สรุป พร บ จัดตั้ง ศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม

สรุป พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

  • [หน้าหลัก]
  • [downloads]
  • สรุป พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

สรุป พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 6 สรุป พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 6 พ.ศ. 2554

 &lt;a href="https://drive.google.com/file/d/0B9h2wv3rHzf_cWFUWGlSdHFybzg/view?usp=sharing" rel="nofollow" target="_blank"&gt;ดาวน์โหลด&lt;/a&gt;&lt;/span&gt;&lt;/div&gt; &lt;/div&gt; &lt;footer class="reaction"&gt; ผู้เขียน : &lt;a target="_blank" class="status1 icon-user" href="https://locallearncenter.com/index.php?module=member&amp;id=1"&gt;admin&lt;/a&gt;&lt;br&gt; โพสต์เมื่อ : &lt;span class="icon-create create"&gt;20 ก.ย. 2560&lt;/span&gt;&lt;br&gt; ป้ายกำกับ : &lt;span class="icon-tags keywords"&gt;&lt;a target="_blank" href="https://locallearncenter.com/tag/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4.html"&gt;พระราชบัญญัติ&lt;/a&gt;&lt;/span&gt; &lt;/footer&gt; &lt;/div&gt; &lt;section class="margin-top"&gt; &lt;header&gt; &lt;h3 class="icon-tags"&gt;เรื่องที่เกี่ยวข้อง&lt;/h3&gt; &lt;/header&gt; &lt;div id="93_2_2_0_list" class="document-list downdocument listview"&gt;&lt;script&gt;getWidgetNews("93_2_2_0_list", "Relate", 0)</span></div> </div> <div id="comment-list"><div class="center message">ยังไม่มีความคิดเห็น โพสต์เลยตอนนี้</div></div> </div> <script> initDocumentView('document-view', 'document');

วันที่บันทึก : 21 มีนาคม 2555

ชื่อหน่วยงาน : คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

หัวข้อ : พรบ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

เล่มที่ : 116

ตอน : 94 ก

ลงวันที่ : 10/10/2542 17:29:45

ดาวน์โหลด

  • สรุป พร บ จัดตั้ง ศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม
    เอกสารประกอบ

สรุป พร บ จัดตั้ง ศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม

สรุป พร บ จัดตั้ง ศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม

Stay connected

Follow us on social networks

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542

 คดีปกครอง คือ คดีพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจทางปกครองออกกฎหรือคำสั่ง หรือกระทำการอื่นใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องมาจากการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ทางปกครองตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร หรือเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

ลักษณะสำคัญของคดีปกครอง

1. คดีปกครองเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน

2. คดีปกครองนั้นจะต้องเป็นคดีพิพาทที่เกิดขึ้นจากการกระทำ 3 ประการดังต่อไปนี้ ของหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ คือ

(1) การกระทำที่เป็นการใช้อำนาจทางปกครอง

                        (2) การที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ทางปกครองตามที่กฎหมายให้ต้องปฏิบัติ แล้วต้องปฏิบัติหน้าที่นั้นล่าช้าเกินสมควร

                        (3) สัญญาทางปกครอง

คดีที่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง

1. คดีตามมาตรา 9 วรรค 1 (1) การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มี 8 ลักษณะ

(1) กระทำโดยไม่มีอำนาจ คือ หน่วยงานทางปกครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกฟ้อง กระทำการออกคำสั่ง หรือกระทำการอื่นใด โดยทีไม่มีกฎหมายฉบับใดให้อำนาจไว้

(2) กระทำนอกเหนืออำนาจ เป็นเรื่องของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีอำนาจจะกระทำได้ตามกฎหมายแต่กระทำนอกเหนือไปจากขอบเขตที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจไว้

(3) กระทำไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นกรณีที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ออกกฎหรือออกคำสั่ง ซึ่งมีข้อความขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายฉบับที่ให้อำนาจไว้

                        (4) กระทำโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น เช่น กฎหมายกำหนดรูปแบบและขั้นตอนของการออกคำสั่งไว้และวางหลักไว้ว่า ผู้ออกคำสั่งจะต้องให้เหตุผลประกอบคำสั่ง ถ้าคำสั่งไม่มีเหตุผลประกอบเป็นการผิดแบบไม่เป็นไปตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด

                        (5) กระทำโดยไม่สุจริต เป็นการใช้อำนาจบิดเบือนโดยมีเจตนา หรือวัตถุประสงค์นอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ที่กฎหมายให้อำนาจไว้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวหรือของผู้อื่น ไม่ได้กระทำการนั้นเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะตามวัตถุประสงค์ของกฎมาย

                        (6) การกระทำที่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม เป็นการกระทำโดยขาดหลักความเสมอภาค โดยใช้เกณฑ์ ทางเชื้อชาติ ศาสนา เพศ ความคิดทางการเมือง มาเป็นตัวตัดสิน เป็นต้น

