สรุป รูป แบบ งาน ทัศน ศิลป์ ตะวันตก ม. 5

       ศิลปะตะวันออกจุดเด่นคือการสื่ออารมณ์ความรู้สึกจินตนาการของศิลปินเข้าไปแต่อาจแตกต่างกันไปตามความเชื่อ   ความศรัทธา  สภาพความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อม  วัฒนธรรม  การเมือง  และการปกครอง  ของแต่ละยุคสมัย  

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕

๑_หลักสูตรวิชาทัศนศิลป์

๒_แผนการจัดการเรียนรู้

๓_PowerPoint_ประกอบการสอน

๔_Clip

๕_ใบงาน_เฉลย

๖_ข้อสอบประจ าหน่วย_เฉลย

๗_การวัดและประเมินผล

๘_เสริมสาระ

๙_สื่อเสริมการเรียนรู้

บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จ ากัด : 142 ถนนตะนาว เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
Aksorn CharoenTat ACT.Co.,Ltd : 142 Tanao Rd. Pranakorn Bangkok 10200 Thailand
โทรศัพท์ : 02 622 2999 โทรสาร : 02 622 1311-8 [email protected] / www.aksorn.com

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒

รูปแบบงานทัศนศิลป์ตะวันออก

จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. วิเคราะห์และเปรียบเทียบงานทัศนศิลป์ในรูปแบบตะวันออกและรูปแบบตะวันตกได้
๒. อภิปรายเกี่ยวกับอิทธิพลของวัฒนธรรมระหว่างประเทศที่มีผลต่องานทัศนศิลป์ในสังคมได้

รูปแบบงานทัศนศิลป์

• ทัศนศิลป์ หมายถึง ศิลปะที่สื่อความหมายและรับรู้ได้ด้วยการเห็น เช่น ผลงานประเภทจิตรกรรม (Painting) ประติมากรรม
(Sculpture) สถาปัตยกรรม (Architecture) ภาพพิมพ์ (Graphic Art) เป็นต้น โดยผลงานทัศนศิลป์จะแสดงรูปภาพ รูปทรง

ด้วยการใช้ความหมาย หรือร่องรอยที่ปรากฏเห็นได้ สามารถแบ่งออกเป็นรูปแบบที่ส าคัญได้ ๓ ลักษณะ

๑ ศิลปะรูปลักษณ์ (Figurative Art)

• เป็นศิลปะรูปธรรม ที่แสดงรูปลักษณ์ของคน สัตว์ และสิ่งอื่นๆ ที่เห็นในธรรมชาติ ศิลปิน

จะน าเสนอสิ่งที่เค้าได้พบเห็น ไม่มีการบิดเบือนความจริงตามธรรมชาติ การสร้างสรรค์

ไม่ใช่แค่การเลียนแบบธรรมชาติ แต่ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดลงไปในงาน

รูปปั้น “ชายทะเล” ผลงานของเซซาเร อะปินี
จากพระทนั่งวิมานเมฆ
ี่
ศิลปะแสดงรูปลักษณ์ของคน

๒ ศิลปะไร้รูปลักษณ์ (Non-figurative Art)

• เป็นศิลปะที่ใช้การแยกความรู้สึก หรืออารมณ์ออกจากความจริง มีความประสานกลมกลืนขององค์ประกอบ และทัศนธาตุมาก

หรืออาจมีการเขียนภาพให้ดูพร่ามัว ไม่ชัดเจน มีการใช้ลีลาแบบซ้ าๆ กัน ผลงานเป็นงานที่แทบจะไม่มีเค้าโครงเดิมของธรรมชาติ

อยู่เลย การถ่ายทอดก็จะไม่สนใจเรื่องราวที่ตาเห็น

ภาพนามธรรม หรือไร้รูปลักษณ์
ภาพศิลปะชิ้นนี้เป็นผลงานของแจ็กสัน พอลล็อก

๓ ศิลปะกึ่งไร้รูปลักษณ์ (Semi-figurative and Non-figurative Art)

• เป็นศิลปะที่เกิดจากการตัดทอนรูปทรงบางส่วนออกไปจากความจริงมีการถ่ายทอดอยู่ระหว่างศิลปะรูปลักษณ์ และศิลปะ

