โครงงานสเปรย์ปรับอากาศสมุนไพร

สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศ

 หัวข้อโครงงาน  :    สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศ 

ประเภทของโครงงาน :  โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน
ผู้เสนอโครงงาน
:  นายสุพัฒน์   ดาพันธ์  ค.บ.เคมี  รหัส  55191410225
ครูที่ปรึกษาโครงงาน 
: 
ว่าที่ ร..บุญโต  นาดี 
ปีการศึกษา
2557

ที่มาและความสำคัญ

              ปัจจุบันนี้ สังคมของเรามักประสบปัญหากับมลภาวะที่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ เช่น ภายในห้อง ในรถยนต์ โดยเฉพาะในเขตชุมชนเมือง ที่ ผู้คนอาศัยกันอย่างแออัด ซึ่งมีปัญหาขยะเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็นให้กับ ชุมชน และโรงเรียน มีการใช้ห้องน้าร่วมกันของนักเรียนแล้วขาดความ รักษาความสะอาด ทาให้ห้องน้ำนักเรียนมีกลิ่นเหม็น ขาดความน่าใช้ ปัญหาเหล่านี้ทำให้ผู้คนหันมาซื้อสเปรย์ปรับอากาศ ตามท้องตลาดมาใช้ซึ่งจะมีราคาแพง และมีสารประกอบส่วนใหญ่จากสารเคมีทำให้เกิด อันตรายต่อสภาพแวดล้อม

                คณะผู้จัดทำจึงศึกษาสมุนไพรที่หาง่ายในท้องถิ่นและเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม คือ ต้นตะไคร้ ซึ่งต้นตะไคร้มีสรรพคุณช่วยดับกลิ่นคาวหรือ กลิ่นเหม็นได้ แถมกลิ่นของตะไคร้ยังสามารถช่วยไล่ยุงและกำจัดยุงได้ เป็นอย่างดี ทำให้สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศที่จะจัดทำขึ้น มีประโยชน์ 2 ต่อ และมีผลิตภัณฑ์ที่ราคาไม่แพง ต้นทุนต่ำเพราะทามาจากสมุนไพร พื้นบ้าน

โดยสเปรย์สมุนไพรปรับอากาศได้ประยุกต์มาจากหลักเศรษฐกิจ พอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งโครงงานนี้ได้ประยุกต์ใช้ กับแนวคิด คือ ความพอประมาณ การรู้จักเลือกใช้สมุนไพรให้พอดีกับ สัดส่วนที่จะทำ ความมีเหตุผล การรู้จกเลือกใช้สมุนไพรพื้นบ้านที่มี สรรพคุณและประโยชน์ต่อผลิตภัณฑ์ การมีภูมิคุ้มกัน สามารถนำมาใช้ เอง ประหยัดค่าใช้จ่ายหรือนาไปขายเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว
                จากการศึกษาพบว่าสารสกัดจากสมุนไพรในปริมาณที่เหมาะสมสามารถกำจัดกลิ่นได้ดีคือ อัตราส่วนระหว่างสมุนไพร 20 กรัม ต่อ แอลกอฮอล์ 200 มิลลิลิตร และสมุนไพรที่กำจัดกลิ่นได้ดีที่สุดคือสารสกัดจากผิวมะกูด

จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
                1. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการกำจัดกลิ่นของสารสกัด ใบเตย ผิวมะกูด และใบตะไคร้หอม ในอัตราส่วนที่แตกต่าง
                2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความสามารถในการกำจัดกลิ่นของสารสกัดจากใบเตย ผิวมะกูดและใบตะไคร้
                3. เพื่อเพิ่มคุณค่าของสมุนไพรในท้องถิ่น

สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า
                สมุนไพรได้แก่ ใบมะกรูด ผิวมะกรูด ตะไคร้  สามารถกำจัดกลิ่นและไล่ยุง

ตัวแปร
                ตัวแปรต้น          สารสกัดจากสมุนไพร
                ตัวแปรตาม        ความสามารถในการกำจัดกลิ่น
                ตัวแปรควบคุม   ปริมาณของสมุนไพร และแอลกอฮอล์ 


ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า

                        1.             เพื่อศึกษาการทำสเปรย์ปรับอากาศสมุนไพร

                        2.             เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสมุนไพรในการดับกลิ่นอับ


แนวทางการดำเนินงาน
               
1. คิดหัวข้อโครงงาน
               
2. ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล
               
3. จัดทำโครงร่างงาน
               
4. ปฏิบัติการสร้างโครงงาน
               
5. ปรับปรุงทดสอบ
               
6. การทำเอกสารรายงาน
                7. ประเมินผลงาน
               
8. นำเสนอโครงงาน
               

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                        1.             การเพิ่มคุณค่าให้กับสมุนไพรในท้องถิ่น

                        2.             การลดมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม

                        3.             การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับวิทยาศาสตร์ให้เกิดประโยชน์

นิยามศัพท์เฉพาะ

                สารสกัด หมายถึง การเอาชิ้นส่วนของพืชมาบดหรือโขลกแล้วใส่น้ำ หรือสารเคมีลงไป

แล้วจึงกรองแยกเอากลากออก จากนั้น นำมาระเหยตัวทา ละลายออก


ผู้ทำโครงงานได้ศึกษาความรู้ในเรื่องต่างๆดังนี้


1.ต้นตะไคร้


โครงงานสเปรย์ปรับอากาศสมุนไพร


                ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon nardus Rendle
                วงศ์ POACEAE (GRAMINEAE)
                ชื่อท้องถิ่น ตะไคร้แดง จะไคมะขูด ตะไคร้มะขูด
                ลักษณะพืช พืชล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้า ลำต้นตั้งตรง สูง 2 เมตร ออกเป็นกอ ใบเกลี้ยง รูปยาวแคบ กว้าง 5-20 มม. ยาวได้ถึง 1 เมตร มีกลิ่นหอม ตรงรอยต่อระหว่างใบกับกาบ มีแผ่นรูปไข่ปลายตัดยื่นออกมา ยาวประมาณ 2 มม. มีขนกาบหุ้มติดทน กาบล่างสุดเกยซ้อนกัน เมื่อแห้งจะม้วนขึ้น ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ยาวได้ถึง 80 ซม. มีใบประดับ ลักษณะคล้ายกาบ ยาวประมาณ 25 มม. รองรับอยู่ ช่อดอกแยกเป็นหลายแขนง แต่ละแขนงมีช่อย่อย 4-5 ช่อ ผลแห้งไม่แตก ตะไคร้หอมมีลักษณะส่วนใหญ่คล้ายกับตะไคร้กอ ต่างกันที่กลิ่น ต้นและใบยาวกว่าตะไคร้กอมาก แผ่นใบกว้างยาวและนิ่มกว่าเล็กน้อย
ประโยชน์ของต้นตะไคร้
                ประโยชน์ของต้นตะไคร้ การปลูกตะไคร้ร่วมกับผักชนิดอื่นๆจะช่วยป้องกันแมลงได้เป็นยังดี นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของสารระงับกลิ่นต่างๆ  ต้นตะไคร้ชวยดับกลิ่นคาวหรือกลิ่นคาวของปลาได้เป็นอย่างดี กลิ่นหอมของตะไคร้สามารถช่วยไล่ยงและกาจัดยุงได้เป็นอย่างดี  เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์จาพวกยากันยุงชนิดต่างๆ เช่น ยากันยุง ตะไคร้หอม

สารสำคัญที่พบในตะไคร้

                สารสำคัญที่พบในตะไคร้ พบน้ำมันหอมระเหย (Volatile oil) ในเหง้าและกาบใบ ซึ่ง ประกอบด้วยสารซิทราล (Citral) ยูจนอล (Eugenol) เจอรานิออล  (Geraniol) ซิโทรเนลลอล (Citronellol) เมอร์ซีน (Myrcene) การบูร (Camphor) เป็นต้น

