ลงทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กสิกร

ทิสโก้กับการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ทิสโก้เป็นบริษัทจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพรายแรกของประเทศไทย เริ่มบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 ตลอดระยะเวลากว่า 53 ปี
ทิสโก้ใช้ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญอย่างมืออาชีพ และให้ความสำคัญในการบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยยึดผลประโยชน์สูงสุดในระยะยาวภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสมของสมาชิกกองทุนเป็นหลัก อีกทั้งมุ่งเน้นความเป็นเลิศในการให้บริการ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการลูกค้าที่หลายหลากได้อย่างสมบูรณ์

นอกจากนี้ ทิสโก้ได้พัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่องภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ทำให้ทิสโก้สามารถคงความเป็นผู้นำใน
อุตสาหกรรรมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้อย่างยาวนาน จนถึงปัจจุบันทิสโก้ยังคงครองแชมป์บริษัทจัดการที่ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทนายจ้าง มากที่สุดในประเทศไทย 

ลงทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กสิกร

ลักษณะของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
คือ กองทุนที่จัดตั้งขึ้นจากความสมัครใจของนายจ้างและลูกจ้าง โดยมีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนการออมเพื่อเป็นทุนทรัพย์ (ตามแนวความคิดในเรื่อง
เสาหลักที่ 3) ให้แก่พนักงาน ในกรณีที่ พนักงานเกษียณอายุ ทุพพลภาพหรือออกจากงานหรือกองทุน และเพื่อเป็นหลักประกันให้แก่ครอบครัวของ พนักงานในกรณีที่พนักงานเสียชีวิต

เงินสะสมและเงินสมทบ
ตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และที่แก้ไขเพิ่มเติม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกอบด้วยเงินสะสมจากฝ่ายลูกจ้าง และเงินสมทบจากฝ่ายนายจ้าง โดยแต่ละฝ่ายนำส่งเงินเข้ากองทุนในอัตราไม่ต่ำกว่า 2% และสูงสุดไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง นอกจากนี้ยังสามารถนำเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้เข้ากองทุนได้

สภาพนิติบุคคลแยกต่างหาก
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จดทะเบียนแล้วมีสถานภาพเป็นนิติบุคคลแยกจากบริษัทนายจ้างและบริษัทจัดการกองทุนโดยเด็ดขาด และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีกล่าวคือเจ้าหนี้ของบริษัทนายจ้าง หรือของลูกจ้าง หรือของบริษัทจัดการกองทุน ไม่สามารถฟ้องร้องหรือดำเนินคดีเพื่อมีสิทธิในเงินกองทุนได้
ดังนั้น แม้ว่านายจ้างหรือบริษัทจัดการจะประสบปัญหาทางการเงิน หรือถึงขั้นต้องเลิกกิจการไปก็ตาม สมาชิกจะยังคงได้รับเงินกองทุนคืนตามสิทธิและข้อบังคับกองทุนทุกประการ นอกจากนี้ สิทธิเรียกร้องในเงินกองทุนก็ไม่สามารถโอนได้

นโยบายการลงทุน
บริษัทจัดการต้องจัดการเงินกองทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการจัดการกองทุนตามแบบแผนนโยบายการลงทุนของกองทุนทั้งนี้ภายใต้กฎหมายหรือประกาศที่เกี่ยวข้อง

ประเภทของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กองทุนเดี่ยว คือ กองทุนประกอบด้วยบริษัทนายจ้างเพียง 1 ราย โดยมีขนาดของกองทุนที่เหมาะสมตั้ง แต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป โดยการที่กองทุนเดี่ยวมีขนาดใหญ่นั้น ทำให้สามารถกระจายความเสี่ยงในการลงทุน โดยกระจายการลงทุนในหลายสถาบันการเงิน และในหลักทรัพย์หลายประเภท เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทน ที่ดีขึ้นภายใต้ความเสี่ยงที่กองทุนยอมรับได้

กองทุนหลายนายจ้าง
ทิสโก้เป็นบริษัทจัดการรายแรกที่ริเริ่มรูปแบบกองทุนประเภทกองทุนหลายนายจ้าง ซึ่งเปิดโอกาสให้บริษัทที่เพิ่งเริ่มจัดตั้งกองทุน บริษัทขนาดกลาง และบริษัทขนาดเล็กที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกันสามารถมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ด้วยการเข้ามาอยู่ร่วมกันในกองทุนร่วมทุน

