นักเรียนจัดกลุ่มกันเองตามความพึงพอใจ แล้วให้กำหนดบทบาทและหน้าที่ของตนเอง และที่สำคัญกำหนดเวลาในการส่งงานซึ่งต้องตรงตามเวลาที่กำหนด หากส่งไม่ตรงเวลาควรมีบทลงโทษอย่างไร นอกจากนั้นนักเรียนต้องวางแผนในการทำงานร่วมกัน โดยเขียนออกมาให้เห็นเป็นขั้นตอนอย่างชัดเจน อีกทั้งนักเรียนสามารถร่วมแสดงความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอชิ้นงานออกมาได้อย่างเต็มที่ ซึ่งงานทุกชิ้นไม่สามารถทำให้เสร็จในชั่วโมงเรียนได้ จึงให้นักเรียนนำไปทำนอกเวลาเรียนที่ว่าง หรือแบ่งหน้าที่กันไปทำที่บ้าน และเพื่อแก้ไขสภาพปัญหาที่มีนักเรียนบางคน (ส่วนน้อย) ที่ทำงานกลุ่มไม่เต็มที่ หรือไม่ให้ความร่วมมือ ข้าพเจ้าจะคอยติดตามความคืบหน้าในการทำงานของนักเรียนทุกกลุ่ม และจะสอบถามวิธีการทำงานของแต่ละบุคคลว่ามีขั้นตอนในการปฏิบัติอย่างไร เป็นการกระตุ้นเตือนไม่ให้เป็นการเอาเปรียบเพื่อนร่วมกลุ่ม 
การสังเกตผลการปฏิบัติ ( Observation )
หลังจากกำหนดกิจกรรมปฏิบัติให้นักเรียนทำโดยใช้กระบวนการกลุ่มแล้ว ผลปรากฏว่า
ผลงานของนักเรียนออกมาอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี มีคุณภาพ และที่สำคัญส่งตรงตามเวลาที่กำหนด ทำให้ไม่มีปัญหาในการตรวจเก็บคะแนน และนักเรียนมีความพึงพอใจในการทำงาน 
การสะท้อนความคิดเห็นหลังการปฏิบัติ ( Reflection )
งานวิจัยชิ้นนี้ทำให้ข้าพเจ้ามั่นใจว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการกลุ่มเป็นเทคนิคการสอนที่ส่งผลให้นักเรียนรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง รู้จักการเป็นผู้นำ
ผู้ตาม รู้จักการทำงานร่วมกันอันก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ เกิดความรักใคร่ เมตตา
ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อีกทั้งรู้จักการแสดงความคิดเห็นตามระบอบประชาธิปไตย เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลายในชิ้นงานที่ทำร่วมกัน และที่สำคัญรู้จักความรับผิดชอบสามารถส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด 
สรุปความคิดเห็นนักเรียนเกี่ยวกับการทำงานโดยใช้กระบวนการกลุ่มดีกว่าการทำงานเป็นรายบุคคล
ข้อดี
๑. รู้จักการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเป็นการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย และฝึกความอดทน ความเสียสละ
๒. รู้จักเพื่อนมากขึ้น อีกทั้งเป็นการเรียนรู้นิสัยของเพื่อน ๆ 
๓. ทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
๔. ลดภาระงานที่ทำเพราะมีการแบ่งหน้าที่ อีกทั้งเป็นการฝึกความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
๕. ร่วมกันปรึกษาหารือทำให้งานมีประสิทธิภาพและเสร็จเร็วยิ่งขึ้น สามารถส่งงานได้ตรงตามเวลาที่กำหนด
๖. มีความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลาย ทำให้งานออกมาหลายรูปแบบ
๗. ฝึกให้มีลักษณะนิสัยที่ไม่เห็นแก่ตัว
๘. ฝึกให้มีความกล้าแสดงออกและกล้าแสดงความคิดเห็นต่อสมาชิกคนอื่น ๆ ในกลุ่ม
๙. สร้างเสริมลักษณะนิสัยในการทำงานร่วมกับคนหมู่มาก
๑๐. ฝึกการทำงานในกระบวนการกลุ่ม และรู้จักในการวางแผนในการทำงานร่วมกัน
๑๑. ทำให้รู้จักการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
๑๒. ไม่เกิดความเครียดในการทำงาน
๑๓. สามารถหาจุดบกพร่องของงานได้ง่ายขึ้น
๑๔. ได้ข้อมูลจากแหล่งความรู้หลากหลายยิ่งขึ้น
๑๕. ได้พัฒนาความสามารถของตนเอง และไม่เป็นตัวถ่วงภายในกลุ่ม
๑๖. ฝึกความเป็นผู้นำและผู้ตาม
๑๗. ทำให้เป็นคนที่ตรงต่อเวลามากขึ้น มิเช่นนั้นจะทำให้งานของกลุ่มเสียหาย
ข้อเสีย
๑. หากแบ่งงานแล้วมีเพื่อนบางคนลืมนำงานมาโรงเรียนก็จะทำให้เสียทั้งกลุ่ม และบางคนทำงานช้า
๒. งานที่แบ่งหน้าที่กันทำอาจไม่เสมอภาคกัน
๓. อาจมีสมาชิกบางคนที่เห็นแก่ตัว ไม่ช่วยทำงาน ไม่รับผิดชอบ แต่ได้คะแนนเท่ากับคนที่ทำงานอย่างเต็มที่
๔. งานอาจออกมาไม่ตรงกับความต้องการ เพราะต้องทำตามความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ 
๕. หากเป็นงานที่ต้องเขียนงานอาจมีความแตกต่างกัน เช่น ลายมือ ความประณีต
๖. หากขาดความสามัคคีกันงานอาจออกมาล่าช้า 