เอทิลแอลกอฮอล์


โครงงานสเปรย์ปรับอากาศสมุนไพร


                เอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) หรือเอทานอล (Ethanol) เป็น แอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง ได้จากการหมักพืชผลทางการเกษตร เช่น อ้อย มันสาปะหลัง ข้าวโพด แอลกอฮอล์ชนิดนี้กินได้ นามาใช้ได้หลากหลาย  เช่น ใช้เป็นตัวทาละลายสี แล็คเกอร์ และยา ใช้เช็ดทาความสะอาดแผล ใช้เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า ไวน์ และเบียร์ ใช้เป็นตัวกลาง ในการถ่ายเทความร้อน ใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง ใช้เป็นน้ามัน ่ เชื้อเพลิง ใช้ตกตะกอนกรดนิวคลีอิกในงานอณูชีววิทยา (Molecular Biology) เป็นต้น
                เอทิลแอลกอฮอล์ คุณลักษณะของเอทิลแอลกอฮอล์ เป็นของเหลวไม่มีสี ระเหยได้ ไวไฟสูง สามารถละลายน้าได้ ข้อมูลสาร ชื่อ : Ethyl alcohol สูตร : C2H5OH รูปโครงสร้าง Ethyl alcohol
ข้อมูลความปลอดภัย
                การหายใจเข้าไปทาให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ทาให้เกิดอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ไอ เซื่องซึม และเกิดโรคน้ำท่วมปอด การสัมผัสถูกผิวหนัง ทาให้เกิดการระคายเคือง แสบไหม้ ผืนแดง  สารนี้ดูดซึมผ่านผิวหนัง การกลืนหรือกินเข้าไป ทาให้เกิดการระคาย เคือง ทาให้เกิดอาการปวดศีรษะ และมีอาการเซื่อง การสัมผัสถูกตาทา ให้เกิดการระคายเคืองทาให้ตาแดง และปวดตา
น้ำมันหอมระเหย ยูคาลิปตัส
                น้ำมันหอมระเหย ยูคาลิปตัส วิธีกลั่น : Steam Distillation ส่วนที่ใช้ : ใบ ( Leaves ) คุณสมบัติและประโยชน์ น้ามันหอมระเหยยูคาลิปตัส มีคุณสมบัติบรรเทาอาการหวัด ช่วยให้หายใจโล่ง บรรเทาอาการคัดจมูก ช่วยให้รู้สึกสดชื่น ยังมีคุณสมบัติ ไล่ยุง และ แมลง ก่อนนาไปใช้กับผิวหนัง ต้องทาให้เจือจาง ก่อน มิฉะนั้นอาจทาให้ผิวหนังระคายเคืองได้
การนำน้ำมันหอมระเหย ยูคาลิปตัสไปใช้
                1. ต้องทาให้เจือจางเสมอ เช่น ผสมน้ามันพื้นฐาน หยดลงในน้า หยด ผ่านผ้าเช็ดหน้า ผสมเอธิลแอลกอฮอล์ อัตราส่วนการใช้น้ามันหอม ระเหยยูคาลิปตัส หากใช้กับผิวหน้าไม่ควรเกิน 1 % ใช้กับผิวกายไม่ควร เกิน 3 %
                2. ใช้เป็นสเปรย์ฉดในห้องนอนช่วยให้หายใจโล่งเหมาะสาหรับผู้ป่วยโรคหวัด หรือ ฉีดในที่ ๆ มียงชุม ป้องกันยุงกัด


2.ต้นใบเตย

โครงงานสเปรย์ปรับอากาศสมุนไพร


                ลักษณะ เป็นไม้กิ่งพุ่ม ก้านใบเดียว มีรางน้ำ มีสีนวล
                ใบเตย หรือจะเรียกว่าเป็นอีกหนึ่ง  เตยหอม หรือ ใบเตยหอม ภาษาอังกฤษ Pandan Leaves, Fragrant Pandan, Pandom wangi มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pandanus amaryllifolius Roxb. และยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆอีกเช่น ใบส้มม่า (ระนอง), ส้มตะเลงเครง (ตาก), ส้มปู (แม่ฮ่องสอน), ส้มพอดี ผักเก็งเค็ง (ภาคเหนือ) เป็นต้นBใบเตย จัดเป็นไม้ยืนต้นพุ่มเล็ก ขึ้นเป็นกอ มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวจนถึงยอดใบ ลักษณะของเป็นทางยาว สีเขียวเป็นมัน ใบค่อนข้างแข็งมีขอบใบเรียบ ซึ่งเราสามารถนำใบเตยมาใช้ได้ทั้งใบสดและใบแห้ง ในใบเตยจะมีกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหย (Fragrant Screw Pine) โดยกลิ่นหอมของใบเตยนั้นมากจากสารเคมีที่ชื่อว่า 2-acetyl-1-pyrroline ซึ่งเป็นกลิ่นเดียวกันกับที่ได้ใน ข้าวหอมมะลิ ขนมปังขาว และดอกชมนาด

