การป้องกันและแก้ไขปัญหา สิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อสุขภาพ

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

           ความรับผิดชอบต่อสุขภาพของส่วนรวมทำได้ด้วยการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย การรักษาสัมพันธภาพ พฤติกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีต่อสุขภาพทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

สาระที่2

มาตรฐานการเรียนรู้

              มฐ.พ 2.1 เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต

    ตัวชี้วัด

                 มฐ.พ 2.1 ป.6/1  อธิบายความสำคัญของการสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่น

     สาระที่ 4

 มาตรฐานการเรียนรู้

              มฐ.พ 4.1เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ  การดำรงสุขภาพ การป้องกัน โรคและสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ

     ตัวชี้วัด

มฐ.พ 4.1  ป.6/1 แสดงพฤติกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ

                  มฐ.พ 4.1 ป.6/3 แสดงพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงความรับผิดชอบต่อสุขภาพของส่วนรวม

จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. อธิบายความสำคัญของการสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับเพื่อน

  2. อธิบายความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและแสดงพฤติกรรมในการป้องกันและ แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ

  3. แสดงพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงความรับผิดชอบต่อสุขภาพของส่วนรวม

  4. นักเรียนมีค่านิยมในการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี รักความสะอาด และมีความรับผิดชอบ

การวัดผลและประเมินผล

1. สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม

2. ประเมินความรู้เรื่อง ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ

3. ประเมินใบงาน/ผลงาน

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

สิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับสุขภาพ การป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจะส่งผลต่อดีต่อสุขภาพ        การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะจะทำให้มีสุขภาพที่ดี

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

              พ 4.1 เห็นคุณค่า และมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรค และการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ

              พ 4.1 ป.4/1 อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสุขภาพ

จุดประสงค์ 

1.  อธิบายวิธีการป้องกันและวิธีแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ

2.  เขียนแผนผังความคิดวิธีป้องกันและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ

3.  เห็นความสำคัญของวิธีแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

การวัดผลและประเมินผล

1. ประเมินสังเกตพฤติกรรม

2. แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

3. ใบงาน

4. แบบประเมินผลงาน

2. แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

การป้องกันและแก้ไขปัญหา สิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อสุขภาพ

ที่มา : https://www.google.co.th/search?gs_rn=15

     แนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ มีดังนี้

                2.1 กฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

                                      1) พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ใน พ.ร.บ. ฉบับนี้ระบุให้มีการยกเลิก พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับ พ.ศ. 2518, พ.ศ. 2521 (ฉบับที่ 2), พ.ศ. 2522 (ฉบับที่3) โดยรายละเอียดใน พ.ร.บ. ฉบับนี้กำหนดให้มีคณะกรรมการการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม (ตามมาตรา 22)

                                                1. มีมาตรการควบคุมสิ่งแวดล้อม (มาตรา 80) กำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ ซึ่งมีระบบบำบัดอากาศเสีย อุปกรณ์ หรือเครื่องมือสำหรับการควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสีย หรือผู้ควบคุมตามที่เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษกำหนด ต้องเก็บสถิติและข้อมูลในแต่ละวันซึ่งแสดงผลการทำงานของระบบ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือดังกล่าว โดยบันทึกรายละเอียดเป็นหลักฐานไว้และจัดทำรายงานสรุปเสนอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นอย่างน้อยเดือนละครั้ง ตามหลักเกณฑ์วิธีการและแบบที่กำหนดไว้ในกบฏกระทรวง

                เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษผู้ใดฝ่าฝืนไม่จัดเก็บสถิติ ข้อมูล ไม่ทำบันทึก หรือรายงานดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 106) ในกรณีที่การเก็บสถิติและข้อมูลการทำบันทึกรายละเอียด  หรือการจัดทำรายงานสรุปไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบที่กำหนด หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 104 และ มาตรา 107)

                                                2. มีมาตรการส่งเสริม (หมวดที่ 5 มาตรา 94) เจ้าของผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ ต้องจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย หรือระบบกำจัดของเสียอย่างอื่น

                                2) พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2539 การควบคุมและดูแลโรงงานต่างๆ โดยเน้นการประกอบกิจการโรงงานที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างในส่วนนี้ที่เกี่ยวกับน้ำทิ้งอุตสาหกรรม ในกฏกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) กำหนดให้

