บริเวณจุดบอด blind area ตามทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี่

จากตอนที่แล้วหากแบ่งเวลา และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ก็จะไม่ทำให้การมีความรักของวัยรุ่นส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับบุคคลสำคัญรอบข้าง แต่ในข้อนี้จะเน้นไปที่ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตัววัยรุ่นเอง

จุดเริ่มต้นของความรักวัยรุ่นมักมองความรักเป็นสิ่งสวยงาม หอมหวานน่าชื่นชม โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นความสัมพันธ์ นั่นเพราะช่วงเริ่มต้นความสัมพันธ์เป็นช่วงที่ต่างฝ่ายต่างแสดงข้อดีของตนเองออกมา เพื่อสร้างความประทับใจให้แก่กันและกัน ซึ่งมีจำนวนมากที่หลงไปกับความหอมหวานในช่วงระยะนี้ ทำให้อาจละเลย มองข้ามในสิ่งที่ไม่ถูกไม่ควรไป และต้องมาเสียใจในภาพหลังเมื่อภาพแรกเห็นไม่ตรงกับที่สิ่งที่เป็นจริง เพราะอะไรนั้น ไปติดตามกันได้ในคลิปด้านล่างเลยค่ะ

ทฤษฏีหน้าต่างโจฮารี ถือเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการอธิบายแนวคิดการตระหนักในตนเอง และการเปิดเผยตนเอง (self-disclosure) หน้าต่างดังกล่าวนี้สามารถแบ่งได้เป็นสี่ส่วน แต่ละส่วนแสดงความแตกต่างของความมาก-น้อย ในการรับรู้ของคนแต่ละคนที่มีต่อตนเองและการรับรู้ของผู้อื่นที่มีต่อคนผู้นั้น ซึ่งแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ

บริเวณเปิดเผย (Open Area)  คือ ข้อมูลทั้งหมดในส่วนที่เป็นพฤติกรรม ทัศนคติ ความรู้สึก ความต้องการแรงจูงใจ ความคิดเห็น ฯลฯ ที่เป็นที่รับรู้ทั้งของผู้อื่นและของตัวเอง พื้นที่ในส่วนเปิดนี้จะมากหรือน้อยย่อมขึ้นกับระดับความสัมพันธ์ ความใกล้ชิดที่มีต่อกันของแต่ละคนลุฟท์ระบุว่า ยิ่งส่วนนี้มีน้อยเท่าไร ย่อมหมายถึงปัญหาทางการสื่อสารที่ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพราะจุดเริ่มต้นของการสื่อสารที่ดีนั้นต้องอาศัยระดับการเปิดตนเองของกันและกันให้เป็นที่รู้จักเสียก่อนนั่นเอง

บริเวณจุดบอด (Blind Area) คือ ส่วนที่ผู้อื่นสามารถรู้แต่ตนเองไม่รู้เช่น คำพูดบางคำที่เรามักพูดเสมอโดยไม่รู้ตัวหรือการแสดงอากัปกิริยาที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว เช่น หน้าแดงทุกครั้งเมื่อรู้สึกอับอายหรือโกรธ หรือการแสดงออกความวิตกกังวลผ่านสีหน้า แววตาของตนเอง ซึ่งคนอื่นสังเกตเห็นโดยเจ้าตัวไม่รู้ เป็นต้น วิธีที่จะลดส่วนบอดเพื่อที่จะได้รู้จักตนเองในส่วนนี้คือ การพยายามหาข้อมูลในส่วนที่ไม่รู้นี้จากผู้อื่นด้วยการสร้างความไว้วางใจ และความจริงใจในการสื่อสารระหว่างกัน การเปิดตนเองกับคู่สื่อสารจะช่วยทำให้คู่สื่อสารวางใจและเปิดเผยในส่วนนี้ให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบได้

บริเวณจุดซ่อนเร้น (Hidden Area) คือ ตนเองรู้ คนอื่นไม่รู้ หมายถึง เรารู้ว่าตัวเองมีจุดบกพร่อง แต่ปกปิดเป็นความลับไม่ให้คนอื่นรู้

