อาณาจักรโยนกเชียงแสน โบราณวัตถุ

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

ละติจูด 20.2261810135 , ลองจิจูด 100.016269954

พิกัด

ตำบลจันจว้า อำเภออำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ

ชุมชนโบราณ เมืองโบราณ อุทยานประวัติศาสตร์

ความสำคัญ/ลักษณะ

ตำนานสิงหนวัติ ได้กล่าวถึง อาณาจักรโยนกเชียงแสนว่า พระเจ้าสิงหนวัติ ได้อพยพผู้คนเดินทางลงมาจากทางตอนใต้ของ โดยได้ร่วมกับชนพื้นเมืองในการก่อตั้งอาณาจักรขึ้นมา และเรียกว่า นาคพันธุ์สิงหนวัตินคร ขึ้นในที่ซึ่งเป็นอำเภอเชียงแสนจังหวัดเชียงรายปัจจุบันนี้ มีเมืองเชียงแสนเป็นราชธานี หากวิเคราะห์ดูชื่ออาณาจักร จะปรากฏว่ามีนำชื่อของกลุ่มชนสองกลุ่มรวมกัน ได้แก่ กลุ่มชนชาติโยนกและ กลุ่มชนชาตินาค ต่อมากลายเป็นอาณาจักรใหญ่รอบคลุมดินแดนกว้างขวาง ทางทิศตะวันออกตั้งแต่แคว้นตังเกี๋ยของเวียดนามปัจจุบันไปจดแม่น้ำสาละวินเขตรัฐฉานในประเทศพม่าทางเหนือจากบริเวณเมืองหนองแส มณฑลยูนนานของจีนลงมาถึงที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน ถึงสมัย พระเจ้าพังคราช อาณาจักรโยนกเชียงแสนถูกขอมรุกรานจนต้องอพยพราษฎรไปสร้างเมืองใหม่ที่เวียงสีทอง ริมฝั่งแม่น้ำแม่สาย ต่อมา เจ้าชายพรหมกุมาร ราชโอรสขับไล่ขอมได้สำเร็จ จึงเชิญเสด็จพระเจ้าพังคราชกลับไปครองเชียงแสนตามเดิม ส่วนพระองค์ได้พาผู้คนไปสร้างเมืองไชยปราการทางใต้ของเชียงแสน เพื่อให้เป็นเมืองหน้าด่านป้องกันขอมกับมาขึ้นไปรุกราน

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม

-

แก้ไขเมื่อ

2020-12-03

           
ารแต่งกายไทยตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี

        สมัยเชียงแสน (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18 – 24) 

เชียงแสนปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย ปัจจุบันนักวิชาการนิยมเรียกรัฐ เชียงแสนว่า รัฐล้านนา ซึ่งมีอารยธรรมและวัฒนธรรมเป็นแบบหนึ่งโดยเฉพาะ (คณะอนุกรรมการ แต่งกายไทย, 2543: 91) เชียงแสนมีดินแดนต่อกับดินแดนทางภาคเหนือของอาณาจักรสุโขทัยชาวเชียงแสนมีความเจริญทางด้านศิลปวัฒนธรรมและวิทยาการต่างๆ โดยได้รับอิทธิพลทางศิลป จากอินเดียสมัยราชวงศ์ปาละ ผ่านทางมาทางประเทศพม่า และได้พัฒนาให้มีลักษณะของตัวเอง จนกลายเป็นรูปแบบของศิลปไทยแท้ในยุคแรก  มีหลักฐานกล่าวถึงผ้าหลายชนิดทั้งที่ทอขึ้น เป็น ของตัวเองและทอขึ้น เพื่อเป็นสินค้าขายให้แก่อาณาจักรใกล้เคียง เช่นผ้าสีจันทร์ขาว ผ้าสีจันทร์ แดง ผ้าสีดอกจำปา แสดงว่ามีการย้อมสีจากธรรมชาติ (โอม รัชเวทย์, 2543: 40) ทางด้านการ แต่งกายจึงเป็นการแต่งกายเป็นการผสมผสานระหว่าง พม่า และขอมลักษณะการแต่งกาย โดยทั่วไปมีดังนี้ 

ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง 
- ผม ผมทรงสูง เกล้าผมไว้ตรงกลาง 
- เครื่องประดับ สวมเครื่องประดับศีรษะ มีรัดเกล้า สวมสร้อยสังวาล รัดแขน กำไลมือ กำไลเท้า ใสตุ้มหู 
- เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าถุงยาวแบบต่ำที่ระดับใต้สะดือ มีผ้าคาดทิ้งชายยาว ปล่อยชาย พกห้อยออกมาที่ด้านหน้าเป็นแฉก ไม่สวมเสื้อ มีสไบแพรบางสำหรับรัดอกให้กระชับขณะทำงาน 

ลักษณะการแต่งกายของผู้ชาย 
- ผม ไว้ผมทรงสูง สวมเครื่องประดับศีรษะ 


- เครื่องประดับ สวมกรองคอ สร้อยสังวาล กำไลมือ และกำไลเท้า 
- เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าสองชาย จับจีบลงมาเกือบถึงข้อเท้า ด้านหน้าซ้อนผ้าหลายชั้น รัดชายออกเป็นปลีทางด้านข้างคล้ายชายไหวชายแครง มีผ้าข้าวม้าเคียนเอว หรือพาดบ่า อากาศ หนาว จะสวมเสื้อแขนยาว


การฟ้อนเชียงแสนหรือระบำเชียงแสน

ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=fGqH3rHBf3A

        ระบำ เชียงแสน เป็นระบำชุดที่ ๔ ประดิษฐ์ขึ้นตามแบบศิลปะ และโบราณวัตถุสถานเชียงแสน นักโบราณคดีกำหนดสมัยเชียงแสน  อยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ๒๕  ซึ่งได้เผยแพร่ไปทั่วดินแดนภาคเหนือของประเทศไทย  ในสมัยโบราณเรียกว่าอาณาจักรลานนา  ต่อมามีนครเชียงใหม่เป็นนครหลวงของอาณาจักร และเป็นศูนย์กลางแห่งการศึกษาพระพุทธศาสนาฝ่ายหินยานอันเจริญรุ่งเรือง จนถึงมีพระเถระไทยผู้เป็นนักปราชญ์สามารถ

แต่งตำนาน และคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นภาษาบาลีขึ้นไว้หลายคัมภีร์ อาทิ คัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ และมังคลัตถทีปนี เป็นต้น ศิลปะแบบเชียงแสนได้แพร่หลายลงมาตามลุ่มแม่น้ำโขงเข้าไปในพระราชอาณาจักรลาว สมัยที่เรียกว่าลานช้าง หรือกรุงศรีสัตนาคนหุต แล้วแพร่หลายเข้าในประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนด้วยเช่น พระพุทธรูปบางชนิดที่นักโบราณคดีบางท่านบัญญัติเรียกว่า พระพุทธรูปเชียงแสนแบบลาว หรือพระลาวพุงขาว  ด้วยเหตุนี้ระบำเชียงแสน จึงมีลีลาท่ารำ และกระบวนเพลงแบบสำเนียงไทยภาคเหนือ ลาว และแบบไทยภาตะวันออกเฉียงเหนือปนอยู่ด้วย

ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง

        ใช้วงพื้นเมืองภาคเหนือ เครื่องดนตรีประกอบด้วย ปี่จุ่ม แคน สะล้อ ซึง ตะโพน ฉิ่ง ฉาบใหญ่ และฆ้องหุ่ย

เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ เพลงเชียงแสน (เที่ยวช้า และเที่ยวเร็ว)

เครื่องแต่งกาย

        เครื่องแต่งกายของระบำเชียงแสน ประกอบด้วย

        ๑. เสื้อรัดอกสีเนื้อ 

        ๒. เสื้อลูกไม้สีเหลือง ติดริมด้วยแถบผ้าตาดสีทอง 

        ๓. ซิ่นเชิงแบบป้ายข้างแถวหนึ่งสีแดง อีกแถวหนึ่งสีตอง

        ๔. เครื่องประดับประกอบด้วยเข็มขัดมีเชือกห้อยทิ้งชายพู่ลงมาด้านหน้าทั้งสองข้าง สร้อยคอ ต่างหู กำไลข้อมือ และกำไลข้อเท้า 

