เหตุการณ์ความรุนแรงในสังคม

เหตุการณ์ความรุนแรงในสังคม

PPTVHD36

  • หน้าหลัก PPTVHD36
  • สถานีสุขภาพ

    1. หน้าหลักสุขภาพ
    2. ข่าว
    3. เทรนด์
    4. ดูแลกาย
    5. กินดี
    6. ดูแลใจ
    7. รายการสุขภาพ
    8. ประกันสุขภาพ

  • ยานยนต์

    1. หน้าหลักยานยนต์
    2. ข่าว
    3. บทความ
    4. ดูแลรถ
    5. เทคโนโลยี
    6. รายการยานยนต์

  • ข่าว

    1. หน้าหลักข่าว
    2. ลงทุนไทยไร้สินบน
    3. รวมเรื่องเด่น
    4. ประเด็นร้อน
    5. ข่าวล่าสุด
    6. วิดีโอ
    7. การเมือง
    8. เศรษฐกิจ
    9. หุ้น-การลงทุน
    10. ข่าวคริปโท
    11. อาชญากรรม
    12. ต่างประเทศ
    13. สังคม
    14. ข่าวบันเทิง
    15. ไลฟ์สไตล์
    16. ท่องเที่ยว
    17. ไอที
    18. ข่าวประชาสัมพันธ์
    19. Life Story
    20. ลอตเตอรี่

  • กีฬา

    1. หน้าหลักกีฬา
    2. ข่าวกีฬา
    3. บุนเดสลีกา
    4. วอลเลย์บอล
    5. MotoGP
    6. โปรแกรมถ่ายทอดสดฟุตบอล
    7. ช็อตเด็ดกีฬา

  • รายการทีวี

    1. หน้าหลักรายการ
    2. รายการข่าว
    3. รายการวาไรตี้
    4. สารคดี
    5. ละครไทย
    6. ซีรีส์ต่างประเทศ
    7. ดูหนัง

  • ตรวจหวย
  • เหตุการณ์ความรุนแรงในสังคม
    New Normal
  • อื่นๆ

    1. ผังรายการ
    2. Gallery
    3. เรื่องเล่า36
    4. 36 Influencers
    5. PPSHOP
    6. ติดต่อลงโฆษณา

  1. หน้าหลัก
  2. ความรุนแรงในสังคม

ข่าวที่เกี่ยวข้องกับ ความรุนแรงในสังคม

แท็ก ความรุนแรงในสังคม

Top News

เหตุการณ์ความรุนแรงในสังคม

คำยอดนิยม

เหตุการณ์ความรุนแรงในสังคม

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ

เหตุการณ์ความรุนแรงในสังคม

เป็นสถิติโลกที่ไม่น่าภูมิใจเอาซะเลย แม้ว่าจะมีการรณรงค์ให้งดใช้ความรุนแรงต่อเด็กและสตรีหรือคนในครอบครัว แต่ดูเหมือนว่ามันจะไม่ได้ผลสักเท่าไหร่ บทความนี้ เราจะมาพูดถึงความรุนแรงที่มักจะเกิดขึ้นในครอบครัวว่ามีอะไรบ้าง ผลกระทบที่เกิดขึ้น วิธีป้องกันและการรับมือกับสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว

เหตุการณ์ความรุนแรงในสังคม

ผลการสำรวจสถานการณ์ความรุนแรงต่อเด็กและสตรีในปี 2564 พบว่ามี หญิงไทยถูกล่วงละเมิดจากการถูกทำร้ายทางร่างกายและจิตใจ ไม่ต่ำกว่า 7 คนต่อวัน และมีผู้หญิงที่เข้ารับการบำบัดรักษา แจ้งความร้องทุกข์ประมาณปีละ 30,000 ราย ถือเป็นสถิติความรุนแรงต่อผู้หญิงที่สูงติด 1 ใน 10 ของโลก โดยสามารถแบ่งประเภทความรุนแรงออกได้เป็น

  • ความรุนแรงทางด้านจิตใจ คิดเป็น 32.3%
  • ความรุนแรงทางร่างกาย คิดเป็น 9.9%
  • ความรุนแรงทางเพศ คิดเป็น 4.5%

ความรุนแรงที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงตัวเลขจากรายการที่มีการร้องทุกข์เข้ามา ยังมีความรุนแรงในครอบครัวอีกมากมายที่ไม่ได้รับการแจ้ง ด้วยสาเหตุ เช่น ไม่กล้าแจ้งความ ถูกขู่หากมีการแจ้งความ หรืออายไม่อยากเปิดเผยเรื่องราวให้คนอื่นรับรู้