และบริเวณไม่รู้ (Unknown Area) คือ ส่วนที่ไม่มีใครรู้แม้แต่ตนเอง ทั้งในส่วนที่เป็นเชิงบวกเช่น พรสวรรค์ต่าง ๆ หรือในเชิงลบ เช่น พฤติกรรมที่ค่อนข้างซับซ้อนที่ต้องอาศัยนักจิตวิทยา หรือกระบวนการทางจิตบำบัดในการช่วยค้นหาคำตอบส่วนไม่รู้นี้อาจเป็นพฤติกรรมบางพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเป็นผลสืบเนื่องจากส่วนนี้ เช่น การที่พบว่าเด็กผู้หญิงเกลียดแม่ของตนเอง อาจเกิดจากความรู้สึกอิจฉา การรู้สึกอยากแข่งขันเพื่อได้รับความรักจากพ่อของตน เป็นต้น

ดังนั้นเมื่อมนุษย์มีการรับรู้ตัวเอง 4 บาน การสร้างความสัมพันธ์ ‘เพื่อให้ได้อีกฝ่ายมาเป็นคนรักของเรา’ นั้น มนุษย์จึงมักซ่อนสิ่งไม่ดีของตนเองไว้ และแสดงแต่สิ่งที่คิดว่าดีและจะสร้างความประทับใจได้ออกมา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘การไม่เปิดเผยตัวตนที่แท้จริง’ ด้วยความที่วัยรุ่นเป็นวัยที่ใช้อารมณ์ในการตัดสินค่อนข้างมาก ทำให้อาจถูกภาพแรกบดบังความจริงได้ ดังนั้นวัยรุ่นควรเข้าใจว่า การเริ่มต้นความสัมพันธ์ที่สวยงามเหล่านั้นอาจไม่ใช่ของจริงเสมอไป เราต้องเรียนรู้ ศึกษา ใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ตัวตนของอีกฝ่ายให้มากที่สุด

ไม่ใช่แค่ช่วงเริ่มความสัมพันธ์เท่านั้น แต่เราควรมีการเปิดเผยตนเองในทุกช่วงความสัมพันธื เพื่อให้ความสัมพันธ์ของเราดำเนินไปได้อย่างราบรื่นค่ะ สำหรับตอนหน้าเราจะมา Love Talk เทคทิคอะไรกันนั้น คลิกได้ที่ ตอนที่ 3: ที่ปรึกษาที่รัก เมนูด้านขวามือได้เลยค่ะ ^^

28 ก.ค. 2561 เวลา 17:13 น. 17.3k

 

 

บริเวณจุดบอด blind area ตามทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี่


เมื่อนักจิตวิทยา 2 คน โจเซฟ ลุฟท์ (Joseph Luft) และ แฮร์รี อิงแกรม (Harry Ingram) ได้พัฒนาหน้าต่าง 4 บาน ที่สะท้อนพฤติกรรมของผู้คนในเรื่องการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หน้าต่างแห่งตัวตนดังกล่าวจึงมีชื่อเรียกตามคำแรกของชื่อผู้เสนอโมเดลนี้ว่า Johari window

ตาราง 4 ช่อง เปรียบเสมือนหน้าต่าง 4 บาน ที่แสดงถึงพฤติกรรมของตัวเราที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยมีแกนนอน เป็นเรื่องของการรู้จักตนเอง (Known by self) และแกนตั้งเป็นเรื่องของการรู้จักโดยผู้อื่น (Known by others) โดยมีชื่อของแต่ละบาน ดังนี้


บริเวณจุดบอด blind area ตามทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี่


หน้าต่างที่ 1 ชื่อ “เปิดกว้าง” (open) ใครก็ตามที่มีพฤติกรรมอยู่ในช่องหน้าต่างนี้ เป็นคนที่รู้จักตนเองได้ดี รู้ว่าตัวเองมีข้อดี ข้อเสียอะไร หนำซํ้ายังเป็นคนเปิดเผยต่อผู้อื่น คิดอย่างไร ก็พูดอย่างนั้น ซ่อนเร้นไม่เป็น ดังนั้น จึงจัดอยู่ในประเภทรู้จักตนเอง และคนอื่นก็รู้จักเราดี

ในมุมการสื่อสาร เขาว่าเป็นหน้าต่างที่ดี และควรขยายหน้าต่างนี้ออกไปให้กว้างที่สุด เพราะข่าวสารข้อมูลต่างๆ ที่เป็นตัวเรา จะได้ไปถึงคู่สนทนาหรือคนอื่นๆ ความเข้าใจอันดีทั้งหลายทั้งปวงย่อมเกิดขึ้น

ในมุมทางการเมือง กลับมองตรงข้าม การให้ข่าวสารข้อมูลเปิดเผยตัวตนมากเกินไป ให้คนอื่นเห็นเราแบบกระจ่างชัดในทุกเรื่องอาจไม่เป็นผลดี ข้อมูลที่ให้มากเกินไป (TMI.= To much information) อาจกลายเป็นผลเสีย คนอื่นรู้เรา แต่เราไม่รู้เขา การศึกอาจพ่ายแพ้ได้

