สรุปผลการทดลอง เรื่อง เซลล์

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

ชุดทดลองนี้สำหรับศึกษาเรื่องเซลล์เบื้องต้น แสดงให้เห็นความแตกต่างของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ ผู้ทดลองสามารถศึกษาเซลล์กระพุ้งแก้มและเซลลเยื่อหอมผ่านการย้อมสีของเซลล์ได้ทันทีจากเซ็ทการทดลองนี้ พร้อมด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูงสุด 400 เท่า ขนาดกะทัดรัด พกพาสะดวกสามารถใช้งานได้นอกสถานที่ โดยการใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ (AA 3 ก้อน) สามารถใช้ศึกษาได้เป็นกลุ่มไม่เกิน 30 คน

วัตถุประสงค์

• ศึกษาองค์ประกอบโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์แบบยูคาริโอต
• สังเกตความเหมือนและความแตกต่างระหว่างโครงสร้างของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์

อุปกรณ์การทดลอง

รหัสสินค้า ชื่อสินค้า จำนวน
3094125 Methylene blue 0.1% 450 cc. 1
3092020 Distilled water 1000 cc. 1
3011048 ขวดบีบน้ำกลั่น 250 ซีซี 1
4050230 สไลด์ถาวรใบเลี้ยงเดี่ยวตัดขวาง 1
4050015 สไลด์ถาวรเซลล์เม็ดเลือดกบ 1
4010055 กระจกสไลด์ (72 แผ่นต่อกล่อง) 1
4010051 กระจกปิดสไลด์ 22x22 มม. (100 แผ่น) 1
83KENESH101 กล้องจุลทรรศน์ตาเดียว 1
3019312 หลอดหยดพลาสติก (20 อันต่อชุด) 1
30161796 บีคเกอร์พลาสติก 100 มล. 1

** สามารถซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น ไม้จิ้มฟัน, กระดาษทิชชู่, ปากคีบสแตนเลส, แผ่นสไลด์ถาวร

ยูแคริโอตเซลล์ (Eukaryotic cell)

ภายในเซลล์ยูคาริโอต จะประกอบด้วยเยื่อหุ้มเซลล์และของเหลวที่อยู่ภายในเรียก โปรโตพลาสซมึ ส่วนของเหลวยคูาริโอตนี้แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ นิวเคลียสกับไซโตพลาสซึม สิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์ชนิดอยู่คาริโอต ได้แก่พืช สัตว์ สาหร่าย และโปรโตซัว

สรุปผลการทดลอง เรื่อง เซลล์

โครงสร้างและส่วนประกอบของเซลล์พืชและสัตว์ต่างก็เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์เหมือนกัน เซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีขนาดรูปร่าง และลักษณะแตกต่างกันตามความเหมาะสมของหน้าที่ แต่โครงสร้างพื้นฐานหรือองค์ประกอบส่วนใหญ่ทั้งของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์จะคล้ายคลึงกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

โครงสร้างพื้นฐานและหน้าที่ของเซลล์

สรุปผลการทดลอง เรื่อง เซลล์
1. ผนังเซลล์ (cell wall) ผนังเซลล์พบในเซลล์พืชเท่านั้นเป็นส่วนที่ไม่มีชีวิตทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงและทำให้เซลล์คงรูปอยู่ได้ ประกอบด้วยเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่และยังประกอบด้วยสารพวกเพกทิน ลิกนิน ฮีมิเซลลูโลส ซูเบอริน ไคทิน และคิวทิน

สรุปผลการทดลอง เรื่อง เซลล์
2. เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) มีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ อยู่ล้อมรอบเซลล์ประกอบด้วยสารประเภทโปรตีนและไขมัน มีหน้าที่ช่วยให้เซลล์คงรูปและควบคุมการแลกเปลี่ยนสารระหว่างภายในและภายนอกเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์พบได้ทั้งในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์เป็นส่วนที่มีชีวิต มีความยืดหยุ่นสามารถยืดหดได้มีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ มีรูพรุนสำหรับให้สารละลายผ่านเข้าออกได้ เช่น นํ้า นํ้าตาลโมเลกุลเดี่ยว ยูเรียกรดอะมิโน เกลือแร่ ออกซิเจน และกลีเซอรอลสามารถผ่านเข้าออกได้ง่าย ส่วนสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ไม่สามารถผ่านเข้าออกได้เลย เช่น สารพวกโปรตีนและไขมัน

