มนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์

ความหมายของสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึง ระยะเวลาที่ดินแดนแห่งหนึ่งแห่งใดยังไม่มีหลักฐานบันทึกเรื่องราวเป็นลายลักษณ์อักษร ให้คนรุ่นต่อมาสามารถศึกษาเกี่ยวกับสถานที่นั้นๆได้ต้องอาศัยหลักฐานอย่างอื่นๆที่ไม่ใช่ลายลักษณ์อักษร เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ โครงกระดูกมนุษย์ และกระดูกสัตว์ เป็นต้น เมื่อใดที่ดินแดนนั้นๆมีการบันทึกเรื่องราวเป็นลายลักษณ์อักษรให้ทราบได้แล้วก็ถือเป็นสมัยประวัติศาสตร์ โดยที่หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรเหล่านี้มิได้มีในรูปแบบเดียวแต่ในทางกลับกันมีได้หลายประเภทหลายรูปแบบ เช่น การจารึกลงบนแผ่นหิน หรือที่มักจะนิยมเรียกกันมากว่า ศิลาจารึก หรือการจารึกลงบนแผ่นดินเหนียว แล้วอาไปเผาไฟเพื่อให้กลายเป็นแผ่นอิฐหรือเขียนลงไปบนแผ่นผ้า แผ่นกระดาษ และวัสดุอื่นๆอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้น

เป็นช่วงเวลาที่ยังไม่มีการจดบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับชุมชนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เนื่องจากยังไม่มีการรับเอาตัวอักษรจาก ที่อื่น หรือยังมิได้มีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นมาใช้ในการจดบันทึก ในประเทศไทยเราสามารถแบ่งได้เป็นยุคสมัยต่าง ๆ

จุดเริ่มต้นของยุคก่อนประวัติศาสตร์

โดยทั่วไปแล้ว นักประวัติศาสตร์แต่ละสำนักให้นิยามไม่ตรงกัน เช่น

-กำหนดให้เริ่มตั้งแต่ กำเนิดโลก โดยแบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์ และ หินของโลก

-กำหนดให้เริ่มตั้งแต่ ช่วงเวลาที่มีสิ่งมีชีวิต ที่เรียกว่าโฮโมเซเปียนส์ (ซึ่งถือได้ว่าบรรพบุรุษของมนุษย์) กำเนิดขึ้น

สมัยก่อนประวัติศาสตร์

ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนับเป็นก้าวแรกของมนุษย์ ที่ได้มีการพยายามรวมกลุ่มกันทางสังคม เพื่อเป็นการ สร้างการเอาตัวรอด ในช่วงเวลาดังกล่าวชุมชนมนุษย์ยังรวมตัวกันไม่มากนักลักษณะทางสังคม และการปกครอง มีผู้นำชุมชน เป็นผู้ที่มีความแข็งแรง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ในสังคมที่ต้องดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอด ผู้นำที่เข้มแข็ง สามารถนำกลุ่มคนในการแสวงหาอาหาร การล่าสัตว์ จึงมีความสำคัญ ดังนั้น ผู้นำที่มีความแข็งแรง จึงมีความเหมาะสมสังคมแบบดังกล่าว
ในระยะเวลานี้ แม้มนุษย์จะยังอยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง อาศัยอยู่ตามถ้ำ เชิงผาต่างๆ แต่ต่อมา เริ่มมีการตั้งที่พักอาศัยเป็นหลักแหล่งมากยิ่ง ขึ้น เช่น การรวมกลุ่มกันเป็นชุมชน ตามแหล่งน้ำ และสร้างอารยธรรมในแบบของตนขึ้น เช่น เริ่มมีการปลูกข้าว การเลี้ยงสัตว์แทนการออกล่าสัตว์ ทำให้สามารถกะปริมาณอาหารในการหล่อเลี้ยงชุมชนได้
เมื่อมีการรวมกันเป็นหลักแหล่งแล้ว มนุษย์จึงเริ่มที่จะสร้างพิธีกรรมต่างๆเพื่อเป็นกระบวนการควบคุมทางสังคม และเพื่อการอยู่รอด เช่นการร้องขอฟ้าฝน หรือวิญญาณ บรรพบุรุษ ให้คุ้มครองชุมชน และประทานน้ำฝน เพื่อใช้หล่อเลี้ยงพืชผลทางการเกษตรในสมัยก่อนประวัติศาสตร์นี้ เราสมามารถแบ่งออกเป็นยุคต่างๆได้ดังนี้

