วิจัย การประเมินความเสี่ยงด้าน อาชีว อนามัย และความ ปลอดภัย

Main Article Content

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ค้นหาลักษณะอันตราย 2) ประเมินระดับความเสี่ยง 3) ปรับปรุงสภาพการทำงานในกระบวนการผลิตหอเก็บน้ำเพื่อลดระดับความเสี่ยง และ 4) การประเมินความพึงพอใจทั้งก่อนและหลังการปรับปรุงสภาพการทำงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ แบบวิเคราะห์ลักษณะขั้นตอนการทำงาน แบบประเมินระดับความเสี่ยงสภาพการทำงานด้วยวิธีเชคลิส และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานต่อสภาพการทำงาน การวิจัยนี้ครอบคลุมขั้นตอนกระบวนการผลิตหอเก็บน้ำทั้งหมด 5 ขั้นตอน คือ 1) การตัดแผ่นเหล็ก 2) การม้วนแผ่นเหล็ก 3) การเจาะช่องเหล็ก 4) การประกอบชิ้นส่วนหอเก็บน้ำ และ 5) การทาสีหอเก็บน้ำ ผลการวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงสภาพการทำงานอ้างอิงตามเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะอันตรายจากการวิเคราะห์ลักษณะการทำงานมีความแตกต่างกันในแต่ละขั้นตอน โดยลักษณะอันตรายที่พบอยู่ในระดับความเสี่ยง 3 คือมีความเสี่ยงสูง (ร้อยละ 87.5) และอยู่ในระดับความเสี่ยง 4 คือความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ (ร้อยละ 12.5) ต้องทำการลดความเสี่ยงอันตรายโดยการปรับปรุงสภาพการทำงาน และเมื่อปรับปรุงสภาพการทำงานแล้วสามารถลดความเสี่ยงลดลงอยู่ในระดับความเสี่ยง 2 คือความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (ร้อยละ 100) และผลความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานต่อสภาพการทำงานก่อนและหลังการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานทั้งหมด 5 ด้าน พบว่าระดับความพึงพอใจเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับดีเยี่ยมในทุกข้อ สรุปได้ว่าจากการปรับปรุงสภาพการทำงานในกระบวนการผลิตหอเก็บน้ำมีความเสี่ยงลดลงและส่งผลให้มีความปลอดภัยในการทำงานมากยิ่งขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

References

ลักษณีย์ บุญขาว, โชติมาพลรักษา, จีราพร ทิพย์พิลา.(2559). การประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงเตาเผาอิฐมอญแห่งหนึ่งในอำเภอวารินชาราบจังหวัดอุบลราชธานี.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี,18(1),39-46.
รวินท์นิภา ห่านตระกูล, นิวิท เจริญใจ. (2560). การประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในศูนย์กระจายสินค้า. สัมมนาทางวิชาการวิศวกรรมอุตสาหการจัดการอุตสาหกรรม ครั้งที่ 1 ปี 2560.
อุมารัตน์ ศิริจรูญวงศ์. (2554).การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย:เทคนิคชี้บ่งอันตรายเพื่อป้องกัน
อุบัติเหตุจากงาน.วารสาร มฉก.วิชาการ,14(28),223-245.
กรมโรงงานอุตสาหกรรม.(2543).หลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและจัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543.ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม.
วุฒินันทน์ ปัทมวิสุทธิ์. (2558). การทํางานกับเครื่องเจียระไนอย่างถูกต้องและปลอดภัย Grinding and Cutting Safety.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ,8(30), 7-14.
กุณฑลีย์ บังคะดานรา, ชัชชัย ธนโชคสว่าง,สรา อาภรณ์. (2560). การปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการ
ทำงานเพื่อความปลอดภัยของกลุ่มคนพิการที่ประกอบอาชีพผลิตปุ๋ยไส้เดือนดิน.วารสารความ
ปลอดภัยและสุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,10(35 ),1-9.
ปิยะณัฐ วงศ์ประเทศ, วัชระ เพียรสุภาพ. (2557). การวิเคราะห์แนวทางเพื่อลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจาก
การทำงาน:กรณีศึกษางานเสาเข็ม. ปริญญาวิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริพร ด่านคชาธาร, มุจลินท์ อินทรเหมือน, นิธิมา หนูหลง, จันจิรา มหาบุญ, มัตติกา ยงประเดิม.
(2561). การประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของแผนกซักฟอกใน
โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,28(1),140-154.
ชลาธิป อินทรมารุต.(2559). ความปลอดภัยในงานเชื่อมหรือตัดโลหะ (welding & cutting). สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563.ได้จาก https://www.intersol-eng.com/ความปลอดภัยในงานเชื่อม/
กองศูนย์ข้อมูลและแผนเทคโนโลยีสารสนเทศการประปาส่วนภูมิภาคนครราชสีมา.(2563).ข้อมูลพื้นฐาน การประปาส่วนภูมิภาค สาขานครราชสีมา.สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563.ได้จาก https://www.pwa.co.th/province/branch/5540231

