ปัญหาในการทํางาน มีอะไรบ้าง

​เทคนิคการแก้ไขปัญหาในการทำงาน

ปัญหา เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับทุกคน ทุกองค์กร แยกออกจากกันไมได้ เพราะปัญหาคือ โอกาส สิ่งท้าทาย ให้ราได้ฝึกวิชา ความสามารถ และทำให้มีทักษะในการแก้ไขปัญหามากขึ้น ดังคำที่ว่า “ปัญหามี บารมีเกิด” หรือ “ปัญหามา ปัญญาเกิด” คำว่า “บารมี” หรือ “ปัญญา” นั้นก็หมายถึง ทักษะ พัฒนาการที่เกิดขึ้น หลังจากที่เราได้แก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้นั่นเอง ดังนั้นจึงมีข้อเสนอแนะและเทคนิคในการแก้ไขปัญหา เพื่อเป็นประโยชน์ในการทำงาน

ปัญหาในการทํางาน มีอะไรบ้าง

1. What is the challenge?หรือปัญหาคืออะไรต้องหาคำตอบให้ได้ว่าอะไรคือปัญหา ซึ่งอาจจะได้จากการสังเกตุด้วยตนเอง สอบถามผู้เกี่ยวข้อง หรือสังเกตจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ เพื่อให้ทราบแน่ชัดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นคืออะไร จะได้วางแผนแก้ไขปัญหาต่อไป

2. What is the cause of the problem? สาเหตุของปัญหาคืออะไร นั้นคือการหาสาเหตของปัญหาว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร โดยสอบถามจากพยาน ผู้รู้เห็น หรือหลักฐานต่างๆเพื่อให้ได้ข้อสรุปของปัญหานั้น

3. Who has got the impact?ใครคือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา และปัญหานั้นส่งผลกระทบต่อพนักงาน หรือองค์กรมากน้อยเพียงใด

4. What are the solutions? แนวทางการแก้ไขปัญหาคือวิธีการนำไปสู่ทางออกของปัญหา ซึ่งทางออกหรือการแก้ไขปัญหาที่ดี คือ การวางแผนที่ดี (Planning)การเตรียมพร้อมที่ดี (preparation) เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ

หลังจากทีทราบ ปัญหา สาเหตุของปัญหา ผู้ที่ได้รับผลกระทบ และแนวทางการแก้ไขปัญหา แล้วนั้น ต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า ในการแก้ปัญหาแต่ละเรื่องมีวิธีที่แตกต่างกันไป เราไม่อาจใช้วิธีแบบเดียวกันกับทุกปัญหาได้ เพียงเรามีหลักคิดที่เรียกว่า “ศิลปะการแก้ปัญหา”ก็ช่วยให้การแก้ปัญหานั้นง่ายขึ้น และสิ่งที่อยากจะเพิ่มเติม เพื่อให้การแก้ไขปัญหาในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล นั้น ผู้แก้ไขปัญหาหรือผู้ร่วมรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา ควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้ด้วยเช่นกัน

5. คิดอย่างสร้างสรรค์ (Flexible Thought) สิ่งที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหา อย่ามองที่ความรุนแรงของปัญหา แต่ให้คิดว่าเราจะแก้ไขปัญหานั้นได้อย่างไร ซึ่งทางออกในการแก้ปัญหา คือ การคิดอย่างสร้างสรรค์ ให้หลุดจากกรอบเดิม ที่ครอบเราไว้ จะทำให้เราพบวิธีการใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหา

6. ใช้ใจเป็นที่ตั้ง (Everything is mind) ร่างกายและจิตใจ จะเชื่อมโยงกันเสมอ ถ้าร่างกายเราถูกใช้งานหนักจนไม่มีเวลาพักผ่อน เคร่งเครียดอยู่กับงานจนเกินไป ย่อมส่งผลกระทบต่อจิตใจ ดังนั้น ควรออกไปทำกิจกรรมเพื่อให้จิตใจเราสงบ และเปิดกว้างพอที่จะคิดสิ่งใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์ รวมถึงวิธีการแก้ปัญหาอย่างงสร้างสรร

7. มีสติ (Be Conscious) สติเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะจะทำให้เรามีวิธีการพูด วิธีการคิด และการวางแผนที่ดี จะทำให้เราสามารถเลือกสถานที่ วัน และเวลาในการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง เหมาะสม รวมทั้งสติ ยังทำให้เรายอมฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุมีผล ปราศจากอารมณ์ส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง ผู้ขาดสติในการแก้ไขปัญหา มักจะนำพาอัตตะ ความลำเอียง มาร่วม ทำให้การแก้ไขปัญหาล้มเหลวได้

​​สมัครงานบริษัทจัดหางานRecruitmentRecruitment Agency,เทคนิคการแก้ไขปัญหาในการทำงาน

24 ส.ค. 2021

4 ปัญหาการทำงานเป็นทีม ที่เกิดจาก “อคติ” | THE BRIEFCASE
ปฏิเสธไม่ได้ว่า เรากำลังอยู่ในยุคของการทำงานแบบทีมเวิร์กหรือก็คือการทำงานเป็นทีม ที่เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้การทำงาน และผลักดันองค์กรก้าวไปข้างหน้าได้
แต่สังเกตไหมว่า บางครั้งการทำงานเป็นทีม ก็สร้างปัญหาและความล้มเหลวในการทำงานได้เช่นกัน โดยมีหนึ่งต้นตอสำคัญมาจาก “อคติ” ที่เกิดขึ้นจากสมาชิกในทีมเอง
ที่น่าสนใจคือ อคติเหล่านี้ ยังสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกกระบวนการทำงานเป็นทีมอีกด้วย
เราลองมาดูตัวอย่าง 4 อคติที่ต้องเจอ เมื่อต้องทำงานเป็นทีม แล้วเราจะมีวิธีแก้ไขอคติจากการทำงานเป็นทีมเหล่านี้ ได้อย่างไร ?
1. มอง “ตนเองเก่ง” เกินความเป็นจริง
หลายครั้งที่สมาชิกในทีม ถูกคัดเลือกมาจากความเชี่ยวชาญหรือความถนัดแตกต่างกัน มาทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างผลลัพธ์การทำงานที่มีคุณภาพมากที่สุด
จึงไม่แปลกใจ หากสมาชิกในทีมที่มีความเก่งกันคนละด้านนี้ จะมีความมั่นใจในความสามารถของตนเองเสียเหลือเกิน จนทำให้เกิดอคติที่เรียกว่า Dunning-Kruger Effect ซึ่งก็คือ การคิดว่าตนเองเก่ง จนเกินความเป็นจริง
เช่น คนที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “หัวหน้าทีม” เพราะมีผลงานดีเด่นในอดีตในด้านที่ตนเองถนัด
ซึ่งไม่ได้การันตีว่า ความสามารถในการบริหารทีมของเขาจะออกมาดีเด่นเช่นเดียวกัน ได้หรือไม่
ผลที่ตามมาก็คือ การมองไม่เห็นข้อบกพร่องของตัวเอง เมื่อได้รับบทบาทใหม่ ๆ ในการทำงานเป็นทีม
ทางออกของอคตินี้ก็คือ ทันทีที่สมาชิกในทีมมองว่า ตนเองเก่งมากขึ้นเท่าไร ต้องฝึกให้เขารู้จักตั้งข้อสังเกต และจับผิดตนเองให้ได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น
เพราะเมื่อเขาได้เห็นข้อผิดพลาดของตนเองบ่อย ๆ ก็จะช่วยลด Ego หรือ อัตตาของตนเองได้
2. ทำงานแบบยึดติด “อดีต” มากกว่าปัจจุบัน
ในการทำงานเป็นทีม ที่มีลักษณะคล้ายกัน หรือมีเป้าหมายคล้ายกัน สังเกตไหมว่า สมาชิกในทีมมักจะดึงประสบการณ์ หรือข้อมูลครั้งก่อน ๆ ที่เคยทำสำเร็จมาแล้ว มาบอกเล่าให้สมาชิกคนอื่น ๆ ในทีมฟัง และหลายครั้งก็ใช้เป็นหลักในการทำงานครั้งใหม่นี้ด้วย
ดังนั้น หากมีข้อมูลใหม่ ๆ หรือวิธีการใหม่ ๆ ที่ดูจะขัดแย้งกับครั้งก่อน จึงเลือกที่จะมองข้ามและไม่ให้ความสำคัญใด ๆ เพื่อป้องกันความสับสนของข้อมูลและวิธีการทำงาน
จึงเป็นที่มาของอคติที่เรียกว่า Conservatism Bias ที่เกิดจากการยึดติด “เรื่องราวในอดีต” มากกว่าปัจจุบัน
ผลก็คือการทำงานแบบเดิม ๆ ที่ไม่มีการพัฒนา และยังปิดกั้นโอกาสใหม่ ๆ ในการทำงานเป็นทีมอีกด้วย
ดังนั้น ทางออกของอคตินี้ก็คือ ลองท้าทายการทำงานเป็นทีมในรูปแบบใหม่ ๆ เช่น การเปิดรับข้อมูลใหม่ ๆ, วิธีการทำงานใหม่ ๆ, สับเปลี่ยนบทบาทสมาชิกในทีม ที่จะช่วยให้สมาชิกในทีมกลับมาทำงานด้วยข้อมูลปัจจุบัน และบทบาทปัจจุบันของตนเอง
3. ประชุมแบบ “จมปลัก” เชื่อข้อมูลใดข้อมูลหนึ่งมากเกินไป
การทำงานเป็นทีม จะประกอบด้วยคนจำนวนมาก จึงน่าจะได้แง่คิดหรือไอเดียที่หลากหลาย
แต่สงสัยไหมว่า ทำไมหลายครั้งที่มีการประชุมระดมสมอง ความคิดเห็นต่าง ๆ ของสมาชิกในทีมกลับไม่ได้รับความสนใจอย่างที่ควรจะเป็น
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ สมองของคนเรา มักจะหลีกเลี่ยงข้อมูลที่มีความสับสน หรือมีปริมาณมากเกินไป แต่จะเลือกรับข้อมูลที่เข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ได้คำตอบไวที่สุด
จึงเกิดอคติที่เรียกว่า Anchoring Effect ที่เกิดขึ้นจากการปักใจเชื่อข้อมูลใดข้อมูลหนึ่งไปแล้ว
ดังนั้น หากการประชุมใดเกิดมีแนวคิด, ข้อมูล หรือวิธีทำงานที่สมาชิกในทีม “ปักใจเชื่อ” ไปแล้ว ก็จะทำให้การเปิดใจรับฟังข้อมูลอื่น ๆ เป็นเรื่องที่ยากขึ้น
เราจึงเห็นการประชุมระดมสมองในหลาย ๆ ครั้ง มักจะจมปลักอยู่กับแค่แนวคิดเดียว หรือข้อมูลเพียงด้านเดียวที่สมาชิกในทีมปักใจเชื่อไปแล้ว ทำให้ความคิดเห็นอื่น ๆ ที่อาจจะดีกว่า หรือเวิร์กกว่า ถูกละเลยความสนใจไปในที่สุด
ทางออกของอคตินี้ก็คือ การประชุมด้วยคำถามปลายเปิด เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกในทีมแสดงความคิดเห็นและมุมมองที่หลากหลายให้ได้มากที่สุด
นอกจากนั้นยังควรต้องสร้างความตระหนักร่วมกันว่า ไม่ควรปักใจเชื่อในข้อมูลใดข้อมูลหนึ่ง ก่อนที่จะสรุปผลการประชุม
4. แผนงานพัง เพราะ “ประเมินเวลางานเสร็จเร็วไป”
ปกติเเล้ว การวางแผนหรือตารางงาน มักจะขึ้นอยู่กับขั้นตอนของการทำงานในทีมนั้น ๆ
เช่น ขั้นตอนออกแบบสินค้า, ขั้นตอนขึ้นแบบจำลองสินค้า, ขั้นตอนผลิตสินค้า
โดยไม่ได้คำนึงเลยว่า แต่ละขั้นตอนจะเกิดปัญหาหรือไม่ และต้องใช้เวลาแก้ไขปัญหานานเพียงใด ซึ่งผลที่ตามมาคือความล้าช้าหากเกิดปัญหาระหว่างทาง ทำให้ไม่สามารถเป็นไปตามแผนที่วางไว้
นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนของการเกิดอคติที่เรียกว่า The Planning Fallacy หรือก็คือ การประเมินเวลาทำงานให้ลุล่วงเร็วเกินความเป็นจริง
ผลเสียที่ตามมา นอกจากจะทำให้ตารางงานหรือแผนงานที่วางไว้นั้น พังทลายไม่เป็นท่าแล้ว ยังถูกมองว่า การทำงานเป็นทีมครั้งนี้ล้มเหลว และสูญเสียความน่าเชื่อถืออีกด้วย
ทางออกของอคตินี้ก็คือ การปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีประสบการณ์ในงานนั้น ๆ เพื่อจะได้จัดเวลาทำงานให้สอดคล้องตามความเป็นจริง
รวมทั้งการวางแผนสำรองฉุกเฉิน และการจัดทีมงานสำรอง เพื่อรับช่วงต่อในกรณีที่งานมีปัญหาหรือล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนไว้ด้วย
มาถึงตรงนี้ ดูเหมือนว่า การทำงานเป็นทีม จะกลายเป็นดาบ 2 คม..
ที่มี “คมแรก” คือประโยชน์จากการร่วมมือทำงานเป็นทีม ช่วยผลักดันองค์กรให้เดินหน้า
แต่ก็ต้องเตรียมรับมือกับ “คมสอง” คือปัญหาในการทำงานเป็นทีม
ที่มีสาเหตุมาจากอคติของสมาชิกในทีม ด้วยนั่นเอง..
References:
-https://www.zendesk.com/blog/8-cognitive-biases-affect-manage-team/
-https://www.managementstudyguide.com/conservatism-bias.htm
-https://www.investopedia.com/terms/a/anchoring.asp
-https://www.mentimeter.com/blog/the-science/how-to-deal-with-the-anchoring-effect-in-meetings
-https://thedecisionlab.com/biases/planning-fallacy/