                                    1. โรงงานที่มีน้ำทิ้งต้องมีวิธีการควบคุมการปล่อยน้ำทิ้งและต้องจัดให้มีผู้ควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติงานประจำสำหรับระบบบำบัดน้ำทิ้ง

                                    2. ห้ามระบายน้ำทิ้งออกจากโรงงาน เว้นแต่ได้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างจนน้ำทิ้งนั้นมีลักษณะเป็นไปตามมาตรฐานน้ำทิ้ง

3) พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติฉบับนี้มีบทบัญญัติควบคุมการก่อมลพิษต่อแหล่งน้ำเพื่อการสัญจร และเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบกิจการโรงงาน โดยมาตรา 119 ทวิ ห้ามมิให้ผู้ใดเท ทิ้งหรือทำด้วยการประการใดๆ ให้น้ำมันและเคมีหรือสิ่งใดๆ ลงในแม่น้ำลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ หรือทะเลสาบอันเป็นทางสัญจรของประชาชนหรือที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน หรือทะเลภายในน่านน้ำไทย อันอาจเป็นเหตุให้เกิดพิษต่อสิ่งมีชีวิตหรือต่อสิ่งแวดล้อมหรือเป็นอันตรายต่อการเดินเรือในแม่น้ำลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ หรือทะเลสาบดังกล่าว

                ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับและต้องชดใช้เงินค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปในการแก้ไขสิ่งเป็นมลพิษหรือชดใช้ค่าเสียหายเหล่านั้นด้วย

                                2.2 ผลิตภัณฑ์ฉลากเขียว (Green Label)

การป้องกันและแก้ไขปัญหา สิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อสุขภาพ

                ผลิตภัณฑ์ฉลากเขียว หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองคุณภาพสินค้าที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการจัดการการผลิต การใช้สารเคมี การขนส่งสารเคมี การใช้ทรัพยากรอย่างถูกต้อง ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัตถุดิบที่สามารถนำกลับมาหมุนเวียนผลิตใหม่ (รีไซเคิล) หรือนำมาเปลี่ยนแปลงใหม่ได้ด้วยวิธีการผลิตที่ไม่เป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ปล่อยสารเคมีหรือกากพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม เช่น เสื้อผ้าไม่ฟอกย้อม น้ำมันไร้สารตะกั่ว หลอดผอมประหยัดไฟ เป็นต้น

                                2.3 การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

                รัฐบาลมีนโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแหล่งชาติ พ.ศ. 2540 – 2559 เพื่อเป็นกรอบนโยบายและแนวทางการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีการจัดทำเป็นแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยแบ่งเป็น 4 แผนๆ ละ 5ปี มีระยะเวลา 20 ปี เพื่อปฏิบัติตามนโยบาย 6 ประการเกี่ยวกับเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ การป้องกันและขจัดมลพิษ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม สิ่งแวดล้อมชุมชน การศึกษาและประชาสัมพันธ์เพื่อสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม

                                2.4 การจัดการสิ่งแวดล้อม

                                      1. การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 โดยอาศัยอำนาจมาตรา 46 ให้โครงการขนาดใหญ่หรือมีลักษณะที่อาจก่อปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงต้องเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อสำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อพิจารณาประกอบการอนุญาตหรืออนุมัติโครงการ

                                       2. โรงงานขนาดเล็กและขนาดกลางที่ไม่สามารถจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียของตนเองได้ สามารถใช้บริการระบบบำบัดน้ำเสียรวม โดยเสียค่าใช้จ่ายอย่างเหมาะสม

                                       3. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีชีวภาพทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี

                                        4. การจัดการและกำจัดขยะติดเชื้อวิธีที่ดีที่สุด คือ การเผาที่อุณหภูมิ 870 องศาเซลเซียส และนำเถ้าที่เหลือจากการเผาไปฝังกลบในดิน โดยมีการควบคุมสารพิษที่เกิดจากการเผาด้วยเจ้าหน้าที่เก็บขนและลำเลียงขยะติดเชื้อ ควรใส่ถุงมือ มีผ้าปิดปากและจมูก ข้อสำคัญคือต้องไม่เก็บขนขยะทิ้งรวมกับขยะมูลฝอยทั่วไป