แบบสอบถาม ความพึง พอใจ โรงอาหาร

หมวดหมู่ของบทความนี้จะพูดถึงความ พึง พอใจ ร้าน อาหาร หากคุณกำลังมองหาเกี่ยวกับความ พึง พอใจ ร้าน อาหารมาวิเคราะห์กับHaciendaDelRioCantinaในหัวข้อความ พึง พอใจ ร้าน อาหารในโพสต์แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้โรงอาหารของนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางเขนนี้.

Show

Table of Contents

  • ภาพรวมของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับความ พึง พอใจ ร้าน อาหารในแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้โรงอาหารของนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางเขนที่สมบูรณ์ที่สุด
  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อความ พึง พอใจ ร้าน อาหาร
  • เอกสารที่เกี่ยวข้องกับความ พึง พอใจ ร้าน อาหาร
  • บางแท็กเกี่ยวข้องกับความ พึง พอใจ ร้าน อาหาร

SEE ALSO  ออกจากงานทุกกรณี ต้องได้ใบผ่านงาน | เนื้อหาทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับใบ ผ่าน งาน ร้าน อาหารที่ถูกต้องที่สุด

ภาพรวมของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับความ พึง พอใจ ร้าน อาหารในแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้โรงอาหารของนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางเขนที่สมบูรณ์ที่สุด

ชมวิดีโอด้านล่างเลย

ที่เว็บไซต์haciendadelriocantina.comคุณสามารถเพิ่มข้อมูลอื่น ๆ นอกเหนือจากความ พึง พอใจ ร้าน อาหารสำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับคุณ ที่เพจHaciendaDelRioCantina เราอัปเดตข่าวสารใหม่และแม่นยำสำหรับผู้ใช้อย่างต่อเนื่อง, ด้วยความปรารถนาที่จะมอบคุณค่าที่ละเอียดที่สุดให้กับคุณ ช่วยให้ผู้ใช้เสริมข้อมูลออนไลน์ได้ครบถ้วนที่สุด.

SEE ALSO  5 เมนูตามสั่ง ที่ไม่ควรสั่ง! ของคนลดน้ำหนัก l แหมทำเป็นฟิต | สรุปข้อมูลอาหาร จาน เดียว ควบคุม น้ำหนักล่าสุด

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อความ พึง พอใจ ร้าน อาหาร

รายงาน

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับความ พึง พอใจ ร้าน อาหาร

แบบสอบถาม ความพึง พอใจ โรงอาหาร
แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้โรงอาหารของนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางเขน

นอกจากการหาข้อมูลเกี่ยวกับบทความนี้ แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้โรงอาหารของนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางเขน ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถพบได้ด้านล่าง

คลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลใหม่เพิ่มเติม

SEE ALSO  เพิ่มยอดขายด้วย Packaging l Kong Story EP.284 | ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบรรจุ ภัณฑ์ อาหาร แห้งที่มีรายละเอียดมากที่สุดทั้งหมด

บางแท็กเกี่ยวข้องกับความ พึง พอใจ ร้าน อาหาร

#แบบสอบถามความพงพอใจในการใชโรงอาหารของนกเรยนโรงเรยนรตนโกสนทรสมโภชบางเขน.

[vid_tags].

แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้โรงอาหารของนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางเขน.

ความ พึง พอใจ ร้าน อาหาร.

เราหวังว่าข้อมูลบางส่วนที่เราให้ไว้จะเป็นประโยชน์กับคุณ ขอบคุณที่ติดตามความ พึง พอใจ ร้าน อาหารข้อมูล

แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโรงอาหารของโรงเรียนเชียงคำวิทยาคม

คำชี้แจง : ใส่เครื่องหมายถูกลงในช่องที่ตรงกับตัวท่านและความพึงพอใจที่ท่านมีต่อการให้บริการของแผนกสวัสดิการ เพื่อแผนกสวัสดิการจะนำข้อมูลไปปรับปรุงการให้บริการให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป
เกณฑ์การประเมิน       5 = ดีมาก    4 = ดี      3 = ปานกลาง     2 = น้อย    1 = ควรปรับปรุง

สังคมในยุคปัจจุบัน การดำเนินชีวิต มีความซับซ้อนมากขึ้นผนวกกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพได้เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ทำให้เกิดโรคที่มาจากพฤติกรรมของปัจเจกบุคคล สิ่งสำคัญในการดูแลสุขภาพ ในยุคนี้คือการเพิ่มความสามารถของบุคคลให้มีศักยภาพเพื่อการดำรงคงอยู่ของสุขภาวะ ที่จะต้องมีการสร้างและส่งเสริมให้ดีขึ้น ตลอดจนการควบคุมปัจจัยและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อให้คนมีสุขภาพดี กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ “การส่งเสริมสุขภาพ” นั่นเอง

แบบสอบถาม ความพึง พอใจ โรงอาหาร

แบบสอบถาม ความพึง พอใจ โรงอาหาร

หลักการส่งเสริมสุขภาพเล่มนี้ เหมาะสำหรับผู้สนใจเรียนรู้หลักการส่งเสริมสุขภาพ ได้นําไปใช้ในการเรียนการสอน และการประยุกต์ใช้ใน การทำงานส่งเสริมสุขภาพ โดยตำราเล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนกระบวนวิชาการส่งเสริมสุขภาพ เนื้อหาวิชาประกอบด้วยประเด็นที่สําคัญ ๆ ที่ผู้เขียนได้พยายามรวบรวมประเด็นที่สําคัญของแต่ละเรื่องไว้ ตลอดจนสรุปใจความให้มีความกระชับและอ่านเข้าใจง่ายที่สุด เนื้อหาในแต่ละหัวข้อจะเริ่มจากแนวคิดพื้นฐานแล้วจึงกล่าวถึงการส่งเสริมสุขภาพประยุกต์ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจและสรุปภาพรวมได้ ตำราเล่มนี้ได้เรียบเรียงให้สามารถใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง เนื่องจากตำราทางด้านการส่งเสริมสุขภาพที่เป็นภาษาไทยมีค่อนข้างจำกัด จึงหวังว่าตำราเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับนิสิต นักศึกษา ผู้ที่ทำงานด้านสาธารณสุขและผู้ที่สนใจทั่วไปในเรื่องนี้

