ถอด คํา ประพันธ์ กาพย์ห่อโคลง ประพาส ธาร ทองแดง บทที่ 31

ตั้งกระทู้ใหม่

ช่วยถอดคำประพันธ์กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

            ฝูงอ้นด้นแผ่นดิน                        กินรากไผ่ใบรวกผุย

ปล่องเห็นเป็นขี้ขุย                       คุ้ยดินร่วงกลวงเป็นโพรงฯ

            ฝูงอ้นด้นข่วนฟุ้ง             ดินขจุย

รากไผ่ไม้รวกผุย                          กัดแหง้น

เห็นช่องปล่องดินขุย                    ขุดอยู่

ดินร่วงกลวงทางแหล้น                ลอดเลี้ยวในโพรงฯ

ขอบคุณมากมากค่ะ

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2553 / 10:27

ถอด คํา ประพันธ์ กาพย์ห่อโคลง ประพาส ธาร ทองแดง บทที่ 31

sense 28 พ.ย. 53 เวลา 10:15 น.

รายชื่อผู้ถูกใจกระทู้นี้ คน

แสดงความคิดเห็น

3 ความคิดเห็น

Cantaro 28 พ.ย. 53 เวลา 13:14 น. 1

ฝูงอ้น (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลาง มีขาสั้นที่แข็งแรง มีเล็บยาวสำหรับการขุด และมีฝ่าเท้าที่เรียบ)
พากันขุดคุ้ยดินจนเป็้นโพรงเพื่อกินรากไผ่

ฝูงดัวอ้นกำลังขุดคุ้ยดินจนดดินฟุ้งเป็นขุยไปทั่ว
เพื่อกัดกินรากไผ่ที่มันขุดได้
เมื่อมองไปเห็นดินขุยเป็นโพรงอยู่
ในโพรงเป็นทางคดไปคดมา

น่าจะได้เเบบนี้แหละนะ

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2553 / 13:32

0 0

  • แจ้งลบ

รายชื่อผู้ถูกใจความเห็นนี้ คน

แจ้งลบความคิดเห็น

คุณต้องการจะลบความคิดเห็นนี้หรือไม่ ?

กระทู้ที่คนนิยมอ่านต่อ

บทความที่คนนิยมอ่านต่อ

 กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง 
 ผู้แต่ง  เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์   (เจ้าฟ้ากุ้ง)
    ลักษณะคำประพันธ์   กาพย์ห่อโคลง
คำประพันธ์ประเภทกาพย์ห่อโคลง มีลักษณะทางฉันทลักษณ์ดังนี้ ขึ้นต้นด้วยกาพย์ยานี 1 บท แล้วตามด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท ใจความเหมือนกัน กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง นั้นมีกาพย์ยานีและโคลงสี่สุภาพรวม 108 คู่ และโคลงปิดท้ายมี 2 บท
   จุดประสงค์ในการแต่ง เป็นบทชมธรรมชาติ เพื่อความเพลิดเพลินในการเดินทาง
   ที่มาของเรื่อง หนังสือปริทรรศน์ วรรณคดีไทยของนายตำรา ณ เมืองใต้

บทที่ 5 เที่ยวเล่นเป็นสุขเกษม 

เร่ร่ายผายผาดผัง                                                   หัวริกรื่นชื่นชมไพร

               สนุกเกษมเปรมหน้าเหลือบ                   ลืมหลัง

แสนสนุกปลุกใจหวัง                                            วิ่งหรี้

เดินร่ายผายผันยัง                                                 ชายป่า

หัวร่อรื่นชื้นชี้                                                      ส่องนิ้วชวนแล

ถอดคำประพันธ์ได้ว่า           การเที่ยวเล่นในครั้งนี้ช่างมีความสุขสนุกสนาน    เหลือเกินเดินอย่างรวดเร็วเข้าไปในป่า หัวร่อต่อกระซิบกันอย่างสดชื่นรื่นเริงโดยการชี้ชวนให้ชมธรรมชาติต่างๆ

