คุณธรรมจริยธรรมในการทํางาน ppt

งานนำเสนอเรื่อง: "คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ ความเป็นครู"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ ความเป็นครู
การเสริมสร้างจิตสำนึก คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ ความเป็นครู รองศาสตราจารย์บรรพต พรประเสิฐ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สำนักวิชาศึกษาทั่วไป

2 คำว่า “ครู” มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต “คุรุ” และภาษาบาลี “ครุ,คุรุ”
ครู คือบุคคลที่มีหน้าที่ หรือมีอาชีพในการสอนนักเรียน เกี่ยวกับวิชาความรู้ หลักการคิดการอ่าน รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน โดยวิธีในการสอนจะแตกต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถ และเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคน คำว่า “ครู” มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต “คุรุ” และภาษาบาลี “ครุ,คุรุ”

3 ความเป็นครู T E A C H E R ครู ผู้นำในการเรียนรู้
ครู ผู้นำในการเรียนรู้ การสอน กระบวนการในการเรียนรู้ การเรียนรู้ ผลของกระบวนการในการเรียนรู้

4 จิตสำนึกความเป็นครู คืออะไร ?

5 จิตสำนึก จิตสำนึก (Conscientiousness) หรือ ความตระหนัก (Awareness) หมายถึง การตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นและตัดสินใจเลือกสนองตอบต่อสิ่งนั้นในทางที่ถูกต้อง ตามกฎระเบียบ กฎหมาย กฎระเบียบของสังคม จารีต ประเพณี

6 จิตสำนึก : ภาวะที่จิตตื่นและรู้ตัว สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้า จากประสาทสัมผัสทั้งห้า
ครู : ผู้สั่งสอนศิษย์

7 จิตสำนึกความเป็นครู (T E A C H E R Awareness) หมายถึง การที่ผู้ปฏิบัติงานมีการรับรู้ถึงผลกระทบที่ได้จากการปฏิบัติงาน หรือมีสติรู้ว่าขณะปฏิบัติงานนั้น ต้องให้ความสำคัญกับการสอน อยู่ตลอดเวลาเพื่อเป็นผู้นำในการเรียนรู้ กระบวนการในการเรียนรู้ ที่ได้ผลของกระบวนการในการเรียนรู้มีคุณภาพ หรือได้มาตรฐานผู้เรียนตรงตามที่กำหนดเอาไว้

8 ความมุ่งหมาย และแนวทางในการจัดการศึกษา
มาตรา ๖ “การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทย ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้ง ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข” สาระสำคัญในส่วนนี้ คือ พัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่เพียบพร้อมด้วย ความรู้ ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข สรุปได้ ๓ คำ คือ เก่ง ดี มีสุข

9 ความมุ่งหมาย และแนวทาง....
มาตรา ๒๒ “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ และถือว่ามีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษา ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มศักยภาพ” สาระสำคัญของมาตรานี้ จึงเป็นที่มาของการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หรือเป็นศูนย์กลาง แต่เนื่องจากขาดความเข้าใจตรงกัน จะต้องยึดหลักความจำเป็น ความถนัด ความสนใจ และความต้องการของนักเรียนที่เหมาะสมกับวัย และระดับการเรียนรู้เป็นหลักในการดำเนินการ

10 ความหมายของความสุข ความสุข หมายถึง ความสบาย ความพอใจ ทั้งทางกาย และใจ ส่วนความทุกข์เป็นสิ่งตรงกันข้าม แต่ทั้งสองอย่างเป็นเรื่องของความรู้สึกของคน เป็นของคู่กัน ขณะที่มีความสุข จะไม่มีความทุกข์ และขณะที่มีความทุกข์ ก็จะไม่มีความสุข ในทางพระพุทธศาสนา ไม่ค่อยจะพูดถึงความสุขมากนัก เพราะสาเหตุแห่งพระพุทธองค์ที่เสด็จออกบรรพชา เพราะสาเหตุแห่งทุกข์ ดังนั้นกิจของพระพุทธศาสนา จึงเป็นไปเพราะต้องการดับทุกข์ ในทางพระพุทธศาสนา ผู้ที่พ้นทุกข์ คือพบความสุข