กองทุนหลายนายจ้างสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทได้แก่
1. กองทุนกลุ่ม (Group Fund)
กองทุนกลุ่ม คือ กองทุนที่ประกอบด้วยบริษัทในเครือหลายบริษัทอยู่รวมกันในกองทุนเดียว ทั้งนี้สามารถกำหนดข้อบังคับกองทุน
ของแต่ละบริษัทให้แตกต่างกันได้
2. กองทุนร่วมทุน (General Pooled Fund)
กองทุนร่วมทุน คือ กองทุนที่ประกอบด้วยบริษัทที่มีขนาดต่างๆ ไม่ว่าขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ เข้ามาอยู่รวมกันในกองทุนเดียว โดยสามารถกำหนดข้อบังคับกองทุนของแต่ละบริษัทให้แตกต่างกันได้ วัตถุประสงค์สำคัญของกองทุนประเภทนี้ ได้แก ่การเพิ่มมูลค่าเงินกองทุนในระยะยาวให้แก่สมาชิกกองทุน ด้วยการรวมเงินกองทุนของนายจ้างของบริษัทต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มขนาดกองทุนซึ่งจะนำไปสู่ความสามารถกระจายความเสี่ยงในการลงทุน เพิ่มอำนาจ
ในการต่อรอง ประหยัดค่าใช้จ่ายของกองทุน เพิ่มสภาพคล่อง ซึ่งในที่สุดช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดียิ่งขึ้น

นายจ้าง และ ลูกจ้างได้ประโยชน์อะไรจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ?

ลงทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กสิกร

ลงทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กสิกร

ทิสโก้มาสเตอร์ฟันด์ (TISCO Master Fund)

อีกขั้นของความเป็นผู้นำ ด้วยนวัตกรรมการบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประเภท "มาสเตอร์ฟันด์ (Master Fund)" ซึ่งเป็นกองทุนที่มีหลายนโยบายการลงทุน และเปิดโอกาสให้สมาชิกภายใต้กองทุนเดียวกันสามารถเลือกรูปแบบการลงทุนที่แตกต่างกัน โดยพิจารณาจากอายุ อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ รวมถึงความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ปัจจุบันกองทุนประเภท Master Fund ทั้งที่เป็นกองทุนเดี่ยวและกองทุนร่วมทุนภายใต้การจัดการของบลจ.ทิสโก้ มีมูลค่ารวมกันกว่า 173,047 ล้านบาท และจำนวนลูกค้ายังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากความไว้วางใจและเชื่อมั่นในความเป็นมืออาชีพในการบริหารกองทุนให้มีผลการดำเนินงานที่ดีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการให้บริการ ซึ่งสมาชิกยังสามารถเปลี่ยนทางเลือกการลงทุนให้เหมาะกับทุกจังหวะชีวิต ได้สะดวก ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านบริการ Online ได้อีกด้วย

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทิสโก้มาสเตอร์ร่วมทุน (TISCO Master Pooled Fund) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทิสโก้มาสเตอร์ร่วมทุน (TISCO Master Pooled Fund) เริ่มจัดตั้งวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
จนถึงปัจจุบันมีจำนวนบริษัทนายจ้างที่เข้าร่วมกองทุน และขนาดกองทุนที่มีมูลค่าที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี บลจ.ทิสโก้ ก็ยังคงพัฒนาต่อเนื่องเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและบริการที่ดีขึ้น โดยปัจจุบัน TISCO Master Pooled Fund มีนโยบายการลงทุนให้สมาชิกเลือกลงทุนซึ่งไล่เรียงกันไปจากนโยบายที่มีความเสี่ยงต่ำไปยังความเสี่ยงสูง ดังต่อไปนี้

1. นโยบายตราสารหนี้ระยะสั้น

ลงทุนในเงินฝาก และตราสารหนี้ที่มีสภาพคล่องสูง เช่น ตราสารหนี้บางประเภทของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ พันธบัตรรัฐบาล และพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ แต่ไม่ลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน โดยอายุเฉลี่ยของตราสารที่ลงทุนทั้งหมดรวมกันประมาณ 0.5 ปี (+/- 0.5 ปี) ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงต่ำทั้งในแง่ความเสี่ยงด้านเครดิต ความผันผวนของราคา ซึ่งเหมาะกับผู้ที่ต้องการรักษาเงินต้น และสามารถรับความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราผลตอบแทนได้ต่ำ