- ผาดผัง, ผายผัน  หมายถึง เดินอย่างรวดเร็ว

- หรี้ คือ เป็นคำโทโทษของ รี่ คำโทษคือคำที่ไม่เคยใช้ไม้โท แต่เอา   มาแปลงใช้โดยเปลี่ยนวรรณยุกต์เป็นโท เพื่อให้ได้เสียงโทตามบังคับ, รี่ หมายถึง อาการที่เคลื่อนเข้าไปเรื่อยไม่รีรอ

- สองนิ้ว คือ ชี้นิ้ว

บทที่20 เลียงผาอยู่ภูเขา

 เลียงผาอยู่ภูเขา                       หนวดพรายเพราเขาแปล้ปลาย

รูปร่างอย่างแพะหมาย                           ขนเหม็นสาบหยาบเหมือนกัน             

               เลียงผาอยู่พ่างพื้น                  ภูเขา

หนวดพู่ดูเพราเขา                                 ไปล่ท้าย

รูปร่างอย่างแพะเอา                              มาเปรียบ

ขนเหม็นสาบหยาบร้าย                         กลิ่นกล้าเหมือนกันถอด

ถอด คํา ประพันธ์ กาพย์ห่อโคลง ประพาส ธาร ทองแดง บทที่ 31









คำประพันธ์   เลียงผาอยู่บนภูเขา มีรูปร่างคล้ายแพะ มีหนวดงาม ปลายเขาโค้งไปข้างหน้า ขนหยาบและมีกลิ่นเหม็นสาบเช่นเดียวกับแพะ

คำศัพท์

- เพรา , พรายเพรา  หมายถึง  งาม

- แปล้                       หมายถึง   แบนราบ

- ไปล่ท้าย                หมายถึง  ปลายโค้งไปข้างหน้า          


บทที่27 กระจงกระจิตเตี้ย

กระจงกระจิตเตี้ย                   วิ่งเรี่ยเรี่ยน่าเอ็นดู

เหมือนกวางอย่างตาหู                           มีเขี้ยวน้อยสร้อยแนมสอง

               กระจงกระจิดหน้า                  เอ็นดู

เดินร่อยเรี่ยงามตรู                                 กระจ้อย

เหมือนกวางอย่างตาหู                           ตีนกีบ

มีเคี่ยวขาวน้อยช้อย                               แนบข้างเคียงสอง

ถอด คํา ประพันธ์ กาพย์ห่อโคลง ประพาส ธาร ทองแดง บทที่ 31












ถอดคำประพันธ์  กระจงเป็นสัตว์ที่มีตัวขนาดเล็กมองดูน่ารักน่าเอ็นดู มีตาหูและตีนกีบเหมือนกวาง มีเขี้ยวน้อยสีขาวสองเขี้ยวแต่ไม่มีเขา

คำศัพท์

- กระจิด       หมายถึง เล็กน้อย

- แนม          หมายถึง แนบ

- หน้า           หมายถึง หน้า เป็นคำโทโทษของ น่า

- กระจ้อย     หมายถึง เล็กน้อย

- เคี่ยว           หมายถึง เคี่ยว เป็นคำเอกโทโทษของ เขี้ยว

- ช้อย            หมายถึง อ่อนช้อย

** คำเอกโทษ หมายถึง คำที่ไม่เคยใช้เอกแต่เอามาแปลงใช้โดยเปลี่ยนวรรณยุกต์เป็นเอก เพื่อให้ได้เสียงเอกตามบังคับ

บทที่28 ฝูงลิงใหญ่น้อยกระจุ้ย 

ฝูงลิงใหญ่น้อยกระจุ้ย            ชะนีอุ่ยอุ้ยร้องหา

ฝูงค่างหว่างพฤกษา                               ค่างโจนไล่ไขว่ปลายยาง

                ฝูงลิงยวบยาบต้น                  พวาหนา

ฝูงชะนีมี่กู่หา                                         เปล่าข้าง

ฝูงค่างหว่างพฤกษา                               มาสู่

ครอกแครกไล่ไขว่คว้าง                        โลดเลี้ยวโจนปลิว

ถอด คํา ประพันธ์ กาพย์ห่อโคลง ประพาส ธาร ทองแดง บทที่ 31










ถอดคำประพันธ์  ฝูงลิงขย่มต้นพวาอยู่ยวบยาบ ฝูงชะนีร้องกู่หาคู่ของมัน ฝูงค่างกระโดดไปมาระหว่างต้นไม้ ฝูงลิงต่างพากันร้องขู่ตะคอกพร้อมทั้งกระโดดไล่ไขว่คว้ากัน

