ความคิดเห็นของผู้ที่อาศัยในกรุงเทพมหานครที่มีต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ความคิดเห็นของผู้ที่อาศัยในกรุงเทพมหานครที่มีต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

Submitted on Sun, 2022-03-13 13:16

บ้านสมเด็จโพลสำรวจความเห็นคน กทม. 1,143 คน 32.2% คิดว่ายังไม่มีบุคคลที่เหมาะสมที่จะเลือกเป็นผู้ว่า กทม. 16.2% เลือก 'ชัชชาติ' 15.1% เลือก 'อัศวิน' 

ความคิดเห็นของผู้ที่อาศัยในกรุงเทพมหานครที่มีต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

13 มี.ค. 2565 ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,143 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 5 - 9 มี.ค. 2565 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้เรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เนื่องจากการเลือกตั้งการเมืองท้องถิ่นทั่วประเทศ โดยเฉพาะการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่จะมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เสียงสะท้อนของคนกรุงเทพมหานครในด้านปัญหาต่างๆ ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1. กำหนดนโยบายและบริหารราชการของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมาย 2. สั่ง อนุญาต อนุมัติ เกี่ยวกับราชการของกรุงเทพมหานคร 3. แต่งตั้งและถอดถอน รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่งตั้งและถอดถอนผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใดๆ 4. บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย 5. วางระเบียบเพื่อให้งานของกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร 6. อำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 และกฎหมายอื่นๆ ในส่วนของของสภากรุงเทพมหานคร เป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ มีหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบในการออกข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ และมีอำนาจตรวจสอบติดตามการบริหารของฝ่ายบริหาร ด้วยการตั้งกระทู้ถาม เสนอญัตติ เปิดอภิปรายทั่วไป และโดยเฉพาะการทำหน้าที่ผ่านคณะกรรมการสามัญประจำสภากรุงเทพมหานคร  ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้  

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยากได้ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่มีคุณสมบัติที่มีความซื่อสัตย์โปร่งใสมากที่สุด ร้อยละ 26.2 อันดับสองคือมีการปฏิบัติตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ ร้อยละ 16.5 อันดับสามคือมีความขยันทุ่มเทในการทำงาน ร้อยละ 16.2 อันดับสี่คือมีการปฏิบัติงานให้เห็นเป็นรูปธรรม ร้อยละ 13 และอันดับห้าคือมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ร้อยละ 10.2 

อยากได้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่มีคุณสมบัติที่มีความซื่อสัตย์โปร่งใสมากที่สุด ร้อยละ 29.6 อันดับสองคือมีความขยันทุ่มเทในการทำงาน ร้อยละ 20.1 อันดับสามคือมีการปฏิบัติงานให้เห็นเป็นรูปธรรม ร้อยละ 14.3 อันดับสี่คือมีการปฏิบัติตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ ร้อยละ 13.9 และอันดับห้าคือมีการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ร้อยละ 8.4

ในส่วนของนโยบายที่อยากให้ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ความสำคัญอันดับหนึ่งคือ ด้านการศึกษาและคุณภาพชีวิต ร้อยละ 27.4 อันดับสองคือด้านศิลปวัฒนธรรมและการพัฒนาเมือง ร้อยละ 15.9 อันดับสามคือด้านความสะอาดและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 14.7 อันดับสี่คือด้านเศรษฐกิจและการส่งเสริมอาชีพ ร้อยละ 14 และอันดับห้าคือด้านการจราจรและขนส่งมวลชน ร้อยละ 12.3 

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยากให้ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนมากที่สุด อันดับหนึ่งคือ ปัญหาการคอรัปชั่น ร้อยละ 33.3 อันดับสองคือ ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย ร้อยละ 12.8 อันดับสามคือ ปัญหาสถานบริการฝ่าฝืนกฎหมาย ร้อยละ 10.6 อันดับสี่คือ ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 10.1 และอันดับห้าคือ ปัญหาการจัดการน้ำเสีย ร้อยละ 9.7

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจในการเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร จากกลุ่มหรือพรรคการเมืองร้อยละ 35.2 รองลงมาคือตัวผู้สมัคร ร้อยละ 32.5 และนโยบายการพัฒนา กทม ร้อยละ 32.3    

