การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข

เรื่องที่ 2 การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และการพึ่งพาอาศัยกัน

เรื่องที่ 2

การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และการพึ่งพาอาศัยกัน

  • การปฎิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อกัน คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยทำให้สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยเฉพาะสังคมที่มีลักษณะเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม เช่นสังคมไทยนั้น สมาชิกในสังคม ยิ่งจำเป็นต้องเรียนรู้การปฎิบัติตน ให้กลมกลืนไปกับความแตกต่าง เพื่อป้องกันความแตกแยกที่อาจเกิดขึ้นตามมา

  1. คุณค่าของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและพึ่งพาอาศัยกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติและพึ่งพาอาศัยกัน ก่อให้เกิดประโยชน์ด้านต่างๆ ดังนี้

  1. ประโยชน์ต่อตนเอง

    1. ทำให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และรู้สึกปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ

    2. มีผู้คอยให้ความช่วยเหลือเมื่อตกยาก หรือประสบกับความยากลำบากจากเหตุการณ์ต่างๆ และทำให้ไม่รู้สึกโดเดี่ยว หรือไร้ที่พึ่งเมื่อเจอปัญหา

    3. ประสบความสำเร็จในการประกอบหน้าที่การงาน เพราะได้รับความช่วยเหลือเกื้อกูลจากบุคคลรอบข้าง

  2. ประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ

    1. สังคมเป็นระเบียบเรียบร้อยและสงบสุข ปราศจากปัญหาความแตกแยกขัดแย้งใดๆ

    2. เกิดการพัฒนาที่รวดเร็วและยั่งยืน เพราะความสงบสุขในสังคม จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้ประเทศชาติมีรายได้เพิ่มขึ้น เพียงพอต่อการนำมาปรับปรุงโครงสร้างทางสังคมให้มีประสิทธิภาพ และพร้อมรับมือกับความเสี่ยงหรือการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์

    3. ความสุขของคนในชาติเพิ่มมากขึ้น เพราะมีความอยู่ดีกินดี รู้สึกปลอดภัยในการดำเนินชีวิต มีหน้าที่การงานและรายได้ที่มั่นคง

  1. แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และการพึ่งพาอาศัยกัน การเรียนรู้วิธีการอยู่ร่วมกันในสังคมที่เต็มไปด้วยความหลากหลายและแตกต่าง เพื่อปรับตัวให้เข้ากับบุคคลรอบข้าง จะก่อให้เกิดความสุขในการอาศัยอยู่ร่วมกัน ซึ่งการสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคม จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของสมาชิกทุกคน โดยยึดแนวทางการปฎิบัติ ดังนี้

  1. เคารพซึ่งกันและกัน

    1. แสดงกิริยาที่นอบน้อมต่อกัน

    2. พูดดีต่อกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง

    3. ยอมรับในความแตกต่างทั้งความเชื่อ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม เชื้อชาติ ผิวพรรณ เป็นต้น

    4. รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

  2. เมตตาต่อกัน

    1. เอาใจเขามาใส่ใจเรา คิดถึงจิตใจของผู้อื่น

    2. แสดงความห่วงใยต่อบุคคลรอบข้าง ไม่ซ้ำเติมให้ผู้อื่นได้รับความทุกข์ยากมากขึ้น

    3. ฝึกใจให้รักในการให้ มากกว่าการรับ

    4. เสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อประโยชน์ส่วนรวม

  1. ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

    1. บริจาคทรัพย์สิน หรือสิ่งของช่วยเหลือผู้อื่นที่ยากลำบากหรือประสบภัยต่างๆ

    2. ช่วยเหลือผู้อื่นทำงาน หรือช่วยงานตามความสามารถของตนด้วยความทุ่มเทและเต็มใจ

    3. ให้ความร่วมมือในการปฎิบัติตามข้อกำหนด หรือระเบียบของสังคม

  1. มีความซื่อสัตย์ต่อกัน

    1. แสดงความจริงใจต่อกันทั้งทางกาย วาจา ใจ ทั้งต่อหน้าและรับหลัง

    2. รักษาสัจจะวาจา ต้องทำให้ได้ตามที่รับปากไว้

    3. ไม่ทุจริต หรือเอาเปรียบผู้อื่นด้วยกลอุบายต่างๆ

    4. ไว้วางใจกัน ไม่ระแวงผู้อื่นจนเกิดความเป็นความบาดหมาง

    5. ฝึกความมีระเบียบวินัยในตนเองให้กลายเป็นนิสัย

  1. ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นกัน

    1. ไม่ดูถูกการกระทำ คำพูด หรือความคิดของผู้อื่น

    2. ไม่แสดงกิริยาหรือวาจาดูถูกศรัทธาความเชื่อ วัฒนธรรม เชื้อชาติ หรือชาติพันธุ์ของผู้อื่น

    3. เคารพสิทธิมนุษยชน ด้วยการปฎิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียม

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เรื่องที่ 2 การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และการพึ่งพาอาศัยกัน

เรื่องที่ 2 การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และการพึ่งพาอาศัยกัน การปฎิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อกัน คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยทำให้สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยเฉพาะสังคมที่มีลักษณะเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม เช่นสังคมไทยนั้น สมาชิกในสังคม ยิ่งจำเป็นต้องเรียนรู้การปฎิบัติตน ให้กลมกลืนไปกับความแตกต่าง เพื่อป้องกันความแตกแยกที่อาจเกิดขึ้นตามมา คุณค่าของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและพึ่งพาอาศัยกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติและพึ่งพาอาศัยกัน ก่อให้เกิดประโยชน์ด้านต่างๆ ดังนี้ ประโยชน์ต่อตนเอง ทำให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และรู้สึกปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ มีผู้คอยให้ความช่วยเหลือเมื่อตกยาก หรือประสบกับความยากลำบากจากเหตุการณ์ต่างๆ และทำให้ไม่รู้สึกโดเดี่ยว หรือไร้ที่พึ่งเมื่อเจอปัญหา ประสบความสำเร็จในการประกอบหน้าที่การงาน เพราะได้รับความช่วยเหลือเกื้อกูลจากบุคคลรอบข้าง ประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ สังคมเป็นระเบียบเรียบร้อยและสงบสุข ปราศจากปัญหาความแตกแยกขัดแย้งใดๆ เกิดการพัฒนาที่รวดเร็วและยั่งยืน เพราะความสงบสุขในสังคม จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนทาง

เรื่องที่ 1 ความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรม ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เรื่องที่ 1 ความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรม ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้         เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความหลากหลายทางด้านสังคม วัฒนธรรม และใน พ.ศ.2558 จะรวมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเชี่ยน         ดังนั้น เพื่อเตรียมความพร้อมนักเรียนจะต้องศึกษาประเทศเพื่อนบ้าน เรียนรู้ความหลากหลาย เพื่อความเข้าใจอันดีต่อกัน ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข 1.ความหลากหลายของวิถีชีวิต         จากสภาพภูมิประเทศที่เป็นผืนแผ่นดินและหมู่เกาะ ประกอบกับการมีลักษณะภูมิอากาศอยู่ในเขตร้อน จึงส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชากร และการประกอบอาชีพของคนในภูมิภาคให้มีความหลากหลาย 2.ความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม         เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นดินแดนพหุสังคม มีความหลากหลายทางด้านความเชื่อ วิถีชีวิต ภาษา ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม 3.ความหลากหลายทางด้านศาสนา         ประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา และศาสนาอิสลาม โดยประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา ได้แก่ ไทย เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา ส่วนประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถืออิสลาม ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย แล