ซื้อออนไลน์ ลดทันที 10%

สารบัญ

  • 1 . แนวคิดและหลักการส่งเสริมสุขภาพ
  • 2. แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม
  • 3. กลยุทธ์การส่งเสริมสุขภาพ
  • 4. โครงการและกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
  • 5. การส่งเสริมสุขภาพในชุมชน
  • 6. การส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน
  • 7. การสร้างสุขภาวะในสถานที่ทำงาน
  • 8. การส่งเสริมสุขภาพในโรงพยาบาล
  • 9. การเคลื่อนไหวออกแรง
  • 10. อาหารส่งเสริมสุขภาพ
  • 11. การจัดการความเครียด
  • 12. การป้องกันอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ
  • 13. แอลกอฮอล์
  • 14. บุหรี่
  • เอกสารอ้างอิง

แบบสอบถาม ความพึง พอใจ โรงอาหาร
แบบสอบถาม ความพึง พอใจ โรงอาหาร

ภายในเล่มประกอบไปด้วยเนื้อหา 14 บท ที่อธิบายถึง 1 . แนวคิดและหลักการส่งเสริมสุขภาพ 2. แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม 3. กลยุทธ์การส่งเสริมสุขภาพ 4. โครงการและกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ 5. การส่งเสริมสุขภาพในชุมชน 6.การส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน 7. การสร้างสุขภาวะในสถานที่ทำงาน 8. การส่งเสริมสุขภาพในโรงพยาบาล 9. การเคลื่อนไหวออกแรง 10. อาหารส่งเสริมสุขภาพ 11. การจัดการความเครียด 12. การป้องกันอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ 13. แอลกอฮอล์ 14. บุหรี่

1 . แนวคิดและหลักการส่งเสริมสุขภาพ

การส่งเสริมสุขภาพเป็นสิ่งที่มีมานาน นับตั้งแต่การสาธารณสุขได้พัฒนาขึ้นมาเป็น ศาสตร์หนึ่ง นับจากศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมาจนถึงการเปลี่ยนรูปแบบไปของระบาดวิทยาในช่วง ศตวรรษที่ 20 ทำให้สาเหตุหลักของการตายและทุพพลภาพที่เกิดจากโรคติดเชื้อ ได้เปลี่ยนมาเป็นการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดเชื้อแบบเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูงและอุบัติเหตุ โดยที่รูปแบบการดำเนินชีวิตมีผลต่อการเกิดความเจ็บป่วย ดังกล่าว (Naidoo & Will, 2001) และในแต่ละปี ทุก ๆ ประเทศ ได้ใช้จ่ายเงินจำนวนมหาศาล เพื่อรักษาสุขภาพของประชาชน ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันอันตรายต่าง ๆ รวมทั้งป้องกันโรคที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน อย่างไรก็ดีวงการสาธารณสุขได้เริ่มให้ ความสำคัญกับงานส่งเสริมสุขภาพในมิติระดับสังคมที่มีแนวคิดของการส่งเสริมสุขภาพอย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับโครงสร้างทางสังคมและแบบแผนการดำเนินชีวิตของบุคคลแต่ละช่วงวัย นับตั้งแต่ก่อนเกิดจนถึงตาย

แบบสอบถาม ความพึง พอใจ โรงอาหาร

แบบสอบถาม ความพึง พอใจ โรงอาหาร

ซึ่งขอบข่ายและแนวคิดเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ มีมิติของความ สลับซับซ้อน กว้างขวาง ลึกซึ้ง และมีพลวัตแตกต่างไปจากเดิม ทั้งลักษณะปรัชญาและแนวคิดทฤษฎี หลักการ นโยบายในเชิงอุดมการณ์ รวมถึงยุทธวิธีที่จะนำไปสู่กิจกรรมที่สอดคล้องสัมพันธ์กับ ความต้องการและปัญหาอย่างแท้จริงทั้งในปัจจุบันและในอนาคต และการส่งเสริมสุขภาพเป็นที่ รับรู้กันในปัจจุบันว่าเป็นภารกิจที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายองค์กรในการปรับปรุงสุขภาพ ไม่สามารถจะทำได้โดยหน่วยงานด้านสุขภาพเพียงลำพัง แต่จะต้องมีการประสานการดำเนินการ ในด้านต่าง ๆ ร่วมกัน เพราะกระบวนการเพิ่มความสามารถของบุคคลให้สามารถดูแลสุขภาพตนเองให้เต็มศักยภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาวะ ทั้งทางกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณที่สมบูรณ์แข็งแรงนั้นเป็นการรับผิดชอบร่วมกันของสังคม การส่งเสริมสุขภาพเป็นที่รับรู้กันในปัจจุบันว่าเป็นภารกิจที่ต้องอาศัยองค์กรหลายองค์กรร่วมมือกัน การปรับปรุงสุขภาพไม่สามารถจะทำได้โดย หน่วยงานด้านสุขภาพเพียงหน่วยงานเดียว แต่จะต้องมีการประสานการดำเนินการในด้านต่าง ๆ ร่วมกัน เพราะกระบวนการเพิ่มความสามารถของบุคคลให้สามารถดูแลสุขภาพตนเองให้ เต็มศักยภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาวะทั้งทางกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณที่สมบูรณ์แข็งแรงนั้นเป็นการรับผิดชอบร่วมกันของสังคม (ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน, 2553)

แบบสอบถาม ความพึง พอใจ โรงอาหาร
แบบสอบถาม ความพึง พอใจ โรงอาหาร

2. แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม

การส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมมีความหมายกว้างขวาง ครอบคลุมในมิติทางชีววิทยา การแพทย์ สังคมวิทยา จิตวิทยา รวมถึงนิเวศน์วิทยา มีการเปลี่ยนแปลงจุดเน้นจากการส่งเสริม สุขภาพแบบดั้งเดิมเปลี่ยนเป็นมุมมองในองค์รวมของการส่งเสริมสุขภาพในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชนและในระดับประชากร โดยให้ความสำคัญต่อความหมายของชีวิต ความสุข บนข้อสันนิษฐาน เบื้องต้นว่า บุคคลทุกคนมีข้อดี ใช้กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและสถานะทางสุขภาพ โดยการให้ความช่วยเหลือในการทำความเข้าใจในตนเอง และเยียวยาชีวิตภายใต้การต่อสู้กับพฤติกรรมและการเจ็บป่วย การมองสุขภาพในแนวสุขภาพแบบองค์รวม เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ทั้งชีวิต มากกว่าการเน้นแค่ความเจ็บป่วยทางกายหรือการจัดการส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ซึ่งการสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมจะพิจารณา “ตัวคนทั้งคน”

