แบบทดสอบ เรื่อง กาพย์ และ โคลง พร้อม เฉลย

แบบทดสอบก่อนเรียนเรื่องการแต่งคำประพันธ์ from bambookruble

ข้อ 1)

เลือกตอบข้อ  ก. เย้า , เนื่อง

ผิด  เพราะคำว่า เย้า เป็นคำโท   ตำแหน่งนี้ต้อง

      เป็นคำเอก

เลือกตอบข้อ  ข. มัก,  เพราะ

 ถูก เพราะคำว่า มัก กับ คำว่า เพราะ เป็นคำตายใช้แทนคำเอกได้   ซึ่งถูกต้องตามฉันทลักษณ์ของโคลงสี่สุภาพ ที่กำหนดให้ตำแหน่งของคำที่ ๓ ของบาทที่ ๓  ต้องเป็นคำเอก และคำที่ ๖ ของบาทที่ ๔ ก็ต้องเป็นคำเอก เช่นเดียวกัน

เลือกตอบข้อ  ค. ดุจ , อัน

ผิด เพราะ คำว่า อัน ไม่ใช่คำเอก

เลือกตอบข้อ  ง. ได้ , เกิด

ผิด เพราะ คำว่า ได้ เป็นคำโท

ข้อ 2)

เลือกตอบข้อ  ก. นารายณ์บรรทมสินธุ์  นานตื่น

  ผิด  เพราะคำว่า บรร  ไม่ใช่คำเอก

       ตำแหน่งลักษณะบังคับของคำที่ ๓ บาทที่ ๓

      ในโคลงสี่สุภาพ  ต้องเป็นคำเอก

เลือกตอบข้อ ข. นารายณ์เจื่องเจ้านิทร     นานเนา  แล้วเฮย
   ผิด  เพราะคำว่า เนา  ไม่ใช่คำเอก

            ตำแหน่งลักษณะบังคับของคำที่ ๓ บาทที่ ๓

         ในโคลงสี่สุภาพ  ต้องเป็นคำเอก

เลือกตอบข้อ ค. นารายณ์เนื่องนิทรสินธุ์  นานตื่น

ถูก  เพราะบาทที่ ๓ ของโคลงสี่สุภาพมีลักษณะ

      บังคับ

เลือกตอบข้อ ง. นารายณ์เนาในสินธุ์  นานนับ  แลนา

  ผิด  เพราะคำว่า เนา  ไม่ใช่คำเอก

        ตำแหน่งลักษณะบังคับของคำที่ ๓ บาทที่ ๓

       ในโคลงสี่สุภาพ  ต้องเป็นคำเอก

ข้อ 3)

เลือกตอบข้อ   ก. กาพย์ยานี
ถูก เพราะจำนวนคำทั้งหมดมี ๒๒ คำ  เมื่อนำมาจัดวรรคในรูปแบบของกาพย์ยานี ๑๑ จะได้ ๑ บทพอดี

       เดินเที่ยวอยู่เดียวดาย    ใจมิวายคิดกังวล
     หากมีใครสักคน             มาเดินด้วยคงจะดี

เลือกตอบข้อ  ข. กาพย์ฉบัง

ผิด  เพราะกาพย์ฉบัง ๑ บทมี ๑๖ คำ  ถ้า
  ๒ บทก็ต้องมี ๓๒ คำ แต่ข้อความนี้ มีจำนวนคำ

     ทั้งหมด ๒๒ คำ

เลือกตอบข้อ ค. กาพย์สุรางคนางค์

ผิด  เพราะกาพย์สุรางคนางค์ ๑ บทมี ๒๘  คำ

เลือกตอบข้อ ง. กลอนสุภาพผิด เพราะกลอนสุภาพ ๑ บท มี ๓๒ คำ

ข้อ 4)

เลือกตอบข้อ ก. กาพย์ฉบังผิด เพราะกาพย์ฉบัง ๑๖ ถ้าจัดรูปแบบ คำที่ ๖ ต้องส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๑๐

เลือกตอบข้อ ข. กาพย์สุรางคนางค์ ผิด เพราะกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ จะต้องแบ่งคำในวรรคเป็น ๔ คำ ๗ วรรค คำที่ ๔ ของวรรคที่ ๑ จะต้องส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๔ ของวรรคที่ ๒