Han, B. S., Park, C. S., & Hong, S. H. (2007). Occupational health and safety risk assessment checklist for preventing accidents during building design phase. Korean Journal of Construction Engineering and Management, 8(2), 68-74.
Gul, M., & Ak, M. F. (2018). A comparative outline for quantifying risk ratings in occupational health and safety risk assessment. Journal of cleaner production, 196, 653-664.
Kogi, K. (2002). Work improvement and occupational safety and health management systems: common features and research needs. Industrial health, 40(2), 121-133.
Rozenfeld, O., Sacks, R., Rosenfeld, Y., & Baum, H. (2010). Construction job safety analysis. Safety science, 48(4), 491-498.
Rausand, M. (2005). Job safety analysis. Department Production and Quality Engineering, Norwegain University Of Science and Technology, .

Main Article Content

สุนิสา ชายเกลี้ยง

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสความร้อนของเกษตรกรตัดอ้อย ในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่าง มีจำนวน 379 คน ตรวจวัดความร้อนโดย Wet bulb globe temperature หรือ WBGT และประยุกต์ใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้ทำงานกลางแจ้ง มีข้อมูลทั้งหมด 3 ส่วน ด้านปัจจัยเสี่ยงส่วนบุคคล การทำงานกลางแจ้ง และประวัติอาการเจ็บป่วยจากความร้อน  วิเคราะห์ความเสี่ยงโดยการรวมคะแนนเพื่อจัดความเสี่ยงออกเป็น 3 ระดับ ระดับคือ ต่ำ ปานกลาง และสูง ผลการศึกษา พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่อายุ 40 ปีขึ้นไป ร้อยละ 86.81 ประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 5 ปี ร้อยละ 88.13 ทำงานกลางแจ้งตลอดทั้งวัน ร้อยละ 99.74 สัมผัสแสงแดดโดยตรงมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 96.04 เกษตรกรเคยมีอาการเจ็บป่วยจากความร้อนอย่างน้อย 1 อาการหรือ 1 ครั้ง ร้อยละ 34.30 คืออาการเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง เหนื่อยล้าจากความร้อนชั่วคราว ร้อยละ 22.96 รองลงมาคือ อาการปวดเกร็งที่กล้ามเนื้อหรือเป็นตะคริว ร้อยละ 16.89 และอาการเป็นลมแดด ร้อยละ 11.41 และเกษตรกรทุกรายไม่ได้รับการอบรมด้านการทำงานกับความร้อนหรือผลกระทบ ผลการประเมินความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจากการสัมผัสความร้อน คือมีความเสี่ยงสูงสุดระดับเสี่ยงปานกลาง ร้อยละ 87.07 รองลงมาคือ ระดับต่ำ ร้อยละ 12.93 และผลการตรวจวัดความร้อนพบว่าความร้อนเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 31.2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับเกณฑ์การสัมผัสความร้อนของผู้ทำงานกลางแจ้งคือมีความเสี่ยงปานกลาง กรณีมีภาระงานหนัก ซึ่งสอดคล้องกับผลการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของเกษตรกรตัดอ้อยที่ส่วนใหญ่มีความเสี่ยงปานกลาง และเกษตรกรมีประวัติการเจ็บป่วยจากความร้อน จึงเสนอแนะให้มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานกับความร้อนเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยหรือผลกระทบต่อสุขภาพอื่นที่เกิดจากความร้อนให้กับกลุ่มเกษตรกรตัดอ้อย หรือเกษตรกรที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกันที่ทำงานกลางแจ้ง ต้องสัมผัสแดดเป็นเวลานาน และผลการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพเป็นแนวทางในการเฝ้าระวังความเสี่ยงจากการสัมผัสความร้อนของเกษตรกรตัดอ้อยหรือกลุ่มเกษตรกรที่ทำงานคล้ายกันได้เพื่อการป้องกันต่อไป