11 คนดี คนเก่ง และคนที่มีความสุข
คนดี คือคนที่ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีจิตใจที่ดีงาม มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้งด้านจิตใจ และพฤติกรรมที่แสดงออก เช่นมีวินัย ความเอื้อเฟื้อเกื้อกูล มีเหตุผล รู้หน้าที่ ซื่อสัตย์ พากเพียร ประหยัด มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย เคารพความคิดเห็น และสิทธิของผู้อื่น มีความเสียสละ รักษาสิ่งแวดล้อม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติสุข คนเก่ง คือ คนที่มีสมรรถภาพสูงในการดำเนินชีวิต มีความสามารถด้านใดด้านหนึ่ง หรือรอบด้าน หรือมีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน เช่น ทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อทำประโยชน์ให้กับตนเอง สังคม และประเทศชาติ คนมีความสุข คือคนที่มีสุขภาพดีทั้งทางกาย และจิตใจ ไม่ตกเป็นทาสอบายมุข และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างพอเพียงแก่อัตภาพ

12 ความสุขของผู้เรียน ความสุขที่เกิดในระหว่างเรียน
ความสุขที่เกิดขึ้นจากการได้เรียนอย่างพึงพอใจ ความสุขจากวิธีการสอน เรียนจากง่ายไปหายาก ใช้กิจกรรมที่หลากหลาย ใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ส่งเสริมกระบวนการคิด ลงมือปฏิบัติ สอนให้สนุกสนาน ใช้สื่อประกอบการเรียนการสอน ความสุขจากการจัดสิ่งแวดล้อม บรรยากาศในโรงเรียน ความพร้อมของผู้เรียน ความพร้อมของผู้สอน ความสุขจากกระบวนการประเมินผลการเรียนการสอน ประเมินด้วยความเข้าใจ ประเมินด้วยหลักของจิตวิทย ประเมินด้วยหลักคุณธรรม

13 การสร้างความสุขในห้องเรียน
อบรมลูกศิษย์ด้วยความรัก พูดคุยกับลูกศิษย์ และถ่ายทอดความรู้สึกที่ดีต่อศิษย์ นิ่งฟังเมื่อลูกศิษย์พูด (บ้าง) ทำตัวน่าเข้าใกล้ เพื่อรับคำปรึกษาหารือ แล้วอย่างอื่นจะตามมา แสดงความชื่นชม และชมเชย เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก เสมอต้นเสมอปลาย เรื่องชื่อเล่นลูกศิษย์อย่างสร้างสรรค์ สร้างความรู้สึกเท่าเทียมกันกับศิษย์ทุกคน ยอมรับเมื่อครูทำ (ผิด) ให้ลูกศิษย์มีส่วนร่วมในการสร้างกฎ สอนให้เขาทำงานเป็นหมู่คณะ

14 วันครู : เสฐียรพงษ์ วรรณปก
วันครู : เสฐียรพงษ์ วรรณปก ครูต้องเป็นครูทุกขณะจิต ต้องรู้โลกรู้ชีวิตอย่างแจ่มแจ้ง ต้องมีปฏิภาณโวหารแสดง ต้องเป็นแหล่งก้าวหน้าวิชาการ ต้องสอนคนมากกว่าสอนหนังสือ ไม่เพียงถือชอล์กปากกาพาเขียนอ่าน ต้องอุทิศ ชีวิตจิตวิญญาณ ให้แก่งานปลูกฝังในทางดี ครูต้องมีทั้งความดี และความเก่ง ครูต้องเคร่งจริยะมาตรฐาน เป็นประทีปเจิดจรัสชัชวาล ส่งนำจิตวิญญาณของปวงชน

