บอกความปลอดภัยในการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์

เครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องใช้ในการดำรงชีวิต ดังนั้น จึงควรรู้จักวิธีการประกอบ ติดตั้ง ดูแลบำรุงรักษาและแก้ไขในเบื้องต้น ทั้งนี้เพื่อความสะดวก ปลอดภัย และประหยัดค่าใช้จ่าย

1.1 ศึกษาคุณลักษณะเฉพาะของอุปกรณ์ เครื่องใช้ประเภทนั้น ๆ  ที่จะนำมาประกอบและติดตั้งภายในบ้าน

1.2 กำหนดตำแหน่ง สถานที่ติดตั้ง เครื่องใช้ภายในบ้านให้เหมาะสมกับการใช้งานและมีความปลอดภัย เช่น พื้น ผนังบ้านเป็นไม้หรือคอนกรีต เป็นต้น

1.3 ศึกษาวิธีการประกอบและติดตั้งอุปกรณ์ เครื่องใช้ภายในบ้านแต่ละประเภทซึ่งล้วนแตกต่างกันไป เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทเครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องซักผ้า จำเป็นจะต้องต่อสายดินเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ เป็นต้น

1.4 อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ควรติดตั้งในสถานที่มีความชื้นมาก

1.5 จัดเตรียมเครื่องมือสำหรับประกอบและติดตั้งให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ที่ติดตั้ง

1.6 ประกอบและติดตั้งอุปกรณ์ เครื่องใช้ภายในบ้านตามคู่มือที่ผู้ผลิดแนะนำ และทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ เครื่องใช้ ภายหลังจากที่ทำการติดตั้งสำเร็จเรียบร้อยแล้ว

คำว่า “ผลิตภัณฑ์” หรือ “product” มีหลายความหมาย แต่ตามคำจำกัดความของคอตเลอร์ และอาร์มสตรอง ได้ให้ไว้ดังนี้

“ผลิตภัณฑ์” หมายถึงสิ่งใดๆ ที่สามารถนำเสนอขายให้แก่ตลาดเพื่อให้เกิดความสนใจ ความต้องการเป็นเจ้าของ การใช้ หรือการบริโภคซึ่งเป็นสิ่งที่ (อาจจะ) ตอบสนองความต้องการและความจำเป็นของผู้ซื้อให้ได้รับความพอใจ ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วยสิ่งขิงที่มีรูปร่าง บริการเหตุการณ์ บุคคล สถานที่ องค์การ ความคิด หรือสิ่งเหล่านี้รวมกัน

ระดับของผลิตภัณฑ์

1.ผลิตภัณฑ์ หลัก หมายถึง อรรถประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ที่ให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งผู้ซื้อมีความต้องการเพราะสามารถที่จะนำไปสนองความต้องการของเขาให้ได้ รับความพอใจได้

2. ผลิตภัณฑ์จริง หมายถึงส่วนที่เป็นลักษณะรูปร่างของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เสนอให้กับตลาด ผลิตภัณฑ์จริงประกอบด้วยคุณลักษณะสำคัญ 5 ประการ คือ

2.1 ระดับคุณภาพ

2.2 ลักษณะหรือสัญลักษณ์

2.3 การออกแบบ

2.4 ชื้อตรา

2.5 การบรรจุภัณฑ์

3. ผลิตภัณฑ์ควบ หมายถึงบริการหรือประโยชน์ที่ผู้วางแผนผลิตภัณฑ์เสนอให้เพิ่มเติมควบคู่กับ รายการผลิตภัณฑ์ เช่น การติดตั้ง การบำรุงรักษา หรือการบริการหลังการซื้อ

 การจำแนกประเภทของผลิตภัณฑ์

สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. ผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภค (consumer product)

2. ผลิตภัณฑ์เพื่อการอุตสาหกรรม (industrial product)

สรุป

ผลิตภัณฑ์ หมายถึงสิ่งใดๆ ที่สามารถนำเสนอขายให้แก่ตลาด เพื่อทำให้ความต้องการและความจำเป้น (ของผู้ซื้อ) ได้รับการสนองทำให้ได้รับความพอใจ ผลิตภัณฑ์แบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ ผลิตภัณฑ์หลัก ผลิตภัณฑ์จริง และผลิตภัณฑ์ควบ