เป็นเรื่องปกติที่ทุกครอบครัวจะต้องมีปัญหา มีปากเสียง มีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันบ้าง แต่ในครอบครัวที่ไม่ปกติจะมีการใช้ความรุนแรงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทั้งระหว่างสามีกับภรรยา ลูกกับพ่อหรือแม่ หรือกับเครือญาติ ซึ่งเมื่อเกิดความรุนแรงในครอบครัวขึ้นแล้ว สมาชิกทุกคนล้วนแต่ได้รับความบอบช้ำทั้งทางกายและทางใจ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ความรุนแรงในครอบครัวคือเหตุผลหลักที่นำไปสู่การเป็นปัญหาสังคม หรือทำให้เกิดโรคทางจิตใจต่าง ๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรคเครียด

เหตุการณ์ความรุนแรงในสังคม

ความรุนแรง คืออะไร

การกระทำที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและจิตใจ การทำร้ายร่างกาย การข่มขู่ การกระทำทางเพศ การถูกทอดทิ้ง ความรุนแรงต่าง ๆ สามารถแบ่งออกได้เป็น

1.ความรุนแรงระหว่างคู่สมรส (Intimate Partner Violence and Abuse หรือ IPV)

IVP คือ พฤติกรรมใด ๆ ก็ตาม ภายใต้ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและจิตใจ หรือทางเพศต่อผู้ที่อยู่ในความสัมพันธ์ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างคู่สมรสหรือคู่ครอง มีได้หลายรูปแบบทั้งความรุนแรงทางด้านร่างกาย เช่น การทุบตี ความรุนแรงทางด้านจิตใจ เช่น การพูดจาให้เกิดความเจ็บใจ ด่าทอ หรือความรุนแรงทางเพศจากการล่วงละเมิดทางเพศ

2.ความรุนแรงต่อเด็ก (Child Abuse)

การกระทำที่ส่งผลกระทบต่อเด็ก สามารถแบ่งได้เป็น ความรุนแรงทางเพศ ความรุนแรงทางร่างกาย ความรุนแรงทางจิตใจ และการถูกละเลยทอดทิ้ง เช่น

  • การล่วงละเมิดทางร่างกายทุกรูปแบบ ลวนลาม อนาจาร ทำร้ายร่างกาย ถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์
  • การล่วงละเมิดทางใจ เช่น โดนตำหนิจนเกินเหตุ การเป็นที่รองรับอารมณ์ของผู้ใหญ่
  • การละเลยทางกายภาพ เช่น เด็กไม่รับการดูแลตามที่ควรจะเป็น
3.ความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ (Elder Abuser)

คือการกระทำที่ส่งผลให้ผู้สุงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เกิดความทุกข์ ความเจ็บปวดทางร่างกายและจิตใจ และนำมาซึ่งอันตรายต่อสวัสดิภาพของผู้สูงอายุ เช่น การทอดทิ้งผู้สูงอายุ การทำร้ายร่างกาย การด่าทอ เป็นต้น

ความรุนแรงไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับใครและในสถานการณ์ไหน ก็ล้วนแล้วแต่ไม่เกิดผลดีด้วยกันทั้งสิ้น ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัวที่ส่วนใหญ่แล้ว ผู้หญิงและเด็กมักจะตกเป็นเหยื่อและได้รับผลกระทบจากในสถานการณ์เหล่านั้น

เหตุการณ์ความรุนแรงในสังคม

ความรุนแรงในครอบครัว มีดังนี้

  • ความรุนแรงทางด้านร่างกาย เป็นการทำร้ายร่างกายโดยเจตนาที่จะใช้กำลังบังคับ ข่มขู่ เช่น ทุบ ตี เตะ ต่อย ทำให้เกิดบาดแผลตามร่างกาย รวมไปถึงการทำร้ายสัตว์เลี้ยงด้วย
  • ความรุนแรงที่ออกมาทางคำพูด พูดจาส่อเสียด พูดโดยใช้อารมณ์และคำหยาบ ในการด่า ทำร้ายจิตใจ เหยียดเพศ เหยียดศักดิ์ศรี และทำให้รู้สึกอาย
  • ความรุนแรงทางเพศ จะเห็นได้บ่อยตามข่าวที่เกิดขึ้นแทบจะทุกวัน ความรุนแรงทางเพศที่เกิดขึ้นระหว่างคู่รักหรือระหว่างบุตรกับบุพการี เช่น พ่อบังคับขืนใจลูกสาว สามีตบตีบังคับและทำร้ายภรรยาระหว่างมีเพศสัมพันธ์ หรือการกระทำทางเพศที่เป็นการบังคับขืนใจ เป็นต้น
  • ความรุนแรงทางอารมณ์ โดยผู้กระทำจะใช้การข่มขู่ ใช้อารมณ์ในการควบคุมให้อีกฝ่ายทำตาม เช่น การกล่าวหาคู่สมรสว่ามีการนอกใจ ใช้อารมณ์บังคับในการดูข้อมูลส่วนตัวในโทรศัพท์ ใช้วาจาที่รุนแรง ด่าทอ วิพากษ์วิจารณ์ โดยห้ามอีกฝ่ายตอบโต้ และรวมไปถึงการเพิกเฉย ไม่ใส่ใจ ดูแลคุณภาพชีวิตของคู่สมรส หรือเหยียดศักดิ์ศรีคู่สมรสโดยการมีคนอื่น เป็นต้น