        ๕. แต่งทรงผมตั้งกระบังหน้าประดับขดโลหะสีเงิน เกล้าผมมวย ไว้ด้านหลัง ติดดอกกล้วยไม้ข้างหูซ้าย

อาณาจักรโยนกเชียงแสน โบราณวัตถุ
อาณาจักรโยนกเชียงแสน โบราณวัตถุ

ที่มา:http://www.thaigoodview.com

อาณาจักรโยนกเชียงแสน โบราณวัตถุ
ที่มา:http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/695/14695/blog_entry1/blog/2008-10-03/comment/328195_images/22_1223230228.gif

ศิลปะเชียงแสนหรือล้านนาไทย

        ศิลปะเชียงแสนมีความเกี่ยวพันกับศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท เมื่อเราย้อนไปดูศิลปะขอมหรือลพบุรีได้อิทธิพลด้านรูปแบบจากขอมในเขมรเพราะเชื้อชาติ ภูมิศาสตร์และการปกครองซึ่งอยู่ใกล้ชิดกัน ในทำนองเดียวกันศิลปะล้านนาหรือที่เดิมเรียกว่าเชียงแสน เป็นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะพม่า สมัยราชธานีพุกามค่อนข้างมากด้วยเหตุผลด้านภูมิศาสตร์และการเมืองการปกครองเช่นกัน เดิมเรามักเรียกศิลปะยุคนี้ว่าเชียงแสนด้วยเข้าใจว่าเมืองเชียงแสนมีความเก่าแก่ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ และมีความสำคัญว่าเป็นเมืองหลักแต่ภายหลังพบว่าความสำคัญไม่เก่ากว่าก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙และเมืองอื่นๆที่อยู่ใกล้เคียงก็มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ไม่ยิ่งหย่อนกว่าเชียงแสนการเรียกว่าศิลปะล้านนาจึงจะครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่า อย่างไรก็ตามกับพระพุทธรูปก็ยังนิยมเรียกว่าพระเชียงแสนอยู่ดี


             ปฏิมากรรม

     สำหรับพระพุทธรูปในลัทธิเถรวาทแบบเชียงแสน ซึ่งส่วนมากพบทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้แยกไว้เป็น ๒ รุ่น คือ

         รุ่นแรกเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะคล้ายกับพระพุทธรูปแบบปาละของอินเดียผ่านมาทางพุกามของพม่า คุ้นเคยกันดีในหมู่คนเล่นพระว่า สิงห์หนึ่งคือมีลักษณะพระรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูมหรือลูกแก้ว ขมวดพระเกศาใหญ่ พระพักตร์กลม อมยิ้ม พระหนุ (คาง) เป็นปม พระองค์อวบอ้วน พระอุระนูน ชายจีวรเหนือพระอังสาซ้ายสั้นเหนือพระถันปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ ชอบทำปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร แลเห็นฝ่าพระบาททั้งสองข้าง ฐานมีกลีบบัวคว่ำบัวหงายและเกสรบัวประกอบหล่อด้วยสัมฤทธิ์ (รูปที่ ๑) และเชื่อกันว่าเป็นวัตถุที่ทำขึ้นตั้งแต่ครั้งชนชาติไทยแรกลงมาตั้งเป็นอิสระขึ้นทางภาคเหนือของประเทศไทยตั้งแต่ราว พุทธศตวรรษที่ 17 ลงมาแต่บางท่านก็ว่าไม่เก่ากว่าปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ประติมากรรมแบบนี้ที่งดงามมากบางชิ้นพบที่เมืองเชียงแสน และในสมัยนั้นเมืองเชียงแสนอาจเป็นเมืองสำคัญ จึงได้ตั้งชื่อศิลปะแบบนี้ว่าศิลปะเชียงแสน