ผลิตภัณฑ์ สามารถจำแนกประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ปะเภทคือ ผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภค และผลิตภัณฑ์เพื่อการอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สะดวกซื้อ ผลิตภัณฑ์เปรียบเทียบซื้อ ผลิตภัณฑ์เจาะจงซื้อ และผลิตภัณฑ์ที่ไม่แสวงซื้อ

สวัสดีค่ะ ดิฉัน น.ส. ชนันธร แหยมโต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 เลขที่ 13 สรุปเนื้อหาของหน่วยที่ 6 ได้ดังนี้

ความหมายของการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์
– คือ การนำความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัสดุต่างๆ การใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน

ประโยชน์ของการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ด้วยตนเอง
– สามารถทำให้เราใช้เวลาว่างได้อย่างเกิดประโยชน์
– ทำให้เราสามารถฝึกด้วยตนเองได้
– ทำให้เราเกิดความภาคภูมิใจ และสามารถเป็นแนวคิดที่จะนำไปประกอบอาชีพได้

องค์ประกอบสำคัญในการติดตั้งอุปกรณ์และผลิตภัณฑ์
– ต้องมีความรู้
– ต้องมีทักษะและเทคนิคในการติดตั้งอุปกรณ์
– ต้องทำงานอย่างเป็นระบบ

ความปลอดภัยในการติดตั้งอุปกรณ์
– แต่งตัวให้รัดกุม
– ศึกษาวิธีการติดตั้งให้ระเอียด

วิธีการติดตั้งอุปกรณ์
– ทำตามขั้นตอนที่ศึกษาอย่างเป็นระบบ และควรทำให้ถูกต้อง

ตอบกลับ

  • www.arreelak.wordpress.com, on กันยายน 4, 2012 at 2:52 pm said:

    ชื่อ ด.ญ.สมฤดี สุทธิศักดิ์ ชั้น ม.3/2 เลขที่ 20 สรุปการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ ค่ะ ความหมายของการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ การติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับงานช่างกับมาใช้ในการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน

    ความหมายของการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์
    – คือ การนำความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัสดุต่างๆ การใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน

    ประโยชน์ของการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ด้วยตนเอง
    – สามารถทำให้เราใช้เวลาว่างได้อย่างเกิดประโยชน์
    – ทำให้เราสามารถฝึกด้วยตนเองได้
    – ทำให้เราเกิดความภาคภูมิใจ และสามารถเป็นแนวคิดที่จะนำไปประกอบอาชีพได้

    องค์ประกอบสำคัญในการติดตั้งอุปกรณ์และผลิตภัณฑ์
    – ต้องมีความรู้
    – ต้องมีทักษะและเทคนิคในการติดตั้งอุปกรณ์
    – ต้องทำงานอย่างเป็นระบบ

    ความปลอดภัยในการติดตั้งอุปกรณ์
    – แต่งตัวให้รัดกุม
    – ศึกษาวิธีการติดตั้งให้ระเอียด

    ใบความรู้ที่ 4.3 หน่วยที่ 4 ธุรกิจเพื่อชีวิต เรื่ององค์ประกอบของธุรกิจ หน้าที่ และประโยชน์ของธุรกิจ ง 23105 ม.3