เลือกตอบข้อ ค. โคลงสี่สุภาพผิด เพราะ โคลงสี่สุภาพ มีจำนวนคำทั้งหมด ๓๐ คำ ถ้ามีคำสร้อย อีก ๒ แห่ง ก็จะมีคำเพิ่มมาอีก ๔ คำ เป็น ๓๔ คำ แต่ข้อความนี้ มีจำนวนคำ ๔๔ คำ

เลือกตอบข้อ ง. กาพย์ยานี

ถูก  เพราะจำนวนคำทั้งหมดมี ๔๔ คำ ถ้านำมาจัดวรรคจะได้รูปแบบดังนี้
   โดยเสด็จเด็ดดวงสวาท  แรมนิราศคลาดพักตรา
 ป่านนี้แก้วพี่อา         นอนฤานั่งตั้งตาคอย
   อยู่เดียวเปลี่ยวใจเศร้า   คิดถึงเจ้าเปล่าใจถอย
 เสียดายวายรักร้อย        ชั่งเรียมเอยไม่เคยไกล

ข้อ 5)

เลือกตอบข้อ ก. ย้ำ

  ผิด  เพราะลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพกำหนดให้คำสุดท้ายของบาทที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๕ ของบาทที่ ๔  แต่คำว่า ย้ำ ไม่ส่งสัมผัสกับคำว่า เอื้อง

เลือกตอบข้อ ข. ย้าย

  ผิด  เพราะลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพกำหนดให้คำสุดท้ายของบาทที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๕ ของบาทที่ ๔  แต่คำว่า ย้ายไม่ส่งสัมผัสกับคำว่า เอื้อง

เลือกตอบข้อ ค. เยื้อง

  ถูก  เพราะคำสุดท้ายของบาทที่ ๒ ต้องส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๕ ของบาทที่ ๔ คำว่า เยื้อง เป็นเพียงคำเดียวในบรรดาตัวเลือกทั้งหมด ที่ส่งสัมผัสกับคำว่า เอื้อง

เลือกตอบข้อ ง. เย้า

 ผิด  เพราะลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพกำหนดให้คำสุดท้ายของบาทที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๕ ของบาทที่ ๔  แต่คำว่า เย้า ไม่ส่งสัมผัสกับคำว่า เอื้อง

ข้อ 6)

เลือกตอบข้อ ก. ฉันท์

 ผิด  เพราะข้อความนี้ไม่มีลักษณะของการใช้คำครุลหุซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการเล่นจังหวะของคำประพันธ์ประเภทฉันท์

เลือกตอบข้อ ข. โคลง
ถูก  เพราะข้อความนี้ เมื่อนำมาจัดวรรคตามระเบียบฉันทลักษณ์ จะได้รูปแบบเป็นโคลงสี่สุภาพ ดังนี้
    มหาโจรเที่ยวปล้นฆ่า  มหาชน
ด่าอุบาทว์ราชทัณฑ์ปรน  ปราบป้อง
มหาราชยาตรพหลผจญ  มหาราษฎร์   ละพ่อ
ชมฉกาจราชเดชก้อง  เกียรติกนั้นขันไหม

เลือกตอบข้อ ค. กาพย์
  ผิด  เพราะ ไม่สามารถนำข้อความไปจัดระเบียบให้ตรงกับฉันทลักษณ์ของกาพย์แต่ละประเภทได้

เลือกตอบข้อ ง. ร่าย
  ผิด  เพราะถ้าจัดคำลงวรรคได้ วรรคละ ๕ คำ อาจเป็น ร่ายสุภาพ แต่จะผิดสัมผัส เพราะ ร่ายสุภาพจะต้องส่งสัมผัสคำท้ายวรรค ไปยัง คำที่ ๑หรือ  ๒ หรือ ๓  ของวรรคถัดไป ทุกวรรค

ข้อ 7)