คำสำคัญ : ความเสี่ยงต่อสุขภาพจากความร้อน, การสัมผัสความร้อน, เกษตรกรตัดอ้อย

** ผู้รับผิดชอบบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง ภาควิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เลขที่ 123 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40002 โทรศัพท์ 04-3424820 อีเมลล์:

* นักศึกษาปริญญาโท สาขา วท.ม. (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

** รองศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

References

กระทรวงแรงงาน (2549) แนวปฏิบัติตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549 สืบค้นจาก http://medinfo2.psu.ac.th/commed/occmed/images/TIS18001/tisp4/law
%20Physi/images/law/practice_hot.pdf
กระทรวงแรงงาน. (2559). กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559. สืบค้นจาก http://cste.sut.ac.th/csteshe/wp-content/lews/Law06.pdf
คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดชัยภูมิ. (2560). แผนพัฒนาจังหวัดชัยภูมิ พ.ศ. 2561 – 2564 สืบค้นจาก http://www.oic.go.th/fileweb/cabinfocenter21/drawer005/general
/data0000/ 00000311.pdf
ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, วรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุล, ธานี แก้วธรรมานุกูล, อนนท์ วิสุทธิ์ธนานนท์, และ วิไลพรรณ ใจวิไล. (2562). สถานการณ์ด้านอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมของกลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวโพด. พยาบาลสาร, 46(1), 5-17.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2548). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วีอินเตอร์ พริ้นท์.
ธัญญารัตน์ ทราบจังหรีด และ อุไรวรรณ อินทร์ม่วง. (2559). การเจ็บป่วยที่สัมพันธ์กับความร้อนของเกษตรกร ตำบลตะขบ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 53-59.
ปฐมฤกษ์ มีสมบัติ, สุนิสา ชายเกลี้ยง, & อนุชนรา ตาลกุล คัสเธอร์. (2562). ความชุกการเกิดโรคจากความร้อนเนื่องจากการทำงานของเกษตรกรเพาะปลูก. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 12(3), 37-48.
ปฐมฤกษ์ มีสมบัติ, สุนิสา ชายเกลี้ยง, อนุชนรา ตาลกุล คัสเธอร์. (2563) การประเมินความเสี่ยงต่อการป่วยที่เกี่ยวเนื่องกับความร้อนจากการทำงานของเกษตรกรเพาะปลูก อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 13(2), 45-63
มูลนิธิสัมมาอาชีวะ. (2562). ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ สืบค้นจาก https://www.summacheeva.org/article/risk_assessment
วารุณี พันธ์วงศ์ และ กาญจนา ปินตาคำ (2560). ปัจจัยคุกคามต่อสุขภาพของเกษตรกรชาวนาไทย: กรณีศึกษา ชาวนา ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารกาละลองคำ, 11(3), 125-133.
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. (2560). รายงานพื้นที่ปลูกอ้อยปีการผลิต 2559/60. สืบค้นจากhttp://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/923-9999.pdf
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. (2561). รายงานการผลิตอ้อยของประเทศไทยประจำปีการผลิต 2560/61. สืบค้นจาก http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/923-3254.pdf
ฤทธ์ดรงค์ เอมแย้ม, วีระพร ศุทธากรณ์ และ กรรณิการ์ ณ ลำปาง. (2563). ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงาน และภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของเกษตรกรเลี้ยงโคนม อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุข ล้านนา, 16(2), 13-24.
Boonruksa, P., Maturachon, T., Kongtip, P., & Woskie, S. (2020). Heat stress, physiological response, and heat-related symptoms among Thai sugarcane workers. International journal of environmental research and public health, 17(17), 6364. doi.org/10.3390/ijerph27176364
Radir, A. F., Hashim, Z., Phan, K., Sao, V., & Hashim, J. H. (2017). The Impact of Heat on Health and Productivity Among Sugarcane Workers in Kampong Cham, Cambodia. Asia Pacific Environmental and Occupational Health Journal, 3(1).
Sun safety at work. (2019). personal risk assessment: heat stress for outdoor workers’ sun safety at work. Retrieved from https://sunsafetyatwork.ca/sites/default/files/ssawc_personal_
risk_assessment_heat_stress-june2019.pdf
Workplace Safety and Health. (2020). Workplace safety and health council in collaboration with the ministry of manpower. Workplace safety and health guidelines managing heat stress in the workplace. Retrieved from https://www.tal.sg/wshc/-/media/TAL/Wshc/Resources
/Publications/WSH-Guidelines/Files/Managing_Heat_Stress_in_the_Workplace.pdf