15 4. ชอบหน้าคนที่ยิ้มแย้ม 5. ไม่ชอบให้ใครมาโต้เถียง
เรื่อง : คน 1. สนใจตนเอง 2. ชอบให้คนอื่นฟัง 3. สนใจชื่อของตนเอง 4. ชอบหน้าคนที่ยิ้มแย้ม 5. ไม่ชอบให้ใครมาโต้เถียง

16 6. ชอบเห็นการสารภาพผิด เมื่อทำผิด
เรื่อง : คน 6. ชอบเห็นการสารภาพผิด เมื่อทำผิด 7. ชอบที่ได้รับการยกย่อง ไม่ชอบที่ถูกตำหนิ 8. ไม่ชอบคนโอ้อวด ชอบคนถ่อมตัว หรือยืดหยุ่น 9. ชอบคนพูดสุภาพ และชื่นชมคนที่ช่วยเหลือผู้อื่น

17 Maslow's Hierarchy of Needs ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ 5 ประการ
ความต้องการความสำเร็จ และความสมหวังในชีวิต 5 ความต้องการการมีชื่อเสียงเกียรติยศ และการยกย่อง 4 ความต้องการความรัก ความอบอุ่น และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม 3 ความต้องการความปลอดภัย 2 ความต้องการพื้นฐานทางร่างกาย 1

18  สุขุม / น่าเชื่อถือ / มีบุคลิกภาพที่ดีน่าเคารพ
บุคลิกภาพของครู  เป็นต้นแบบที่ดี เป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักเรียน  มีความเป็นกันเอง  สอนพูดคุยสนุกน่าติดตามทำให้นักเรียนมีความสุขที่จะเรียน หรือฟังสิ่งที่อาจารย์จะพูดต่อไป  มีอารมณ์ขันบางเวลา  สุขุม / น่าเชื่อถือ / มีบุคลิกภาพที่ดีน่าเคารพ

19  พูดและสอนด้วยจริงใจ ใช้วาจาเพื่อการสอนมากกว่าการด่าว่ากล่าวตักเตือน
บุคลิกภาพของครู  ดูน่าเชื่อถือ, วางตัวดี  ความกระตือรือร้น  พูดและสอนด้วยจริงใจ ใช้วาจาเพื่อการสอนมากกว่าการด่าว่ากล่าวตักเตือน  เป็นคนที่อารมณ์ดี มนุษยสัมพันธ์ดี  พูดจาน่าเชื่อถือ

20 บทบาทของครู  การทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีในทุกๆ ด้าน (คุณธรรม จริยธรรม)
 ให้ความรู้กับนักศึกษาอย่างเต็มที่ เต็มความสามารถ  การทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีในทุกๆ ด้าน (คุณธรรม จริยธรรม)  ช่วยในการพัฒนาคุณภาพและจริยธรรมของนักศึกษาได้  เป็นผู้ที่ถ่ายทอดความรู้ ความคิดการใช้ชีวิต ยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจน  การสื่อให้นักศึกษาเข้าใจง่าย  สอดแทรกคุณธรรมในการสอนแต่ละวิชาเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

21 บทบาทของครู  อยากให้เข้าถึงนักเรียนมากๆ สอนอธิบายโดยไม่มีอคติ
 กระตุ้นความคิดของนักศึกษา  อยากให้เข้าถึงนักเรียนมากๆ สอนอธิบายโดยไม่มีอคติ  เป็นผู้ที่สามารถปลูกฝังสิ่งดี ๆ ให้แก่ศิษย์ได้  ตั้งใจสอน ตรงต่อเวลา ไม่กั๊กความรู้  รับฟังปัญหาของนักเรียนได้ทุกเรื่อง สนใจในปัญหาและสามารถให้คำแนะนำได้ดี  ต้องปฏิบัติได้แล้วถึงจะสอนเป็นตัวอย่าง

22 (เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย) คุณลักษณะของครูที่นักเรียน ไม่ชอบมากที่สุด
คุณลักษณะของครูที่นักเรียน ไม่ชอบมากที่สุด 1. เอาแต่ใจตัวเอง 2. ไม่เอาใจใส่การสอน 3. อคติ ลำเอียง ไม่มีความยุติธรรม 4. ไม่ตรงต่อเวลา 5. เห็นแก่ตัว เอาเปรียบผู้อื่น