    พ.ค. 16

    Posted by krupaga

    ใบความรู้ที่  4.3  เรื่ององค์ประกอบ  หน้าที่และประโยชน์ของธุรกิจ  ง 23105
    องค์ประกอบสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจทุกประเภท  มีดังนี้
    1.  คน(Man) เป็นองค์ประกอบที่ทำหน้าที่หลักในการดำเนินงาน  ก่อให้เกิดสินค้า และบริการต่าง ๆ ควบคุมและัดการองค์ประกอบอื่น ๆ ให้ธุรกิจดำเนินงานไปในทิศทางซึ่งนำไปสู่เป้าหมายที่คาดหวังไว้
    2.  เงิน (Money)เป็นองค์ประกอบที่จะนำไปบริหารจัดการต่าง ๆ เช่นซื้อสินค้ามาเพื่อจำหน่ายใช้ในการขนสง  ตลอดจนจ้างแรงงานต่าง ๆ จึงต้องมีการนำเงินทุนส่วนตัวหรือเงินทุนที่กู้ยืมมาจากธนาคารหรือสถาบันการเงินต่างๆมาจัดสรรให้คุ้มค่าและมีเงินสำรองไว้เพื่ใช้ในสถานการณ์ที่จำเป็น
    3.  วัสดุหรือวัตถุดิบ(Material) เป็นองค์ประกอบที่จะนำไปผลิตสินค้า  ซึ่งต้องเลือกใช้เฉพาะที่มีคุณภาพราคาเหมาะสมปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและไม่ก่อความเสียหายให้แก่ธุรกิจ
    4.  เทคโนโลยี(Techmology) เป็นองค์ประกอบที่จะช่วยให้การผลิตสินค้าทำได้อย่างรวดเร็วได้ปริมาณมาก  มีมาตรฐานเดียวกัน  ตลอดจนมีระบบฐานข้อมูลที่ช่วยให้การเก็บข้อมูลสินค้าและลูกค้าสะดวก  ปลอดภัย  และง่ายต่อการค้นหา
    5.  การจัดการ(Management)เป็นองค์ประกอบที่จะทำให้สินค้าและบริการมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพโดยครอบคลุมการจัดการสินค้า  ขั้นตอนหรือกระบวนการต่างๆรวมถึงเงินและแรงงาน
    6.  การตลาด(Marketing) เป็นองค์ประกอบที่จะทำให้การกระจายสินค้าไปถึงและตรกลุ่มเป้าหมาย  โดยใช้การโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการตลอดจนมีการส่งเสริมการขายให้สามารถต่อสู้กับธุรกิจอื่นเช่นลดแลกแจกแถม
    หน้าที่ของธุรกิจ
    หน้าทีจะแตกต่างกันไปตามประเภทธุรกิจซึ่งสามารถกล่าวโดยรวมได้ดังนี้
    1.  การผลิตสินค้า  เป็นหน้าที่การผลิตสินค้าที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคทั้งในด้านคุณณภาพและราคา
    2.  การให้บริการ  เป็นหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกสบายในด้านต่างๆดูแลเอาใจใส่ผู้บริโภค
    3.  การแจกจ่ายและการจัดจำหน่ายสินค้า  เป้นหน้าที่ในการกระจายสินค้าให้ไปถึงผู้บริโภคในพื้นที่ต่าง ๆ  อย่างทั่วถึง สรรหา  จัดช่องทางการขนส่งต่างๆที่ง่ายต่อการจัดจำหน่าย
    4.  การจัดซื้อ  เป็นหน้าที่ในการจัดซื้อวัตถุดิบ  เครื่องมื  และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนการผลิต  การจัดจำหน่ายและการให้บริการซึ่งสิ่งที่จัดซื้อมานั้นต้องมีคุณภาพ  ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
    5.  การเก็บรักษาสินค้า  เป็นหน้าที่ในการเก็บรักษาสินค้าให้มิดชิดและปลอดภัยเพื่อรอการนำออกไปจำหน่าย
    6.  การจัดทำโฆษณา  เป้นหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการให้ผู้บริโภครู้จักและเข้าใจเพื่อประกอบการตัดสินใจ
    7.  การจัดการทางการเงินและบัญชี  เป็นหน้าที่ในการจัดหาและบริการเงินทุนให้ได้กำไรสูงสุดรวมถึงจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายที่ครอบคลุมทุกกิจกรรมการเงินและการเสียภาษี
    8.การจัดหาทรัพยากรมนุษย์  เป็นหน้าที่ในการสรรหากำลังคนที่มีความสามารถและมีคุณภาพ
    ประโยชน์ของธุรกิจทางตรง
    1.  ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น
    2.  สินค้าและบริการมีการกระจายออกไปสู่พื้นที่ต่าง ๆได้อย่างทั่วถึง
    ประโยชน์ของธุรกิจทางอ้อม
    1.  สร้างทางเลือกใให้กับผุ้บริโภค
    2.  ลดปัญหาอาชญากรรม