คิดว่าการเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ควรมาจากกลุ่มหรือพรรคการเมืองเดียวกัน ร้อยละ 30.9 ไม่มาจากกลุ่มหรือพรรคการเมืองเดียวกัน ร้อยละ 30.1 และยังไม่แน่ใจว่าจะตัดสินใจอย่างไรมากที่สุด ร้อยละ 39.0

และคิดว่าบุคคลใดเหมาะสมกับการดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมากที่สุด อันดับที่หนึ่งคือ ยังไม่มีบุคคลที่เหมาะสม ร้อยละ 32.2 อันดับสองคือ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ร้อยละ 16.2 อันดับสามคือ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ร้อยละ 15.1 อันดับสี่คือ นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ และนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ร้อยละ 12.3 อันดับห้าคือ นางสาวรสนา โตสิตระกูล ร้อยละ 11.9
 

  • Printer-friendly version

ข่าวรอบวัน

สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ความคิดเห็นของผู้ที่อาศัยในกรุงเทพมหานครที่มีต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

พื้นที่ประชาสัมพันธ์

รู้หรือไม่! อำนาจหน้าที่ของ “ผู้ว่าฯ กทม.-ส.ก.” ต่างกันอย่างไร


เผยแพร่ 19 พ.ค. 2565, 15:03น.




รู้หรือไม่! อำนาจหน้าที่ของ “ผู้ว่าฯ กทม.-ส.ก.” ต่างกันอย่างไร เพื่อให้คนกรุงได้ใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ก่อนเข้าคูหาเลือกตั้งในวันที่ 22 พ.ค.นี้

ใกล้เข้ามาแล้ว ! วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้ เป็นวันเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ดังนั้นแล้ว เมื่อเลือกตั้งทั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. ทั้งสองกลุ่มนี้จะเข้าไปทำงานในส่วนใด และจะทำงานต่างกัน หรือเกื้อหนุนกันอย่างไร

ทีมข่าว PPTVHD36 ร่วมกับ คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ได้รวบรวมข้อมูลมา เพื่อให้คนกรุงได้ใช้ข้อมูลนี้ประกอบในการตัดสินใจเลือกผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ต่อไป ดังนี้

ปัญหาทางเท้ากับ ผู้ว่าฯกทม.คนต่อไปจะแก้ไขปัญหาได้หรือไม่

ประชันหมัดเด็ดโค้งสุดท้าย ศึกชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.

โควิดไทย 10 จังหวัดสูงสุด ยอดป่วยพุ่งเพิ่มขึ้นหลายแห่ง

ความคิดเห็นของผู้ที่อาศัยในกรุงเทพมหานครที่มีต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ผู้ว่าฯ กทม. มีอำนาจหน้าที่อะไรบ้าง?

ตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 โดย ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

  • กำหนดนโยบายและบริหารราชการเขตกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมาย
  • สั่งการ อนุญาต หรืออนุมัติเกี่ยวกับราชการของกรุงเทพมหานคร
  • แต่งตั้งหรือถอดถอนรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รวมไปถึง เลขานุการผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษาหรือคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการอื่น ๆ
  • บริหารงานตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
  • วางระเบียบเพื่อปรับปรุงงานของกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
  • เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
  • รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร
  • มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายอื่นได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรีหรือคณะเทศมนตรี แล้วแต่กรณีโดยอนุโลม ทั้งนี้เว้นแต่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครจะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
เปิด 10 ปัญหาของคนกรุง ที่ผู้ว่าฯคนใหม่ต้องเร่งแก้ไข

ปี 65 คนกรุงมีสิทธิ์เลือกตั้งกว่า 4 ล้านคน สถิติ 10 ครั้งย้อนหลังไม่ถึง 70%

สก. มีอำนาจหน้าที่อะไรบ้าง?