ไร้รูปลักษณ์ อาจเป็นนามธรรมมากหรือน้อยก็ได้ บางทีรูปที่เห็นอาจเปลี่ยนจากธรรมชาติจนไม่สามารถจ าได้ ผู้ชมต้องใช้

การสังเกตมากในการชมผลงาน

ภาพกึ่งนามธรรมหรือกึ่งไร้รูปลักษณ์
ผลงานของศิลปินในอังกฤษ

รูปแบบงานทัศนศิลป์ตะวันออก

รูปแบบทัศนศิลป์อินเดีย

• สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ย้อนหลังไปในช่วง พ.ศ. ๒๔๖๔ นักโบราณคดีได้เริ่มขุดหาหลักฐานทางโบราณคดี เพื่อพิสูจน์

ความรุ่งเรืองของอินเดียในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และจากการขุดค้นท าให้ได้ทราบความจริงเกี่ยวกับการสร้างเมืองโบราณ

นับร้อยแห่ง แต่มีสองแห่งที่ส าคัญ คือ ซากเมืองโบราณฮารัปปา และ โมเฮนโจ - ดาโรบริเวณลุ่มแม่น้ าสินธุและตอนบนของ
ลุ่มแม่น้ าคงคา ผลการศึกษาพบว่า เมืองเหล่านี้สร้างตั้งแต่เมื่อประมาณ ๒,๕๐๐ หรือ ๒,๐๐๐ ปี ก่อนคริสต์ศักราช

ภาพถ่ายทางอากาศแสดงอาณาเขตเมืองโมเฮนโจ-ดาโร

• ลักษณะการสร้างสรรค์งานของอินเดียแสดงให้เห็นถึงความเชื่อ และความคิดสร้างสรรค์ เช่น ที่ประทับตราแกะสลักจากหินสบู่

แต่ละอันมักจะมีรูปลักษณ์เป็นภาพเทพเจ้าและสัตว์ประเภทต่างๆ เช่น วัว ควาย เสือ มีการจารึกเครื่องหมาย หรือตัวอักษร
ประมาณ ๒๗๐ ตัว ซึ่งอาจเป็นการก าเนิดของตัวอักษรอินเดียก็เป็นได้

• มีการพบเครื่องประดับท าด้วยหินมีค่าหลายชนิด บาชนิดท าด้วยกระดูกสัตว์ งาช้าง เปลือกหอย หรือประเภทดินเผาท าเป็นรูปนก

และสัตว์ เป็นของเด็กเล่น เป็นต้น
• หลักฐานบางชิ้นท าให้พบว่าอินเดียมีการติดต่อกับเมโสโปเตเมียและอียิปต์ ซึ่งดูได้จากประติมากรรมลอยตัวขนาดเล็ก

เป็นรูปครึ่งตัวของชายมีเครา ใบหน้าคล้ายชนชาติเซเมติก (Semitic) ในเมโสโปเตเมียที่พบในเมืองเมนเฮนโจดาโร

• สมัยประวัติศาสตร์ รูปแบบศิลปะอินเดียส่วนใหญ่มุ่งพรรณนา หรือเล่าเรื่องเป็นส าคัญ และมักถ่ายทอดเป็นลักษณะรูปนูนต่ า
หรือภาพเขียนบนฝาผนังขนาดใหญ่ โดยศิลปะอินเดีย สามารถจ าแนกรูปแบบออกเป็นสมัยต่างๆ ๕ สมัย ดังนี้

รูปแบบศิลปะแบบสาญจี (Sanchi) เป็นศิลปะอินเดียที่มีความเก่าแก่ที่สุด อยู่ในสมัยราชวงศ์

เมารยะและศุงคะ ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พบศิลปะสมัยนี้ที่มีความโดดเด่น ได้แก่ ถ้ า
พระราชวัง สถูป และเสาแปดเหลี่ยม สถูปสาญจี เป็นสถูปที่เป็นต้นแบบของสถูปอื่นๆ มีลักษณะ