        สำหรับพระพุทธรูปแบบเชียงแสนรุ่นที่ ๒ หรือ สิงห์สองนั้น เป็นแบบที่มีอิทธิพลของศิลปะสุโขทัยเข้ามาปนแล้ว(ศิลปะสุโขทัยพุทธสตวรรษที่ ๑๙-๒๐) และคงมีอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ หรือ ๒๑ ลงมา มีลักษณะสำคัญคือพระรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูมที่สูงขึ้น หรือส่วนใหญ่เป็นรูปเปลวไฟ ขมวดพระเกศาเล็ก พระพักตร์มักเป็นรูปไข่ ขนงโก่ง โอษฐ์ยิ้ม แต่บางครั้งก็ยังคงกลมอยู่ วรกายเพรียวบาง อังสาใหญ่ บั้นองค์เล็ก ตักกว้าง แต่ชายจีวรเล็กแคบยาวลงมาถึงพระนาภี ชอบทำประทับนั่งขัดสมาธิราบแลเห็นฝ่าพระบาทแต่เพียงข้างเดียว ฐานบางครั้งก็เรียบไม่มีลวดลายประกอบ (รูปที่ ๒)
ในศิลปะแบบเชียงแสนรุ่นหลังหรือเชียงใหม่ มีพระพุทธรูปทรงเครื่องอยู่บ้างเหมือนกัน เห็นจะหมายความว่าเป็นพระอนาคตพุทธเจ้าหรือพระพุทธองค์ปางทรงทรมานพระยามหาชมภู (รูปที่ ๓) สันนิษฐานว่าสร้างปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ลงมา พระพุทธรูปทรงเครื่องมักให้ความสำคัญกับการประดับตกแต่งฐานซึ่งค่อนข้างสูงเนื่องจากนอกจากจะมีฐานบัวคว่ำบัวหงายแล้วยังมีฐานรองรับอยู่อีกชั้น ซึ่งเจาะเป็นช่องและน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับศิลปะแบบจีน ในสมัยนี้นิยมสร้างพระพุทธรูปด้วยแก้วและหินสีต่างๆ พระแก้วมรกตก็อาจเป็นพระพุทธรูปที่สลักขึ้นทางภาคเหนือของประเทศไทยในระยะนี้เช่นเดียวกัน แต่บางท่านก็ว่าเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในเกาะลังกาหรือประเทศอินเดียภาคใต้ ตามตำนานที่น่าเชื่อถือได้กล่าวว่าได้ค้นพบ พระแก้วมรกตองค์นี้ในพระเจดีย์ที่เมืองเชียงราย เมื่อราว พ.ศ. ๑๙๗๙ และต่อมาได้ตกไปอยู่เมืองลำปาง เมืองเชียงใหม่ และประเทศลาวตามลำดับ จนกระทั่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขณะทรงพระยศเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกในสมัยกรุงธนบุรีเสด็จยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ได้ใน พ.ศ. ๒๓๒๑ จึงได้ทรงนำกลับมายังประเทศไทย พระพุทธรูปแบบเชียงแสนรุ่นหลังได้แพร่หลายออกไปจนถึงเมืองหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์ ตลอดจนถึงเมืองเชียงรุ้ง เชียงตุง แต่ฝีมือสู้แบบเชียงแสนในไทยไม่ได้ พระพิมพ์แบบเชียงแสนก็มีเหมือนกัน ส่วนมากหล่อด้วยโลหะ ประติมากรรมรูปเทวดา หรือรูปบุคคล (รูปที่ ๔) ก็มีอยู่เช่นเดียวกันแต่เป็นจำนวนน้อย