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (Pre-historic Age) หมายถึง ยุคที่มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ ได้มีการแบ่งยุคก่อนประวัติศาสตร์ออกเป็นยุคย่อยๆ โดยพิจารณาจากประเภทของวัสดุและความสามารถในการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธเป็นเกณฑ์ ดังนี้

1. ยุคหินเก่า (Paleolithic or Old Stone Age) เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 2,000,000 – 8,000 ปีก่อนคริสตกาล มนุษย์ยุคนี้เป็นพวกเร่ร่อนล่าสัตว์ป่าเป็นอาหาร รู้จักทำเครื่องมือเครื่องใช้อย่างหยาบๆ ด้วยหิน ไม้ กระดูก และเขาสัตว์ อาศัยอยู่ตามถ้ำ อยู่กันเป็นครอบครัว เป็นระบบเครือญาติ ชุมชนอย่างแท้จริงยังไม่เกิดขึ้น เพราะสภาพเศรษฐกิจแบบแสวงหาอาหารไม่เอื้ออำนวย องค์กรทางการเมืองการปกครองยังไม่เกิดมีขึ้น สังคมมีสภาพเป็นอนาธิปัตย์ ผู้ที่มีอำนาจคือผู้ที่มีความแข็งแรงมากกว่าคนอื่น

2. ยุคหินใหม่ (Neolithic or New Stone Age) เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 8,000 – 4,000 ปี ก่อนคริสตกาล ในยุคนี้ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมครั้งยิ่งใหญ่ของมนุษย์ 4 ประการ คือ มีการคิดค้นการเพาะปลูกข้าวเป็นครั้งแรก เริ่มต้นการเลี้ยงสัตว์ รู้จักการทำเครื่องปั้นดินเผา และการประดิษฐ์อาวุธและเครื่องมือเครื่องใช้จากหิน โดยขัดให้เรียบ สามารถใช้ประโยชน์ได้ง่ายและ มีประสิทธิภาพ พื้นฐานทางเศรษฐกิจและการดำรงชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปจากการเป็น ผู้เสาะแสวงหาอาหาร (food-gatherer) มาเป็นผู้ผลิตอาหาร (food-producer) โดยพบหลักฐานว่ามีการเพาะปลูกข้าวเป็นครั้งแรกที่เมืองจาร์โม (Jarmo) ทางภาคเหนือของเมโสโปเตเมีย เมื่อประมาณ 6,750 ปีก่อนคริสตกาล มนุษย์เริ่มรู้จักการชลประทานอย่างง่ายๆ ทำอ่างเก็บน้ำ ทำนบกั้นน้ำ และพยายามเรียนรู้ที่จะควบคุมธรรมชาติ และแสวงหาประโยชน์จากธรรมชาติ การผลิตเครื่องปั้นดินเผาชี้ให้เห็นว่า มนุษย์เริ่มสะสมอาหารไว้ให้เพียงพอต่อการบริโภค เมื่อมนุษย์ยุคหินใหม่เปลี่ยนชีวิตจากการเป็นนักล่าสัตว์มาเป็นกสิกร วิถีการดำรงชีวิตก็เปลี่ยนจากการเร่ร่อนมาเป็นการตั้งหลักแหล่งอยู่กับที่ มีการสร้างบ้านเรือนอยู่อย่างถาวรในบริเวณที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ จากครอบครัวหลายครอบครัวกลายเป็นหมู่บ้านเล็กๆ เกิดเป็นสังคมชนเผ่า (tribal societies) คนในสังคมจะมีภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมเดียวกัน และเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม ทำให้เกิดกฎหมายและกฎข้อบังคับในหมู่บ้านขึ้น มีหัวหน้าปกครอง หมู่บ้านกสิกรเหล่านี้เองคือชุมชนแห่งแรกของโลก ซึ่งเป็นสังคมโบราณที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่พบหลักฐานมา อยู่ที่เขตตะวันออกกลางแถบประเทศตุรกี ซีเรีย อิสราเอล อิรัก อิหร่าน และอียิปต์ ในปัจจุบันเมื่อชุมชนของมนุษย์มีขนาดใหญ่โตขึ้น ก็เกิดมีบ้านเมืองตามลุ่มแม่น้ำใหญ่ๆ พร้อมกับสร้างสรรค์อารยธรรมของตนขึ้นมา

