ธารทองแดง เป็นชื่อ ลำน้ำ ที่เขา พระพุทธบาท ใน จังหวัด อะไร

ธารทองแดง เป็นชื่อ ลำน้ำ ที่เขา พระพุทธบาท ใน จังหวัด อะไร
 

คำนำ

           เรื่อง กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงแม้ว่าจะดำเนินเรื่องตามแบบฉบับของวรรณคดีนิราศ คือ พรรณนาถึงการเดินทางแต่ก็มิได้มีการคร่ำครวญถึงการพลัดพรากจากนางอันเป็นที่รัก ซึ่งเป็นธรรมเนียมนิยม เนื้อเรื่องพรรณนาการที่ได้โดยเสด็จพระราชดำเนินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทางชลมารคไปนมัสการพระพุทธบาทจากท่าเจ้าสนุก ริมลำน้ำป่าสัก สระบุรี ผ่านตำบลธารทองแดงจนกระทั่งถึงเขาพระพุทธบาท โดยแต่งเป็นกาพย์ห่อโคลงอันเป็นลักษณะการประพันธ์ด้วยกาพย์และโคลงให้มีเนื้อความและคำสอดคล้องร้อยเรียงกันบทต่อบท การดำเนินเรื่องเริ่มจากการพรรณนาชมกระบวน ชมสัตว์ ชมนก ชมไม้ และชมปลา ตามลำดับ     ผู้จัดทำกำหนดวัตถุประสงค์ของการศึกษาดังต่อไปนี้๑. เพื่อประกอบบทเรียนภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่๒ เรื่องกาพย์ห่อโครงประพาสธารทองแดง๒.เพื่อศึกษาสถานที่ตั้ง เส้นทางสู่”ธารทองแดง”๓.เพื่อศึกษาขบวนเสด็จพระราชดำเนินและพันธุ์ไม้และสัตว์ที่พบเห็นตลอดเส้นทาง           ซึ่งนอกจากความไพเราะงดงามของลีลาโวหารแล้ว กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ยังได้ถ่ายทอดบอกเล่าถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าเมื่อสามร้อยปีก่อนที่นับวันจะสูญหายไปพืชพรรณบางชนิดกลายเป็นสิ่งหายากสัตว์หลายชนิดกลายเป็นสัตว์สงวนเนื่องจากใกล้สูญพันธุ์จึงนับว่าเป็นวรรณคดีที่มีคุณค่าเชิงอนุรักษ์และเชิงธรรมชาติวิทยาด้วย        โดยนำรูปภาพและข้อมูลต่างของสัตว์และพันธุ์ไม้ที่พบเห็นระหว่างการเดินทางประพาสธารทองแดง   ขบวนเสด็จและสถานที่ตั้ง เส้นทางการเดินทางจากท่าเจ้าสนุกถึงธารทองแดง  มาประกอบรายงานโดยละเอียด เช่น พระตำหนักธารเกษม ตั้งอยู่ริมธารทองแดงห่างจากพระพุทธบาทไปทางทิศเหนือ ประมาณ 3 กิโลเมตร ลำธารทองแดงเกิดจากธารทองแดงในอำเภอพระพุทธบาท แล้วไหลไปทางอำเภอหนองโดน สองข้างลำธารมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นร่มรื่น บางแห่งมีต้นโศกอยู่เต็ม จึงเรียกว่า ธารโศก   พระตำหนักสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2176 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เพื่อใช้เป็นที่ประทับเวลาเสด็จมานมัสการพระพุทธบาท ปัจจุบันเหลือเพียงแต่ฐาน

          กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงจึงเป็นวรรณคดีกวีนิพนธ์ที่มีสุนทรียภาพทางภาษาให้คุณค่าทางธรรมชาติวิทยาสัตวศาสตร์ พฤกษศาสตร์ และอักษรศาสตร์เป็นวรรณกรรมชิ้นเอกที่อุดมด้วยสาระประโยชน์ควรแก่การศึกษาสืบไป

ธารทองแดง เป็นชื่อ ลำน้ำ ที่เขา พระพุทธบาท ใน จังหวัด อะไร
 

บทสรุป

           เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงนิพนธ์กาพย์เห่เรือขึ้นเมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลและได้ตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี  เนื้อเรื่องพรรณนาการที่ได้โดยเสด็จพระราชดำเนินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทางชลมารคไปนมัสการพระพุทธบาทจากท่าเจ้าสนุก ริมลำน้ำป่าสัก สระบุรี ผ่านตำบลธารทองแดงจนกระทั่งถึงเขาพระพุทธบาทโดยแต่งเป็นกาพย์ห่อโคลง อันเป็นลักษณะการประพันธ์ด้วยกาพย์และโคลงให้มีเนื้อความและคำสอดคล้องร้อยเรียงกันบทต่อบทการดำเนินเรื่องเริ่มจากการพรรณนาชมกระบวนชมสัตว์ ชมนก ชมไม้ และชมปลา ตามลำดับ

การเดินทางเสด็จพระราชดำเนินเป็นขบวนเสด็จพยุหยาตราทางชลมารค จากท่าเจ้าสนุก ตำบลท่าเรือ ริมลำน้ำป่าสัก สระบุรี ผ่านป่าเขาลำเนาไพรสู่ธารทองแดง ตำบลธารทองแดง จ.สระบุรี โดยชมธรรมชาติตามเส้นทางนับแต่ป่าใหญ่  สัตว์ป่าน้อยใหญ่  และพรรณไม้ใบ ไม้ดอก  รวมทั้งสัตว์น้ำในลำธาร พรรณนาถึงสิ่งเหล่านั้นตามธรรมชาติ  จนกระทั่งถึงเขาพระพุทธบาท  โดยในเนื้อเรื่องประกอบด้วย