                นอกจากนี้ใบเตยยังประกอบด้วยวิตามินและแร่ธาตุสำคัญอีกหลายชนิด โดยใบเตยหอม 100 กรัมนั้นจะมีเบต้าแคโรทีน 3 ไมโครกรัม, วิตามินซี 8 มิลลิกรัม, วิตามินบี2 0.2 มิลลิกรัม, วิตามินบี3 1.2 มิลลิกรัม, ธาตุแคลเซียม 124 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม นอกจากนี้ยังมีคาร์โบไฮเดรต 4.6 กรัม, โปรตีน 1.9 กรัม และให้พลังงานถึง 35 กิโลแคลอรี ใบเตยเป็นพืชที่คนไทยทุกคนต่างก็รู้จักกันดี เนื่องจากมีการนำมาใช้กันอย่างหลากหลายตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมาปรุงแต่งอาหารอย่างขนมไทยให้มีกลิ่นหอม อร่อย และยังให้สีสันน่ารับประทานอีกด้วย

สรรพคุณของใบเตย

ต้นและราก
                - ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย

ใบสด
                - ตำพอกโรคผิวหนัง
                - รักษาโรคหืด
                - น้ำใบเตย ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น
                - ใช้ผสมอาหาร แต่งกลิ่น ให้สีเขียวแต่งสีขนม

วิธีและปริมาณที่ใช้ 

ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
                ใช้ต้น 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ ต้มกับน้ำดื่ม

ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ
                ใช้ใบสดไม่จำกัดผสมในอาหาร ทำให้อาหารมีรสเย็นหอม รับประทานแล้วทำให้หัวใจชุ่มชื่น หรือเอาใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง

ใช้เป็นยาแก้เบาหวาน
                ใช้ราก 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม เข้าเย็น

วิธีการปลูกเตย
                การปลูกเตยหอมนั้นเราจะต้องมีพื้นที่จะเพาะปลูก ต้องใกล้น้ำค่อนข้างแฉะ มีน้ำหมุนเวียนตลอดปี มีร่มเงารำไรให้ต้นเตยไม่โดนแสงแดดโดยตรง หรือตามร่องสวน ตามชายบ่อน้ำ ส่วนการปลูกในพื้นนามีการเตรียมดินคล้ายกับการทำนาแต่ทำเพียงครั้งเดียวก่อน ปลูกเพื่อให้พื้นที่เรียบ ระบบน้ำดูแลง่าย ส่วนทางเดินเข้าเก็บเกี่ยวเตยหอมขึ้นอยู่ตามความสะดวกสบายที่ผู้ปลูกต้อง จัดการและวางแผนเองตามความเหมาะสมของพื้นที่ปลูกและขนาดพื้นที่ ก่อนปลูกต้องเปิดน้ำเข้าแปลงประมาณ 1 ฝ่ามือ หรือประมาณ 15 เซนติเมตร จากนั้นเตรียมต้นพันธุ์เตยหอมที่แข็งแรงที่มีรากปักลงในแปลง โดยทำเหมือนการดำนา จากนั้นดูแลระบบถ่ายเทน้ำดูแลไม่ให้ต้นที่ปักดำลอยขึ้นมา ทิ้งไว้ 3 เดือน จึงเพิ่มปริมาณน้ำขึ้น หลังจากปลูก 6 เดือน สามารถเก็บเกี่ยวได้ การเก็บเกี่ยวใช้มีดตัดยอด อย่าเสียดายยอด การตัดยอด 1 ยอด ทำให้เกิดยอดใหม่มากมาย โดยเฉลี่ยตัดไป 1 ยอด จะได้ยอดใหม่ 3-5 ยอด ทั้งนี้ การดูแลบำรุงรักษาต้นเตยหอมนั้นก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรมาก เพียงแต่เกษตรกรจำเป็นต้องเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ มีการปรับพื้นที่ให้โล่ง ไม่มีวัชพืชขึ้นปกคลุมต้นเตยหอม เพราะจะทำให้ใบเตยหอม หรือต้นเจริญเติบโตช้า และใบไม่สวย ควรจะใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก บำรุงต้น และใบบ้าง เพื่อให้ต้นเตยหอม มีความอุดมสมบูรณ์สำหรับใบเตยหอม ที่ส่งขายไปยังท้องตลาด ก็สามารถจะนำไปประกอบอาหารคาว หวาน ได้ตามความต้องการ นอกจากนี้ก็ยังไปประกอบร่วมกับดอกไม้ในการไหว้พระ ซึ่งในตลาดมีความต้องการใบเตยหอมเป็นอย่างมาก