เป็นโอคว่ า หรือขันคว่ า

รูปแบบศิลปะแบบคันธาระ (Ganhara) รูปแบบศิลปะที่ได้รับอิทธิพลศิลปะของกรีกรุ่นหลังเข้า
มาผสมผสานกับศิลปะท้องถิ่น พุทธลักษณะที่ เด่น คือ การสร้างพุทธศิลป์ด้วยการแกะสลักศิลา

สีน้ าเงินปนเทา หรือสีค่อนข้างเขียว ในสมัยนี้เป็นยุคเริ่มในการประดิษฐ์พระพุทธรูปเป็นมนุษย์

รูปแบบศิลปะแบบมถุรา (Mathura) ประติมากรรมในสมัยนี้นิยมใช้หินทรายสีชมพูแก่ ลักษณะ

พระพุทธรูปสมัยนี้ยังมีอิทธิพลการสร้างแบบคันธาระอยู่บ้าง แต่พระพักตร์เริ่มมีลักษณะคล้ายชาว

อินเดียมากขึ้น พระเศียรกลม พระจีวรบางกว่าแบบคันธาระ และจะแนบสนิทกับล าตัว
นอกจากนี้ ยังมีภาพแกะสลักบนงาช้าง และกระดูก

รูปแบบศิลปะแบบอมราวดี (Amaravati) มีรูปแบบศิลปะที่ผสมผสาน บางส่วนมีลักษณะคล้าย

แบบมถุรา ช่วงแรกศิลปะสมัยนี้จะมีความตื่นเต้นมาก และต่อมาค่อยสงบลง แล้วกลับแสดงท่า
เคลื่อนไหวใหม่อีกครั้งหนึ่ง ภาพบุคคลไม่มีรูปร่างสมบูรณ์ดังแต่ก่อน เป็นศิลปะที่ท าตามอุดมคติ

ปนกับการแสดงชีวิตจิตใจ ภาพจะเป็นลักษณะวงกลมแสดงการน าบาตร หรือพระเกศา

พระพุทธเจ้าขึ้นไปสู่สวรรค์ พระพุทธรูปแบบอมราวดี มักครองจีวรห่มเฉียง จีวรเป็นริ้วทั้งองค์
และเบื้องล่างใกล้พระบาทมักมีจีวรขอบหนายกจากด้านขวามาพาดข้อพระหัตถ์ซ้าย

รูปแบบศิลปะแบบคุปตะ (Gupta) ศิลปะแบบคุปตะถือเป็นยุคทองของศิลปะอินเดีย

ซึ่งศิลปะในยุคสมัยนั้นเป็นศิลปะ ที่มีรูปแบบพัฒนามาจากศิลปะแบบเก่า ลักษณะพระพุทธรูป

มีความสมดุล ได้สัดส่วน มีความ-ละเอียดอ่อนสวยงามแบบธรรมชาติ รูปร่างและสัดส่วนชัดเจน

รูปแบบทัศนศิลป์จีน

• สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ศิลปะจีนโบราณมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และยาวนาน และยังมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์

ผลงานในดินแดนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ งานศิลปะของจีนมีลักษณะใส่ใจ

ธรรมชาติ และให้ความสนใจในเพื่อมนุษย์สังคม

• การขุดค้นทางโบราณคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ถ้ าโจวโข่วเตี้ยน มีการพบกระดูกมนุษย์ปักกิ่ง เครื่องมือหิน เหล็ก ไฟ และ
เครื่องใช้ต่างๆ มากมาย จึงสันนิษฐานได้ว่ามีการตั้งถิ่นฐานในจีน เมื่อประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว

• มีการพบหลักฐานที่แสดงได้ว่าสังคมชาวจีน มีการจัดองค์กรทางสังคมที่ก้าวหน้าบนรากฐานของการเกษตร มีความรู้ทางฝีมือ

ช่างในระดับสูง มีการท าพิธีกรรมร่วมกัน รู้จักการใช้พู่กันแสดงความรู้สึกนึกคิดทางศิลปะ รู้จักใส่เสื้อทอหยาบๆ

มีเครื่องประดับเป็นลูกปัดหิน ซึ่งเจาะรูและทาสีแดงด้วยสีสนิมเหล็ก มีการพบเครื่องมือท าด้วยหินขนาดเล็ก รวมไปถึงการพบ
วัตถุเรขาคณิต ซึ่งเป็นศิลปะในยุคหินกลาง