           สถาปัตยกรรม

        อาคารหลังคาคลุมเช่นโบสถ์วิหาร มักได้รับการบูรณะเปลี่ยนแปลงหรือสร้างขึ้นใหม่เรื่อยมาจนคาดเดาเค้าเดิมได้ลำบากดังนั้นการศึกษาจึงน่าจะอยู่ที่การศึกษาเรื่องเจดีย์มากกว่า เจดีย์ล้านนาแบ่งออกได้เป็น 2 สายใหญ่ๆคือสายเจดีย์ทรงปราสาทและสายเจดีย์ทรงระฆัง
สำหรับสถาปัตยกรรมในศิลปะเชียงแสนหรือล้านนานั้น ส่วนมากที่ยังเหลืออยู่ให้เห็นได้เป็นฝีมือในสมัยเชียงแสนรุ่นหลัง คือตั้งแต่ครั้งสมัยพ่อขุนมังรายสร้างนครเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๑๘๔๐ ลงมาทั้งนั้น 
สายเจดีย์ทรงปราสาท เจดีย์ทรงปราสาทแบบล้านนาวิวัฒนาการเริ่มราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ และนิยมเรื่อยมาจนกระทั่งอาณาจักรล้านนาเสื่อมอำนาจราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ เป็นงานที่สืบทอดมาจากสมัยหริภุญชัย(หริภุญชัยราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘ ซึ่งได้รับอิทธิพลทวาราวดี) ได้แก่เจดีย์ทรงปราสาทในผังสี่เหลี่ยม เช่น พระเจดีย์สี่เหลี่ยม จ.เชียงใหม่ (รูปที่ ๕) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าได้รับอิทธิพลมาจากเจดีย์แบบทวารวดีที่วัดกู่กุฏหรือจามเทวี เมืองลำพูน (รูปที่ ๖) เจดีย์อีกกลุ่มเป็นทรงปราสาทยอดหรือปราสาท 5 ยอดได้รับอิทธิพลจากพุกาม เช่นเจดีย์วัดป่าสัก เมืองเชียงแสนแต่ในสมัยหลังๆได้เปลี่ยนเป็นยอดเดียว สำหรับพระเจดีย์ทรงระฆังมีที่มาจากลังกา ในล้านนารับมา 2 ทางคือจากพุกามและจากสุโขทัยแต่ส่วนใหญ่จะเป็นแบบที่ได้รับอิทธิพลมาจากสุโขทัย ส่วนมากองค์พระเจดีย์เป็นทรงกลมแบบลังกา แต่มีฐานสูงย่อมุม พระเจดีย์แบบนี้มีอยู่หลายแห่งทางภาคเหนือของประเทศไทย เป็นต้นว่า พระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง (รูปที่ ๗) พระธาตุหริภุญไชย จ.ลำพูน (รูปที่ ๘) เป็นต้น รูปแบบเจดีย์แบบนี้ได้รับความนิยมราวต้นพุทธศตวรรษที่ 20 และได้สืบทอดเรื่อยมาจนถึงราวปลายพุทธศตวรรษที่ 21 แต่ก็มีบางส่วนที่มีวิวัฒนาการด้านรูปแบบแตกต่างออกไป เช่น นิยมองค์ระฆังและบัลลังก์เหลี่ยมแปดเหลี่ยม สิบเหลี่ยม สิบสองเหลี่ยม เช่นกลุ่มเจดีย์พระธาตุดอยสุเทพ เป็นต้น

ในบรรดาสถาปัตยกรรมแบบเชียงแสนหรือล้านนามีที่แปลกอยู่แห่งหนึ่ง คือวัดเจ็ดยอดหรือโพธาราม ณ จังหวัดเชียงใหม่ (รูปที่ ๙) เป็นสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบมหาวิหารโพธิ์ที่พุทธคยาในประเทศอินเดีย มีผู้พยายามอธิบายว่าได้สร้างขึ้นในรัชกาลของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. ๑๙๘๕-๒๐๓๑) เพื่อฉลองพระพุทธศาสนาครบ ๒,๐๐๐ ปี ดังกล่าวมาแล้ว สำหรับโบสถ์วิหารในศิลปะแบบเชียงแสนที่ยังคงอยู่ในปัจจุบันนี้ส่วนมากเป็นสมัยหลัง และเนื่องจากดินแดนทางภาคเหนือของประเทศไทยถูกพม่าเข้าครอบครองระหว่างต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ลงมาจนถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ บรรดาโบสถ์วิหารจึงมีอิทธิพลของศิลปะพม่าเข้าไปปนอยู่


