โครงงาน สเปรย์ปรับอากาศจากสมุนไพร



โครงงาน

Show

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศ

ผู้จัดทำ

น.ส. สุนิสา  จันทา

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4/4  เลขที่23

อาจารย์ที่ปรึกษา

คุณครู ธนดล  คำเสมอ

โรงเรียนบัวเชดวิทยา

ระยะเวลาในการดำเนินงาน

15 พ.ย. ถึง   15 ธ.ค. พ.ศ. 2556



สารบัญ

              เรื่อง                                                                                                         หน้า

                   กิตติกรรมประกาศ                                                              

                   บทคัดย่อ                                                                            

                   บทที่ 1บทนำ                                                                     1-2

                   บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                3-7

                   บทที่ 3 วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการทดลอง                            9-10

                   บทที่ 4ผลการทดลอง                                                         11

                   บทที่ 5สรุปผลการทดลอง                                                 12



กิตติกรรมประกาศ

                โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศ    เพื่อทดลองประสิทธิภาพของสมุนไพรในการดับกลิ่นเหม็นอับต่างๆ  โดยได้รับคำปรึกษาคุณครู ธนดล   คำเสมอ ที่ได้ให้คำปรึกษาในการทำโครงงานและการทำรูปเล่มโครงงาน

            ผู้จัดทำ  ขอขอบคุณทุกท่านดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นและที่ไม่ได้กล่าวถึงไว้      ที่นี้เป็นอย่างสูง

                 



                                                                                                                                                 ผู้จัดทำ

สุนิสา   จันทา













บทคัดย่อ

              ปัจจุบันสภาวะแวดล้อมมีกลิ่นเป็นมลพิษต่อระบบหายใจหากเราซื้อน้ำยาดับกลิ่นตามท้องตลาดมาใช้นั้นจะมีราคาแพงซึ่งส่วนใหญ่จะผลิตจากสารเคมีทำให้เกิดอันตรายต่อสภาพแวดล้อมมากขึ้น คณะผู้จัดทำจึงศึกษาสมุนไพรที่หาง่ายในท้องถิ่นและเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม เช่น ใบเตย ผิวมะกูด ใบตะไคร้ มาทดลองสกัดคลอโรฟิลล์เพื่อเปรียบเทียบปริมารที่เหมาะสมและชนิดของสมุนไพรที่สามารถกำจัดกลิ่นในสถานที่ต่าง ๆเช่น ห้องน้ำ สถานที่ ที่มีกลิ่นอับ
จากการศึกษาพบว่าสารสกัดจากสมุนไพรในปริมาณที่เหมาะสมสามารถกำจัดกลิ่นได้ดีคือ อัตราส่วนระหว่างสมุนไพร 20 กรัม ต่อ แอลกอฮอล์ 200 ลูกบาศก์เซนติเมตร และสมุนไพรที่กำจัดกลิ่นได้ดีที่สุดคือสารสกัดจากผิวมะกูด















1

บทที่ 1

บทนำ


ที่มาและความสำคัญ

              “เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีเพื่อชี้แนะแนวทางดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย ทรงเน้นย้ำแนวทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง ความพอมี พอใช้ การรู้จักพอประมาณการคำนึงถึงความมีเหตุผล ส่งเสริมความประหยัดในครัวเรือนจากแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว    


                                  การซื้อน้ำยาดับกลิ่นห้องน้ำตามท้องตลาดมาใช้นั้นจะมีราคาแพงซึ่งส่วนใหญ่จะผลิตจากสารเคมีทำให้เกิดอันตรายต่อสภาพแวดล้อม คณะผู้จัดทำจึงศึกษาสมุนไพรที่หาง่ายในท้องถิ่นและเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมเช่น ใบเตย ผิวมะกูด ใบตะไคร้ มาทดลองสกัดคลอโรฟิลล์เพื่อเปรียบเทียบปริมาณที่เหมาะสมและชนิดของสมุนไพรที่สามารถกำจัดกลิ่นในสถานที่ต่าง ๆเช่น ห้องน้ำ สถานที่ ที่มีกลิ่นอับ