สรุปผลการทดลอง เรื่อง เซลล์

3. ไซโทพลาซึม (cytoplasm) มีลักษณะเป็นของเหลวคล้ายเจลลี่ซึ่งมีนํ้าโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และเกลือแร่ต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบ ไซโทพลาซึม เป็นศูนย์กลางการทำงานของเซลล์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ เมแทบอลิซึม (metabolism) ทั้งกระบวนการสร้างและการสลายอินทรียสาร เป็นแหล่งที่เกิดปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆที่จะช่วยให้เซลล์ดำรงชีวิตอยู่ได้

สรุปผลการทดลอง เรื่อง เซลล์
4. นิวเคลียส (nucleus) อยู่ในไซโทพลาซึม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของเซลล์ นิวเคลียสทำหน้าที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของเซลล์ ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนและเอนไซม์ ควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่รุ่น ลูกหลาน ควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ภายในเซลล์ ควบคุมการเจริญเติบโต และควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต

สรุปผลการทดลอง เรื่อง เซลล์
5. คลอโรพลาสต์ (chloroplast) พบเฉพาะในเซลล์ที่มีสีเขียวของพืชและเซลล์ของโพรทิสต์บางชนิด เช่น สาหร่าย คลอโรพลาสต์ประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ชั้นนอกทำหน้าที่ควบคุมชนิดและปริมาณของสารที่ผ่านเข้า และออกจากคลอโรพลาสต์ส่วนชั้นในจะมีลักษณะยื่นเข้าไปภายในและมีการเรียงกันเป็นชั้น ๆ อย่างมีระเบียบภายในเยื่อหุ้มชั้นในจะมีโมเลกุลของสารสีเขียว เรียกว่า คลอโรฟิลล์ (chlorophyll)และมีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างอาหาร

สรุปผลการทดลอง เรื่อง เซลล์

การเปรียบเทียบโครงสร้างของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ เซลล์สัตว์ เซลล์พืช
ออร์แกเนลล์ (Organelles) • นิวเคลียส (Nucleus)
• นิวคลีโอลัส (Nucleolus in nucleus)
• เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม (Endoplasmic
reticulum)
• เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ
(Rough endoplasmic reticulum)
• เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ
(Smooth endoplasmic reticulum)
• ไรโบโซม (Ribosome)
• ไซโทสเกเลตอน (Cytoskeleton)
• กอลจิแอปพาราตัส (Golgi apparatus)
• ไซโทพลาซึม (Cytoplasm)
• ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria)
• เวสิเคิล (Vesicle)
• แวคิวโอล (Vacuole)
• ไลโซโซม (Lysosome)
• เซนทริโอล (Centriole)
• นิวเคลียส (Nucleus)
• นิวคลีโอลัสในนิวเคลียส (Nucleolus in nucleus)
• เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม (Endoplasmic reticulum)
• เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ
(Rough endoplasmic reticulum)
• เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ
(Smooth endoplasmic reticulum)
• ไรโบโซม (Ribosomes)
• ไซโทสเกเลตอน (Cytoskeleton)
• กอลจิแอปพาราตัส หรือ ดิกไทโอโซม (dictiosomes)
• ไซโทพลาซึม (Cytoplasm)
• ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria)
• เวสิเคิล (Vesicle)
• คลอโรพลาสต์ (Chloroplast) และ
พลาสติด (plastid)
• แวคิวโอล (Central vacuole)
• โทโนพลาสต์ (Tonoplast - central
vacuole membrane)
• เปอรอกซิโซม (Peroxisome)
• ไกลออกซิโซม (Glyoxysome)
อื่น ๆ • ซิเลีย (Cilium)
• แฟลเจลลัม (Flagellum)
• พลาสมา เมมเบรน (Plasma membrane)
• พลาสมา เมมเบรน (Plasma membrane)
• ผนังเซลล์ (Cell wall)
• พลาสโมเดสมาตา (Plasmodesmata)
• แฟลเจลลัมในเซลล์สืบพันธุ์ (Flagellum in gametes)

อ้างอิง
https://sites.google.com/site/ccellplanet/sell-phuch-1
https://www.thinglink.com/scene/700106945306034177

การศึกษาเซลล์พืชและเซลล์สัตว์