ประเพณีประจำปีของเชียงแสน

งานประเพณีสงกรานต์และแข่งเรือเมืองเชียงแสน

อาณาจักรโยนกเชียงแสน โบราณวัตถุ
ที่มา:http://student.nu.ac.th

         วันที่จัดงาน: 13 – 18 เมษายน ของทุกปีสถานที่จัดงาน: อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
วันปีใหม่ไทยเป็นประเพณีดั้งเดิมที่สืบเนื่องกันมาอย่ายาวนาน อำเภอเชียงแสนมีการจัดกิจกรรมปีใหม่ 4 ชาติ (ไทย ลาว จีน และพม่า)ภายในงานมีการแข่งเรือ 3 ชาติ (ไทย ลาว-พม่า) ชมการละเล่นพื้นเมืองและมหรสพมากมาย รวมถึงการประกวดธิดาสามเหลี่ยมทองคำ ขวบพาเหรดได้ถูกจัดอย่างสวยงามพร้อมกับที่ประชาชนได้สรงน้ำพระพุทธรูปพระเจ้าลานทอง นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมแข่งเรือและการแสดงพื้นบ้าน เมืองเชียงแสนถือเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศารสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอณาล้านนาจักรโบราณ ประเพณีสงกรานต์ได้จัดอย่างยิ่งใหญ่ในทุกวันที่ 13-18 เมษายนของทุกปี ซึ่งถือเป็นการสืบสานประเภทเพณีอันดีงามของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ลาวและจีนไว้อย่างเป็นเอกลักษณ์ เชียงแสนเป็นอำเภอหนึ่งที่อยู่ในจังหวัดเชียงราย อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายไปทางตอนใต้ระยะทางประมาณ 65 กิโลเมตร มีโรงแรมและรีสอร์ทตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำโขงและเมืองโบราณมีทิวทัศน์ที่สวยงามโดยเฉพาะยามเช้าที่ดวงอาทิตย์ขึ้นท่ามกลางสายหมอก ปัจจุบันพื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาและมีชื่อเสียงคือ สามเหลี่ยมทองคำ เป็นพรมแดนรอยระหว่างสามประเทศได้แก่ อำเภอเชียงแสน ประเทศไทย, แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาวและทาขี้เหล็ก ประเทศพม่า เป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญเนื่องจากเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าไปยังประเทศจีนและลาว วัดศูนย์กลางของเมืองเชียงแสน เป็นศาสนสถานที่สำคัญสำหรับชาวพุทธเพื่อนมัสการพระพุทธรูปศักสิทธ์เป็นที่เคารพชองชุมชน ในวันปีใหม่ของทุกปี ชาวบ้านจะนำพระพุทธรูปออกจากบ้านมาเพื่อสรงน้ำพระในวัด ในตอนเย็น มีการปิดถนนสายหลักของเมืองเพื่อทำการตั้งร้านค้าขายจำนวนมากให้ผู้คนและนักท่องเที่ยวสามารถเดินชม เลือกของสวยงาม สองข้างทางเต็มไปด้วยสินค้าที่วางขายเช่น ของพื้นเมือง งานหัตถกรรมและเทศการอาหาร ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเพลิดเพลินกับอาหารมื้อค้ำในแบบล้านนานที่เรียกกันว่าขันโตกและชมความบันเทิงพื้นบ้าน การละเล่นต่างๆมากมาย


ประเพณีการลอยกระทง


        ภายในงานจะมีมหรสพ ดนตรี การละเล่นพื้นบ้าน การจำหน่ายสินค้าโอทอป มีการประกวดนางนพมาศ การประกวดกระทง การประกวดโคมลอยหรือว่าวไฟ การประกวดโคมแขวน  การแข่งขันชกมวยไทย และมีการขายและเล่นประทัดตลอดทั้งงานและที่ขาดไม่ได้เลยก็คือวันเปิดงานจะมีการแห่ขบวนกระทงทั้งเล็กและใหญ่ที่ตกแต่งอย่างสวยงาม คนที่มาร่วมเดินขบวนก็จะแต่งกายแบบย้อนยุคหรือแบบล้านนามาร่วมเดินขบวน ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดเมืองเชียงแสนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม ไหว้พระ ชมเมืองโบราณ ลอยกระทงในแม่น้ำโขง และการปล่อยโคมลอยทั้งมดนี้จะทำให้ได้สัมผัสกับอากาศหนาวๆ บรรยากาศดีๆที่ผืนน้ำเต็มไปด้วยแสงไปจากกระทงท้องฟ้าเต็มไปด้วยแสงไปอันสว่างจากโคมลอย

อาณาจักรโยนกเชียงแสน โบราณวัตถุ
ที่มาhttp://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/03Newyear/Bee_12.gif



อ้างอิง     http://facstaff.swu.ac.th