คำศัพท์

- กระจุ้ย         หมายถึง  เล็กๆ

- ยวบยาบ       หมายถึง อาการที่ลิงขย่มต้นไม้ขึ้นลง

- พวา              หมายถึง  ต้นมะม่วง

- ครอกแครก   หมายถึง เสียงขู่ตะคอกของลิง

บทที่44 งูเขียวรัดตุ๊กแก 

งูเขียวรัดตุ๊กแก                       ตุ๊กแกแก่คางแข็งขยัน

กัดงูงูยิ่งพัน                                            อ้าปากง่วงล้วงตับกิน

               งูเขียวแลเหลื้อมพ่น               พิษพลัน

ตุ๊กแกคางแข็งขยัน                                 คาบไว้

กัดงูงูเร่งพัน                                           ขนดเครียด

ปากอ้างูจึงได้                                          ลากล้วงตับกิน

ถอด คํา ประพันธ์ กาพย์ห่อโคลง ประพาส ธาร ทองแดง บทที่ 31












ถอดคำประพันธ์   งูเขียวตัวเงาเป็นมันแต่ไม่มีพิษถูกตุ๊กแกคาบไว้ ในขณะเดียวกันงูเขียวก็รัดตุ๊กแกจนต้องอ้าปากและเข้าไปล้วงตัยตุ๊กแกเป็นอาหาร

คำศัพท์

- เหลื้อม               หมายถึง เหลื้อม เป็นรูปโทโทษของ เลื่อม หมายถึงเป็น เงามัน

- พันขนดเครียด  หมายถึง รัดให้แน่นมาก

 บทที่45 ยูงทองย่องเยื้องย่าง 

ยูงทองย่องเยื้องย่าง               รำรางชางช่างฟ่ายหาง

ปากหงอนอ่อนสำอาง                           ช่างรำเล่นเต้นตามกัน

               ยูงทองย่องย่างเยื้อง                รำฉวาง

รายร่ายฟ่ายเฟื่องฟาง                            เฉิดหน้า

ปากหงอนอ่อนสำอาง                           ลายเลิศ

รำเล่นเต้นงามหง้า                                  ปีกป้องเป็นเพลง

ถอด คํา ประพันธ์ กาพย์ห่อโคลง ประพาส ธาร ทองแดง บทที่ 31











ถอดคำประพันธ์ นกยูงทองย่องเยื้องย่างแล้วรำแพนหางเชิดหน้าขึ้น เห็นปากงอนอ่อนช้อย แสดงอาการรำเล่นด้วยการยกปีกขึ้นป้องตามเพลง

คำศัพท์

- รางชาง                  หมายถึง งาม สวย เด่น
- ฉวาง                     หมายถึง ขวาง
- รำฉลาง                 หมายถึง แผ่แพนหางออกกว้าง
- รายร่ายฟ่ายเฟื่องหาง           หมายถึง ฟายหาง เป็นกิริยาของนกยูงเวลารำแพนหาง
- หง้า                       หมายถึง  หง้า เป็นรูปโทโทษของ
- ง่า                          หมายถึง  การงอก

บทที่48 ไก่ฟ้าอ้าสดแสง 

ไก่ฟ้าอ้าสดแสง                     หัวสุกแดงแทงเดือยแนม

ปีกหางต่างสีเแกม                                   สีแต้มต่างอย่างวาดเขียน

ไก่ฟ้าหน้าก่ำกล้า                    ปากแหลม

หัวแดงแฝงเดือยแนม                            เนื่องแข้ง

ปีกหางต่างสีแกม                                    ลายลวด

ตัวต่างอย่างคนแกล้ง                             แต่งแต้มขีดเขียน

ถอด คํา ประพันธ์ กาพย์ห่อโคลง ประพาส ธาร ทองแดง บทที่ 31











ถอดคำประพันธ์  ไก่ฟ้าหน้าสุกใสมีปากแหลม หัวสีแดง กำลังแทงเดือยขึ้นมา ปีกหางและลำตัวมีลวดลายสวยงามเหมือนอย่างคนแกล้งแต่งสีให้มัน