23 (เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย) คุณลักษณะของครูที่นักเรียน ไม่ชอบมากที่สุด
คุณลักษณะของครูที่นักเรียน ไม่ชอบมากที่สุด 6. ความประพฤติไม่เหมาะสมกับการเป็นครู- อาจารย์ 7. ไม่สนใจ ไม่ยอมรับความคิดเห็น ไม่ฟังเหตุผล ของนักศึกษา 8. สอนไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง สักแต่ว่าสอนๆ ให้หมดเวลา 9. ดุด่า หยาบคาย ใช้อารมณ์ มากกว่าเหตุผล 10. ไม่มีความรับผิดชอบ

24  ทั้งศีลธรรมและคุณธรรม รวมกันเป็นจริยธรรม 
จริยธรรม Morality “แนวทางในการประพฤติ เพื่ออยู่ร่วมกันได้อย่างร่มเย็นในสังคม” องค์ประกอบที่สำคัญของจริยธรรม มี 2 ประการ คือ ศีลธรรม คือ สิ่งที่ควรงดเว้น สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ คุณธรรม คือ สิ่งที่เราควรประพฤติปฏิบัติ  ทั้งศีลธรรมและคุณธรรม รวมกันเป็นจริยธรรม 

25 ความหมาย คุณธรรมและจริยธรรม
คุณธรรม หมายถึง หลักของความดีงาม และความถูกต้อง ซึ่งเป็นแนวทางในการปฏิบัติ จริยธรรม หมายถึง การแสดงออกทางการประพฤติ ปฏิบัติที่ดีงาม ซึ่งสะท้อนคุณธรรมที่มี 30 กรกฎาคม 2557 ผศ.ดร.พูนสุข อุดม

26 คุณธรรม กับ จริยธรรม มักใช้คู่กัน
 คุณธรรม เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดจริยธรรม  จริยธรรม เป็นผลของการมีคุณธรรม ตัวอย่าง ผู้ใดมีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ผู้นั้นมีจริยธรรม ไม่ลักขโมย ไม่ทุจริต ไม่คอร์รัปชั่น เป็นต้น 30 กรกฎาคม 2557 ผศ.ดร.พูนสุข อุดม

27 คุณธรรมของครู คุณสมบัติที่เป็นความดีงาม ความถูกต้อง ซึ่งมีอยู่ภายในจิตใจของครู ทำให้ครูพร้อมที่จะกระทำสิ่งต่างๆตามมาตรฐาน ของสังคม อันจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมโดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น 30 กรกฎาคม 2557 ผศ.ดร.พูนสุข อุดม

28 จริยธรรมของครู ความประพฤติ การกระทำ ตลอดจนความรู้สึกนึกคิด อันดีงาม ที่ครูควรประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเจริญ รุ่งเรืองแก่ตน แก่ศิษย์ เพื่อนร่วมงาน และบุคคลทั่วไป 30 กรกฎาคม 2557 ผศ.ดร.พูนสุข อุดม

29 ความสำคัญของคุณธรรมของครู
คุณธรรมสำหรับครูเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะคุณธรรมเป็นเครื่องประกันคุณภาพของครู ศิษย์จะเคารพยำเกรง เชื่อถือ ผู้ปกครองมีความศรัทธา สถาบันวิชาครูจะมีความก้าวหน้า สังคมประเทศชาติจะมีความเจริญรุ่งเรืองได้ ย่อมต้องอาศัยคุณธรรมของครูเป็นปัจจัยสำคัญ ดังนั้นครูกับคุณธรรมจึงเป็นของคู่กัน หากครูขาดคุณธรรมเมื่อใด ก็เปรียบได้กับนักบวชที่ไร้ศีล 30 กรกฎาคม 2557 ผศ.ดร.พูนสุข อุดม

30 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พูนสุข อุดม วันที่ 22 พฤษภาคม 2557
3 X 8 = ?

