ความสัมพันธ์โดยตรงของวัฒนธรรมองค์การกับการบริหารองค์การมา 4 ข้อ

ความสัมพันธ์โดยตรงของวัฒนธรรมองค์การกับการบริหารองค์การมา 4 ข้อ

วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง ระบบของการมีส่วนร่วมที่เกิดจากการกระทำ ค่านิยม ความเชื่อ เจตคติ อุดมการณ์ของสมาชิกในองค์การ รวมถึงพฤติกรรมที่มีการปฏิบัติกันอย่างสม่ำเสมอ เป็นบรรทัดฐานของกลุ่มที่คาดหวังหรือสนับสนุนให้สมาชิกปฏิบัติตามและเป็นสิ่งที่ทำให้องค์การหนึ่งแตกต่างจากองค์การอื่นๆ

ลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมองค์การ

มิติที่ 1 แบ่งเป็น
1. วัฒนธรรมเด่น (Dominant Culture)
จะเป็นลักษณะของคนในองค์การโดยรวมซึ่งจะเห็นได้จากค่านิยมหลักขององค์การนั้น เป็นวัฒนธรรมของคนส่วนใหญ่ที่รับรู้และยอมรับ ตลอดจนเข้าใจร่วมกัน

2. วัฒนธรรมย่อย (Subculture)
จะเป็นวัฒนธรรมของกลุ่มงาน แผนกงาน หรือพื้นที่งาน ซึ่งในองค์การหนึ่ง ๆ ที่มีหลายกลุ่มงานหรือแผนกงานก็จะมีวัฒนธรรมย่อย ๆ หลายแบบ

มิติที่ 2 แบ่งเป็น
1. วัฒนธรรมที่เข้มแข็ง (Strong Culture)
หมายถึง วัฒนธรรมที่มีน้ำหนักมาก คนเห็นพ้องต้องกันและยอมรับมากจึงเปลี่ยนแปลงยาก วัฒนธรรมที่เข้มแข็งจะมีผลต่อการควบคุมพฤติกรรมได้มาก และทำให้สมาชิกขององค์การมีแรงยึดเหนี่ยวกันสูง มีความจงรักภักดีและผูกพันต่อองค์การมาก ในองค์การทางการทหารหรือในองค์การของชาวเกาหลีและญี่ปุ่น จะมีวัฒนธรรมองค์การที่มีน้ำหนักและมีความเข้มแข็งมากกว่าองค์การแบบตะวันตก อันเป็นผลมาจากการได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมประจำชาตินั่นเอง

2. วัฒนธรรมที่อ่อนแอ (Weak Culture)
จะเป็นวัฒนธรรมที่คนอาจจะไม่เห็นพ้องต้องกันมาก และเปลี่ยนแปลงได้ง่าย และไม่ค่อยมีน้ำหนักต่อสมาชิกเท่าไรนัก ซึ่งปรากฏในองค์การที่เพิ่งก่อตั้งหรือองค์การที่มีอายุไม่ยาวนานนัก วัฒนธรรมองค์การจึงอาจยังไม่มีน้ำหนักต่อสมาชิกมากเท่าใดนัก หรืออาจจะเกิดขึ้นในองค์การที่ผู้นำไม่ได้ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมขององค์การมากนัก หรือเนื่องจากองค์การเปิดรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ จากสภาพแวดล้อมมาก

มิติต่างๆของวัฒนธรรมองค์การ ( Dimentions of Organizational Culture )

1. ค่านิยม (Values) จะเป็นแนวทางชี้นำพฤติกรรมพื้นฐานของกิจวัตรประจำวัน ซึ่งจะสะท้อนวิสัยทัศน์ และความเชื่อขององค์การที่ชัดเจน

2. เรื่องราวขององค์การที่มีความสำคัญ (Organizational Stories with Underliling Meanings)
ในหลายองค์การจะมีเรื่องราวที่เล่าต่อๆกันมา ซึ่งจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและเป็นแรงกระตุ้นให้พนักงานยึดเป็นแบบอย่างในการทำงาน 3. ตำนาน (Myths) เป็นเรื่องเล่าที่ตื่นเต้นเร้าใจหรือเป็นเหตุการณ์ที่ถูกจินตนาการขึ้นเกี่ยวกับประวัติของบริษัท