แบบสอบถาม ความพึง พอใจ โรงอาหาร

แบบสอบถาม ความพึง พอใจ โรงอาหาร

ความเกี่ยวเนื่องของร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ รวมถึงปัจจัยทางสังคม สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพได้พัฒนามาจากกฎบัตรออตตาวาในปี ค.ศ. 1986 วิวัฒนาการนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงตามหลักฐานและปรัชญา ในช่วงต้นของการพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพ การรับรู้พฤติกรรมสุขภาพส่วนบุคคลหรือวิถีชีวิต เป็นสาเหตุสำคัญของการนำไปสู่สุขภาพที่ไม่ดี และได้มีการเรียกร้องให้บุคคลต้องรับผิดชอบต่อสุขภาพของตนเอง กล่าวคือ การสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการรับผิดชอบต่อตนเอง หรือเปลี่ยนมุมมองพฤติกรรม อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า สังคม ปัจจัยทางเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญของพฤติกรรมและภาวะสุขภาพ มุมมองโครงสร้างหรือปัจจัยโครงสร้าง และความรับผิดชอบต่อบุคคลโดยไม่ได้พิจารณาปัจจัย ด้านโครงสร้างที่เป็นการมองที่ไม่รอบด้าน (Jancey et al., 2016)

3. กลยุทธ์การส่งเสริมสุขภาพ

กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมสุขภาพได้มุ่งเน้นให้ความสำคัญตั้งแต่ต้นน้ำ หรือวิธีการที่ทำงานเพื่อแก้ไขรากเหง้าของปัญหาทางสุขภาพ โดยการเปลี่ยนเงื่อนไขและสภาพแวดล้อม ในที่อยู่อาศัย สถานที่ทำงาน และที่พักผ่อนหย่อนใจ โดยธรรมชาติแล้วกลยุทธ์การส่งเสริมสุขภาพจะมีความสัมพันธ์และเสริมซึ่งกันและกันในแต่ละแผนงานหรือกิจกรรม นอกจากนี้อาจเป็นการริเริ่มใน แผนกลยุทธ์อื่น ๆ ในโปรแกรมอื่น ๆ ดังนั้นแผนกลยุทธ์ทางการส่งเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ ควรประกอบด้วยความหลากหลายของกิจกรรม และมักจะต้องมีความร่วมมือกันในหลาย ๆ สาขาหรือหลาย ๆ กลยุทธ์ การส่งเสริมสุขภาพในปัจจุบันมีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น มีการบูรณาการกิจกรรมต่าง ๆ และการดำเนินงานที่ครอบคลุมตามยุทธศาสตร์ 5 ประการของการสร้างเสริม สุขภาพตามแนวคิด “สร้างนำซ่อม” ของกฎบัตรออตตาวา (Ottawa Chapter for Health Promotion) (WHO, 1986) ดังนั้น กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมสุขภาพ จึงเป็นแนวทางในการทำงานของบุคลากรที่ทำหน้าที่ด้านการส่งเสริมสุขภาพ โดยมีการกำหนดรูปแบบกิจกรรมในการพัฒนาบริการสุขภาพที่บูรณาการเข้ากับงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่มี ความชัดเจน สอดคล้องกับการลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาพ การมีส่วนร่วม และรูปแบบ การปฏิบัติงานที่มีความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่

4. โครงการและกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ

การส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion) ในยุคปัจจุบันได้ดำเนินการในระบบบริการสุขภาพทุกระดับทั้งในระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ ซึ่งนับว่ามีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนทำให้การสร้างเสริมสุขภาพบรรลุเป้าหมายของการนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีด้านสุขภาพต่อประชาชน ซึ่งปัจจุบันบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพได้มีการให้ความสำคัญกับโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพ มากขึ้น ทั้งในรูปของโครงการ (Projects) และกิจกรรมต่าง ๆ (Klunklin et al., 2015) เพื่อช่วยในการจัดการกับสาเหตุในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบท สถานการณ์และกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น กิจกรรมและโครงการส่งเสริมสุขภาพเป็นกิจกรรมที่อาจเกิดขึ้นจากหลายกรณี เช่น กรณีปัญหา กรณีความสนใจ เป็นต้น ซึ่งมีลักษณะพิเศษ คือ เกิดความสนใจและการมีเป้าหมายร่วมกันของคนในชุมชน ทำให้มีการรวมพลัง มีการสนทนาอย่างพินิจพิเคราะห์ ริเริ่มกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์หลากหลาย มีการจัดการร่วมกันภายใต้ความสัมพันธ์ในแนวราบ เรียนรู้ สรุปบทเรียนร่วมกัน ลักษณะความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ จึงเป็นลักษณะของเครือข่ายความร่วมมือจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นพหุภาคี กล่าวคือ องค์กรต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั้งในองค์กร ชุมชนและท้องถิ่น โดยมีสำนึกและรู้สึกในความเป็นเจ้าของพื้นที่หรือกิจกรรม มีการเข้ามาร่วมมือในลักษณะของความเป็นหุ้นส่วน คือ ร่วมคิดและร่วมตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ และระดมทรัพยากร มีการแบ่งงานกันทำและร่วมตรวจสอบประเมินผล รับรองผลจากการพัฒนาที่มีเป้าหมายสาธารณะ เพื่อพัฒนาสุขภาพของคนในระดับต่าง ๆ การดำเนินการที่เป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติโดยมีเป้าหมายสำคัญคือ ให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในกิจกรรมโครงการในท้องถิ่น โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและดำเนินการ มีองค์กร ที่ไม่เป็นทางการหรือองค์กรอาสาสมัคร มีบทบาทสำคัญในท้องถิ่น มีกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ทั้งใน และนอกชุมชนร่วมมือดำเนินกิจกรรมเพื่อเป้าหมายของการมีส่วนร่วม สิ่งเหล่านี้จะทำให้กิจกรรมโครงการส่งเสริมสุขภาพมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน

5. การส่งเสริมสุขภาพในชุมชน

การสาธารณสุขในโลกปัจจุบันแม้จะเจริญก้าวหน้า สามารถกำจัดโรคร้ายหลายชนิดและทำให้คนมีชีวิตที่ยืนยาว แต่วิกฤติที่ควบคู่กันไปกับความสำเร็จนี้ คือ การดูแลสุขภาพแบบแยกส่วน และไม่สามารถตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพใหม่ คือ โรคเรื้อรัง โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำได้ ปัญหาสุขภาพที่เป็นผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศของโลก และปัญหาผู้สูงอายุที่เกิด การเปลี่ยนโครงสร้างประชากร ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม พฤติกรรมและวิถีชีวิตของประชาชน ล้วนส่งผลต่อปัจจัยกำหนดสุขภาพของประชาชนทั้งด้านบวกและลบ องค์การอนามัยโลกได้กำหนดเป้าหมายว่า ประชาชนควรได้รับการพัฒนา ให้มีสุขภาพที่สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข ตามภาวะเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นนั้น ๆ ตามแนวทางของกฎบัตรออตตาวา (Ottawa Charter) ที่มุ่งเน้นการสร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาพ การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ การเพิ่มความสามารถของชุมชน การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลและการปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพ

แบบสอบถาม ความพึง พอใจ โรงอาหาร

แบบสอบถาม ความพึง พอใจ โรงอาหาร

โดยประเทศไทยได้มีการกระจายอำนาจ ด้านสุขภาพให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตาม พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ พ.ศ. 2542 มาตรา 16 การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อขยายโอกาสการเข้าถึงบริการสุขภาพและรัฐบาลมีนโยบายดำเนินการตามแนวทางของกฎหมายสุขภาพแห่งชาติ โดยเร่งดำเนินมาตรการสร้างเสริมสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและการเจ็บป่วยเรื้อรัง (พรเทพ ศิริวนารังสรรค์, 2552) ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว การส่งเสริมสุขภาพในชุมชนหรือในระดับ ท้องถิ่น เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งที่จะส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพที่ดี สามารถสร้างเสริมสุขภาพของตน และควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพ โดยสร้างมาตรการทางสังคมกำหนดให้สุขภาพเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของสังคม เริ่มต้นจากระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว และชุมชน

6. การส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน

การมีสุขภาพดีเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนพึงปรารถนา การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงสามารถตัดสินใจเลือก สิ่งที่ดีเพื่อการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม โดยองค์ความรู้ดังกล่าวจะสามารถพัฒนาควบคู่ไปกับการศึกษา โดยองค์การอนามัยโลก (WHO, 2019a) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนโดยใช้แนวคิด การอนามัยในโรงเรียนแห่งโลก (Global School Health Initiative : GSHI) ขึ้นในปี ค.ศ. 1995 เพื่อขับเคลื่อนและสร้างความเข้มแข็งของกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพไปพร้อมกับการให้การศึกษา เป้าหมายของโครงการ คือ การเพิ่มจำนวนโรงเรียนที่มีการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน อย่างแท้จริง โดยจะต้องทำให้โรงเรียนเป็นสถานที่สำหรับการใช้ชีวิต เรียนรู้และทำงานได้อย่างมีสุขภาพดี จุดเริ่มต้นของแนวคิดดังกล่าว มาจากข้อตกลงจากการประชุมประเทศสมาชิกขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพ ในปี ค.ศ.1986 (WHO, 2019b) ที่ประเทศแคนาดา กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมสุขภาพและการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ระบุถึงลักษณะของการดำเนินการต้องมีการสนับสนุนด้านสุขภาพและการเรียนรู้โดยใช้ทรัพยากรทั้งหมดของโรงเรียนที่มีอยู่ และการมีส่วนร่วมของบุคลากรในโรงเรียน คณะกรรมการนักเรียน ผู้ปกครองสถานพยาบาล และผู้นำชุมชน ในการที่จะทำให้โรงเรียนเป็นสถานที่ที่มี สุขภาพดี (Kickbusch et al., 1998) จากการประชุมดังกล่าว เป็นผลให้แต่ละประเทศเกิด การพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพที่เน้นการให้บริการเชิงรุก โดยนำแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพ (Health Promotion) มาเป็นกลยุทธ์หลักที่จะนำไปสู่การดูแลสุขภาพประชาชนแต่ละกลุ่มที่มีความ แตกต่างกัน โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญ ซึ่งยังพบปัญหาสุขภาพ เช่น ภาวะน้ำหนักเกิน อ้วน ฟันผุ สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งการเจ็บป่วยเรื้อรังและปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มสูงขึ้น (Wijlaars et al., 2016) ปัญหาดังกล่าวอาจนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ ตามมา กลุ่มเด็กนักเรียนมีความต้องการทางสุขภาพที่ซับซ้อนมากขึ้นและที่สำคัญสุขภาพของนักเรียนมีความ สัมพันธ์กับความสามารถในการเรียนรู้ (Sharma et al., 2018) ดังนั้นการสร้างเสริมสุขภาพในโรงเรียน จึงเป็นโอกาสที่ดีที่สุดของการสร้างสุขภาพแก่นักเรียน ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและ ลดพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ (WHO, 2017b)