บทที่52 ดูหนูสู่รูงู

ดูหนูสู่รูงู                งูสุดสู้หนูสู้งู

หนูงูสู้ดูอยู่                             รูปงูทู่หนูมูทู

ดูงูขู่ฝูดฝู้                 พรูพรู

หนูสู่รูงูงู                                 สุดสู้

งูสู้หนูหนูสู้                            งูอยู่

หนูรู้งูงูรู้                                 รูปถู้มูทู

ถอด คํา ประพันธ์ กาพย์ห่อโคลง ประพาส ธาร ทองแดง บทที่ 31










ถอดคำประพันธ์  งู่ขู่หนูฟู่ๆ เพราะหนูจะเข้าไปในรูงู งูจึงสู้กับหนู หนูก็สู้กับงู สัตว์ทั้งสองต่างก็รู้เชิงซึ่งกันและกันโดยทำเสียงขู่ใส่กัน

คำศัพท์

- มูทู        หมายถึง มูทู คือ มู่ทู่ หมายถึง ป้าน , ไม่แหลม (ในที่นี้ลดวรรณยุกต์เอก)

- ฝู้           หมายถึง ฝู้ เป็นรูปโทโทษของ ฟู่ หมายถึง เสียงดังเช่นนั้น คือ เสียงดังฟู่ เหมือนเสียงงูเวลาขู่

- ถู้           หมายถึง เป็นรูปโทโทษของ ทู่ หมายถึงไม่แหลม

บทที่54 นกแก้วแจ้วเสียงใส 

นกแก้วแจ้วเสียงใส                คลอไคล้คู่หมู่สาลิกา

นกตั้วผัวเมียคลา                                    ฝ่าแขกเต้าเหล่าโนรี

                นกแก้วแจ้วรี่ร้อง                   ร่หา

ใกล้คู่หมู่สาลิกา                                      วดเคล้า

นกตั้วผัวเมียมา                                      มสู่

สัตวาฝ่าแขกเต้า                                     วกพ้องโนรี

ถอด คํา ประพันธ์ กาพย์ห่อโคลง ประพาส ธาร ทองแดง บทที่ 31












ถอดคำประพันธ์ นกแก้วร้องแจ้วๆเร่หาคู่ โดยเข้าไปใกล้หมู่นกสาลิกา ส่วนนกกระตั้วสองตัวผัวเมียกำลังสมสู่กันอยู่ ในขณะที่นกสัตวาจะต้องฝ่านกแขกเต้าเข้าไปหานกโนรีซึ่งเป็นพวกพ้องของมัน

คำศัพท์

- สาลิกา หมายถึง ชื่อนกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกันกับนกกิ้งโครง ตัวสีน้ำตาลเข้ม หัวสีดำ ขอบตาและปากสีเหลือง มีแต้มขาวที่ปีก ปลายหางสีขาว

- นกตั้ว  หมายถึง นกกระตั้ว เป็นนกปากงุ้มเป็นขอ ลักษณะคล้ายนกแก้ว แต่ตัวโตกว่า

- สัตวา หมายถึง ชื่อนกชนิดหนึ่งในจำพวกนกแก้วตัวโต สีเขียวเกือบจะเป็นสีคราม

- แขกเต้า หมายถึง ชื่อของนกปากงุ้มเป็นขอ ข้างของคอคล้ายเครา ตัวผู้ปากสีแดง ตัวเมียปากสีดำ

- โนรี   หมายถึง ชื่อนกปากขอคล้ายนกแก้ว ตัวมีสีสันสวยงาม

บทที่63 กระจายสยายซร้องนาง

กระจายสยายซร้องนาง        ผ้าสไบบางนางสีดา

ห่อห้อยย้อยลงมา                                  แต่ค่าไม้ใหญ่สูงงาม

                กระจายสยายคลี่ซร้อง          นงพนา

สไบบางนางสีดา                                    ห่อห้อย

ยื่นเลี้อยเฟื้อยลงมา                                โบยโบก

แต่ค่าไม้ใหญ่น้อย                                  แกว่งเยื้องไปมา

ถอด คํา ประพันธ์ กาพย์ห่อโคลง ประพาส ธาร ทองแดง บทที่ 31













ถอดคำประพันธ์  ต้นซ้องนางคลี่ และสไบนางสีดา ต่างก็ยื่นเลื้อยห้อยลงมาแต่ค่าคบไม้น้อยใหญ่ เมื่อยามลมพัดจะแกว่งไปมาดูสวยงามนัก

