ปัจจัยข้อหนึ่งที่สนับสนุนว่า

ความหมายของผู้ประกอบการ
  ผู้ประกอบการ หมายถึง เจ้าของกิจการ หรือผู้ที่คิดริเริ่มจัดตั้งธุรกิจขึ้นมาเป็นของตนเอง มีการวางแผนการดำเนินงาน และดำเนินธุรกิจทุกด้านด้วยตนเอง โดยมองเห็นโอกาสทางธุรกิจและยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพื่อมุ่งหวังผลกำไรที่เกิดจากผลการดำเนินงานของธุรกิจตนเอง
  ดังนั้นผู้ดำเนินการผลิตจึงเรียกว่าผู้ประกอบการ เพราะทำหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจว่าจะผลิตอะไรและผลิตเพื่อใคร โดยจะรวบรวมปัจจัยการผลิต ดังนี้
  1. ที่ดิน ได้แก่ ที่ดินรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ
  2. แรงงาน เป็นทรัพยากรมนุษย์
 3. ทุน คือเครื่องจักรเครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ร่วมกับปัจจัยการผลิตอื่นๆในการผลิตสินค้าและบริการ

คุณลักษณะพื้นฐานของผู้ประกอบการ
  คุณลักษณะพื้นฐานของผู้ประกอบการ มีดังนี้
 1. เน้นการใช้นวัตกรรม  เป็นการนำเอาแนวความคิดใหม่หรือการนำประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แต่เดิมมาใช้ในรูปแบบใหม่
 2. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นการคิดประดิษฐ์ค้นสิ่งใหม่ๆ
 3. เน้นการพัฒนาทักษะ ความชำนาญ เป็นการมุ่งเน้นประสิทธิภาพของผู้ประกอบการ
 4. มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ เพื่อตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ

แนวทางในการเป็นผู้ประกอบการ
 การเป็นผู้ประกอบการในกิจการใดกิจการหนึ่ง เป็นสิ่งที่ทุกคนมองว่าเป็นเรื่องยากต่อการเริ่มต้นเพราะไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นจากตรงจุดใดก่อน แล้วทำอย่างไรต่อไป จึงทำให้กิจการของตนเองประสบความสำเร็จได้ในที่สุด ดังนั้น แนวทางเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการ จึงควรเริ่มจากการหาข้อมูล ดังนี้
  1. รู้จักตน   
  2. รู้ข้อมูลของลูกค้า
  3. รู้ข้อมูลของคู่แข่งขัน  
  4. รู้นโยบายส่งเสริมจากภาครัฐบาล
  5. วางแผนการเงินในระยะยาว  
  6. การทำบัญชี
  7. การบริการที่มีประสิทธิภาพ  
  8. ขายสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพ
  9. จ้างบุคลากรที่เหมาะสม  
 10. เลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมกับสินค้าหรือบริการ

การวิเคราะห์การเป็นผู้ประกอบการ

 ผู้ที่จะเป็นผู้ประกอบการได้นั้น ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการควรจะต้องทำการศึกษาด้านต่างๆ ดังนี้

 1. ศึกษาตนเอง เพื่อให้รู้จักตนเองว่ามีความพร้อมที่จะก้าวไปสู่ธุรกิจโดยมุ่งหวังการมีกำไร และสามารถที่จะดำเนินการไปได้ตลาดไปหรือไม่
  2. ศึกษาธุรกิจที่จะดำเนินการ เพื่อพิจารณาหาความเป็นไปได้ว่าจะดำเนินธุรกิจนั้นได้ตลอดไปหรือไม่ การแสวงหาโอกาสของธุรกิจ เป็นต้น
  3. การจัดทำแผนธุรกิจ การจัดทำแผนธุรกิจสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ เปรียบเสมือนการจำลองสถานการณ์ของผู้ประกอบการ

การวิเคราะห์ตนเองเพื่อเป็นผู้ประกอบการ
  การวิเคราะห์เพื่อกำหนดแนวคิดและวางแผน โดยใช้กลยุทธ์ในการวิเคราะห์ที่เรียกว่า SWOT Analysis หรือกลยุทธ์การประเมินสถานการณ์แวดล้อม ดังนี้
- Strengths คือ จุดแข็ง หมายถึง ตนเองมีจุดแข็งหรือส่วนดีด้านใดบ้าง มีความรู้ ความสามารถทางด้านใด
- Weaknesses คือ จุดอ่อน ตนเองมีจุดด้อยด้านใด สิ่งใดที่ไม่ถนัด ไม่ชอบหรือทำไม่ได้ควรพยายามหาทางแก้ไขปรับปรุง
- Opportunities คือ โอกาส ซึ่งเป็นปัจจัยของสภาพแวดล้อมภายนอก ที่เอื้ออำนวยให้การทำงานนั้นเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้
- Threats คือ อุปสรรค เป็นปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมาย ซึ่งอาจทำให้ตนเองไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้