3. ระดับของความมั่นคง (Degree of Stability)
บริษัทที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วจะมีวัฒนธรรมที่แตกต่างจากบริษัทที่ก้าวหน้าช้า ผู้บริหารสูดสุดจะมีจุดยืนในการบริหาร มีการยอมรับยอมรับนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยสร้างความก้าวหน้าและรักษาความมั่นคงของบริษัทได้
4. การจัดสรรทรัพยากรและรางวัล (Resource Allocations and Rewards) วิธีที่องค์การใช้ในการจัดสรรเงินรางวัลและทรัพยากรอื่นๆ จะส่งสัญญาณว่าบริษัทให้คุณค่ากับอะไร ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรม รวมถึงการลงทุนในทรัพยากรต่างๆ

5. พิธีการและพิธีกรรม (Rites and Rituals) ส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์การประกอบด้วยประเพณีต่างๆ หรือพิธีการหรือพิธีกรรมของบริษัท เป็นการเน้นย้ำค่านิยมขององค์การ เช่น พิธีมอบรางวัลดีเด่นให้แก่พนักงาน งานเกษียณอายุ งานต้อนรับผู้มาเยือน

6. ความรู้สึกเป็นเจ้าของ (A sense of Ownership) การที่บริษัทสร้างวัฒนธรรมที่ทำให้พนักงานรู้สึกเหมือนกับว่าพวกเขาเป็นเจ้าของบริษัทด้วย จะมีส่วนทำให้พนักงานมีแรงบันดาลใจ รวมไปถึงความจงรักภักดี การเพิ่มความพยายามในการทำงานและความสนใจที่จะมีส่วนร่วมไปในทิศทางเดียวกับบริษัท

7.จิตวิญญาณขององค์การ (Organization Spirituality)
จะเกี่ยวข้องกับคนในทุกระดับงาน เป็นแรงสนับสนุนที่มองไม่เห็น แต่เป็นสิ่งที่เชื่อได้ว่าจะช่วยรักษาตัวพนักงานและงานของพนักงานให้ดำเนินต่อไป เมื่อต้องพบกับสิ่งที่ลำบากยากเข็ญขึ้น

8. การมีนวัตกรรม (Innovativeness) สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมนวัตกรรมจะช่วยทำให้แต่ละบุคคลมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทำให้เกิดการแข่งขันภายในบริษัท สร้างความกระตือรือร้น และเกิดผลงานที่แปลกใหม่มากขึ้น

การเกิดขึ้นและการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมองค์การ
     การเริ่มต้นของวัฒนธรรมไม่ว่าจะเป็นขนมธรรมเนียม ประเพณี และวิถีทางในการกระทำสิ่งต่าง ๆ ส่วนใหญ่แล้วมาจากสิ่งที่เคยมีการกระทำมาก่อนและเป็นความสำเร็จของผู้ก่อตั้งหรือผู้ที่ได้ริเริ่มบากบั่นมา ผู้ก่อตั้งองค์การมีอิทธิพลสำคัญต่อการสร้างหรือการริเริ่มวัฒนธรรมองค์การ พวกเขาจะมีวิสัยทัศน์ว่าองค์การควรจะเป็นอย่างไร และมีการถ่ายทอดไปยังสมาชิกขององค์การ การสร้างวัฒนธรรมองค์การสามารถเกิดขึ้นได้ในสามแนวทาง คือ 1) ผู้ก่อตั้งจะจ้างพนักงานและรักษาพนักงานที่มีความคิดและความรู้สึกในทางเดียวกันกับพวกเขา 2) พวกเขาจะปลูกฝังความเชื่อและขัดเกลา (Socialize) ให้พนักงานคิดและรู้สึกไปในทิศทางเดียวกันกับพวกเขา 3) พฤติกรรมของผู้ก่อตั้งจะเป็นแบบอย่าง (Role Model) ที่ส่งเสริมให้พนักงานประพฤติเช่นเดียวกับพวกเขาโดยการปลูกฝังความเชื่อ ค่านิยม และคติฐาน (Assumptions) เมื่อองค์การประสบความสำเร็จ วิสัยทัศน์ของผู้ก่อตั้งจะถูกมองว่าเป็นตัวกำหนดที่สำคัญที่สุดของความสำเร็จ และที่จุดนี้บุคลิกภาพทั้งหมดของผู้ก่อตั้งจะสอดแทรกเข้าไปอยู่ในวัฒนธรรมองค์การ

การรักษาวัฒนธรรมให้คงอยู่ (Keeping a Culture Alive)