31 หลักธรรมของผู้เป็นครูที่ดี
- ปิโย หมายถึง น่ารัก - ครุ หมายถึง น่าวางใจ - ภาวนีโย หมายถึง น่าเจริญใจ - วัตตา หมายถึง รู้จักพูดหรือพูดเป็น - วจนักขโม หมายถึง รู้จักฟังหรือฟังเก่ง - คัมภีรัญจะ กะถัง กัตตา หมายถึง แถลงเรื่องลึกซึ้งได้ - โน จัฏฐาเน นิโยชเย หมายถึง ไม่ชักจูงไปในทางที่ผิดหรือนอกเรื่อง

32 คุณธรรมที่พึงประสงค์ของครูไทยตามแนวทางพุทธศาสนา
การปฏิบัติทางสายกลาง ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ อริยมรรค อันมีองค์ ๘ - สัมมาทิฏฐิ การเห็นชอบ - สัมมาสังกัปปะ การดำริชอบ - สัมมาวาจา การพูดจาชอบ - สัมมากัมมันตะ การทำการงานชอบ - สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ - สัมมาวายามะ การเพียรชอบ - สัมมาสติ การระลึกชอบ - สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ

33 จรรยาบรรณและแบบแผนพฤติกรรมอันพึงประสงค์ ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
จรรยาบรรณของวิชาชีพทางการศึกษา ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.๒๕๔๘ กำหนดดังนี้

34 จรรยาบรรณต่อตนเอง ๑. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนา ทางวิทยาการเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ๒. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ

35 จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
๓. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า ๔. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และ นิสัยที่ถูกต้อง ดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็ม ความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ ๕. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

36 ๖. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อ
ความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์และ ผู้รับบริการ ๗. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและ เสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่ โดยมิชอบ

37 จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
๘. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน อย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ จรรยาบรรณต่อสังคม ๙. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการ อนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

38 แบบแผนพฤติกรรมอันพึงประสงค์ ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ

39 แบบแผนพฤติกรรมอันพึงประสงค์ตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู
จรรยาบรรณต่อตนเอง ๑. ครูต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และ วิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง อยู่เสมอ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ - ประพฤติตนเหมาะสมกับสถานภาพและเป็นแบบอย่างที่ดี - ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตตามประเพณี และ วัฒนธรรมไทย - ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จอย่างมีคุณภาพ ตามเป้าหมายที่กำหนด

40 - ค้นคว้า แสวงหา และนำเทคนิคด้านวิชาชีพที่พัฒนาและก้าวหน้า
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ (ต่อ) - ศึกษา หาความรู้ วางแผนพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และสะสมผลงาน อย่างสม่ำเสมอ - ค้นคว้า แสวงหา และนำเทคนิคด้านวิชาชีพที่พัฒนาและก้าวหน้า เป็นที่ยอมรับมาใช้แก่ศิษย์และผู้รับบริการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ที่พึงประสงค์

41 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ๒. ครูต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และ เป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ - แสดงความชื่นชมและศรัทธาในคุณค่าของวิชาชีพ - รักษาชื่อเสียงและปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ - ยกย่องและเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานในวิชาชีพให้สาธารณชนรับรู้ - อุทิศตนเพื่อความก้าวหน้าของวิชาชีพ - ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต ตามกฎ ระเบียบ และแบบแผนของทางราชการ

42 พฤติกรรมที่พึงประสงค์ (ต่อ)
- เลือกใช้หลักวิชาที่ถูกต้อง สร้างสรรค์เทคนิค วิธีการใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาวิชาชีพ - ใช้องค์ความรู้หลากหลายในการปฏิบัติหน้าที่ และแลกเปลี่ยน เรียนรู้กับสมาชิกในองค์การ - เข้าร่วมกิจกรรมของวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพอย่างสร้างสรรค์