ปัญหาด้านสุขภาพจิตก็มีส่วนสำคัญในการเกิดความรุนแรงขึ้นในครอบครัว เช่น เป็นโรคซึมเศร้า การติดสุราเรื้อรัง ปัญหาการเงิน ปัญหาด้านยาเสพติดและการพนัน ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ส่งผลกระทบต่อสมาชิกในครอบครัวด้วยกันทั้งสิ้น รวมถึงเป็นสาเหตุหลักของการเป็นปัญหาสังคม

เหตุการณ์ความรุนแรงในสังคม

ผลกระทบจากความรุนแรงที่เกิดในครอบครัว

ความรุนแรงในครอบครัวนับเป็นปัญหาสังคมใหญ่ของไทย เพราะครอบครัวควรจะเป็นที่ ๆ อยู่แล้วมีความสุข การที่ในครอบครัวมีแต่ความรุนแรงอาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมา เช่น การลงโทษลูกด้วยการตีหรือใช้ความรุนแรงจนทำให้เกิดบาดแผล สิ่งต่าง ๆ นี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบทางด้านจิตใจด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งสามารถแบ่งผลกระทบจากความรุนแรงที่เกิดขึันในครอบครัวได้ 2 ระยะ คือ

  1. ผลกระทบระยะสั้น – ส่งผลให้ลูกมีอาการหงุดหงิดง่าย เลี้ยงยาก เด็กไม่มีความสุข มองโลกในแง่
    ลบและมีปัญหาในการเข้าสังคม มีปัญหาในการเรียน ไม่เชื่อฟังครู
  2. ผลกระทบระยะยาว – ในระยะยาว หากเด็กยังต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความรุนแรงในครอบครัวมาโดยตลอด อาจส่งผลให้เด็กมีปัญหาในการเข้าสังคม ชอบใช้ความรุนแรง เด็กมีความก้าวร้าวเพราะคิดว่าความรุนแรงและความก้าวร้าวเป็นเรื่องปกติ ต่อต้านสังคม ไม่ฟังความคิดเห็นคนอื่น เช่น หากเพื่อนในกลุ่มมีความคิดที่ต่างออกไป จะให้ความรุนแรงบังคับจิตใจให้เพื่อนคิดตามเราให้ได้ หากผู้ปกครองไม่เร่งแก้ไข มีความเป็นไปได้สูงว่า เมื่อโตขึ้นจะเป็นคนไม่ดีในสังคม

เหยื่อผู้ที่ต้องเผชิญกับความรุนแรงในครอบครัว มักจะได้รับผลกระทบไม่ว่าจะเป็นตรงหรือทางอ้อม เหยื่อจะมีความเครียดที่ส่งผลต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในเด็กที่เห็นพ่อแม่ใช้ความรุนแรงบ่อย ๆ เมื่อเด็กเกิดความเครียดอาจจะส่งผลออกมาทางร่างกาย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ ฝันร้าย ในเด็กที่มีความเก็บกดมาก ๆ อาจมีการทำลายข้าวของร่วมด้วย

สำหรับผู้ที่กำลังเผชิญกับความรุนแรงในครอบครัวอยู่ในขณะนี้ หรือสงสัยว่าคนในครอบครัวหรือคนใกล้ตัวกำลังประสบปัญหาเหล่านี้อยู่ ลองนำคำแนะนำด้านล่างไปปฏิบัติดู

  • ขอความช่วยเหลือ เหยื่อหลายรายที่มักไม่กล้าขอความช่วยเหลือ จงจำไว้ว่าสิทธิการเป็นมนุษย์ทุกคนบนโลกนี้เท่าเทียมกัน ไม่ควรมีใครได้รับการทำร้ายร่างกายทั้งนั้น หากมีการทำร้ายร่างกายเกิดขึ้นในครอบครัว ให้รีบแจ้งตำรวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที หน่วยงานในไทยที่เราคุ้นเคยก็ยกตัวอย่างเช่น มูลนิธิปวีณา
  • ป้องกันตัวเอง การป้องกันตัวเองเป็นการเห็นคุณค่าของตัวเรา เราทุกคนมีสิทธิในร่างกายของเรา หากใครมาทำร้ายร่างกายของเรา เราควรปกป้องไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม เช่น เดินหนี ร้องขอความช่วยเหลือ หรือแม้กระทั่งหาวิธีสู้กลับในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เป็นต้น
  • ไม่เชื่อในคำขู่ หากมีการขู่จากผู้ที่กระทำความรุนแรง เช่น โดนขู่ว่าหากแจ้งตำรวจจะทำร้ายร่างกายให้หนักขึ้น หากเราหลงเชื่อและกลัวในคำพูดขู่เหล่านี้ จะยิ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อตัวเองและสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัว เพราะนานวันเข้าความรุนแรงก็จะยิ่งทวีคูณขึ้น
  • เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้คนที่เชื่อใจได้ฟัง การบอกเล่าปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัวกับเพื่อนสนิท หรือคนที่เราไว้ใจได้ เช่น ครู อาจารย์ เจ้านายที่ทำงาน หรือองค์กรต่าง ๆ นอกจากจะเป็นการได้ระบายความเครียดที่เกิดขึ้นแล้ว บุคคลเหล่านี้อาจจะมีวิธีการช่วยเหลือให้เราหลุดพ้นจากความรุนแรงนี้ได้
เหตุการณ์ความรุนแรงในสังคม

วิธีป้องกันความรุนแรงในครอบครัว

  1. สร้างบรรยากาศที่ดีในบ้าน – ใช้สติมากกว่าอารมณ์ มีเหตุผล เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในครอบครัว ให้หันหน้ามาช่วยกันแก้ปัญหา
  2. หาเวลาว่างทำกิจกรรมด้วยกัน – การทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น หากีฬาที่พ่อแม่ลูกเล่นด้วยกันได้ หาเวลาไปพักผ่อนต่างจังหวัด จัดทริปเดินทาง การทำกิจกรรมร่วมกันจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว
  3. เลี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความรุนแรง – เช่น การดื่มสุรา สารเสพติดต่าง ๆ ของมึนเมาเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ ความยับยั้งชั่งใจจะน้อยลง หากมีโต้เถียงกันเกิดขึ้น ให้พยายามหลบหลีกออกจากสถานการณ์นั้นให้เร็วที่สุด แล้วค่อยกลับมาคุยกันเมื่อสถานการณ์กลับมาสู่ปกติ
  4. ขอบคุณและขอโทษกันให้มากขึ้น – การฝึกพูดขอบคุณและขอโทษกันและกัน เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดการเกิดความรุนแรงในครอบครัว เมื่อทำผิดให้รีบขอโทษ โดยอีกฝ่ายต้องตั้งใจฟังและต้องใจกว้างในการให้อภัย ให้จำไว้ว่ามนุษย์ทุกคนบนโลกนี้ล้วนแล้วแต่เคยทำผิดพลาดมาก่อนด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
  5. เคลียร์ใจ – ควรหาโอกาสพูดคุยกันเองในครอบครัวถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ให้กำลังใจกันและกัน ช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ปัญหา หรือสามารถปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาครอบครัว เพื่อช่วยกันหาทางออกร่วมกัน ทั้งหมดต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานที่สมาชิกทุกคนในครอบครัวมีเป้าหมายเดียวกันคือ “อยากเป็น Happy Family” เมื่อความคิดของสมาชิกทุกคนในบ้านตรงกันแล้ว การทำให้เป็น Happy Family นั้นไม่ใช่เรื่องยาก

ครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ เป็นเหมือนเบ้าที่หล่อหลอมให้เด็กที่เกิดมาว่าโตขึ้นจะเป็นคนแบบไหน สถาบันครอบครัวจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุด หากพบเห็นปัญหาความรุนแรงในครอบครัว หรือกำลังเผชิญหน้ากับความรุนแรงในครอบครัว รู้ใจแนะนำให้โทรสายด่วน 1134 หรือแจ้งมูลนิธิปวีณาเพื่อเด็กและสตรี เพื่อขอความช่วยเหลือในลำดับต่อไป

และการวางแผนเพื่อดูแลครอบครัว ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ครอบครัวรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น รู้ใจแนะนำประกันมะเร็งและประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ที่ช่วยคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลให้สมาชิกในครอบครัวได้ ด้วยราคาเบี้ยประหยัด เข้าถึงได้ทุกครอบครัว

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)