1. การคัดเลือก (Selection) เป้าหมายที่ชัดเจนของกระบวนการ

2. ผู้บริหารระดับสูง (Top Management) การกระทำของผู้บริหารระดับสูงมีผลกระทบต่อวัฒนธรรมองค์การอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการแสดงพฤติกรรมของพวกเขา ผู้บริหารอาวุโสจะเป็นผู้กำหนดบรรทัดฐานและผ่านลงไปยังองค์การ

3. การขัดเกลาทางสังคม (Socialization) องค์การมีความจำเป็นต้องตั้งใจช่วยให้พนักงานใหม่ปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์การ กระบวนการในการปรับตัวนี้เรียกว่า “การขัดเกลาทางสังคม”

วิธีการสร้างวัฒนธรรมองค์การ

ขั้นตอน 1: ทำความเข้าใจ
ขั้นตอน 2: ลงมือปฏิบัติ
ขั้นตอน 3: มีส่วนร่วม
ขั้นตอน 4: ความร่วมมือ
ขั้นตอน 5: ต้องมีความรับผิดชอบ

หน้าที่ของวัฒนธรรมองค์การ

1. ให้ความรู้สึกเป็นเอกลักษณ์
2. กระตุ้นความผูกพันร่วมกัน
3. ส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงของระบบสังคมภายในองค์การ
4. มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลและกลุ่มในองค์การ

การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์การของสมาชิกองค์การ

สุนทร วงศ์ไวศยวรรณ (2540) องค์การสามารถชักจูงหรือชีแนะให้พนักงานเกิดการเรียนรู้และยอมรับวัฒนธรรมองค์การด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

1. พิธีการและงานฉลองต่าง ๆ ในหน่วยงาน
2. การปฐมนิเทศ
3. การฝึกอบรม
4. เกณฑ์การให้รางวัลและการลงโทษ
5. แบบอย่างจากพนักงานดีเด่นและผู้บริหาร
6. เรื่องเล่าและตำนานภายในองค์การ
7. เพลงประจำหน่วยงาน
8. การประกวดหรือแข่งขัน

การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร

วัฒนธรรมองค์กรหรือองค์การ หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดในองค์กร หรือ องค์การนั้นๆ ซึ่งนำไปสู่ความเจริญงอกงามตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ กลายเป็นองค์กรที่มีความเจริญอย่างยั่งยืน จึงเป็นวิถีทางที่คนในองค์การส่วนใหญ่หรือทั้งหมด ยึดถือประพฤติปฏิบัติ และทำงานร่วมกัน สร้างความเจริญงอกงามให้กับองค์กร

หน้าที่ของวัฒนธรรมองค์การ

หน้าที่สำคัญของวัฒนธรรมองค์การ คือ ช่วยแก้ปัญหาพื้นฐานของโดยปัญหาสำคัญก็จะมีอยู่ 2 ประการที่สมาชิกองค์การจำเป็นต้องแก้ไขเพื่อให้องค์การอยู่รอด คือ การปรับตัวภายนอกและการปรับตัวภายใน ซึ่งทั้ง 2 ปัญหาก็จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของลักษณะการทำงาน การปรับตัวภายนอกเป็นการคิดถึงความจำเป็น ความสำเร็จ ว่าจะทำได้อย่างไร ส่วนการปรับตัวภายใน หรือ การบูรณาการภายในองค์การ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาการใช้ชีวิตร่วมกันและการทำงานร่วมกัน ดังนั้นการจะทำให้องค์การสามารถแก้ไขปัญหาได้สำเร็จและการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของวัฒนธรรมองค์การ ดังนี้

1. ให้ความรู้สึกเป็นเอกลักษณ์
2. กระตุ้นความผูกพันร่วมกัน
3. ส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงของระบบสังคมภายในองค์การ
4. มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลและกลุ่มในองค์การ

วัฒนธรรมและบรรยากาศขององค์การ
บรรยากาศองค์การและวัฒนธรรมองค์การ ต่างเป็นสิ่งที่จำแนก หรือ แยกแยะองค์การหนึ่งๆ ออกจากองค์การอื่นๆ และสามารถส่งผลหรือมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลหรือผลการปฏิบัติงาน ของบุคคลหรือของกลุ่ทที่อยู่ในองค์การนั้นๆได้ รวมถึงอาจจะส่งผลต่อความสำเร็จขององค์การ อย่างไรก็ตามบรรยากาศองค์การมีความแตกต่างจากวัฒนธรรมขององค์การในหลายประเด็น

เมนูนำทางเรื่อง

cm by methinee_018