โดยสภากรุงเทพมหานคร มีกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจดังต่อไปนี้

  • เสนอและพิจารณาให้ความเห็นชอบในการตราข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
  • พิจารณาและให้ความเห็นชอบในร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ซึ่งเป็นการพิจารณางบประมาณทุกหน่วยงานของกรุงเทพมหานครที่ฝ่ายบริหารตั้งมาว่ามีเหตุผลเหมาะสมอย่างไร และจะเพิ่มหรือลดให้เป็นไปตามกระบวนการของการออกข้อบัญญัติ
  • ควบคุมการบริหารงานของฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย
  1. การตั้งกระทู้ถามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ถือได้ว่าเป็นมาตรการที่ใช้ในการควบคุมได้ทางหนึ่ง
  2. การเสนอญัตติ เพื่อให้กรุงเทพมหานครดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร หากที่ประชุมสภาเห็นชอบในญัตติของสมาชิกสภา จะส่งญัตติในเรื่องนั้น ๆ ให้ฝ่ายบริหารพิจารณาดำเนินการต่อไป
  3. การเปิดอภิปรายทั่วไป จะกระทำได้โดยสมาชิกสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เข้าชื่อเพื่อเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาอันเกี่ยวกับการบริหารราชการกรุงเทพมหานครได้
  4. การเป็นกรรมการสภา ซึ่งถือได้ว่าเป็นบทบาทอันสำคัญของสมาชิกที่จะควบคุมติดตามผลการบริหารงานของฝ่ายบริหารได้ เพราะคณะกรรมการของสภามีอำนาจกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครได้ แล้วรายงานต่อสภากรุงเทพมหานคร ถ้าสภากรุงเทพมหานครเห็นชอบกับรายงานของคณะกรรมการฯ ดังกล่าว ประธานสภาก็จะส่งเรื่องให้ฝ่ายบริหารพิจารณาดำเนินการตามมติของสภาต่อไป
  5. อำนาจในการพิจารณาให้ความเห็นชอบในกิจการที่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องขอความเห็นชอบจากสภา หรือต้องรายงานให้สภาทราบ
  • อำนาจในการอนุมัติ ประกอบด้วย
  1. การอนุมัติข้อกำหนดกรุงเทพมหานคร
  2. การอนุมัติให้ขยายเวลาในการพิจารณาของคณะกรรมการที่สภาแต่งตั้งออกไป ในกรณีที่ดำเนินการไม่แล้วเสร็จภายในกำหนด
  3. อำนาจในการวินิจฉัย
  4. ให้สมาชิกสภาภายนอก เพราะเห็นว่าได้กระทำการอันเป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่ง มติของสภาต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนของสมาชิกทั้งหมดของสภา
  5. ให้สมาชิกสภาลาประชุมในสมัยประชุมหนึ่งเกินกว่า 3 วัน ที่มีการประชุม
  6. กรณีมีปัญหาที่ต้องตีความข้อบังคับ ให้เป็นอำนาจของสภาที่จะวินิจฉัย
  • ร่วมกับฝ่ายบริหารในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน

ทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะมีอำนาจในการทำงานในหลากหลายเรื่อง แต่สุดท้ายก็ยังต้องผ่านฝ่ายของสภากรุงเทพมหานครอยู่ดี หากผู้ว่าฯ กทม. มีอำนาจมากจนเกินไป อาจทำให้การบริหารงานออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น เพราะฉะนั้นการมีสภากรุงเทพมหานครมาช่วยถ่วงดุลอำนาจหรือเสนอหาทางช่วยเหลือแก่ผู้ว่าฯ กทม.จึงเป็นผลดีกว่า

ใครที่เลือกผู้ว่าฯ กทม.ในใจแล้วนั้น การเลือก ส.ก.ที่มีคุณภาพก็เป็นส่วนหนึ่งของการช่วยพัฒนากรุงเทพมหานครด้วย ดังนั้น ก่อนออกไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงเลือกตั้ง อย่าลืมตรวจสอบรายชื่อการเลือกตั้งและเขตการเลือกตั้งของตัวเอง และที่สำคัญอย่าลืมพกบัตรประชาชนหรือสิ่งยืนยันตัวตนไปในวันเลือกตั้งด้วย

โปรแกรมถ่ายทอดสดซีเกมส์ 2021 นักกีฬาไทย ประจำวันพฤหัสบดีที่ 19 พ.ค. 65

สรุปเหรียญ ซีเกมส์ 2021 ล่าสุด ประจำวันจันทร์ที่ 23 พ.ค. 65

ไม่พลาดทุกเหตุการณ์ติดตามข่าวจาก PPTV ได้ที่ Subscribe