จากการศึกษาพบว่าสารสกัดจากสมุนไพรในปริมาณที่เหมาะสมสามารถกำจัดกลิ่นได้ดีคือ อัตราส่วนระหว่างสมุนไพร 20 กรัม ต่อ แอลกอฮอล์ 200 มิลลิลิตร และสมุนไพรที่กำจัดกลิ่นได้ดีที่สุดคือสารสกัดจากผิวมะกูด 


จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

1. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการกำจัดกลิ่นของสารสกัด ใบเตย ผิวมะกูด และใบตะไคร้หอม ในอัตราส่วนที่แตกต่าง

2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความสามารถในการกำจัดกลิ่นของสารสกัดจากใบเตย ผิวมะกูดและใบตะไคร้

3. เพื่อเพิ่มคุณค่าของสมุนไพรในท้องถิ่น


ตัวแปร

    ตัวแปรตัวแปรต้น          สารสกัดจากสมุนไพร

    ตัวแปรตาม        ความสามารถในการกำจัดกลิ่น

    ตัวแปรควบคุม   ปริมาณของสมุนไพร และแอลกอฮอล์ 




  1. ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า

    1.             เพื่อศึกษาการทำสเปรย์ปรับอากาศสมุนไพร

    2.             เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสมุนไพรในการดับกลิ่นอับ


    ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

    1.             การเพิ่มคุณค่าให้กับสมุนไพรในท้องถิ่น

    2.             การลดมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม

    3.             การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับวิทยาศาสตร์ให้เกิดประโยชน์












3

บทที่ 2

    เอกสารที่เกี่ยวข้อง



โครงงานได้ศึกษาความรู้ในเรื่องต่างๆดังนี้
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

1.ต้นตะไคร้

โครงงาน สเปรย์ปรับอากาศจากสมุนไพร


ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon nardus Rendle
วงศ์ POACEAE (GRAMINEAE)
ชื่อท้องถิ่น ตะไคร้แดง จะไคมะขูด ตะไคร้มะขูด
ลักษณะพืช พืชล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้า ลำต้นตั้งตรง สูง 2 เมตร ออกเป็นกอ ใบเกลี้ยง รูปยาวแคบ กว้าง 5-20 มม. ยาวได้ถึง 1 เมตร มีกลิ่นหอม ตรงรอยต่อระหว่างใบกับกาบ มีแผ่นรูปไข่ปลายตัดยื่นออกมา ยาวประมาณ 2 มม. มีขนกาบหุ้มติดทน กาบล่างสุดเกยซ้อนกัน เมื่อแห้งจะม้วนขึ้น ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ยาวได้ถึง 80 ซม. มีใบประดับ ลักษณะคล้ายกาบ ยาวประมาณ 25 มม. รองรับอยู่ ช่อดอกแยกเป็นหลายแขนง แต่ละแขนงมีช่อย่อย 4-5 ช่อ ผลแห้งไม่แตก ตะไคร้หอมมีลักษณะส่วนใหญ่คล้ายกับตะไคร้กอ ต่างกันที่กลิ่น ต้นและใบยาวกว่าตะไคร้กอมาก แผ่นใบกว้างยาวและนิ่มกว่าเล็กน้อย


                                                               2.ต้นใบเตย

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ



4

เตยหอม


โครงงาน สเปรย์ปรับอากาศจากสมุนไพร


ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Pandanus amaryllifolius  Roxb.

ชื่อสามัญ :   Pandanus Palm , Fragrant Pandan , Pandom wangi.

วงศ์ :    Pandanaceae


ชื่ออื่น :   ปาแนะวองิง (มาเลเซีย-นราธิวาส)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวลักษณะแตกกอเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเป็นข้อ ใบออกเป็นพุ่มบริเวณปลายยอด เมื่อโตจะมีรากค้ำจุนช่วยพยุงลำต้นไว้ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ ใบมีกลิ่นหอม

ส่วนที่ใช้ :  ต้นและราก, ใบสด


สรรพคุณ :


ต้นและราก 

-  ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย

5

ใบสด

-  ตำพอกโรคผิวหนัง

-  รักษาโรคหืด

-  น้ำใบเตย ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น 

-  ใช้ผสมอาหาร แต่งกลิ่น ให้สีเขียวแต่งสีขนม


วิธีและปริมาณที่ใช้ :


ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ

ใช้ต้น 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ ต้มกับน้ำดื่ม


ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ

ใช้ใบสดไม่จำกัดผสมในอาหาร ทำให้อาหารมีรสเย็นหอม  รับประทานแล้วทำให้หัวใจชุ่มชื่น หรือเอาใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง


ใช้เป็นยาแก้เบาหวาน


ใช้ราก 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม เข้าเย็น


สารเคมี : สารกลุ่ม anthocyanin
ชื่อวิทยาศาสตร์ pandans tectorins
ลักษณะ เป็นไม้กิ่งพุ่ม ก้านใบเดียว มีรางน้ำ มีสีนวล


6


3.ต้นมะกูด

โครงงาน สเปรย์ปรับอากาศจากสมุนไพร


ชื่อทางพฤกษศาสตร์ : Citrus Hystrix


วงศ์ : RUTACEAE

ชื่อที่เรียก : ในไทยทั่วไปเรียก มะกูด ภาคใต้เรียก ส้มมั่วผี ทางภาคอีสานเรียก

มะหูด ทางภาคกลางเรียก ส้มมะกรูด

ลักษณะ : ต้นมะกรูด เป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม ใบเขียวหนา มีคอดกิ่วที่กลางใบ

เป็นตอนๆ ดอกสีขาว เกสรมีสีเหลือง กลิ่นหอมเล็กน้อย ผลคล้ายผล

ส้มซ่า ผิวหนาเป็นร่องขรุขระทั้งลูก มีขั้วจุกสูง ตามต้นและกิ่งมีหนาม

ยาวเล็กน้อย น้ำในลูกมีรสเปรี้ยว

การเจริญเติบโต : ปลูกได้ไม่ต้องเลือกดิน มีปลูกกันตามบ้านเรือกส

4.การปลูก

ใช้หน่อหรือเหง้าชอบขึ้นในดินร่วนซุย น้ำไม่ขัง ชอบแดดมาก

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบและกาบใบ

สรรพคุณ ต้นแก้ริดสีดวงในปาก (คือปากแตกระแหง เป็น

ยาไทย แผลในปาก) สตรีมีครรภ์รับประทาน ทำให้แท้ง บีบรัดมดลูก ขับลมในลำใส้ แก้แน่น

ตะไคร้หอมได้ถูกนำมาใช้ไล่แมลง อย่างแพร่หลายนานมาแล้ว โดยละลายน้ำมันตะไคร้หอม 7 ส่วน ผสมในแอลกอฮอล์ (70%) 93 ส่วน ฉีดพ่นหรือตำใบสดหมักในแอลกอฮอล์ใน อัตราส่วน 1:1 ทาตรงขอบประตู ที่ปิดเปิดเสมอ หรือชุบสำลีแขวนเอาไว้หน้าประตูเข้าออก หรือใช้ใบตะไคร้หอม มัดแล้วทุบให้ช้ำวางใว้ตามมุมห้องหรือใต้เตียง