43 การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษา
(1) บทบาทของสถานศึกษา - กำหนดนโยบายและดำเนินการอย่างชัดเจน - การปฏิรูปหลักสูตรและการเรียนการสอน (2) บทบาทและหน้าที่ของคณาจารย์ (ครู)*** (3) บทบาทของนักเรียน - การมีจิตสำนึก ความตระหนัก ความรับผิดชอบ - การเป็น “เยาวชนรุ่นใหม่”

44 การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมครู
เพื่อให้เป็นครูที่พึงประสงค์ จึงมีการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมเป็น 3 กลุ่ม (1) คุณธรรมจริยธรรมประจำตน (2) คุณธรรมจริยธรรมเพื่อความสำเร็จในการ ประกอบอาชีพ/วิชาชีพ (3) คุณธรรมจริยธรรมต่อสังคมส่วนรวม

45 แนวทางการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของครู
ศึกษาหาความรู้ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับคุณธรรม นำหลักคุณธรรมมาปฏิบัติจนเกิดผลดีแก่ตนเอง นำคุณธรรมเหล่านั้นมาสั่งสอน อบรม ให้ลูกศิษย์เป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรม

46 บทบาทและหน้าที่ของคณาจารย์ (ครู) ในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
(1) การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ (2) การเป็น “ครูต้นแบบ” (3) การสอนสอดแทรกในการเรียนการสอนทุกรายวิชา (4) การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร/กิจกรรมพัฒนานิสิต

47 คุณธรรมที่จำเป็นของครู
ความศรัทธาในวิชาชีพครู ความมีระเบียบวินัย ความยุติธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต การมีสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบ ความขยัน และการประหยัด ความใฝ่รู้ หมั่นศึกษาหาความรู้

48 คุณธรรมที่จำเป็นของครู
การยึดมั่นในชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และการปกครอง การรู้จักทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและทรัพยากรธรรมชาติ การรู้จักบำรุงสุขภาพกายและใจให้สมบูรณ์ ความเมตตากรุณา ความเสียสละ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความกตัญญูกตเวที ความกล้าหาญและความสามัคคี

49 ประเภทของครู จำแนกตามคุณธรรม แบ่งได้ 3 ประเภท 1. เปลือกครู (เปลือกไม้)
จำแนกตามคุณธรรม แบ่งได้ 3 ประเภท 1. เปลือกครู (เปลือกไม้) - ด้อยคุณธรรม มีจิตวิญญาณความเป็นครูน้อยมาก - ไม่ศรัทธาในอาชีพครู ครูไม่สอน อ่านเอง จนหัวฟูแล้ว... ???

50 แย่จัง...ครูสอนไม่รู้เรื่อง ???
2. เนื้อครู (เนื้อไม้) - มีคุณธรรรมจริยธรรม > ครูประเภทแรก - รับผิดชอบในหน้าที่ - ทำทุกอย่างตามหน้าที่ แย่จัง...ครูสอนไม่รู้เรื่อง ??? ทำไงดี...จะทำได้ไหมเรา ??

51 - มีจิตวิญญาณและศรัทธาในวิชาชีพครู - สมควรยกย่อง เคารพบูชา
3. แก่นครู (แก่นไม้) - มีคุณธรรมความเป็นครูสูง - มีจิตวิญญาณและศรัทธาในวิชาชีพครู - สมควรยกย่อง เคารพบูชา “ตั้งใจเรียนนะลูก มีอะไรก็ให้ ปรึกษาครู ปรึกษาพี่เขานะ ...ขอให้เรียนจบภายใน 4 ปีนะ”

52 ครูที่ดี... เป็นอย่างไร?