                         (7) เป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร

                         (8) การใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบ อำนาจดุลยพินิจ คือ การที่ฝ่ายปกครองมีอำนาจตัดสินใจอย่างอิสระที่จะเลือกกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าเลือกกระทำการหรือไม่กระทำการรักษาประโยชน์สาธารณะ โดยมีเหตุผลอันสมควรแล้ว ล้วนเป็นการใช้ดุลยพินิจโดยชอบแล้ว

2. คดีที่ฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ แล้วแต่กรณีละเลยต่อหน้าที่ทางปกครองตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร และมีคำขอให้ศาลพิพากษาให้

หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นภายในเวลาที่ศาลกำหนด ตามมาตรา 9 วรรค 1 (2) เช่น ประชาชนร้องเรียนเจ้าหน้าที่เนื่องจากบริษัทกำจัดขยะทำการกลบฝังหรือทำลายขยะไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้ส่งกลิ่นเหม็น ร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของรัฐ ก็ละเลยไม่ดำเนินการสั่งให้บริษัทระงับการกระทำดังกล่าว ถือเป็นคดีปกครองตามมาตรา 9 วรรค 1 (2) คำสั่งศาลปกครองสูงสุด 106/44

3. เป็นกรณีการละเมิดและความรับผิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ และขอให้ศาลพิพากษาสั่งให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเยียวยาความเสียหาย โดยสั่งให้ใช้เงินส่งมอบทรัพย์สิน หรือกระทำการหรืองดเว้นกระทำการ มีเงื่อนไข 2 ประการ                   

(1) ต้องเป็นคดีหรือข้อพิพาทที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ออกคำสั่ง มักใช้ใบอนุญาตโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

           (2) เมื่อเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่แล้ว ก็ต้องประกอบด้วย 4 ข้อ

1. การใช้อำนาจตามกฎหมาย

2. การออกกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น

3. ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ เช่น เจ้าหน้าที่ละเลยไม่พิจารณาคำขออนุญาตเปิดกิจการโรงงาน เป็นเหตุให้ผู้ประกอบการได้รับความเสียหาย

4. การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

4. คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ต้องดูว่าเป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ เป็นกรณีที่คู่ฟ้องคดีมีคำขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีชำระเงิน ค่าเสียหาย ฐานผิดสัญญาและส่งมอบทรัพย์สินหรือให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ ตามที่กำหนดไว้ในข้อสัญญา

5. เป็นคดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแล้วแต่กรณี ฟ้องเอกชนต่อศาล และขอให้ศาลบังคับให้เอกชนทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เช่น กรณีบุคคลก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นรุกล้ำเข้าในน่านน้ำ ซึ่งเป็นทางสัญจรของประชาชน หรือในทะเล หรือชายหาดของทะเล โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าท่า ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เจ้าท่ามีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างนั้นออกไปให้พ้นทางน้ำ ถ้าผู้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของกรมเจ้าท่า กรมเจ้าท่าไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะไปจัดการรื้อถอนอาคารนั้นด้วยตนเอง แต่กรมเจ้าท่าต้องไปฟ้องศาลขอให้ศาลพิพากษาบังคับให้ผู้รับคำสั่งรื้อถอนอาคารนั้น

6. เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง เช่น ข้อพิพาทตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการเป็นข้อพิพาทตามสัญญาทางปกครอง ศาลปกครองมีอำนาจเหนือคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง จึงต้องไปขอที่ศาลปกครอง

คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ตามมาตรา 9 วรรค 2

1. การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร

2. การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ

3. คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลชำนัญพิเศษ

- ศาลเยาวชนและครอบครัว - ศาลแรงงาน

- ศาลภาษีอากร

- ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ

- ศาลชำนัญพิเศษอื่นๆ

เงื่อนไขการฟ้องคดีปกครอง

1. เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้มีสิทธิฟ้องคดี และความสามารถของผู้ฟ้องคดี ตามมาตรา 42

ผู้ที่ได้รับความเดือนร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อน หรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องมาจาก

(1) การกระทำหรือการงดเว้นกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ

(2) มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

(3) กรณีอื่นที่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองตามมาตรา 9

(4) กรณีการแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อน หรือความเสียหาย หรือยุติข้อโต้แย้งนั้น ต้องมีบังคับตามมาตรา 72

2. เงื่อนไขเกี่ยวกับคำขอในคำฟ้องให้ศาลมีคำบังคับ เพื่อแก้ไขความเดือนร้อนเสียหาย ตามมาตรา 72

(1) ขอสั่งให้เพิกถอนกฎหรือคำสั่ง หรือสั่งห้ามกระทำทั้งหมด หรือบางส่วน

(2) ขอให้ศาลสั่งให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติหน้าที่ภายในเวลาที่ศาลปกครองกำหนด

(3) ขอให้ศาลสั่งให้ใช้เงิน หรือใช้ส่งมอบทรัพย์สิน หรือให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ เช่น ให้ชำระค่าจ้างหรือเงินอื่นใดตามสัญญาทางปกครอง