คำศัพท์

- สยายซร้องนาง     หมายถึง ซ้องนางคลี่ เป็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง ขึ้นอยู่ตามต้นไม้อื่นๆลำต้นยาวห้อยลง แยกแขนงเป็นคู่

- สไบบางนางสีดา หมายถึง สไบนางสีดา ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง

- ค่าไม้                     หมายถึง ค่าคบ , ง่ามไม้ที่กิ่งแยกกัน

บทที่86 หัวลิงหมากลางลิง 

หัวลิงหมากลางลิง                 ต้นลางลิงแลหูลิง

ลิงไต่กระไดลิง                                      ลิงโลดคว้าประสาลิง

                หัวลิงหมากเรียกไม้                ลางลิง

ลางลิงหูลิงลิง                                         หลอกขู้

ลิงไต่กระไดลิง                                      ลิงห่ม

ลิงโลดฉวยผู้ชม                                     ฉีกคว้าประสาลิง

ถอด คํา ประพันธ์ กาพย์ห่อโคลง ประพาส ธาร ทองแดง บทที่ 31












ถอดคำประพันธ์  กวีกล่าวถึงเถาหัวลิง ต้นหมากลิง และลิงบางตัวก็ขึ้นต้นหูลิงทำหน้าหลอกคู่ของมัน บ้างก็ไล่เถากระโดลิงขย่มเล่น บ้างก็กระโดดฉวยชมพู่คว้ามาฉีกเล่นตามภาษาลิง

คำศัพท์

- หัวลิง หมายถึง ไม้เถาชนิดหนึ่ง ผลขนาดส้มจีน มีสันตรงกลางคล้ายหัวลิง

- หมากลางลิง หมายถึง ชื่อปาล์มชนิดหนึ่ง

- ลางลิง , กระไดลิง หมายถึง ไม้เถาเนื้อแข็งชนิดหนึ่ง เถาแบนยาว

- งอกลับไปกลับมาคล้ายขั้นบันได

- หูลิง หมายถึง ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง

- ขู้  หมายถึง ขู้ เป็นคำโทโทษของคำว่า คู่

- ชมผู้ หมายถึง ชมผู้ เป็นรูปโทโทษของคำว่า ชมพู่ หมายถึงผลไม้ชนิดหนึ่ง

ข้อคิดและคุณค่าที่ได้จากเรื่อง 

ข้อคิด

 1 ธรรมชาติเป็นสิ่งที่ควรรักษาไว้ เพื่อให้ระบบนิเวศน์ดีขึ้น

 2 การรักษาสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติเป็นหน้าที่ของทุกคน

 3 กวีสามารถสร้างสรรค์งาน โดยอาศัยการสังเกตจากธรรมชาติ

 4 การบันทึกประวัติศาสตร์จะอาศัยข้อมุลจากวรรณคดีในแต่ละสมัย

 5 การเขียน-อ่านคำประพันธ์ ทำให้มนุษย์มีจิตใจที่ละเอียดอ่อนมากยิ่งขึ้น

     คุณค่า

     ให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ ผู้อ่านจะได้รู้จักพืช-สัตว์นานาชนิด ทั้งที่คุ้นตาและแปลกตา ทั้งที่ปรากฏในอดีตและปัจจุบัน ในขณะเดียวกันก็จะได้ศึกษาวิธีการใช้ถ้อยคำของกวีที่สามารถเลือกสรรคำที่เข้าใจง่าย สื่อความหมายได้กรัจ่างชัด สื่อจินตภาพการเคลื่อนไหว สีและเสียง ตลอดจนการเล่นเสียงคำอย่างไพเราะ ทำให้การเสนอภาพธรรมชาติดังกล่าวมีชีวิตชีวา น่าสนใจ แสดงให้เห็นว่าแท้จริงแล้ววรรณคดีไม่ใช่เรื่องที่อ่านยาก เข้าใจยาก หรือน่าเบื่อ

ขอบคุณคราฟ