7. การสร้างสุขภาวะในสถานที่ทำงาน

การทำงานถือเป็นมิติที่สำคัญอย่างหนึ่งของชีวิตมนุษย์ โดยบุคคลที่อยู่ในวัยทำงานมักจะใช้เวลาใช้ชีวิตอยู่ในสถานที่ทำงานหรือสถานประกอบการถึงวันละ 8-12 ชั่วโมง สถานที่ทำงาน จึงถือเป็นปัจจัยที่มีผลอย่างมากต่อแบบแผนการดำเนินชีวิตและภาวะสุขภาพของบุคคล สถานที่ทำงานหรือสถานประกอบการที่มีลักษณะเอื้อต่อการปฏิบัติงาน เช่น มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทำงาน มีบรรยากาศการทำงานที่ดี ย่อมจะส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานมีสภาพจิตใจ และอารมณ์ที่ดี ซึ่งส่งผลให้ศักยภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ในทางตรงกันข้ามการที่ต้องทนปฏิบัติงาน ในสถานที่ทำงานที่มีสภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน ย่อมจะก่อเกิดผลเสียต่อสุขภาพ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ หรือเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานได้ง่าย ๆ จนอาจทำให้เกิด การเจ็บป่วย กระทั่งมีการขาดหรือลางานบ่อย ๆ และส่งผลเสียต่อผลผลิตของงานตามมา วิทยาลัยการพยาบาลแห่งสหราชอาณาจักร (CDC, 2016) ได้กล่าวว่า การใช้โปรแกรมและนโยบายดูแลสุขภาพพนักงานสามารถลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ ลดค่าใช้จ่ายโดยตรงเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น เบี้ยประกัน และค่าสินไหมทดแทนของพนักงาน นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบเชิงบวกต่อต้นทุน ทางอ้อม เช่น การขาดงานและการทำงานของพนักงาน นายจ้าง ลูกจ้างครอบครัวและชุมชน ทั้งหมดได้รับประโยชน์จากการป้องกันโรค การบาดเจ็บและสุขภาพที่ยั่งยืน ดังนั้นการสร้าง สุขภาวะให้เกิดขึ้นในที่ทำงาน จึงถือเป็นมาตรการสำคัญอันหนึ่งที่สถานประกอบการหรือองค์กร ทุกแห่งควรตระหนักถึงความสำคัญ และมีการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เอื้อ ต่อการส่งเสริมสุขภาพ เช่น การควบคุมเรื่องแสง เสียง กลิ่น อุณหภูมิและการรบกวนทางสายตา ซึ่งล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการในการปฏิบัติงานทั้งสิ้น นอกจากนี้การจัดสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้มีที่ดี สะอาด ปลอดภัย และถูกสุขลักษณะ นอกจากจะมีส่วนช่วยให้พนักงานปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังจะเป็นการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน ส่งเสริมให้เกิดการทำกิจกรรมร่วมกัน เกิดความรักความสามัคคี และการทำงานเป็นทีมตามมา (กรมอนามัย, 2549; ดวงเนตร ธรรมกุล, 2555)

8. การส่งเสริมสุขภาพในโรงพยาบาล

หลังจากปี พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา แนวคิดและกระแสของการส่งเสริมสุขภาพได้เกิดขึ้น อย่างกว้างขวาง แนวทางที่ได้มีการนำมาดำเนินการมาก คือ การส่งเสริมสุขภาพตามสถานที่ (Setting) เช่น การจัดสถานที่ทำงานให้น่าอยู่น่าทำงาน (Healthy Workplace) การพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ (Healthy Cities) การดำเนินการโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (Health Promoting School) โรงพยาบาลเป็นสถานที่ทำงาน (Workplace) ประเภทหนึ่ง และเป็นสถานที่ทำงานที่ประกอบด้วยบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถทางการแพทย์ และสาธารณสุข ดังนั้น โรงพยาบาลจึงมีศักยภาพที่จะสร้างคุณค่าให้แก่สังคม ซึ่งวิธีการ ได้แก่ การดำเนินการให้โรงพยาบาลเป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ (Health Promoting Hospital) โดยคำว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ.1988) ณ กรุงโคเปนเฮเกน ผู้เชี่ยวชาญจากกลุ่มประเทศในทวีปยุโรป ได้มีการประชุมถึงเรื่อง แนวคิด ขอบเขต และกลยุทธ์การส่งเสริมสุขภาพ โดยใช้โรงพยาบาล เป็นฐาน ซึ่งแนวคิดดังกล่าว มีอิทธิพลมาจากแนวคิดพื้นฐานของกฎบัตรออตตาวา คำว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ตัวอย่างเช่น ได้จัดให้มีการประชุมวิชาการระหว่างประเทศ เรื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2536 (ค.ศ.1993) และ ครั้งที่ 7 เมื่อปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ.1999) สำหรับโรงพยาบาลในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปมีกิจกรรมเกือบทั้งหมดมุ่งเน้นการรักษาพยาบาลเป็นหลัก ส่วนกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพมีสัดส่วนน้อยมาก ดังนั้น ถ้ายึดมั่นกับคำจำกัดความของ การส่งเสริมสุขภาพ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ อาจต้องยอมรับว่า โดยภาพรวมของประเทศไทยในโรงพยาบาลใหญ่ ๆ ระดับจังหวัด อาจมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพน้อยและ ยังไม่ครอบคลุม แต่ในโรงพยาบาลระดับชุมชนจะมีกิจกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพมากกว่า (บวร งามศิริอุดม และสายพิณ คูสมิทธิ, 2559)

9. การเคลื่อนไหวออกแรง

ในช่วงเริ่มต้นของศตวรรษที่ 21 การเคลื่อนไหวออกแรง ในการทำกิจกรรมของมนุษย์ได้ลดลง ผู้คนอาจเริ่มมองข้ามความสำคัญของสุขภาพและด้วยความเป็นอยู่ที่ดีด้วยอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้คนส่วนใหญ่ในหลาย ๆ ประเทศ ประสบกับปัญหาโรคอ้วนเพิ่มขึ้น การเคลื่อนไหวออกแรงเป็นกิจกรรมทางกายของมนุษย์ ซึ่งร่างกายมนุษย์มีวิวัฒนาการมานับหลายล้านปีมาแล้ว มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนซึ่งสามารถทำงานได้หลากหลาย ตั้งแต่ใช้กลุ่มกล้ามเนื้อมัดใหญ่ใน การเดิน วิ่ง หรือปีนป่าย เพิ่มความคล่องแคล่วด้วยตนเอง ซึ่งการลดลงของการเคลื่อนไหวออกแรง อาจดูขัดแย้งกับการรับรู้ทั่วไป โดยเฉพาะประเทศตะวันตก จะเต็มไปด้วยผู้คลั่งไคล้การออกกำลังกาย มีสโมสรและสิ่งอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับกีฬาและมีรายการในสื่อมวลชนเกี่ยวกับสุขภาพ และการออกกำลังกายมากขึ้น แต่ดูเหมือนจะไม่ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ มากนัก วิถีการดำเนินชีวิตที่ปฏิบัติเป็นประจำและมีผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน ที่เห็นได้ชัดที่สุด คือ การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของโรคอ้วนทั่วทุกภูมิภาคในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