เลือกตอบข้อ ก.ยามเปรียบยิ่งดวงแก้ว  พ้นแล้วอุปมา

     ผิด  เพราะในบาทแรกมีคำเปรียบว่า ยิ่งแก้ว

    อยู่แล้ว ดังนั้นในบาทสุดท้ายก็ไม่น่าจะมีคำเปรียบ

    ที่ซ้ำซ้อนกันอีก

เลือกตอบข้อ ข. ยังแผ่นดินเลิศแล้ว  พร่างพ้นสุริย์ฉาย

     ผิด  เพราะในบาทแรกมีคำเปรียบ
ว่า สุริยกานต์ อยู่แล้ว ดังนั้นในบาทสุดท้ายก็ไม่น่าจะมีคำเปรียบที่ซ้ำซ้อนกันอีก

เลือกตอบข้อ ค. ยิ่งแสงสุริยะแคล้ว  เลิศล้ำแสงฉาย
 ผิด  เพราะในบาทแรกมีคำเปรียบ
 สุริยกานต์อยู่แล้ว ดังนั้นในบาทสุดท้ายก็ไม่น่าจะมีคำเปรียบที่ซ้ำซ้อนกันอีก

เลือกตอบข้อ ง. ฉาบแผ่นดินให้แผ้ว  พ่างพื้นพิมานสถาน

  ถูก เพราะใช้คำได้เหมาะสม สอดคล้องกับเนื้อความข้างต้น

ข้อ 8)

เลือกตอบข้อ ก. กาพย์ยานี

  ถูก เพราะถ้าอ่านเป็นกาพย์ยานี จะแบ่งวรรคได้ดังนี้
    เอ๊ ! ใครนะช่างคิด      ประดิษฐ์จรวดนำวิถี

  ชาติใดหากไม่มี      ไว้ใช้คงเสียเปรียบจัง

     ประเทศมหาอำนาจ      หลายชาติต่างอยากเด่นดัง

สร้างจรวดเก็บเข้าคลัง      อาวุธอย่างอเนกนับ

เลือกตอบข้อ ข. กลอน

  ผิด  เพราะข้อบังคับการส่งสัมผัสของกลอน

        กำหนดให้คำที่ ๘ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๑๑

        แต่ข้อความนี้ใช้จัดระเบียบของกลอนไม่ได้

เลือกตอบข้อ  ค. ร่าย

  ผิด  เพราะถ้าเป็นร่ายสุภาพ คำท้ายวรรค คือคำที่ ๕ จะต้องส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ ของ วรรคต่อไปทุกวรรค  ซึ่งข้อความนี้นำไปจัดระเบียบเป็นร่ายไม่ได้

เลือกตอบข้อ  ง. กาพย์ฉบัง

  ผิด  เพราะข้อบังคับของ กาพย์ฉบัง   คำที่ ๖ ต้อง  ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๑๐   ข้อความนี้จึงใช้จัดระเบียบเป็นกาพย์ฉบังไม่ได้

ข้อ 9)

เลือกตอบข้อ  ก.  ๕  คำ
 ผิด เพราะจำนวนคำไม่ครบตามตำแหน่งที่บังคับไว้ในฉันทลักษณ์

เลือกตอบข้อ  ข. ๖  คำ

  ถูก เพราะฉันทลักษณ์ของโคลงสี่สุภาพบังคับคำเอก

       ไว้ตรงตำแหน่งดังนี้
        ไทยยงคงศักดิ์ด้วย  ดวงดี  เด่นฤา

          ฤาปะเหมาะเคราะห์ปี  ศาจคุ้ม

          ลำพังชะตามี  ก็อาจ  อับนอ

          เพราะพิรัชภัยคลุ้ม  คลั่งล้อมรอบคาม

เลือกตอบข้อ  ค. ๔  คำ
คำตอบ ผิด เพราะจำนวนคำไม่ครบตามตำแหน่งที่บังคับไว้ในฉันทลักษณ์

เลือกตอบข้อ  ง. ๓  คำ
ผิด เพราะจำนวนคำไม่ครบตามตำแหน่งที่บังคับไว้ในฉันทลักษณ์

ข้อ 10)

เลือกตอบข้อ ก.ตาเสือเสือผาดผ้าย  หนีทาง

ผิด เพราะคำว่า ผาดผ้าย เป็นคำที่มีความหมายตรงกับเนื้อความ แปลว่า เคลื่อนที่ไปอย่างรวดเร็ว จึงไม่ใช่คำ โทโทษ ที่ เปลี่ยนรูปคำมาจากคำว่า พ่าย