     

     

     

     

    เขียนใน การงาน ม.3 ปี58 ง 23105, ใบความรู้ ง 23105 ม.3

    2 ความเห็น

    ใบความรุ้ที่ 4.2 หน่วยที่ 4 ธุรกิจเพื่อชีวิต เรื่องวัตถุประสงค์และประเภทของธุรกิจ ง 23105 ม.3

    พ.ค. 13

    Posted by krupaga

    ใบความรู้ที่ 4.2  เรื่องวัตถุประสงค์ของธุรกิจและประเภทของธุรกิจ ง 23105 ม.3
    การประกอบธุรกิจมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน  ดังนี้
    1.  กำไร  เป็นเป้าหมายหลักของการประกอบธุรกิจผู้ประกอบธุรกกิจนั้นย่อมหวังผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินมากกว่าจำนวนที่ได้ลงทุนไปเพื่อเป็นรายได้นำไปใช้จ่ายในเรื่องอื่นๆ
    2.  ให้สิ่งที่ดีที่สุดแก่ผู้บริโภคในราคาที่เหมาะสมและสามารถแข่งขันกับองค์กรธุรกิจอื่น ๆได้ถีงแม้ว่าเป้าหมายคือกำไรแต่ผู้ประกอบการไม่ควรเอากำไรเกินควรในยุคที่การแข่งขันธุรกิจมีมากมายหากมีการค้ากำไรเกินควรจะส่งผลให้ธุรกิจขาดทุนผู้บริโภคหันไปใหห้ความสนใจในสินค้าหรือธุรกิจอื่นที่ไม่ค้ากำไรเกินควรดังนั้นการขายสินค้าหรือบริการที่ดีและมีคุณภาพสูงแก้่ผู้บริโภคในราคาที่เหมาะสมจึงจะสามารถแข่งขันกับธุรกิจอื่นได้
    3.  ความมั่นคงทางธุรกิจ  เมื่อธุรกิจได้รับความนิยมและการยอมรับจากผู้บริโภคและคู่ค้าแล้วจะก่อให้เกิดรายได้และความมน่าเชื่่อถือตามมาซึ่งส่งผลต่อความมั่นคงของธุรกิจนั้น
    4.  ความก้าวหน้าและการเจริญเติบโตของธุรกิจ  เมื่อธุรกิจมีความมั่นคงทั้งด้านการเงินและความน่าเชื่อถือ  ก็จะสามารถพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้า  ผลิตสินค้าและบริการใหม่ ๆ  ออกมาสู่ตลาด  ขยายกิจการให้ใหญ่
    วัตถุประสงค์หลักของธุรกิจ  คือ ความต้องการผลกำไรมากที่สุด  ซึ่งแตกต่างจากองค์กรภาครัฐต่าง  ๆที่เน้นการให้บริการกับประชาชนโดยไม่หวังผลตอบแทนในขระเดียวกันธุรกิจต้องการกำไรแต่ไม่ได้หมายความว่าจะกอบโกยผลกำไรเพียงอย่างเดียวโดยละเลยคุณภาพ  ความรับผิดชอบตลอดจนผลกระทบต่อสังคมอื่นๆเช่นผู้ประกอบการนั้นต้องผลิตสินค้าที่มีคุณภาพจำหน่ายในราคาที่เหมาะสมโดยขั้นตอนการผลิตตลอดจนผลิตภัณฑ์นั้นต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไม่ก่อให้เกิดมลพิษและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
    ประเภทของธุรกิจ  มีดังนี้
    1. ธุรกิจแบ่งตามกิจกรรมการดำเนินงานของธุรกิจนั้น ๆ เป็น  3  กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
    1.1  การผลิตสินค้า  ธุรกิจที่ดำเนินงานเกี่ยวกับตัวสินค้าหรือผู้ผลิต  ได้แก่  ธุรกิจการเกษตร  ธุรกิจเหมืองแร่  ธุรกิจอุตสาหกรรม  และธุรกิจก่อสร้าง
    1.1.1  ธุรกิจการเกษตร  ได้แก่การทำนา  ทำสวน  ทำไร่  ทำการประมง  การเลี้ยงสัตว์และการทำป่าไม้