• หลักฐานยุคหินใหม่ที่เห็นชัด พบที่หยางเซ่า มณฑลเหอหนาน เป็นภาชนะเครื่องปั้นดินเผา ฝีมือประณีต เนื้อสีแดงทาสีด า

หรือชนิดมีลวดลาย มีอายุประมาณ ๒,๐๐๐ ปี ก่อนคริสต์ศักราช และอีกแหล่งหนึ่งที่ค้นพบในหลงซาน มณฑลซานตง
ี่
เป็นเครื่องปั้นดินเผา ปั้นโดยการใช้แป้นหมุน และรมด า หม้อสามขาเป็นเครื่องปั้นดินเผาหลงซานที่มีชื่อเสียงทสุด

เครื่องปั้นดินเผา ๓ ขา

วัฒนธรรมหลงซาน ยุคหินใหม่ ซึ่งท าด้วยความประณีต

• สมัยประวัติศาสตร์ สมัยประวัติศาสตร์ของจีนจะแบ่งออกเป็นยุคสมัยที่สะท้อนถึงรูปแบบทางทัศนศิลป์ที่ส าคัญ ดังนี้

รูปแบบศิลปะสมัยราชวงศ์ชาง (Shang Dynasty)

• ศิลปะวัสดุที่เด่นที่สุด คือ เครื่องส าริด ซึ่งมีทรวดทรงสวยงาม ใหญ่โตแข็งแรง หล่อด้วยฝีมือยอดเยี่ยม ซึ่งแสดงให้เห็นความก้าวหน้า
ในการหล่อส าริด ลวดลายมีทั้งแบบนูนและฝังลงไปในเนื้อส าริด เช่น ลายเรขาคณิต ลายสายฟ้า ลายก้อนเมฆศิลปะสมัยราชวงศ์ชาง

• มีการแกะลวดลาย ซึ่งเป็นลักษณะของสัตว์ที่โดดเด่น ได้แก่ เทาเท่ย (Tao-tieh) สามารถเห็นเป็นรูปจมูก เขา และ ตา อย่างชัดเจน

• มีการเจียระไนเครื่องหยกประเภทต่างๆ

รูปแบบศิลปะสมัยราชวงศ์โจว (Chou Dynasty)

• ความก้าวหน้าของศิลปะในสมัยราชวงศ์ชาง ได้สืบทอดมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจว โดยเฉพาะเทคนิคในการหล่อส าริด
• เอกลักษณ์ของราชวงศ์โจว จะมีการเน้นลวดลายประดับประดามากขึ้น มีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น ลวดลายมังกรหลายตัวซ้อนกัน

และเกี่ยวกระหวัดไปมา

• มีการแกะสลักหยก ซึ่งฝีมือช่างราชวงศ์โจวมีความยอดเยี่ยมกว่าราชวงศ์ชาง
• มีการพัฒนาการท าเครื่องปั้นดินเผา ที่เป็นต้นแบบของเครื่องเคลือบจีน เพราะเริ่มมีการรู้จักกรรมวิธีในการเคลือบน้ ายาเบื้องต้นและ

รู้จักการเผาด้วยไฟอุณหภูมิสูง

รูปแบบศิลปะสมัยราชวงศ์จิ๋น หรือ ฉิน (Chin Dynasty)

• ในสมัยนี้สถาปัตยกรรมจะเน้นความมโหฬาร เช่น ก าแพงเมืองจีน ซึ่งมีความยาวประมาณ ๖,๗๐๐ – ๑๐,๐๐๐ กิโลเมตร

• มีการพบประติมากรรมดินเผาที่มีรูปแบบเป็นรูปทหารขนาดเท่าคนจริงฝังอยู่ในสุสานจักรพรรดิฉินสื่อหวงตี้หรือจิ๋นซีฮ่องเต้

แห่งราชวงศ์ฉิน ซึ่งพระองค์ได้สร้างไว้ล่วงหน้าก่อนสวรรคต ๓๐ ปี หุ่นแต่ละตัวจะมีรูปร่าง หน้าตา ท่าทาง การแต่งกายแตกต่างกัน
ออกไป กรรมวิธีการปั้น ปั้นโดยการใช้ดินเหนียวสีเทา แล้วน าไปเผาไฟเช่นเดียวกับการท าเครื่องปั้นดินเผา