แนวทางการหารายได้จากการเป็นผู้ประกอบการ
 การหารายได้จากการเป็นผู้ประกอบการจะทำให้ทราบและเข้าใจถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจเพื่อจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานในลักษณะต่างๆ ดังนี้
  1. ประเภทของกิจการ สามารถแบ่งได้ดังนี้
    1.1 กิจการเจ้าของคนเดียว  1.2 ห้างหุ้นส่วน
    1.3 บริษัทจำกัด
  2. แหล่งการเงินของผู้ประกอบการ ได้แก่
    2.1 ธนาคารพาณิชย์ 
    2.2 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
    2.3 การร่วมลงทุน
    2.4 นอกจากนี้ยังมีองค์กรภาครัฐอีกมากที่จะให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและด้านวิชาการแก่ผู้ประกอบการ

3. คุณสมบัติของผู้ประกอบการ ประกอบด้วย
    3.1 มีความมุ่งมั่นที่จะประสบการณ์ความสำเร็จ
    3.2 มีความมั่นใจในตนเอง
    3.3 มีแนวคิดเกี่ยวกับธุรกิจของตนเองชัดเจน
    3.4 มีแผนงานที่เป็นระบบ
    3.5 มีความสามารถบริหารการเงิน
    3.6 มีความสามารถทางการตลาด
    3.7 มีความสามารถในการแข่งขันได้
    3.8 มีแหล่งสนับสนุนที่ดี
    3.9 มีทักษะประสานงาน
    3.10 มีการจัดองค์กรที่เหมาะสม

4. การเริ่มต้นธุรกิจ มีดังนี้
    4.1 เลือกธุรกิจ
    4.2 จัดสรรบทบาท
    4.3 วางแผนการดำเนินการ
    4.4 การวางแผนธุรกิจ
  5. ต้นทุนการผลิต ประกอบด้วย
    5.1 ที่ดิน
    5.2 แรงงาน
    5.3 เงินทุน
    5.4 ความรู้ความชำนาญของผู้ประกอบธุรกิจ

6. ส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่
    6.1 สินค้า  
    6.2 ราคา
    6.3 สถานที่จำหน่าย  
    6.4 การส่งเสริมการตลาด
7. กำไรและการเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต
    กำไร คือ ผลต่างระหว่างรายได้ทั้งหมดที่ได้จากการขายสินค้ากับค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตสินค้า (รายได้-ค่าใช้จ่าย=กำไร)
หน้าที่ของผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจ
 ผู้ประกอบการควรมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องต่อไปนี้
  1. การผลิต เป็นกิจกรรมในการแปรรูปวัตถุดิบให้เป็นสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทำให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจในการบริโภค จึงจะทำให้ได้สินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพดีมีต้นทุนที่เหมาะสมซึ่งผู้ประกอบการต้องพิจารณาปัจจัยดังนี้

1.1 การเลือกทำเลที่ตั้ง  
1.2 การวางแผนผังโรงงาน
1.3 การออกแบบสินค้า  
1.4 การกำหนดตารางเวลาการผลิต
1.5 การตรวจสอบสินค้า
  2. การจัดหาเงินทุน ผู้ประกอบการต้องบริหารเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการจัดสรรเงินทุนในการดำเนินงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการจัดหาเงินทุนมาใช้ในการประกอบธุรกิจซึ่งมีแหล่งเงินทุน 2 แหล่ง ดังนี้
 2.1 แหล่งเงินทุนภายใน
 2.2 แหล่งเงินทุนภายนอก

   3. การจัดหาทรัพยากรบุคคล เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบการจะต้องจัดหาบุคคลที่มีคุณภาพ และเหมาะสมกับตำแหน่งงาน โดยใช้หลักการ ดังนี้
 3.1 การวางแผนกำลังคน ด้านจำนวน คุณภาพและหน้าที่ความรับผิดชอบ
 3.2 การสรรหากำลังคน
 3.3 การคัดเลือกและการบรรจุ
 3.4 การประเมินผลการปฏิบัติงาน
  4. การบริหารการตลาด เป็นกระบวนการที่ทำให้สินค้าหรือบริการถึงมือผู้บริโภค เพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้บริโภค