แหล่งที่มา : vcharkarn.com

ขั้นตอนการทำงานด้วยกระบวนการกลุ่มมีอะไรบ้าง

๒.๓ ขั้นตอนการท างานด้วยกระบวนการกลุ่ม ๑. เลือกหัวหน้ากลุ่ม ๒. ก าหนดวัตถุประสงค์และ เป้าหมายของการท างาน ๓. วางแผนการท างาน ๔. ปฏิบัติงานตามหน้าที่ ที่ ได้รับมอบหมาย ๕. ประเมินผลและ ปรับปรุงการท างาน ขั้นตอนการท างาน ด้วยกระบวนการกลุ่ม

กระบวนการทํางานกลุ่ม มีความสําคัญ อย่างไร

กระบวนการกลุ่มมีความสำคัญกับการทำงาน การสร้างหรือผลิตชิ้นงาน และการซ่อมแซมปรับปรุง แก้ไขชิ้นงานเป็นอย่างมาก เพราะว่าการที่บุคคลหลายๆ คนมารวมกลุ่มกันทำงานย่อมเกิดเป็นพลัง ซึ่งเป็นการนำพลังมาใช้ในทางที่ดีเพื่อการทำงาน ช่วยส่งเสริมศักยภาพในการทำงานของกลุ่ม ทำให้เกิดการพัฒนากระบวนการกลุ่มในการสร้างคน สร้างงาน ดังนี้

ความหมายของกระบวนการกลุ่มมีความหมายว่าอย่างไร

สรุปกระบวนการกลุ่ม หมายถึง ขั้นตอน วิธีการ พฤติกรรมและปฏิสัมพันธ์ต่าง ๆที่ เกิดขึ้นในการท างานกลุ่ม ซึ่งจะช่วยให้กลุ่มด าเนินงานไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลงานที่ดีมี ความรู้สึกและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

กระบวนการทํางาน หมายถึงอะไร

กระบวนการ เป็นการทํางานอย่างมีระบบเป็นขั้นตอน ก่อให้เกิดทักษะแก่ผู้ทํางาน ช่วยให้การทํางาน ประสบผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ กระบวนการที่น่าสนใจ ได้แก่ กระบวนการทํางาน กระบวนการกลุ่ม กระบวนการแก้ปัญหา เป็นต้น กระบวนการทํางาน เป็นการทํางานอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน มุ่งมั่นผลสําเร็จของการทํางาน