3.ต้นมะกูด


โครงงานสเปรย์ปรับอากาศสมุนไพร


                ชื่อทางพฤกษศาสตร์ : Citrus Hystrix
                วงศ์ : RUTACEAE
                ชื่อที่เรียก : ในไทยทั่วไปเรียก มะกูด ภาคใต้เรียก ส้มมั่วผี ทางภาคอีสานเรียก
มะหูด ทางภาคกลางเรียก ส้มมะกรูด
                ลักษณะ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นและกิ่งมีหนามยาวเล็กน้อย ใบเป็นใบประกอบชนิดลดรูป มีใบย่อย 1 ใบ เรียงสลับ รูปไข่ คือมีลักษณะคล้ายกับใบไม้ 2 ใบ ต่อกันอยู่ คอดกิ่วที่กลางใบเป็นตอนๆ มีก้านแผ่ออกใหญ่เท่ากับแผ่นใบ ทำให้เห็นใบเป็น 2 ตอน กว้าง 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซนติเมตร ใบสีเขียวแก่พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยง เป็นมัน ค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมันอยู่ ซึ่งผลแบบนี้เรียกว่า hesperitium (ผลแบบส้ม) ใบด้านบนสีเข้ม ใต้ใบสีอ่อน ดอกออกเป็นกระจุก 3 – 5 ดอก กลีบดอกสีขาว เกสรสีเหลือง ร่วงง่าย มีกลิ่นหอม มีผลสีเขียวเข้มคล้ายมะนาวผิวเปลือกนอกขรุขระ ขั้วหัวท้ายของผลเป็นจุก ผลอ่อนมีเป็นสีเขียวแก่ เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด พันธุ์ที่มีผลเล็ก ผิวจะขรุขระน้อยกว่าและไม่มีจุกที่ขั้ว ภายในมีเมล็ดจำนวนมากๆ
                การเจริญเติบโต : ปลูกได้ไม่ต้องเลือกดิน มีปลูกกันตามบ้านเรือน

วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการทดลอง


อุปกรณ์และสารเคมี

อุปกรณ์

                        1.             หม้อ

                        2.             กรวย

                        3.             ขวดสเปรย์

                        4.             ภาชนะตวง

วัสดุและสารเคมี

                        1.             ตะไคร้ 30 กรัม

                        2.             ใบมะกรูด 30 กรัม

                        3.             ใบเตย 30 กรัม

                        4.             .แอลกอฮอล์ 600 มิลลิลิตร (เจือจาง 70%)

วิธีการทดลอง

                        1.    นำใบเตย ตะไคร้ ใบมะกรูดมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ(เพื่อให้สมุนไพรสามารถออกกลิ่นได้เร็วกว่าการที่ต้มโดยไม่หั่น)

              

โครงงานสเปรย์ปรับอากาศสมุนไพร
โครงงานสเปรย์ปรับอากาศสมุนไพร

                       ตะไคร้                                                                               ใบเตย

โครงงานสเปรย์ปรับอากาศสมุนไพร

                                                                       

ใบมะกรูด

    2. ต้มแอลกอฮอล์แล้วนำสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดลงไปต้ม

       

โครงงานสเปรย์ปรับอากาศสมุนไพร
                  
โครงงานสเปรย์ปรับอากาศสมุนไพร

       ต้มใบเตยกับแอลกอฮอร์                                                ต้มตะไคร้กับแอลกอฮอร์