2. นโยบายตราสารหนี้

ลงทุนในเงินฝาก และตราสารหนี้ทั่วไป เช่น ตราสารหนี้บางประเภทของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ รวมถึงตราสารหนี้ภาคเอกชน นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศที่ลงทุนในตราสารหนี้ โดยปัจจัยที่มีผลต่อผลตอบแทนของกองทุน ได้แก่ ความมั่นคงของผู้ออกตราสารและการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน ซึ่งเหมาะกับผู้ที่ต้องการรับรายได้จากการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ และสามารถรับความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราผลตอบแทนได้บ้าง

3. นโยบายผสม (ตราสารหนี้ + ทอง)

ลงทุนในเงินฝาก และตราสารหนี้ทั่วไป ซึ่งในส่วนตราสารหนี้ภาครัฐจะลงทุนผ่านหน่วยลงทุนของกองทุนรวมพันธบัตร และลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศเฉพาะที่ลงทุนในทองคำไม่เกิน 10% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยปัจจัยที่มีผลต่อผลตอบแทนของกองทุน ได้แก่ ความมั่นคงของผู้ออกตราสาร การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน และการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเหมาะกับผู้ที่ต้องการรับรายได้จากการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ และคาดหวังผลตอบแทนเฉลี่ยระยะยาวในระดับปานกลาง และสามารถรับความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราผลตอบแทนได้ปานกลาง

4.  นโยบายหน่วยลงทุน-ผสม

 ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมพันธบัตร หน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารหนี้ และหน่วยลงทุนของกองทุนรวมผสมที่เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ใบทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และใบทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการได้รับอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยระยะยาวในอัตราปานกลาง และสามารถรับความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราผลตอบแทนได้ปานกลาง

5. นโยบายหน่วยลงทุนกองทุนรวมต่างประเทศ (ผสม)

ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศโดยเฉลี่ยในรอบบัญชีไม่น้อยกว่า 80% โดยจะลงทุนในกองทุนเปิด ทิสโก้ โกลบอลอินคัมพลัส โดยเฉลี่ยในรอบบัญชีไม่น้อยกว่า 50% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งเหมาะกับผู้ที่สามารถลงทุนในระยะกลางถึงระยะยาว โดยคาดหวังผลตอบแทนในระยะยาวที่ดีกว่าการลงทุนใน ตราสารหนี้ทั่วไป

6. นโยบายหุ้น

ลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเฉลี่ยในรอบปีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งเหมาะกับผู้ที่ต้องการมุ่งเน้นการเติบโตของเงินลงทุน และคาดหวังผลตอบแทนเฉลี่ยระยะยาวในอัตราที่สูง และสามารถรับความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราผลตอบแทนได้สูง

7. นโยบายหน่วยลงทุนกองทุนรวมต่างประเทศ (ตราสารทุน)

ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศที่บริหารโดย บลจ. ทิสโก้ ซึ่งเหมาะกับผู้ที่ต้องการกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงในภาวะที่ตลาดในประเทศมีความผันผวน และมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าในระยะยาว

รายละเอียดแบบแผนการลงทุน กรุณาคลิ๊กที่นี่ >>

ลงทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กสิกร


สรุปข้อมูลสำคัญของนโยบายการลงทุน...คลิก.

โดยจากนโยบายการลงทุนตามที่กล่าวไว้ข้างต้นทิสโก้จึงได้กำหนดรูปแบบทางเลือกมาตรฐาน (Standard Option) ซึ่งคาดว่าสามารถครอบคลุมความต้องการส่วนใหญ่ของสมาชิก และเพื่อให้ง่ายต่อคณะกรรมการกองทุนในการสื่อสารถึงสมาชิกกองทุน ในกรณีที่ให้สมาชิกเลือกนโยบายการลงทุนด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม หากบริษัทนายจ้างต้องการทางเลือกให้สมาชิกมากกว่านี้ ทิสโก้ยังสามารถตอบสนองความต้องการของสมาชิกได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยมีรูปแบบ Free Style ซึ่งสมาชิกสามารถเลือกผสมนโยบายการลงทุนได้ตามต้องการ

การบริการ

ลงทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กสิกร

ลงทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กสิกร


ลงทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กสิกร