แบบสอบถาม ความพึง พอใจ โรงอาหาร

แบบสอบถาม ความพึง พอใจ โรงอาหาร

โรคอ้วนเกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพ ได้แก่ เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานและโรคหัวใจและ หลอดเลือด (CVD) เห็นว่าการไม่ออกกำลังกายเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดโรค การเสียชีวิต และความพิการของประชากรทั่วโลก นอกจากนี้การไม่ออกกำลังกายเป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือดแล้ว ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงในโรคเรื้อรังอื่น ๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง (ลำไส้ใหญ่และเต้านม) โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคกระดูกและโรคข้อ (โรคกระดูกพรุนและ โรคข้อเข่าเสื่อม) และภาวะซึมเศร้า ความชุกของการไม่ออกกำลังกาย สูงกว่าปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ทั้งหมด จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่า การออกกำลังกายสามารถป้องกันการเสียชีวิต ก่อนวัยอันควรจากสาเหตุโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็งบางชนิด และโรคกระดูกพรุนได้ (Cavill et al., 2006)

10. อาหารส่งเสริมสุขภาพ

อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญกับสุขภาพร่างกายที่ให้ทั้งคุณประโยชน์ที่ทำให้ร่างกายมีการเจริญเติบโตและเสริมสร้างให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง ระบบกลไกการทำงานของร่างกายจะเป็นไปตามปกติได้ต้องอาศัยสารอาหารและแร่ธาตุต่าง ๆ มนุษย์เราต้องอาศัยอาหาร ในการดำรงชีพ ในขณะเดียวกัน การได้รับสารอาหารมากเกินไป หรือได้รับน้อยเกินไปก็ให้โทษ ต่อร่างกายได้เช่นกัน ซึ่งพบว่าปัญหาที่เกิดจากการกินอาหารที่ขาดหรือเกินสมดุลของร่างกาย ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในปัจจุบันนี้ ได้แก่ ปัญหาภาวะโภชนาการเกิน ทำให้เกิดโรคเรื้อรัง หลายชนิด เช่น กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับโครงสร้างประชากรที่มีแนวโน้มเป็นผู้สูงอายุมากขึ้น ที่พบว่าความเสื่อม ของร่างกายกับพฤติกรรมการกินอาหารมากเกินไป ทำให้มีโอกาสเกิดโรคเรื้อรังสูงซึ่งจะเป็นปัญหาในระบบบริการสุขภาพในอนาคตอันใกล้นี้ ในขณะเดียวกันภาวะการขาดสารอาหารก็ยังพบในเรื่องการขาด สารอาหารบางชนิด ได้แก่ ภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็กที่เกิดในหญิงมีครรภ์ ที่อาจมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์และการคลอด หรือภาวะการขาดแคลเซียมในคนสูงอายุที่มีผลต่อภาวะกระดูกพรุน นอกจากนี้จากผลการวิจัยยังพบว่า อาหารบางชนิด เช่น อาหารสีเขียว เส้นใยอาหาร อาหารกลุ่มสารสีแดง ยังสามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งบางชนิดได้อีกด้วย (ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน, 2553)

11. การจัดการความเครียด

คนจำนวนมากต้องพบกับความเครียดที่เกิดจากปัญหาการดำเนินชีวิตประจำวันจาก การทำงาน และสิ่งแวดล้อม ความเครียดทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบแก่บุคคลทั้งร่างกายและจิตใจ โดยส่งผลให้คุณภาพชีวิต และศักยภาพในตัวบุคคลลดลง อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย และไม่สามารถควบคุมอารมณ์ ขาดสมาธิ ขาดวิจารณญาณในการแก้ไขปัญหาและตัดสินใจ ขาดความคิดสร้างสรรค์ และไม่มีความพึงพอใจในชีวิต หากบุคคลมีความเครียดในการปฏิบัติงานจะส่งผลให้เกิด ความสูญเสียต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวทั้งในระดับบุคคลและระดับองค์กร แต่ละคนมีกลไก การปรับตัวไม่เหมือนกัน บางคนไม่เคยประสบกับสภาวะกดดัน ปัญหา หรือความทุกข์ จึงเกิดความเครียดได้ง่าย ส่งผลให้มีการตอบสนองที่รุนแรง เช่น มีอาการทางกาย ปวดศีรษะ ปวดท้อง เป็นไข้ หรือมีการแสดงกิริยาไม่ดีใส่คนรอบข้าง เป็นต้น ความเครียดเรื้อรังอาจส่งผลกระทบต่อ การเผชิญความเครียด ทักษะในการรับมือกับการปรับตัว ทำให้บุคคลมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นสำหรับอาการของโรคจิตเภท รวมถึงความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และผลกระทบของความเครียดอาจจะเด่นชัดในช่วงวัยรุ่น (Reising et al., 2017)