5.สรรพคุณ

รากแก้ปัสสวะแดง

ใบแก้ท้องเสีย

สวนไร่นา (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

6 .พันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่งก็ได้

ประโยชน์ : ใบนำมาปรุงกับอาหารดับกลิ่นคาว น้ำในผลใช้ในการย้อมผ้า ทำน้ำ

ยาสระผมได้

สรรพคุณ : ราก กระทุ้งพิษ ถอดพิษสำแดง แก้ลมจุกเสียด แก้พิษฝีภายใน แก้

เสมหะเป็นโทษ

ลูกมะกรูดนำมามักดองทำเป็นยาดองเปรี้ยวเค็ม รับประทานเป็นยา

ฟอกล้างและบำรุงโลหิต ลูกมะกรูดนี้ถ้าเอามาเผาไฟ ก่อนเผาคว้าน

เอาไส้ในออก แล้วเอามหาหิงคุ์ใส่ในกลางผล สุมไฟให้เกรียมจนกรอบ

บดเป็นผงละเอียด ละลายกับน้ำผึ้งป้ายลิ้นเด็กที่คลอดใหม่ขับผายลม

ดีนัก แก้ปวดท้อง

ผิวของลูกมะกรูด ปรุงเป็นยาลม ขับลมในลำไส้ ขับระดู









9



บทที่ 3

วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการทดลอง


อุปกรณ์และสารเคมีอุปกรณ์

  1. 1.             หม้อ

    2.             กรวย

    3.             ขวดสเปรย์

    4.             ภาชนะตวง

วัสดุและสารเคมี

  1. 1.             ตะไคร้ 30 กรัม

    2.             ใบมะกรูด 30 กรัม

    3.             ใบเตย 30 กรัม

    4.             . แอลกอฮอร์ 600 มิลลิลิตร (เจือจาง 70%)

วิธีการทดลอง

  1. 1.    นำใบเตย ตะไคร้ ใบมะกรูดมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ(เพื่อให้สมุนไพรสามารถออกกลิ่นได้เร็วกว่าการที่ต้มโดยไม่หั่น)

  

โครงงาน สเปรย์ปรับอากาศจากสมุนไพร


ใบเตย                                                                                               ใบมะกรูด

    

โครงงาน สเปรย์ปรับอากาศจากสมุนไพร



                                                                             ตะไคร้

10



2.ต้มแอลกอฮอร์แล้วนำสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดลงไปต้ม



     

โครงงาน สเปรย์ปรับอากาศจากสมุนไพร

ต้มใบเตยกับแอลกอฮอร์  

โครงงาน สเปรย์ปรับอากาศจากสมุนไพร


      

ต้มตะไคร้กับแอลกอฮอร์

                              

โครงงาน สเปรย์ปรับอากาศจากสมุนไพร

                     

ต้มใบมะกรูดกับแอลกอฮอร์   

                                                                                                                                                                                                    


        

    








                                

 


 



3.   ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วกรองกากสมุนไพรออก จากนั้นสามารถบรรจุลงขวดสเปรย์ได้ทันที 


โครงงาน สเปรย์ปรับอากาศจากสมุนไพร





11

บทที่ 4
ผลการทดลอง

                    จากการทดลองเรื่อง สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศทำให้คณะผู้จัดทำได้สำรวจประสิทธิภาพของสเปรย์สมุนไพรปรับอากาศ จากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพจะเห็นได้ดังนี้


ชนิดของสมุนไพร

ผลการทดลอง

ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 3

1.ใบเตย

มีกลิ่นเล็กน้อย

มีกลิ่นเล็กน้อย

ไม่มีกลิ่น

2.ใบมะกรูด

ไม่มีกลิ่น

มีกลิ่นเล็กน้อย

มีกลิ่นเล็กน้อย

3.ตะไคร้

มีกลิ่นเล็กน้อย

มีกลิ่นเล็กน้อย

ไม่มีกลิ่น


                   จากการทดลองสรุปได้ว่า สเปรย์ปรับอากาศกลิ่นตะไคร้สามารถดับกลิ่นได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ฉีดสเปรย์ เพราะขณะสกัดสารคลอโรฟิลล์จากตมะกรูด  มะกรูดใช้ระยะเวลาที่สั้นกว่าสมุนไพรทั้ง 2 ชนิด แล้วยังมีกลิ่นที่มีประสิทธิภาพในการดับกลิ่นกว่าสมุนไพรทั้ง 2 ชนิด




                      




12


บทที่ 5

สรุปผลการทดลอง


สรุปผลการทดลอง
สรุปได้ว่าสารสกัดสมุนไพรจากผิวมะกรูดในปริมาณ 20 กรัม ต่อ 200 ลูกบาศก์เวนติเมตร กำจัดกลิ่นห้องน้ำได้ดีที่สุด


อภิปรายผลจากการวิเคราะห์
จากการทดพบว่าสารสกัดสมุนไพรจากผิวมะกรูดในปริมาณ 20 กรัม ต่อ 200 ลุกบาศก์เซนติเมตรกำจัดกลิ่นห้องน้ำได้และสามารถนำไปใช้ในสถานที่ที่มีกลิ่นอับทำให้อากาศสดชื่นกำจัดกลิ่นเหม็นได้ เพราะความเข้มข้นของสารมากจะกำจัดกลิ่นได้มา