3. ยุคโลหะหรือยุคสำริด (Metal Age) เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,000 – 2,000 ปีก่อนคริสตกาล เริ่มจากมนุษย์รู้จักใช้ทองแดงและสำริดมาประกอบเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่องประดับ มนุษย์สมัยนี้พัฒนากิจกรรมการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงในด้านความเป็นอยู่ของสังคมและการเมืองอย่างมาก ได้เปลี่ยนสภาพความเป็นอยู่จากชุมชนกสิกรรมขนาดใหญ่มาเป็นเมืองอย่างแท้จริง คือ เมืองเป็นศูนย์กลางของการกสิกรรม การปกครองและสังคมในเวลาเดียว ผู้ที่อยู่ในเมืองมิได้มีแต่พวกกสิกรเท่านั้น แต่ยังมีช่างฝีมือ นักรบ และพระผู้ทำหน้าที่ปกครองบริหารเมือง
ในยุคสำริด สังคมขยายตัวมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีคนที่ทำหน้าที่ต่างๆ กันหลายด้าน เช่น พระทำหน้าที่เซ่นสรวงบูชา ติดต่อกับเทพเจ้าให้ประทานความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ชุมชน กษัตริย์ทำหน้าที่ปกครองบ้านเมือง เป็นต้น โครงสร้างความสัมพันธ์แบบเครือญาติที่เคยเป็นมาแต่เดิมจะเปลี่ยนไปเป็นโครงสร้างที่อาศัยอาชีพและตำแหน่งหน้าที่ เป็นเกณฑ์ในการกำหนดกลุ่มคนและความสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งมักแบ่งออกได้ดังนี้ คือ ชนชั้นสูง ได้แก่ พระ ขุนนาง กษัตริย์ นักรบ ชนชั้นกลาง ได้แก่ พ่อค้า ช่างฝีมือ ชาวนา และชนชั้นต่ำ ได้แก่ ทาส การแบ่งงานและหน้าที่มีผลต่อการเพิ่มผลผลิต คือ แต่ละคนทำงานตามความถนัด ซึ่งจะได้งานมากขึ้นจนกลายเป็นส่วนเกินไว้แลกเปลี่ยน เกิดมีการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน มนุษย์สมัยนี้เริ่มรู้จักใช้ภาพสื่อความเข้าใจกัน เป็นต้นกำเนิดของการประดิษฐ์ตัวอักษร ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงยุคสมัยไปสู่ยุคประวัติศาสตร์ มีการรวมกลุ่มเป็นชุมชนเมืองซึ่งจะพัฒนาไปสู่นครรัฐ มีการคิดค้นและใช้เทคโนโลยีง่ายๆ เช่น การใช้ลูกล้อในการขนส่งทางบกและในพลังงานจักรกล การใช้คันไถไม้ และเริ่มการเดินเรือ