    1.1.2  ธุรกิจเหมืองแร่  เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการขุดเจาะนำทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ มาใช้เช่  ถ่านหิน  ดีบุก  น้ำมัน เป็นต้น
    1.1.3  ธุรกิจอุตสาหกรรม  เป็นธุรกิจการผลตดานอื่น ๆ  ทั้งอุตสาหกรรมในครัวเรือนและอุตสาหกรรมขนาดย่อม  เช่นงานประดิษฐ์จากวัสดุธรรมาติ  การแปรรูปอาหารในท้องถิ่นซึ่งเป็นธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งใช้แรงงาน  เครื่องจักรและเงินจำนวนมาก
       1.1.4  ธุรกิจก่อสร้าง  เป็นธุรกิจที่นำผลผลิตของอุตสาหกรรม  เช่น  ดิน  หิน  ปุนซีเมนต์มาก่อสร้างสิ่งอื่น ๆ เช่น  อาคารที่อยู่อาศัย  ถนน  สะพาน
      1.2  การพาณิชย์  ธุรกิจประเภทนี้เปรียบได้เหมือนพ่อค้าคนกลางที่นำสินค้าจากผู้ผลิตมาจำหน่ายต่อให้ผู้บริโภคกลุ่มต่างๆ ได้แก่  ธุรกิจการค้าส่งเช่นห้างสรรพสินค้า  ธุรกิจค้าปลีกเช่น  ร้านค้าสะดวกซื้อ  ร้านขายของซำ  แฟรสไซส์
    1.3 การให้บริการ ธุรกิจประเภทนี้เน้นการอำนวยความสะดวกให้กับผุ้บริโภคมากกว่าการจำหน่ายสินค้า  ซึ่งแบ่งออกได้  2  ประเภทดังนี้
      1.3.1  ธุรกิจที่ให้บริการด้านการเงิน  เช่น  สถาบันทางการเงิน  และธนาคารต่าง ๆ เป็นต้น
    1.3.2  ธุรกิจที่อำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวัน  เช่น  บริการขนส่งมวลชน  การสื่อสาร  ร้านเสริมสวย  ร้านซัรีด  สถานเสริมความงาม  สถานบันเทิง
    2.  ธุรกิจแบ่งตามรูปแบบของการปรกอบการตามกฎหมาย  แบ่งได้  5  ปะเภท  ดังนี้
    2.1  กิจการเจ้าของคนเดียว  เป็นธุรกิจขนาดเล็กที่ดำเนินารและบริหารงานเพียงคนเดียวมีลูกจ้างไม่กี่คนข้อดีคือ  ใช้เงินทุนน้อย  หาทำเลที่ตั้งได้ง่าย  ไม่ยุ่งยากเมื่อเลิกกิจการ  กำไรที่ได้เป็นของเจ้าของกิจการเพียงคนเดียวแต่มีข้อเสียคือเจ้าของกิจการต้องรับผิดชอบในหนี้สินเพียงผู้เดียว  การขยายกิจการทำได้ยากเพราะมีเงินทุนจำกัดและธุรกิจไม่มั่นคง
    2.2  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  เป็นธุรกิจซึ่งต้องมีบุคคลตั้งแต่  2  คนขึ้นไป  ร่วมกันลงทุนและเป็นเจ้าของโดยมีวัตถุประสงค์จะแบ่งกำไรร่วมกันและมีการตกลงกันด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรการก่ตั้งทำไ้ง่ายมีความมั่นคงทางการเงิน  มีประสิทธิภาพและมีการเสี่ยงในการขาดทุนน้อยลงกว่ากิจการเจ้าของคนดียวแต่มีข้อเสียคือการดำเนินกิจการต่าง ๆเป็นไอย่างล่าช้า  อาจเกิดความขัดแย้งระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนและต้องรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกดจำนวน  ห้างหุ้นส่วนแบ่งได้เป็น  2  ประเภท  ได้แก่  ห้างหุ้นส่วนสามัญและห้างหุ้นส่วนจำกัด (ข้อสอบ O-net )