โครงงานสเปรย์ปรับอากาศสมุนไพร

                                                               

ต้มใบมะกรูดกับแอลกอฮอล์
3.   ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วกรองกากสมุนไพรออก จากนั้นสามารถบรรจุลงขวดสเปรย์ได้ทันที 

โครงงานสเปรย์ปรับอากาศสมุนไพร

ผลการทดลอง

                    จากการทดลองเรื่อง สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศทำให้คณะผู้จัดทำได้สำรวจประสิทธิภาพของสเปรย์สมุนไพรปรับอากาศ จากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพจะเห็นได้ดังนี้

ชนิดของสมุนไพร

ผลการทดลอง

ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 3

1.ใบเตย

มีกลิ่นเล็กน้อย

มีกลิ่นเล็กน้อย

ไม่มีกลิ่น

2.ใบมะกรูด

ไม่มีกลิ่น

มีกลิ่นเล็กน้อย

มีกลิ่นเล็กน้อย

3.ตะไคร้

มีกลิ่นเล็กน้อย

มีกลิ่นเล็กน้อย

ไม่มีกลิ่น

                   จากการทดลองสรุปได้ว่า สเปรย์ปรับอากาศกลิ่นตะไคร้สามารถดับกลิ่นได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ฉีดสเปรย์ เพราะขณะสกัดสารคลอโรฟิลล์จากต้นมะกรูด  มะกรูดใช้ระยะเวลาที่สั้นกว่าสมุนไพรทั้ง 2 ชนิด แล้วยังมีกลิ่นที่มีประสิทธิภาพในการดับกลิ่นกว่าสมุนไพรทั้ง 2 ชนิด

สรุปผลการทดลอง

สรุปผลการทดลอง
                จากการทดลองสามารถสรุปได้ว่าเมื่อนำสมุนไพรจากผิวมะกรูด  ใบเตย  และตะไคร้  มาหั่น  และต้มสมุนไพรแต่ละชนิด  ในปริมาณ 20 กรัม ต่อ 200 ลูกบาศก์เซนติเมตรซึ่งผสมกับแอลกอฮอล์ด้วย  ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วกรองกากสมุนไพรออก  และเมื่อนำไปทดสอบล้างห้องน้ำ ปรากฏว่า  มะกรูดกำจัดกลิ่นห้องน้ำได้ดีที่สุด


อภิปรายผลจากการวิเคราะห์
                จากการทดพบว่าสารสกัดสมุนไพรจากผิวมะกรูดในปริมาณ 20 กรัม ต่อ 200 ลุกบาศก์เซนติเมตรกำจัดกลิ่นห้องน้ำได้และสามารถนำไปใช้ในสถานที่ที่มีกลิ่นอับทำให้อากาศสดชื่นกำจัดกลิ่นเหม็นได้ เพราะความเข้มข้นของสารมากจะกำจัดกลิ่นได้มา


ข้อเสนอแนะ
                - การทดลองในครั้งนี้เป็นการทดลองเปรียบเทียบ  ควรมีการทดลองเปรียบเทียบในอัตราส่วนอื่นๆ และควรศึกษาสมุนไพรชนิดอื่นๆ ด้วย
                - ในการสกัดคลอโรฟิลล์ควรระมัดระวังการใช้แอลกอฮอล์เพราะเป็นสารติดไฟได้ง่าย

ลิงค์วิดีโอที่เกี่ยวข้อง

บรรณานุกรม

ก้องกานดา  ชยามฤต.  (2540).  สมุนไพรไทย.  กรุงเทพ ฯ  ภูมิปัญญา.
ณัฐฎา แสงคำ.  (
2552).  "เอทิลแอลกอฮอล์,"  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก 
               
http://www.sahavicha.com/?name=article&file=readarticle&id=1244
                สืบค้น 
20  พฤศจิกายน  2557.
รุ่งรัตน์  เหลืองนทีเทพ. 
(2553).  “สรรพคุณและประโยชน์ของสมุนไพร,”  [ออนไลน์]. 
                เข้าถึงได้จาก 
:    http://jitsat35.wordpress.com/   สืบค้น  20  พฤศจิกายน  2557.