สภาพสังคมสมัยก่อนประวัติศาสตร์

ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อมนุษย์ยังไม่รู้จักใช้ตัวอักษรเพื่อบันทึกเรื่องราวของชุมชนตนนั้น มนุษย์ในภูมิภาคต่างๆ ของโลกได้ใช้เวลายาวนานมากนับเป็นล้านปี (ตั้งแต่มนุษย์สมัยหินเก่าเมื่อ 2 ล้านปีมาแล้วจนถึง 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช) มนุษย์จึงสามารถสร้างสมความเจริญพัฒนาขึ้น เริ่มตั้งแต่สมัยหินใหม่ มนุษย์ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ค้นพบวิธีกสิกรรม รู้จักเอาชนะธรรมชาติและเติบโตขึ้นเป็นชุมชนขนาดใหญ่ในระดับหมู่บ้านหรือเมืองขึ้นได้ อารยธรรมสำคัญของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ การค้นพบวิธีนำโลหะมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ซึ่งทนทานแข็งแกร่งและใช้งานได้ดีมีประสิทธิภาพมากกว่าหิน โดยเริ่มต้นจากมนุษย์ค้นพบทองแดงจากธรรมชาติด้วยความบังเอิญ เราเรียกช่วงเวลาที่มนุษย์ใช้ทองแดงว่า ยุค Chalcolithic Age ในยุคนี้มนุษย์ยังคงใช้เครื่องมือหินขัดควบคู่กันไปด้วย หลังจากนั้นไม่นานมนุษย์ก็สามารถเรียนรู้วิธีถลุงแร่โลหะและนำแร่ธาตุสองชนิดมาหลอมรวมกัน คือ ทองแดงกับดีบุก เรียกว่า สำริด ซึ่งมีความแข็งกว่าทองแดงเราเรียกช่วงเวลาที่มนุษย์ใช้สำริดว่า Bronze Age หรือยุคสำริด ต่อมามนุษย์ก็ค้นพบแร่ธาตุที่สาม คือ ตะกั่ว เมื่อหลอมรวมเข้าไปกับทองแดงและดีบุกแล้ว จะทำให้โลหะหลอมได้ง่ายทำให้การผสมโลหะมีคุณภาพดีขึ้น ในช่วงเวลานี้มนุษย์ได้คิดค้นการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้จากสำริด เริ่มจากการค้นหาแหล่งแร่ทองแดง ดีบุก ตะกั่ว การถลุงแร่ การหลอมแร่ในเบ้าหลอม การทำแม่พิมพ์ซึ่งพบหลักฐานทั้งแม่พิมพ์คู่ที่ทำจากหินทรายแบบสองชิ้นมาประกบกัน ใช้ในการหล่อขวาน หัวลูกศร และการหล่อในแม่พิมพ์ดินเผาซึ่งใช้ในการหล่อเครื่องประดับ เช่น กำไล เรียกได้ว่ามนุษย์ได้ใช้สติปัญญาพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องมือเครื่องใช้อย่างจริงจัง หลักฐานความเจริญของมนุษย์สมัยสำริดที่ยังคงเหลือในปัจจุบัน เช่น หัวลูกศร ใบหอก และขวานสำริดซึ่งเป็นอาวุธของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ เบ็ดตกปลาสำริด ตุ้มหู และกำไลสำริด และต่อมาก็ได้พัฒนาความรู้ในการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ได้มีประสิทธิภาพ และสวยงามยิ่งขึ้น เช่น ไหใส่เหล้าที่พบที่จีน กลองมโหระทึกสำริดที่พบทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซึ่งความเจริญในการหล่อสำริดขนาดใหญ่เกิดขึ้นในสมัยยุคเหล็กในเวลาต่อมา)

ความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสมัยสำริดได้เปลี่ยนแปลงจากมนุษย์ในยุคหินอย่างมาก เริ่มต้นตั้งแต่ยุคหินใหม่เกิดชุมชนเกษตรกรรม ซึ่งได้ขยายตัวกลายเป็นชุมชนเมือง มีการจัดแบ่งกลุ่มคนตามความสามารถ รู้จักใช้แรงงานสัตว์ในการไถนาและชักลาก รู้จักประดิษฐ์พาหนะสำหรับการเดินทาง เช่น เรือใบ การประดิษฐ์ล้อโดยใช้สัตว์ ลากจูง การทำแป้นหมุนใช้ปั้นเครื่องปั้นดินเผา การติดต่อระหว่างชุมชนมีมากขึ้นเพราะนอกจากการแลกเปลี่ยนสินค้าแล้ว ยังเป็นการหาแหล่งแร่ที่ขาดแคลนในชุมชนของตน เพราะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสร้างสรรค์เครื่องมือ เครื่องใช้ และอาวุธ ที่สำคัญยิ่งคือการรู้จักควบคุมแหล่งน้ำด้วยระบบชลประทาน การทำฝายกั้นน้ำ การขุดคูคลอง เพื่อบังคับทางเดินของน้ำ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญทำให้เกิดอารยธรรมลุ่มน้ำขึ้น

ในสมัยสำริด มนุษย์ในบางพื้นที่สามารถประดิษฐ์สิ่งสำคัญที่สุด คือ ตัวอักษร ซึ่งใช้ถ่ายทอดภาษาพูดที่ชุมชนสามารถสร้างสรรค์สัญลักษณ์ขึ้นได้ก่อนนานแล้ว เมื่อมนุษย์มีตัวอักษรบันทึกความรู้ต่างๆ การเผยแพร่ความเจริญจึงได้พัฒนาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น สมัยประวัติศาสตร์จึงได้เริ่มต้นในชุมชนนั้น แหล่งอารยธรรมที่สำคัญๆ ของโลกล้วนมีพัฒนาการทางสังคมมาจากช่วงเวลาสมัยสำริด เช่น แหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียในภูมิภาคเอเชียตะวันตก แหล่งอารยธรรมลุ่มน้ำไนล์ในอียิปต์ (ทางเหนือของทวีปแอฟริกา) แหล่งอารยธรรมลุ่มน้ำสินธุในอินเดีย และแหล่งอารยธรรมลุ่มน้ำหวางเหอ (ฮวงโห : Huang He) ในจีน แหล่งอารยธรรมของโลกดังกล่าวนี้เจริญขึ้นในราว 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช

มนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
มนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์

มนุษย์รู้จักรักษาตัวมาแต่ดึกดำบรรพ์ โดยสัญชาติญาณแห่งการธำรงไว้ซึ่งความอยู่รอดของตนเอง
ได้มีอยู่ในตัวของมนุษย์ตั้งแต่เกิดมีมนุษย์มาในโลกนี้ การสาธารณสุขในยุคดั้งเดิมนี้ก็มีอยู่บ้าง แต่ส่วนมาก
จะเน้นด้านการแพทย์ ในยุคนี้คนเชื่อว่าโรคเกิดจากปรากฎการณ์ตามธรรมชาติ การที่มนุษย์จะพ้นจาก
โรคภัยไข้เจ็บได้ก็โดยการเซ่นไหว้ การบูชายันต์ เป็นต้นบุคคลสำคัญที่เริ่มงานทางด้านสาธารณสุข คือ พระพุทธเจ้า และหมอชีวกโกมารภัจจ์ ผู้เป็นหมอ
สมุนไพร พระพุทธเจ้าทรงเป็นนักการสาธารณสุขที่ยอดเยี่ยม เพราะท่านได้ทรงบัญญัติให้พระต้องดื่มน้ำจาก
เครื่องกรองน้ำ และห้ามพระสาวกของพระองค์ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ลงในแม่น้ำลำคลองจากศิลาจารึกของอาณาจักรขอม ซึ่งจารึกไว้ว่าประมาณ พ.ศ. 1725 - 1729 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลตามความเชื่อในพระพุทธศาสนา โดยสร้างสถานพยาบาล เรียกว่า อโรคยาศาลาขึ้น
102 แห่ง ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย และบริเวณใกล้เคียง
มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ 101: เกษตรกรรมเปลี่ยนโลก (Human Prehistory 101: Agriculture Rocks Our World)

เมื่อถึงช่วง 14,000 ปีก่อน ยุคน้ำแข็งก็เริ่มทุเลาลง เมื่อน้ำแข็งละลายระดับน้ำทะเลก็สูงขึ้นและแนวชายฝั่งก็เปลี่ยนแปลงสิ่งกีดขวางตามธรรมชาติระหว่างกลุ่มประชากรบางแห่งหายไป ขณะที่บางแห่งก็ปรากฏขึ้นมาใหม่ อุณหภูมิและปริมาณน้ำฝนก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

บางพื้นที่ก็อุดมไปด้วยพืชและสัตว์มากมาย จนกระทั่งมนุษย์ไม่จำเป็นต้องย้ายถิ่นฐานเพื่อหาอาหารอีกต่อไป แต่เลือกที่จะตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นหมู่บ้านเล็กๆ และดำรงชีพด้วยการหาอาหารที่ขึ้นอยู่เองตามธรรมชาติ เมื่อมนุษย์เริ่มเพาะปลูกเมล็ดพืชที่พบได้ใกล้ที่อาศัย พวกเขาก็สามารถสำรองเสบียงอาหารและอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นได้ตลอดปี

เมื่อมนุษย์อยู่เป็นหลักแหล่งมากขึ้น พวกเขาก็มีโอกาสที่จะแสวงหา.... ความสุขด้านอื่นมากขึ้น จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น และไม่นานการใช้ชีวิตแบบเร่ร่อนก็เริ่มเป็นอุปสรรคกับการสร้างครอบครัว ในบางพื้นที่ ฤดูแล้งหรือฤดูหนาวที่โหดร้ายทำให้พืชและสัตว์ที่มีอยู่ตามธรรมชาตินั้นมีปริมาณไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงครอบครัวได้ มนุษย์ต่างกลุ่มทั่วโลกจึงเริ่มค้นพบสิ่งเดียวกัน ซึ่งจะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนสังคมมนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติไปตลอดกาล

พวกเขาพัฒนาเกษตรกรรมขึ้น มันไม่ใช่ทางเลือกที่สบายนัก การล่าสัตว์หรือการหาของป่าอาจหาอาหารให้ครอบครัวได้โดยทำงานเพียงไม่กี่วันต่อสัปดาห์ แต่เกษตรกรรมเป็นงานหนัก และต้องทำงานกันเต็มเวลา แต่เกษตรกรรมให้ผลผลิตมากกว่า และสามารถสร้างอาหารให้ประชากรกลุ่มใหญ่ได้อย่างสม่ำเสมอ ผู้คนจึงพึ่งพาพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้นๆ

พืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติมีความแตกต่างทางพันธุกรรม เกษตรกรยุคแรกเริ่มจึงเลือกเพาะพันธุ์พืชที่มีเมล็ดใหญ่กว่า และรวงที่เอื้อต่อการเก็บเกี่ยวมากกว่า นอกจากนี้ยังเริ่มเลี้ยงสัตว์ที่ไม่ดุร้ายที่พบเห็นได้ในพื้นที่ด้วย

หมู่บ้านเริ่มขยายใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ดินอุดมสมบูรณ์ และกลายมาเป็นเมือง ผู้คนที่ลงหลักปักฐานก็เริ่มแยกตัวออกห่างธรรมชาติมากขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อประมาณ 6,000 ปีก่อนในดินแดนเมโสโปเตเมีย (Mesopotemia) เมืองที่มั่งคั่ง มีอำนาจ และระเบียบสังคมแบบใหม่ได้ถือกำเนิดขึ้น คนที่ควบคุมปริมาณเมล็ดธัญพืชเป็นผู้มีอำนาจ และบางคนก็ไม่จำเป็นต้องหาหรือผลิตอาหารเองอีกต่อไป แต่สามารถทำงานอื่นแลกอาหารได้

สังคมเกษตรกรรมกลายเป็นวิถีชีวิตหลักของมนุษย์ทั่วโลกในเวลาไม่นาน ประชากรโลกจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มีแรงงานในการผลิตพืชผลได้มากขึ้นอีก เพื่อให้สามารถผลิตอาหารให้ประชากรที่เพิ่มขึ้นได้อิ่มท้อง เราต้องทำถางป่าเพื่อทำพื้นที่เพาะปลูก บางครั้ง เมืองทั้งเมืองอาจต้องย้ายถิ่นเมื่อดินในพื้นที่ไม่สามารถทนต่อการเพาะปลูกซ้ำๆหลายครั้งได้อีก และผู้คนต้องพาสัตว์ออกไปไกลสุดทุ่งหญ้าออกไปเรื่อยๆ เพื่อให้ปศุสัตว์ได้เล็มหญ้า

กลุ่มคนที่เคยถูกแยกจากกันก็กลับมาพบกันอีกครั้งเมื่อพวกเขาเดินทางเพื่อหาผืนดินใหม่ๆ แรงงาน หรือเพื่อค้าขายแลกเปลี่ยน สัตว์ที่ถูกนำมาใช้เพื่อการเดินทางทำให้วัฒนธรรมที่ห่างไกลกันเชื่อมโยงถึงกันได้ ส่วนครอบครัวที่เกิดจากการเชื่อมโยงกันระหว่างคนต่างเชื้อชาติทำให้เอกลักษณ์ทางพันธุกรรมผสมผสานกันระหว่างคนในทวีป

ทั่วทั้งโลก เกษตรกรที่เริ่มโยกย้ายถิ่นฐานมาพบเจอกับกลุ่มนักล่าและหาของป่า (hunter-gatherer) ยกตัวอย่างเช่น ในทวีปแอฟริกาแถบตอนใต้ของซาฮารา เกษตรกรเริ่มแผ่ขยายบริเวณออกไปทางตะวันออกและทางใต้ จากพื้นที่ประเทศแคเมอรูนในปัจจุบันเมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อน ระหว่างทางพวกเขาได้พบเจอและกลืนคนที่เคยอยู่ที่นั่นมาก่อนเป็นพันๆปีเข้ามา กลุ่มนักล่าและหาของป่าบางคนที่อาศัยอยู่ใกล้กับชุมชนของเกษตรกรได้เริ่มทำการเพาะปลูกบ้างเช่นกัน แต่ก็ยังมีบางกลุ่มที่ติดตามสัตว์ป่าออกไปในบริเวณที่ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก

เมื่อถึงช่วง 1,500 ปีก่อน เกษตรกรรมก็เป็นหัวใจหลักของทวีปแอฟริกาแถบตอนใต้ของซาฮารา แต่ทะเลทรายคาลาฮารี ซึ่งไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก ก็ยังคงเป็นที่อาศัยของกลุ่มนักล่าและหาของป่า ซึ่งไม่ได้คงวิถีชีวิตเดิมของพวกเขาไว้เท่านั้น แต่ยังคงใช้ “ภาษาคลิ๊ก” (Click Language) ที่เป็นเอกลักษณ์อยู่ด้วย