12. การป้องกันอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ

ในปัจจุบันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลก การบาดเจ็บก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล และทรัพย์สินเสียหาย ผลกระทบทางด้านสุขภาพ พบว่า ผู้ที่ประสบเหตุมีอาการบาดเจ็บรุนแรงจะมีร่องรอยของความพิการคงอยู่ มีผลต่อการดำรงชีวิตประจำวัน การกลับสู่สังคม และ เป็นภาระแก่ครอบครัวและสังคมในระยะยาว ผู้ป่วยที่อาการบาดเจ็บรุนแรงส่งผลทำให้พยาธิสภาพในระบบต่าง ๆ ของร่างกายเปลี่ยนไป เช่น ความดันโลหิต อัตราการหายใจ และระดับความรู้สึกต้องได้รับการช่วยเหลือตามมาตรฐานทางการแพทย์ (American College of Surgeons, 2015) จากการศึกษาดัชนีการเกิดโรคจากทั่วโลก ในปี ค.ศ. 2013 (The Global Burden of Diseases Study 2013) พบว่า สาเหตุหลักของการเสียชีวิตมาจากการได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนถนน ร้อยละ 29 การทำร้ายตัวเอง ร้อยละ 17.6 การหกล้ม ร้อยละ 11.6 และการใช้ความรุนแรง ต่อบุคคล ร้อยละ 8.5 แบ่งเป็นลักษณะการบาดเจ็บรุนแรงที่เข้ารับการรักษาในแผนกฉุกเฉินของ โรงพยาบาล ร้อยละ 5.8 เข้ารับการรักษาต่อในแผนกผู้ป่วยใน ร้อยละ 38.5 ส่วนใหญ่เกิดจาก การแตกหักของกระดูกและการบาดเจ็บเล็กน้อยและเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยนอก ร้อยละ 75.2 ในทุกภูมิภาคมีอัตราการบาดเจ็บที่สูงมากจะเกิดในผู้ชายมากกว่าในผู้หญิง ยกเว้นในกลุ่มผู้สูงอายุ

แบบสอบถาม ความพึง พอใจ โรงอาหาร

แบบสอบถาม ความพึง พอใจ โรงอาหาร

การหกล้มเป็นสาเหตุที่สำคัญในกลุ่มของผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 แนวโน้มอัตราการบาดเจ็บ ส่วนใหญ่ลดลงในภูมิภาคที่มีรายได้สูง แต่กลับพบว่าเกิดขึ้นมากในประเทศที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง ในการศึกษาต่าง ๆ พบเหตุผลเพราะเกิดจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ ความหนาแน่นของการจราจร การบังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เช่น บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีนและแอฟริกาใต้ ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการเสียชีวิต จากการศึกษาพบว่า ประเทศเหล่านี้มีอัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนค่อนข้างสูง (Haagsma et al., 2015)

13. แอลกอฮอล์

ในปัจจุบันสถานการณ์การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นพฤติกรรมทางสังคม ซึ่งแพร่หลายทั่วโลก เนื่องจาก ความพิเศษของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นสารออกฤทธิ์ ต่อจิตประสาท และสมอง (Psychoactive Substance) เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกดูดซึมที่ กระเพาะอาหารเข้าสู่สมองและไขสันหลังอย่างรวดเร็ว ทั้งยังส่งผลต่อการรับรู้ อารมณ์ สติ การสั่งการของสมอง และพฤติกรรมในการกดการทำงานของสมอง และการทำงานของสารสื่อประสาทที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะโดบามีน (Dopamine) และเอนโดฟิน (Endorphins) ส่งผลให้มีความรู้สึกเคลิบเคลิ้ม และเสพติด หากดื่มติดต่อกันเป็นประจำ (ทักษพล ธรรมรังสี และอรทัย วลีวงศ์, 2559) เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จึงแทรกซึมอยู่ในความหลากหลายทางวัฒนธรรมยาวนานหลายศตวรรษ จากรายงานสถานการณ์สุขภาพและการดื่มแอลกอฮอล์และสุขภาพ พบว่า ในปี ค.ศ. 2018 ผลของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพ และเป็นสาเหตุการเกิดโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคตับแข็ง โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด ความผิดปกติทางจิต และโรคพิษสุราเรื้อรัง

แบบสอบถาม ความพึง พอใจ โรงอาหาร

แบบสอบถาม ความพึง พอใจ โรงอาหาร

นอกจากนี้การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังส่งผลกระทบต่อสังคม กล่าวคือ เมื่อเกิดอาการมึนเมายิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุการจราจร การทำร้ายร่างกาย การทะเลาะวิวาท ความรุนแรง และการฆ่าตัวตาย อันนำมาสู่ปัญหาและภาระแก่บุคคล ครอบครัว สังคม และเศรษฐกิจ และ จากการศึกษายังพบความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มต่ออุบัติการณ์ของโรคติดเชื้อเอชไอวี วัณโรค และผลเสียต่อสมองของทารกในครรภ์ และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดในระยะก่อนคลอด โดยในปี ค.ศ. 2018 พบผู้เสียชีวิตจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3.3 ล้านคน หรือร้อยละ 5.9 ของ การเสียชีวิตทั่วโลก (WHO, 2018a) ในปี ค.ศ. 2010 พบปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป เท่ากับ 13.5 กรัมต่อวัน และยังพบนักดื่มหน้าใหม่ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นร้อยละ16 นอกจากนี้ยังพบว่า ยิ่งมีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศยิ่งมีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มมากขึ้น (WHO, 2018b) ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลพฤติกรรมการบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับบุคคลและระดับสังคมประกอบด้วย ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ความพร้อมดื่มของแอลกอฮอล์ และการครอบคลุมการบังคับใช้นโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