(4) สั่งให้ถือปฏิบัติต่อสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ฟ้องคดีเพื่อให้ศาลสั่งว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสัญชาติไทย และให้ถือปฏิบัติต่อผู้ฟ้องคดีในฐานะผู้มีสัญชาติไทย

(5) สั่งให้บุคคลกระทำหรือละเว้นการกระทำ อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย เช่น เจ้าท่าสั่งให้รื้อถอนเรือนที่ปักเสาลงในน้ำ เมื่อเจ้าของเรือนไม่รื้อถอนก็ต้องฟ้องต่อศาล ให้ศาลสั่งให้รื้อถอนเรือน

3. เงื่อนไขเกี่ยวกับการเยียวยา แก้ไขความเดือดร้อนเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดี

4. เงื่อนไขเกี่ยวกับคำฟ้องและเอกสารที่ยื่นต่อศาล ( เป็นเรื่องของเสมียน)

5. เงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาในการฟ้องคดี

คดีปกครองระยะเวลาในการฟ้องคดีสั้นมาก มีระยะเวลาอยู่ 3 กรณี

1. การฟ้องคดีปกครองทั่วไป ตามมาตรา 49 ถ้าเป็นคดีปกครองทั่วไปไม่ว่าจะเป็นเรื่องคำสั่งทางปกครอง เรื่องกฎ จะต้องฟ้องภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้เหตุแห่งการฟ้องคดี

2. การฟ้องคดีปกครองที่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือสัญญาทางปกครอง ต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการการฟ้องคดี แต่ต้องไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่เหตุแห่งการฟ้องคดีมันเกิดขึ้น ตามมาตรา 51

3. การฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะหรือสถานะของบุคคล การฟ้องคดีในกรณีไม่มีอายุความฟ้องเมื่อใดก็ได้ ตามมาตรา 52

มาตรา 52 วรรค 2 เป็นลักษณะพิเศษของศาลปกครอง คือ การฟ้องคดีที่พ้นระยะเวลาไปแล้ว ศาลอาจใช้ดุลยพินิจรับไว้พิจารณาได้

            6. เงื่อนไขเกี่ยวกับข้อห้ามในการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง มี 4 กรณี ศาลปกครองจะไม่รับฟ้องไว้พิจารณา

1. ฟ้องซ้ำ

            2. ฟ้องซ้อน

            3. ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ

            4. การห้ามฟ้องเจ้าหน้าที่ทำละเมินในการปฏิบัติหน้าที่ ตาม ม.5 แห่งความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

การกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ แยกได้ 2 กรณี

1. เจ้าหน้าที่ได้กระทำการละเมิดเนื่องจากการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ แยกได้ ดังนี้

1) ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการทำละเมิดของเจ้าหน้าที่

- ราษฎรได้รับความเสียหาย จะฟ้องเจ้าหน้าที่ทำละเมิดไม่ได้ จะต้องฟ้องหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ดังกล่าวสังกัดอยู่โดยตรง ตาม ม.5 ซึ่งเมื่อหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายแล้ว ถ้าเจ้าหน้าที่นั้นได้รับกระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หน่วยงานของรัฐ มีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ดังกล่าวชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่หน่วยงานของรัฐนั้นได้ แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่ได้จงใจหรือว่ากระทำการประมาทเลินเล่ออย่างธรรมดา เจ้าหน้าที่ก็ไม่ต้องรับผิด ตาม ม.8

- หน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐทั้งเจ้าหน้าที่นั้นสังกัดอยู่หรือไม่ก็ตาม การเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ที่กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ม. 10 ได้บัญญัติให้นำ ม.8 มาใช้บังคับโดยอนุโลม คือ จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากหน้าเจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดได้ เจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะต้องกระทำด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น ถ้าไม่ได้จงใจหรือกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างธรรมดา จะเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ได้

2.) การฟ้องคดี

.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9(3) ได้กำหนดว่าคดที่พิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎคำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น ดังนั้นเมื่อเจ้าหน้าที่ได้กระทำละเมิดเนื่องจากการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ว่าจะได้กระทำต่อผู้เสียหายหรือหน่วยงานของรัฐ ก็จะต้องฟ้องคดีที่ศาลปกครองโดยอาศัย ม.9 (3) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

2. เจ้าหน้าที่ได้กระทำละเมิดที่มิใช่ในการปฏิบัติหน้าที่

1) ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่

- ราษฎรที่ได้รับความเสียหาย สามารถฟ้องเจ้าหน้าที่ที่ทำละเมิดได้โดยตรงจะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้ เจ้าหน้าที่จะต้องรับผิดเป็นการเฉพาะตัวเนื่องจากากรทำละเมิด ตาม ม.6

- หน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่นั้นสังกัดอยู่หรือไม่ก็ตาม เมื่อเจ้าหน้าที่ไม่ได้กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ ม.10 บัญญัติไว้ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

2) การฟ้องคดี เมื่อเจ้าหน้าที่ไม่ได้กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ จึงไม่อยู่ในบังคับของ ม.9 (3) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 จึงไม่ใช่คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง จึงต้องนำคดีไปฟ้องที่ศาลยุติธรรม