บทเห่ชมกระบวนเรือ     กล่าวถึงขบวนพยุหยาตราทางชลมารค  โดยมีเรือพระที่นั่งกิ่งและเรือต่างๆ  ที่มีโขนเรือเป็นรูปสัตว์ เป็นเห่ชมขบวนเรือได้แก่  เรือครุฑยุดนาค  เรือไกรสรมุข  เรือสมรรถชัย  เรือสุวรรณหงส์  เรือชัย  เรือคชสีห์ เรือม้า  เรือสิงห์  เรือนาคา  เรือมังกร  เรือเลียงผา  เรืออินทรี
        - เรือสุวรรณหงส์เป็นเรือที่ได้รับการยกย่องว่าสวยงามที่สุดในโลก
        - เรือครุฑยุดนาคเป็นเรือที่มีเรื่องราวในวรรณคดี

บทเห่ชมปลา  ได้แก่ ปลานวลจันทร์  ปลาคางเบือน  ปลาตะเพียนทอง  ปลากระแห   ปลาแก้มช้ำ  ปลาทุก   ปลาน้ำเงิน   ปลากราย   ปลาหางไก่      ปลาสร้อย    ปลาเนื้ออ่อน   ปลาเสือ   ปลาแมลงภู่  ปลาหวีเกศ   ปลาชะแวง   ปลาชะวาด     ปลาแปบ ปลาที่กล่าวว่ามีความนัยแฝงชีวิตเจ้าฟ้ากุ้งคือ  ปลาเนื้ออ่อน

บทเห่ชมไม้  ได้แก่ ดอกนางแย้ม  ดอกจำปา ดอกประยงค์ ดอกพุดจีบ ดอกพิกุล  ดอกสุกรม ดอกสายหยุด  ดอกพุทธชาด  ดอกบุนนาค  ดอกเต็ง  ดอกแต้ว  ดอกแก้ว  ดอกกาหลง   ดอกมะลิวัลย์  และดอกลำดวน  มีการกล่าวถึงเป็นพิเศษ  "บุหงารำไป" ซึ่งเป็นดอกไม้แห้งอบหอม  ห่อด้วยผ้าโปร่ง

บทเห่ชมนก ได้แก่ นกยูง นกเขา นกหว้า นกกระเรียน นกสร้อยทอง นกสาลิกา นกนางนวล นกแก้ว นกกระจิบ นกกางเขน นกขมิ้น นกคุ้ม นกเงือก นกไก่ฟ้า นกแขกเต้า นกดุเหว่า  นกโนรี นกสัตวา

บทเห่ชมสัตว์ ได้แก่ จรเข้  เป็ด  ตะพาบน้ำ  เต่า  ลิง  ชะนี  ชะมด  กระทิง  หมี  เสือโคร่ง  ช้าง  พังพอน  งูเห่า  เลียงผา  กวางเสือดาว  หมูป่า สุนักจิ้งจอก

สถานที่ตั้งท่าเจ้าสนุก และ ธารทองแดง   ท่าเจ้าสนุก  อยู่ริมลำน้ำป่าสัก จังหวัดสระบุรี โดยตั้งแต่ได้พบรอยพระพุทธบาท เมื่อปี พ.ศ.๒๑๔๙  ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม โดยได้มีการตั้งพระราชนิเวศน์   ตำหนักฟากตะวันออกของตำบลท่าเรือ  ชื่อว่า พระตำหนักท่าเจ้าสนุก   ไว้ประทับพักแรมเพื่อเสด็จต่อชลมารคอีก ๒ วัน    นับแต่นั้นจึงมีการเดินทางไปนมัสการรอยพระพุทธบาทโดยอาศัยทางแม่น้ำป่าสักไปขึ้นที่ตำบลท่าเรือเป็นประจำตลอดมา (พระตำหนักท่าเจ้าสนุกปัจจุบันไม่เหลืออยู่ให้เห็นแล้ว กลายเป็นสวนและป่ารก)   

ธารทองแดง   ซึ่งเป็นธารน้ำเล็กๆ สายหนึ่งอันเป็นที่ตั้งพระตำหนักธารเกษม มาตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง  ที่ได้ชื่อเช่นนั้นเพราะ มีท่อทองแดงขนาดใหญ๋สำหรับทดน้ำ  ปัจจุบันธารทองแดงอยู่เขต อำเภอพระพุทธบาท   จ. สระบุรี  พระตำหนักธารเกษม ตั้งอยู่ริมธารทองแดงห่างจากพระพุทธบาทไปทางทิศเหนือ ประมาณ ๓กิโลเมตร ลำธารทองแดงเกิดจากธารทองแดงในอำเภอพระพุทธบาท แล้วไหลไปทางอำเภอหนองโดน สองข้างลำธารมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นร่มรื่น ปัจจุบันเหลือเพียงแต่ฐาน

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงยังได้ถ่ายทอดบอกเล่าถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าเมื่อสามร้อยปีก่อนที่นับวันจะสูญหายไปพืชพรรณบางชนิดกลายเป็นสิ่งหายากสัตว์หลายชนิดกลายเป็นสัตว์สงวนเนื่องจากใกล้สูญพันธุ์ จึงนับว่าเป็นวรรณคดีที่มีคุณค่าเชิงอนุรักษ์และเชิงธรรมชาติวิทยาด้วย และหวังอย่างยิ่งว่าคุณค่าด้านต่างๆในวรรณคดีเรื่องนี้จะช่วยให้เห็นความงามของธรรมชาติ จนเกิดความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและอนุรักษ์วรรณคดีไทยให้เป็นสมบัติของชาติสืบไป

รายงานฉบับเต็มในแบบ microsoft power point สามารถดาวน์โหลดได้ที่  http://www.4shared.com/file/mQXF_Thy/_online.html