    ข้อแตกต่างระหว่างห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

              ห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนจำกัด มีข้อแตกต่างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีดังนี้
    ห้างหุ้นส่วนสามัญ มีลักษณะสำคัญคือ           1. มีผู้เป็นหุ้นส่วนเพียงประเภทเดียว คือ ประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบในหนี้สิน
    2. ผู้เป็นหุ้นส่วนมีสิทธิเข้าจัดการกับห้างหุ้นส่วนได้
    3. ทุนที่นำมาเป็นเงินสด สินทรัพย์ต่าง ๆ และแรงงานได้
    4. จดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้
    5. เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวได้
    6. เมื่อหุ้นส่วนผู้ใดถึงแก่ความตายหรือลาออกจากห้างหุ้นส่วน หรือล้มละลาย สัญญาเข้าเป็นหุ้นส่วนเป็นอันสิ้นสุดต้องเลิกกิจการ
    ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีลักษณะสำคัญคือ           1. มีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภท คือประเภทที่ไม่จำกัดความรับผิดชอบ และประเภทที่จำกัดความรับผิดชอบ
    2. ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบไม่มีสิทธิเข้าจัดการกับห้างหุ้นส่วน
    3. หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบลงทุนเป็นแรงงานไม่ได้
    4. ต้องจดทะเบียน และมีสถานภาพเป็นนิติบุคคล
    5. เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ
    6. หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ ตาย ลาออก หรือล้มละลาย ไม่ต้องเลิกกิจการ

     2.3  บริษัทจำกัดเป็นธุรกิจที่มีผู้จัดตั้งตั้งแต่  7  คนขึ้นไปเข้าชื่อกันจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิด้วยความสมัครใจมีการแบ่งเงินทุนออกเป็นหุุ้น  ซึ่งมีมูลค่าหุ้นเท่า ๆกันวึ่งผู้ถือหุ้นจะรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบตามมูลค่าของหุ้นที่ตนถืออยู่ข้อดีของธุรกิจนี้มีความมั่นคงทางการเงินสูงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของ  ธุรกิจก็สามารดำเนินการไปได้อย่างต่อเนื่อง  กรณีผู้ถือหุ้นตาย  ล้มละลาย  หรือศาลสั่งให้เป็นผู้ไร้ความสามารถ  ธุรกิจไม่ต้องเลิกล้มกิจการ ผู้ถือหุ้นสามารถขายหรือโอนหุ้นให้กับผู้อื่นได้  แต่มีข้อเสียคือขั้นตอนในการจัดตั้งยุ่งยากมีข้อจำกัดในด้านกฏหมายมาก  สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน  รักษาความลับของธุรกิจได้ยากและขาดความภักดีของผู้บริหารงานซึ่งมักว่าจ้างมาจากภายนอก
    2.4  สหกรณ์  เป็นธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นด้วยบุคคลตั้งแต่  10  คนขึ้นไปร่วมเข้าชื่อกันด้วยความสมัครใจ  ดำเนินการโดยยึดหลักประชาธิปไตยเพื่อดำเนินธุรกิจหรือบริการและช่วยเหลือสมาชิกหรือแก้ปัญหาคนกลาง
    2.5  รัฐวิสาหกิจ  เป็นธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นด้วยทุนรัฐบาลทั้งหมดหรือรัฐบาลมีหุ้นมากกว่าร้อยละ  50 มีข้อดีคือช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้นเพราะเป็นแหล่งรายได้ของรัฐและยังควบคุมสินค้าที่ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพแต่มีข้อเสียคือภาคเอกชนหมดโอกาสที่จะลงทุนเพียงผู้เดียวและเงินหมุนเวียนจะลดลงเนื่องจากถูกนำไปลงทุน

     

     

     

     

     

    เขียนใน การงาน ม.3 ปี58 ง 23105, ใบความรู้ ง 23105 ม.3

    ใส่ความเห็น