หน้าต่างที่ 2 ชื่อ “ซ่อนเร้น” (Hidden) หน้าต่างนี้แสดงถึงตนเองรู้จักตนเองดีพอสมควร แต่จะปิดบังซ่อนเร้นตัวตนที่แท้ของตนไม่ให้ใครอื่นล่วงรู้ เข้าทำนองชีวิตนี้ยังมีเรื่องมากมายให้ใครต่อใครเซอร์ไพรส์

ในมุมทางการเมือง Hidden ดูจะเป็นอะไรที่เดาทางยาก นึกไปถึง ชุมนุมมังกรซ่อนพยัคฆ์ พยัคฆ์ระหํ่ามังกรผยองโลก(crouching tiger hidden dragon) หนังจีนรางวัลออสการ์เรื่องดังของผู้กำกับอังลี ที่ผู้มีวิทยายุทธแต่กลับปิดบังซ่อนเร้นอำพรางฝีมือ ก่อนนำออกมาใช้ยามคับขันจำเป็น

แต่ในทางบริหาร Hidden กลับเป็นสิ่งที่เมื่ออีกฝ่ายจับทางได้ ย่อมสร้างความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน และนำไปสู่ความล้มเหลวในการทำงานเป็นทีม เนื่องจากความระแวงสงสัยในความไม่จริงใจในการเปิดเผยข้อมูลของฝ่ายเรา ดังนั้น ในมุมการบริหาร จึงควรลดหน้าต่างนี้ให้เล็กลง ด้วยการสื่อสารในเรื่องของตนเองให้มากขึ้น

หน้าต่างที่ 3 ชื่อ “มืดบอด” (Blind) เหมือนเวลาที่เราขับรถและมองกระจกข้าง จะมีบางจุดที่เป็น Blind spot ที่เราไม่สามารถเห็นรถคันที่อยู่หลังเรา แต่เขาสามารถเห็นเราได้ชัดเจน อุบัติเหตุจึงเกิดขึ้นได้หากเราสุ่มเสี่ยงออกไปในจุดที่เรามองไม่เห็น


บริเวณจุดบอด blind area ตามทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี่


การ “ตาบอด” ย่อมไม่เป็นผลดีทั้งในมุมบริหารและการเมือง นั่นคือการสุ่มเสี่ยงดำเนินการในเรื่องที่เป็นจุดอ่อนของตนแต่ตนเองกลับไม่รับรู้ในสิ่งนั้น ดังนั้นการขยายหน้าต่างนี้ให้กว้างขึ้น คือ ต้องพร้อมเปิดกว้างรับฟัง “ข้อวิจารณ์” หรือความเห็นจากคนรอบข้างถึงตัวตนของเรา อาจเป็นคำไม่รื่นหู อาจทำให้เราเจ็บปวด แต่ก็เป็นความจริงเกี่ยวกับตัวเราที่จะทำให้เรา “ตาสว่าง” ขึ้น

หน้าต่างที่ 4 ชื่อ “ไม่รู้” (Unknown) เป็นโซนของหน้าต่างที่น่ากลัวที่สุด เพราะเราเองก็ยังไม่รู้และคนอื่นก็ไม่รู้ ไม่มีใครเตือนใครได้ อาจเป็นพฤติกรรมที่ลึกอยู่ใต้จิตสำนึกที่ไม่เคยเปิดเผยหรือเป็นที่รับรู้ของใคร ดังนั้นหากมีหน้าต่างบานนี้อยู่ สิ่งที่พึงกระทำคือ การพยายามลดให้เหลือบานเล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยการรับฟังข้อวิจารณ์จากผู้อื่น เพื่อให้เรารู้จักตนเองมากขึ้น และเปิดเผยตัวตนต่อคนอื่นให้มากขึ้น เพื่อให้คนอื่นได้รู้จักเรา

หากตัวเองเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ แถมยังไม่น้อมรับฟังคำวิจารณ์จากผู้อื่น ไม่สามารถทนฟังการวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมใดๆ ได้ หรือ เปิดรับฟังเฉพาะส่วนที่เราฟังแล้วรื่นหูเท่านั้น โอกาสที่จะรู้จักตัวเราเองก็จะน้อยลง ความไม่รู้ก็จะเป็นสภาวะที่ติดตัวเราตลอดไป

เปิดหน้าต่าง “เปิดกว้าง” ให้มากขึ้น

เปิดเผยตนเองเพื่อลดหน้าต่างที่ “ซ่อนเร้น”

น้อมรับฟังข้อวิจารณ์จากชาวบ้าน เพื่อขจัดบานหน้าต่าง “จุดบอด”

ทำทุกวิธีการเพื่อขจัดหน้าต่างบาน “ไม่รู้”

หากทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้ เขาว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างเรากับคนรอบข้างไม่ว่าจะเป็นการงานหรือครอบครัว จะเป็นไปอย่างราบรื่นและเกิดผลดี ไม่เชื่อก็ต้องลองดูครับ

......................................
| บทความ : Management tools
| โดย: สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการองค์กรอิสระ /ผู้มีภูมิหลังเป็นนักวิชาการด้านการจัดการ
| หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3387 ระหว่างวันที่ 29 ก.ค.-1 ส.ค.2561


บริเวณจุดบอด blind area ตามทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี่


 

ถูกรางวัล"สลากดิจิทัล" เช็ควิธีขึ้นเงินผ่านแอปฯเป๋าตัง ครบจบทุกขั้นตอน

01 ธ.ค. 2565 เวลา 23:30 น.

เช็คเลขเด็ด1/10/65 สถิติ”หวยออก 1 ตุลาคม”ย้อนหลัง 10 ปี

30 ก.ย. 2565 เวลา 20:03 น.

เช็กสถิติ"หวยออกเดือนตุลาคม" สลากกินแบ่งรัฐบาล ย้อนหลัง 10 ปี

30 ก.ย. 2565 เวลา 17:09 น.

เช็คเส้นทาง"พายุโนรู"เข้าไทย ล่าสุด จากกรมอุตุฯแบบชัดๆที่นี่

28 ก.ย. 2565 เวลา 21:17 น.

พยากรณ์อากาศวันนี้ - 2 ต.ค.ไทยฝนเพิ่มกับมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ลมแรง

26 ก.ย. 2565 เวลา 17:30 น.

ทฤษฎีหน้าต่างของโจฮารี่ คืออะไร

หน้าต่างของโจฮารีจึงยืนยันความจริงเกี่ยวกับตัวตนของมนุษย์ว่า ไม่มีใครรู้จักตนเองได้อย่างถ่องแท้ แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาเพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องเชื่อมสัมพันธ์กับผู้อื่นตลอดเวลา จุดนี้เองเป็นทั้งเหตุผลและความหวังที่ทำให้คนเรารู้จักปรับพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้นได้เสมอ นำไปสู่เป้าหมายหลักที่ลุฟท์และอิงแกรมเสนอไว้เป็น ...

อวิชชา (Unknown Area) ในทฤษฎีของ Johari's Window คือข้อใด

4. ส่วนอวิชชา (Unknown area) เป็นส่วนที่ทั้งเราและคนอื่นไม่รู้ว่ามีในตัวเรา เป็นบริเวณที่ ต้องสํารวจ ศึกษา หรือค้นคว้าเพิ่มเติม ซึ่งอาจเป็นคุณลักษณะที่ยังไม่เปิดเผยหรือเป็นศักยภาพทั้งหมดที่แฝง

Johari Window มีกี่ Area

โดยทฤษฎีนี้จะแบ่งหน้าต่างเป็นสี่บาน มีทั้งด้านที่เรารู้จักตัวเอง และด้านที่คนอื่นรู้จักเรา แล้วแต่ละบานเป็นอย่างไรบ้าง มาดูกันเลยดีกว่า 1 – หน้าต่างบานแรก (ด้านซ้ายบน) บานนี้คือ 'เรารู้เขาก็รู้' เป็นด้านที่เรารู้ว่าตัวเองเป็นและคนอื่นก็มองเห็นเหมือนกัน

หน้าต่างโจฮารีบานไหนอันตรายที่สุด

หน้าต่างที่ 4 ชื่อ “ไม่รู้” (Unknown) เป็นโซนของหน้าต่างที่น่ากลัวที่สุด เพราะเราเองก็ยังไม่รู้และคนอื่นก็ไม่รู้ ไม่มีใครเตือนใครได้ อาจเป็นพฤติกรรมที่ลึกอยู่ใต้จิตสำนึกที่ไม่เคยเปิดเผยหรือเป็นที่รับรู้ของใคร ดังนั้นหากมีหน้าต่างบานนี้อยู่ สิ่งที่พึงกระทำคือ การพยายามลดให้เหลือบานเล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยการรับฟัง ...