อธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา

๑.  รศ.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา ประธานกรรมการ ๒.  รศ.สุวรรณา รัศมีขวัญ รองอธิการบดีฝ่ายการคลังและทรัพย์สิน รองประธานกรรมการ ๓.  รศ.สมถวิล จริตควร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ กรรมการ ๔.  รศ.จิตติมา เจริญพานิช รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม กรรมการ ๕.  ผศ.เอกวิทย์ โทปุรินทร์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต กรรมการ ๖.  ผศ.สวามินี ธีระวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายแผนยุทธศาสตร์และนโยบาย กรรมการ ๗.  ผศ.อานนท์ วงษ์แก้ว รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กรรมการ ๘.  ผศ.วิมลรัตน์ จตุรานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการสภามหาวิทยาลัย กรรมการ ๙.  ผศ.ณยศ คุรุกิจโกศล ผู้รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกิจการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กรรมการ ๑๐.  ผศ.วศิน ยุวนะเตมีย์ ผู้รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตจันทบุรี กรรมการ ๑๑.  ผศ.ธนัฎฐ์ตฤณ บุนนาค ผู้รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตสระแก้ว กรรมการ ๑๒.  อ.ภูสิต กุลเกษม ผู้รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการคลังและทรัพย์สิน กรรมการ ๑๓.  รศ.สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ กรรมการ ๑๔.  ภก.รศ.ยศนันท์ วีระพล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ กรรมการ ๑๕.  ผศ.สหัทยา รัตนะมงคลกุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายทะเบียนและประมวลผลการศึกษา กรรมการ ๑๖.  อ.ศิริทัศน์ เขตตานุรักษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายยกระดับคุณภาพงานวิจัย กรรมการ ๑๗.  อ.ชินวุธ พิพัฒน์ภานุกูล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออก กรรมการ

๑๘.  ผศ.นิรมล ธรรมวิริยสติ

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาทรัพยากรวิจัยและความสัมพันธ์เครือข่าย กรรมการ ๑๙.  ผศ.ปรัชญา แก้วแก่น ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารการวิจัย กรรมการ ๒๐.  ผศ.พรรณวลัย เกวะระ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กรรมการ ๒๑.  อ.เจนวิทย์ นวลแสง

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต

กรรมการ ๒๒.  อ.ปรียานุช วรวิกโฆษิต ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวางแผนพัฒนา กรรมการ ๒๓.  รศ.ธนวัฒน์ พิมลจินดา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล กรรมการ ๒๔.  ผศ.ภัทรมน สาตรักษ์

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกฎหมาย

กรรมการ ๒๕.  อ.เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กรรมการ ๒๖.  อ.พิมลพรรณ เลิศล้ำ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารภาพลักษณ์องค์กร กรรมการ ๒๗.  อ.ลัญจกร สัตย์สงวน ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตจันทบุรี กรรมการ ๒๘.  ผศ.ว่าที่ร้อยตรีรณชัย รัตนเศรษฐ คณบดีคณะดนตรีและการแสดง กรรมการ ๒๙.  อ.พรรณี พิมาพันธ์ุศรี คณบดีคณะบริหารธุรกิจ กรรมการ ๓๐.  ผศ.พรชัย จูลเมตต์ คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ กรรมการ ๓๑.  ผศ.นพ.ทวีลาภ ตั๊นสวัสดิ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ กรรมการ ๓๒.  ภก.หญิงณัฏฐินี ธีรกุลกิตติพงศ์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์  กรรมการ ๓๓.  อ.กฤษนัยน์ เจริญจิตร คณบดีคณะภูมิสารสนเทศศาสตร์  กรรมการ ๓๔.  อ.สุชาดา รัตนวาณิชย์พันธ์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กรรมการ ๓๕.  ผศ.ร.ต.อ.วิเชียร ตันศิริคงคล ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์  กรรมการ ๓๖.  รศ.ณกร อินทร์พยุง คณบดีคณะโลจิสติกส์ กรรมการ ๓๗.  ผศ.กฤษณะ ชินสาร คณบดีคณะวิทยาการสารสนเทศ  กรรมการ ๓๘.  รศ.อุษาวดี ตันติวรานุรักษ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ กรรมการ ๓๙.  ผศ.นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา กรรมการ ๔๐.  ผศ.ณยศ คุรุกิจโกศล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กรรมการ ๔๑.  รศ.ว่าที่ร้อยตรีเสกสรรค์ ตันยาภิรมย์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์  กรรมการ ๔๒.  รศ.สฎายุ ธีระวณิชตระกูล คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ กรรมการ ๔๓.  รศ.ยุวดี รอดจากภัย คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์  กรรมการ ๔๔.  ผศ.มารุต ตั้งวัฒนาชุลีพร คณบดีคณะสหเวชศาสตร์  กรรมการ ๔๕.  อ.ปริญญา นาคปฐม คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ  กรรมการ ๔๖.  รศ.ภัทราวดี มากมี คณบดีวิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา กรรมการ ๔๗.  อ.ศุภฤทัย อิฐงาม ผู้อำนวยการสถาบันภาษา กรรมการ ๔๘.  อ.บัลลังก์ เนื่องแสง ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล  กรรมการ ๔๙.  อ.วิทวัส พันธุมจินดา ผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์ กรรมการ ๕๐.  นายพีรพัฒน์ มั่งคั่ง ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ  กรรมการ ๕๑.  อ.เหมรัศมิ์ วชิรหัตถพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด กรรมการ ๕๒.  รศ.นุจรี ไชยมงคล คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย กรรมการ ๕๓.  อ.สราวุธ ศิริวงศ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีทางทะเล กรรมการ ๕๔.  ผศ.วศิน ยุวนะเตมีย์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์  กรรมการ ๕๕.  ผศ.นันทรัตน์ บุนนาค ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะอัญมณี กรรมการ ๕๖.  อ.สิริเชษฐ์ รัตนะชิตธวัช ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร กรรมการ ๕๗.  อ.สิรินารี เงินเจริญ ผู้รักษาการแทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ กรรมการ ๕๘.  รศ.รชนิมุข หิรัญสัจจาเลิศ ประธานสภาพนักงาน  กรรมการ ๕๙.  อ.พิมลพรรณ เลิศล้ำ ผู้รักษาการแทนหัวหน้าสำนักงานอธิการบดี กรรมการและเลขานุการ



ปลัด อว. โชว์ปฏิรูปการอุดมศึกษาไทยในเวทีประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยของอาเซียนที่สิงคโปร์ ชี้ไทยขับเคลื่อนได้เร็ว หนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นตัวอย่างของอาเซียน พร้อมขยายความร่วมมือสู่นานาชาติ

เมื่อวันที่ 12 พ.ย. ศ.ดร.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้กล่าวปาฐกถาในการประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยชั้นนำของอาเซียน ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ว่ารัฐบาลได้ปฏิรูปการอุดมศึกษาครั้งใหญ่ โดยการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เชื่อมโยงมหาวิทยาลัยกับการวิจัยและการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะกับการพัฒนาเชิงพื้นที่ สามารถขับเคลื่อนการปฏิรูปได้อย่างรวดเร็ว ริเริ่มโครงการ U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ จัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา การใช้แซนด์บ๊อก เริ่มการลงทะเบียนเรียนข้ามมหาวิทยาลัย สร้างธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยในขณะนี้ไทยได้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงการปฏิรูปการอุดมศึกษาของภูมิภาคแล้ว พร้อมขยายความร่วมมือกับนานาชาติ

ปลัดกระทรวง อว. กล่าวว่า ในการประชุมสุดยอดผู้นำมหาวิทยาลัยในอาเซียน (University Leaders Summit) ในโอกาสครบรอบ 10 ปีของเครือข่ายผู้บริหารมหาวิทยาลัย หรือ Temasek Foundation-National University of Singapore Programme for Leadership in University Management ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ นั้น เป็นเวทีสำคัญที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยหลักของอาเซียน 25 แห่ง ได้มาหารือกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลการบริหารและการกำหนดนโยบาย ทิศทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในภูมิภาค โดยครั้งนี้เป็นการประชุมสุดยอดแบบเต็มรูปแบบในโอกาสครบรอบ 10 ปีของโครงการ และเป็นการประชุมในสถานที่เป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปีหลังการระบาดของโรคโควิด-19 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของสิงคโปร์ นายชาน ชุน ซิง เป็นประธานเปิดการประชุมที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) และท่านประธานาธิบดีของสาธารณรัฐสิงคโปร์ ฯพณฯ ฮาลิมา ยาคอบ เป็นประธานในงานเลี้ยงรับรองในพิธีปิดการประชุมที่พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชีย (Asian Civilisation Museum)