14. บุหรี่

แบบสอบถาม ความพึง พอใจ โรงอาหาร

แบบสอบถาม ความพึง พอใจ โรงอาหาร

บุหรี่เป็นสิ่งเสพติดที่หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด และการสูบบุหรี่ เป็นจุดเริ่มต้นของ การติดสิ่งเสพติดชนิดอื่น ๆ ผู้สูบบุหรี่มักไม่ค่อยตระหนักถึงผลกระทบที่ตามมาจากการสูบบุหรี่ มากนัก การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิติก่อนอันควรถึง 15 ปี ร้อยละ 50 ของผู้สูบบุหรี่ มักจะเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ ซึ่งในจำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลก พบว่า ร้อยละ 12 เกิดจากการสูบบุหรี่ และร้อยละ 14 เสียชีวิตด้วยโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวานและโรคปอด นอกจากนี้ยังมีผู้เสียชีวิตที่เสียชีวิตด้วยโรคติดเชื้อที่มีการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุร่วมด้วย โดยคิดเป็น ร้อยละ 5 ของผู้เสียชีวิตทั่วโลก ซึ่งร้อยละ 7 เสียชีวิตจากโรควัณโรค ร้อยละ 12 เสียชีวิตเนื่องจาก การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง (WHO, 2017) ผลกระทบจากการสูบบุหรี่ ประกอบด้วยผลกระทบต่อสุขภาพ คือ หัวใจเต้นเร็วขึ้น และความดันโลหิตสูงขึ้น มีกรดในกระเพาะอาหาร มากขึ้น มีกลิ่นปาก และการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ โป่งพอง โรคถุงลมโป่งพอง ทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ หอบหืด โรคมะเร็งปอด มะเร็งช่องปาก มะเร็งหลอดลม มะเร็งตับอ่อน มะเร็งกล่องเสียง เป็นต้น การสูบบุหรี่ตั้งแต่เป็น วัยรุ่นเป็นเหมือนการฝึกปฏิบัติที่จะนำไปใช้ในการใช้เสพยาเสพติดอื่น ยาสูบเป็นประตูด่านแรกของการติดยาเสพติดหรือที่เรียกว่า Gate Way Drug โดยผู้ที่ติดยาเสพติดเกือบทั้งหมด เริ่มมาจาก การเสพติดบุหรี่ก่อน เยาวชนที่สูบบุหรี่มีการใช้ยาเสพติดชนิดอื่นมากกว่าเยาวชนที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 17 เท่า (อาภาวรรณ โสภณธรรมรักษ์, 2558)

เอกสารอ้างอิง

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2549). สถานที่ทำงาน น่าอยู่ น่าทำงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:
สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ดวงเนตร ธรรมกุล. (2555). การสร้างสุขภาวะในองค์กร. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ,
6(1), 1-9.

ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. (2553). การส่งเสริมสุขภาพในชุมชน แนวคิดและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทักษพล ธรรมรังสี และอรทัย วลีวงศ์. (2559). เอกสารวิชาการชุดแอลกอฮอล์และสมอง.
สืบค้น 2 มิถุนายน 2560, จาก ttp://resource.thaihealth.or.th/system/file/
document/

บวร งามศิริอุดม และสายพิณ คูสมิทธิ. (2559). บทความพิเศษโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ: มิติใหม่
ของโรงพยาบาล. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 22(2). สืบค้น 28
กันยายน 2561, จาก http://advisor.anamai.moph.go.th/main.php?
filename=JHealthVol22No2_02

พรเทพ ศิริวนารังสรรค์. (2552). นโยบายสาธารณสุขเพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของ
ประเทศ. (เอกสารประกอบการสอนรายวิชาปรัชญาการสาธารณสุขขั้นสูง). พิษณุโลก:
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อาภาวรรณ โสภณธรรมรักษ์. (2558). ป้องกันยาเสพติดในเด็กโดยป้องกันไม่ให้ติดบุหรี่.
สืบค้น 1 มิถุนายน 2561, จาก http://www.thaihealth.or.th

American College of Surgeons. (2015). Advanced trauma life support course.
(8th ed.). Chicago (IL); n. p.

Cavill, N., Kahlmeier, S., & Racioppi, F. (2006). Physical activity and health in Europe:
evidence for action. Copenhagen: World Health Organization, Printed in
Denmark.

Center for Disease Control and Prevention. (2016). Workplace health model. Retrieved
July 18, 2019, from https://www.cdc.gov/workplacehealthpromotion/
model/index.html.

Haagsma, J. N., Graetz, I., & Bolliger. (2015). The global burden of injury: incidence,
mortality, disability-adjusted life years and time trends from the global
burden of disease study 2013. Inj Prev, 0, 1-16.

Jancey, J., Barnett, L., Smith, J., Binns, C., & Howat, P. (2016). We need a comprehensive
approach to health promotion. Health Promotion Journal of Australia,
27(1), 1-3. doi:10.1071/HEv27n1_ED

Kickbusch, I., Jones, J. T., & O’Byme, D. (1998). Newsletter of connect UNESCO
international science. Technology & Environment Education, 13(2).
139-153.

Klunklin, A., Wichaikhum, O., Kunaviktikul. W., & Jaiwilai, W. (2015). Nurses’ role on
developing health promotion innovation in Northern. Nursing Journal, 42,
178 – 186.

Naidoo, J., & Wills, J. (Eds.). (2001). Health studies: An Introduction. Basingstoke:
Macmillan.

Reising, M. M, Bettis, A. H., Dunbar, J. P., Watson, K. H., Gruhn, M., Hoskinson,
K. R. & Compas,. B. E. (2017). Stress coping, executive function, and brain
activation in adolescent offspring of depressed and nondepressed mothers.
Child Neuropsychology, 24(5),1-19. https:/dx.doi.org/10.1080/09297049.
2017.1307950

Wijlaars, L. P. M. M., Gilbert, R., & Hardelid, P. (2016). Chronic conditions in children
and young people: learning from administrative data. Archives of Disease
in Childhood, 101(10), 881. doi: 10.1136/archdischild-2016-31071

World Health Organization. (17-21 Nov, 1986). Ottawa charter for health promotion.
In First International Conference on Health Promotion, 405–460. Ottawa,
Canada: World Health Organization.

World Health Organization. (2019a). Global school health initiative. Retrieved June
12, 2019, from https://www.who.int/school_youth_health/gshi/en/

World Health Organization. (2019b). The Ottawa charter for health promotion.
Retrieved August 8, 2019, from https://www.who.int/healthpromotion/
conferences/previous/ottawa/en/

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Summary

แบบสอบถาม ความพึง พอใจ โรงอาหาร

แบบสอบถาม ความพึง พอใจ โรงอาหาร

Article Name

หลักการส่งเสริมสุขภาพ

Description

สังคมในยุคปัจจุบัน การดำเนินชีวิต มีความซับซ้อนมากขึ้นผนวกกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพได้เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจ สังคม

Author

รองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน

Publisher Name

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร

Publisher Logo

แบบสอบถาม ความพึง พอใจ โรงอาหาร

แบบสอบถาม ความพึง พอใจ โรงอาหาร

การป้องกันอุบัติเหตุ การส่งเสริมสุขภาพ บุหรี่ ส่งเสริมสุขภาพ

Soraya S.

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงไหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน