ปัญหาในโรงเรียนและแนวทางแก้ไข

ปัญหาในโรงเรียนและแนวทางแก้ไข
ปัญหาในโรงเรียนและแนวทางแก้ไข
ปัญหาในโรงเรียนและแนวทางแก้ไข
ปัญหาในโรงเรียนและแนวทางแก้ไข

4) การป้องกัน/ช่วยเหลือ

ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูที่ปรึกษา/ครูผู้สอน ควรให้ความเอาใจใส่นักเรียนทุกคนเท่าเทียมกัน แต่สำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มมีปัญหานั้น จำเป็นอย่างมากที่ต้องให้ความดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดและการวิธีการช่วยเหลือ ทั้งการป้องกันและการแก้ไขปัญหา โดยไม่ปล่อยปละละเลยนักเรียนจนกลายเป็นปัญหาของสังคม การป้องกันและการแก้ไขปัญหาของนักเรียนจึงเป็นภาระงานที่ยิ่งใหญ่ และมีคุณค่าอย่างมากในการพัฒนาให้นักเรียนเติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพของสังคมต่อไป

วิธีการและเครื่องมือเพื่อการป้องกันและช่วยเหลือนักเรียน

  1. การให้การปรึกษาเบื้องต้น (กัลยาณมิตร)
  2. จัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา

มีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้

  1. จัดทำแบบฟอร์มการบันทึกกิจกรรมการป้องกันและช่วยเหลือนักเรียนรายบุคคล
  2. การให้คำปรึกษาเบื้องต้น

2.1 สร้างสัมพันธภาพ

2.2 พิจารณาทำความเข้าใจปัญหาร่วมกับนักเรียน

2.3 กำหนดวิธีการและดำเนินการแก้ไขปัญหาแก้ไข

  1. พิจารณาแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยเลือกใช้ตามความเหมาะสม อาทิเช่น กิจกรรมเสริมหลักสูตร กิจกรรมในห้องเรียน กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน กิจกรรมซ่อมเสริม กิจกรรมการสื่อสารกับผู้ปกครอง
  2. นำนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมของทางโรงเรียนที่เกี่ยวกับการป้องกันและช่วยเหลือนักเรียน

Reference

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2552. แนวทางการดำเนินงานตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.แนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

สำเริง แหยงกระโทก. 2554. การเยี่ยมบ้านนักเรียน โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด

          นครราชสีมา. นครราชสีมา: องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา.

ศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. 2544. ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา กรมการศาสนา.

ปัญหาในโรงเรียนและแนวทางแก้ไข

Advertisement

ปัญหาในโรงเรียนและแนวทางแก้ไข

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ชี้ แก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กควร จัดสรรทรัพยากรด้วยหลักความเสมอภาค ใช้ระบบ iSEE ชี้พิกัดแก้ตรงจุด และใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ช่วยเพิ่มคุณภาพการศึกษา

วันที่ 18 ธ.ค. 62 ดร.ไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคเพื่อการศึกษา เปิดเผยว่า โจทย์ของโรงเรียนขนาดเล็กเป็นโจทย์ที่มีความซับซ้อน และถือเป็นโจทย์สำคัญในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของประเทศ จึงพยายามวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อตีโจทย์โรงเรียนขนาดเล็กให้เห็นภาพ และแนวทางการปฏิรูปเชิงระบบที่ชัดเจน เพื่อสนับสนุนกระบวนการวิจัยเชิงระบบที่จะนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน และสอดคล้องกับกำลังของหน่วยงานที่มีงบประมาณจำกัดเพียง 0.5% ของงบประมาณในระบบการศึกษา เราจึงกำหนดโจทย์การทำงานไปที่กลุ่มโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกลของชุมชน (Small Protected School) ที่ไม่สามารถยุบและควบรวมได้

ปัญหาในโรงเรียนและแนวทางแก้ไข

จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนต่ำกว่า 120 คนต่อโรงเรียน และมีระยะห่างจากโรงเรียนข้างเคียงที่ใกล้ที่สุดไม่ต่ำกว่า 10 กิโลเมตรอยู่จำนวน 1,594 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลบนดอย เกาะแก่ง และปัจจุบันโรงเรียนกลุ่มนี้ทั่วประเทศจัดการศึกษาให้นักเรียนอยู่ราว 100,000 คน หากมีการยุบและควบรวมโรงเรียนกลุ่มนี้จะทำให้เด็กเยาวชนที่เรียนอยู่ในโรงเรียนกลุ่มนี้ต้องเดินทางไปโรงเรียนข้างเคียงด้วยระยะทางที่ไกลกว่า 10-20 กิโลเมตร จึงใช้กระบวนการวิจัยเชิงระบบเพื่อกำหนดโจทย์การทำงานที่จะนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการปฏิรูปความเสมอภาคทางการศึกษาของโรงเรียน Protected School เหล่านี้ ให้สามารถยืนหยัดจัดการศึกษาที่มีคุณภาพให้แก่เด็กเยาวชนในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย 3 โจทย์ย่อย ได้แก่ การแก้ไขปัญหาด้วยข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ การจัดสรรทรัพยากรด้วยหลักความเสมอภาคและนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ดังนี้

1. การแก้ไขปัญหาด้วยข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ โดย ระบบพัฒนาฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่ช่วยให้ทุกคนเห็นสภาพปัญหาที่จริง ชี้พิกัดในแผนที่ให้เห็นชัดว่าโรงเรียน 1,594 แห่ง ที่ต้องการการคุ้มครองนี้อยู่จังหวัดใด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาขั้นตอนวิธี เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและปัจจัยสภาพแวดล้อมในมิติต่างๆ เพิ่มเติมนอกเหนือจากระยะห่างระหว่างโรงเรียน เพื่อช่วยค้นหาโรงเรียน Protected School ที่ไม่สามารถยุบและควบรวมได้ที่ครอบคลุมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น อาทิ ข้อมูลระยะทางจากบ้าน-โรงเรียน, ภูมิสารสนเทศ ชุมชน มานุษยวิทยาสังคม เป็นต้น เพื่อให้เข้าใจสภาพปัญหาแท้จริงของครอบครัว ของครู ของเด็กและครอบครัว รวมทั้งใช้พัฒนามาตรการสนับสนุนโรงเรียน Protected School ให้สามารถจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพได้อย่างเสมอภาคทัดเทียมกับโรงเรียนขนาดกลางทั่วไป

ปัญหาในโรงเรียนและแนวทางแก้ไข

2. การจัดสรรทรัพยากรด้วยหลักความเสมอภาค ปัจจุบันโรงเรียน Protected School ได้รับการจัดสรรงบประมาณส่วนใหญ่ด้วยสูตรการจัดสรรเงินเดียวกับโรงเรียนปกติทั่วไปในประเทศไทยตามสูตรการจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยมีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 2 ส่วน คือ เงินอุดหนุนรายหัว และงบเรียนฟรี 15 ปี ที่แปรผันตามจำนวนหัวนักเรียนและระดับการศึกษา โดยมีเงินงบประมาณเพิ่มเติม ให้แก่โรงเรียนขนาดเล็ก 500-1,000 บาท/คน/ปี อยู่เล็กน้อย

ปัญหาในโรงเรียนและแนวทางแก้ไข

3. นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ด้วยสภาพความจำเป็นพิเศษ ทั้งข้อจำกัดทั้งในด้านทรัพยากรบุคลากรและความด้อยโอกาสของผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กเยาวชนในโรงเรียนขนาดเล็กจำเป็นต้องอาศัยนวัตกรรมในการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ โดย 2 นวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น และ Teaching at the Right Level (TaRL) ที่มุ่งเน้นการบริหารจัดการทรัพยากร กำลังคน และสภาพแวดล้อมสาธารณูปโภคที่มีอยู่อย่างจำกัดในโรงเรียนขนาดเล็กนี้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งสามารถจัดการศึกษาได้สอดคล้องต่อความต้องการและศักยภาพของผู้เรียนได้เป็นรายบุคคล ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียน

อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กต้องเริ่มต้นจากการศึกษาข้อมูลต่างๆ อย่างรอบด้าน และนำเอาปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้เห็นสภาพปัญหาอย่างแท้จริง กสศ. อยากชักชวนให้มองปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกลที่ไม่สามารถควบรวมได้อีกนับพันแห่ง การแก้ปัญหาในส่วนนี้มีอีกหลายวิธีการตั้งแต่การเปลี่ยนวิธีการจัดสรรทรัพยากรให้เป็นไปตามหลักความเสมอภาคมากขึ้น และสร้างความเสมอภาคทางคุณภาพการศึกษาผ่านการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ที่จะช่วยเพิ่มคุณภาพการศึกษาในบริบทของโรงเรียนขนาดเล็กได้อย่างยั่งยืน

podcast

กำลังโหลดบทความถัดไป...