รูปแบบศิลปะสมัยราชวงศ์ฮั่น (Han Dynasty)

• ประติมากรรมเต็มรูป หรือรูปลอยตัว เริ่มปรากฏครั้งแรกในสมัยนี้ มีการพัฒนาทางด้านการออกแบบ กรรมวิธีการสร้าง และมโนภาพ

ในงานสถาปัตยกรรม จิตรกรรมประติมากรรม หรือศิลปะทั่วไป
• มีการประดิษฐ์กระดาษใช้แทนผ้าไหม และแผ่นหิน มีการสร้างทองรูปพรรณที่ขึ้นชื่อในความประณีต งดงาม

รูปแบบศิลปะสมัยราชวงศ์จิ้น (Jin or Tsin Dynasty)

• ในสมัยนี้พระพุทธศาสนาได้น าความเชื่อใหม่มาสู่จีน และมีส่วนเปลี่ยนแปลงศิลปกรรมที่จีนเคยท ามาแต่เดิม ท าให้พัฒนาไปสู่แบบ

พุทธศิลป์แบบใหม่ เช่น การสร้างรูปเคารพศาสนสถาน เป็นต้น


• พุทธประวัติจากอินเดียเข้ามามีบทบาทต่อการสรางสรรค์งานศิลปะที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาในจีนด้วย จะเห็นได้ว่าการสร้าง
พระพุทธรูปในช่วงแรกจะเป็นลักษณะของศิลปะอินเดีย แต่ระยะหลังมีการปรับเปลี่ยน ให้มีพระพุทธรูปเป็นลักษณะเป็นของจีนเอง

รูปแบบศิลปะสมัยราชวงศ์ถัง (Tang Dynasty)

• ในสมัยนี้เป็นยุคทองของศิลปวัฒนธรรมจีนทุกประเภท โดยเฉพาะเครื่องเคลือบ ฝีมือช่างเครื่องเคลือบของจีนมีคุณภาพสูงกว่าช่าง

ผลิตเครื่องเคลือบจากทุกชาติในโลก โดยเครื่องเคลือบที่เป็นที่รู้จักกันดีในยุคสมัยนี้ มีชื่อว่า เครื่องเคลือบสามสี

• เครื่องเคลือบสามสี มีลักษณะแข็งแรงและสง่างาม เป็นลักษณะเฉพาะของกระเบื้องในสมัยราชวงศ์ถัง มีลักษณะเนื้อดินละเอียด
ขาวหม่น

• ด้านจิตรกรรม มีการสนับสนุนจิตรกรกันมาก การเขียนภาพเหมือนเป็นที่นิยมมากในราชส านัก จิตรกรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยนี้ คือ

เหยียนหลี่เปิ่น (Yan Li-Pen)
• อิทธิพลทางพระพุทธศาสนาส่งเสริมให้มีจิตรกรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา โดยมีองค์ประกอบของภาพที่ใหญ่โตขึ้น มีลวดลาย

ซับซ้อนกว่าในสมัยราชวงศ์อื่นๆ

อิทธิพลของวัฒนธรรมระหว่างประเทศที่มีต่องานทัศนศิลป์

• หลักฐานในอดีตท าให้พบว่าชาติที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางอารยธรรม มักมีอิทธิพลต่อชาติอื่นที่มีวัฒนธรรมด้อยกว่าเสมอ

เช่น วัฒนธรรมอินเดียที่ได้รับมาจากเมโสโปเตเมียและอียิปต์ซึ่งมีความ-เจริญรุ่งเรืองมาก่อน และจีนที่ได้อิทธิพลจาก

อินเดียในเรื่องพระพุทธศาสนา ดังนั้นหากเปรียบกันแล้วอารยธรรมอินเดียจะมีความเจริญทางศิลปวัฒนธรรมทพัฒนา
ี่
มายาวนานกว่าจีน

กล่าวได้ว่าความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมของภูมิภาคต่างๆ ในโลกตะวันออกล้วนมีความหลากหลาย แต่ความจริงแล้ว