"ในการนี้ ปลัดกระทรวง อว. ในฐานะประธานคณะกรรมการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (Chairman of ASEAN University Network Board of Trustees) ได้กล่าวปาฐกถาเกี่ยวกับ การปฏิรูประบบการอุดมศึกษาของประเทศไทย ซึ่งมีความก้าวหน้าอย่างมาก ในการขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศโดยใช้ฐานความรู้ตามนโยบายของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยรัฐบาลได้จัดตั้งกระทรวง อว. ขึ้นเชื่อมโยงมหาวิทยาลัยกับการวิจัยและการพัฒนา ซึ่ง ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.อว.ได้มอบนโยบายให้มหาวิทยาลัยมีบทบาทโดยตรงในการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์การบริหารส่วนพื้นที่ โดยได้ริเริ่มโครงการต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่ โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ U2T การจัดกลุ่มมหาวิทยาลัย โครงการแซนด์บ๊อก การลงทะเบียนเรียนข้ามมหาวิทยาลัย การจัดตั้งธนาคารหน่วยกิจแห่งชาติ เป็นต้น"

ปลัด อว. กล่าวต่อว่า "โครงการ U2T ได้สร้างผลกระทบในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยฐานความรู้ ทำให้มหาวิทยาลัยได้ทำงานใกล้ชิดในทุกพื้นที่ ส่วนโครงการ Higher Education Sandbox ซึ่งเป็นแนวทางจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาแบบใหม่ ให้อิสระสถาบันอุดมศึกษาปรับเปลี่ยนวิธีการและรูปแบบการศึกษาอย่างไร้ข้อจำกัด เพื่อให้ทันต่อการปรับตัวอย่างรวดเร็วและความต้องการจากตลาดแรงงานเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศอย่างเร่งด่วน ปัจจุบันมีหลักสูตรกว่า 100 หลักสูตรอยู่ระหว่างการพิจารณาก่อนนำไปลองใช้งาน มีการยกเลิกการกำหนดระยะเวลาการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนและทำงานไปพร้อมกัน ตอบโจทย์การเรียนของนักศึกษา สร้างกลไกการลงทะเบียนข้ามมหาวิทยาลัย และโครงการคลังหน่วยกิตแห่งชาติ (National Credit Bank System) ให้คนทุกช่วงวัยสามารถเรียนหลักสูตรต่างๆ หรือนำประสบการณ์ทำงาน มาเทียบโอนและสะสมหน่วยกิตไว้ที่คลังหน่วยกิตแห่งชาติ ซึ่งนำไปสู่การใช้งานจริงสนองนโยบายของประเทศโดยตรงในการสร้างและพัฒนากำลังคนที่มีสมรรถนะสูง สามารถออกไปทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีภารกิจเพิ่มเติมต่างจากเดิมที่ทำหน้าที่สอนนักศึกษาเพียงอย่างเดียว แต่ในปัจจุบันต้องสอนและบ่มเพาะให้นักศึกษามีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบใหม่และสร้างความเป็นผู้ประกอบการให้แก่นักศึกษาด้วย โดยในงานนี้มีอธิการบดีและผู้บริหารระดับสูงจากมหาวิทยาลัยไทย 5 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมประชุมและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับประเทศต่างๆ ด้วย"

ทั้งนี้ ศ.ดร.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ยังได้เป็นผู้ดำเนินการอภิปรายให้หัวข้อ "ประสบการณ์ของมหาวิทยาลัยอาเซียนในการส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างผู้ประกอบการเทคโนโลยี" โดยมีผู้บริหารของมหาวิทยาลัยจากมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมอภิปราย

อธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา


อธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา


อธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา


อธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา


อธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา



  • คลังหน่วยกิต