53 คำตอบของ “ครูที่ดี” คนที่สอนหนังสืออย่างตั้งใจ คนที่ติวให้ศิษย์สอบได้คะแนนสูง ๆ  คนที่ศิษย์รัก เป็นกันเองกับศิษย์ ตามใจศิษย์  คนที่อดทน อดกลั้น เสียสละฯลฯ เพื่อขัดเกลาให้ศิษย์เป็นคนที่รู้ผิดชอบชั่วดี 

54 ครู คือ...ผู้ที่เป็นแบบอย่างของศิษย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พูนสุข อุดม วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ครู คือ...ผู้ที่เป็นแบบอย่างของศิษย์

55 ครู คือ...ผู้ที่สอน ไม่ใช่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พูนสุข อุดม วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ครู คือ...ผู้ที่สอน ไม่ใช่ สอน

56 ครู เปรียบเหมือนนักศิลปินที่ปั้นรูป
เสนอผลงานที่ดีให้กับศิษย์ มีผลงานที่ตั้งให้ชมจนพอใจ ชอบ ไม่ชอบ บางครั้งต้องรอเวลา ไม่ชอบก็แก้ไขได้ นักเรียนแก้ไขไม่สำเร็จ ครูเป็นผู้เสนอแนะให้กำลังใจในการแก้ไข มีกำลังใจ เมื่อศิษย์นำรูปที่นำเสนอนั้นไปใช้ในชีวิตประจำวัน

57 ครู มี 2 ลักษณะ อยากเป็นครูด้วยใจรัก มีรางวัลอยู่ในใจเสมอเมื่อสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนไปในทางที่ดีได้ มีความรู้สึกที่เป็นสุขเมื่อได้สอน สอนศิษย์ได้อย่างเต็มใจ และเต็มที่ อยากมีอาชีพอื่น แต่ต้องมาเป็นครู ไม่สามารถหาทรัพย์ได้ตามที่ต้องการ ไม่มีความสุข กลายเป็นฆาตกรของนักเรียน ชีวิตผิดหวัง ไม่มีความสุขกับการสอน แต่ต้องอยู่ด้วยความจำยอม

58 ครูในยุคปัจจุบันที่ควรจะเป็น ครูที่แท้จริง
ครูในยุคปัจจุบันที่ควรจะเป็น ครูที่แท้จริง พัฒนาคนในด้านสติปัญญา จิตใจ และร่างกาย เน้นความเป็นพลเมืองดี พึ่งตนเองได้ รับผิดชอบส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว พัฒนาอาชีพ พัฒนาสังคม และสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ที่แท้จริง จะต้องผสมผสานความรู้ทั่ว ๆ ไป เพื่อให้ผู้เรียนมีความละเอียดลึกซึ้ง และศึกษาได้ตลอดชีวิต ครูต้องเป็นคนคิดสร้างสรรค์ มองไกล ใฝ่รู้ สู้งาน มีวิญญาณความเป็นครู”

59 ลักษณะครูที่ดีในอนาคต
มีความเมตตา เสียสละ หมั่นเพียรศึกษา ปรับปรุงวิธีการสอนเรียนการสอนให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา เอาใจใส่ทำความเข้าใจกับเด็กทุกคน ให้เด็กได้เรียนรู้การการเลือกสรร แยกแยะ ตรวจสอบข้อมูลข่าวสาร สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เรียน ความเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นการสอนที่ดีที่สุด พัฒนาตนเอง เข้าใจ และรู้จักโลกใหม่ โดยคงความเป็นไทยไว้ ให้ความสำคัญต่อโรงเรียนอนุบาล ประถม และมัธยมให้มากขึ้น

60 ครูอาชีพ กับ อาชีพครู ครูอาชีพ หมายถึง เป็นครูด้วยใจรัก มีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน ประพฤติตัวดี วางตัวดี เอาใจใส่ และดูแลศิษย์ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยจิตวิญญาณของครู อาชีพครู หมายถึง ใช้วิชาความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาในการหาเลี้ยงชีพ ไม่ได้เป็นครูด้วยใจรัก จัดการเรียนการสอนโดยไม่คำนึงถึงว่า ศิษย์จะเข้าใจ หรือไม่ ทำให้สังคมดูถูก ดูแคลนครูโดยทั่วไป

61 ครู ต้องเป็นผู้มีดีทั้งด้านวิชาการ ด้านความรู้ และวิธีสอน
ความประพฤติ จะต้องพร้อมทั้งด้านจิตใจ และการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างแก่ศิษย์ และผู้พบเห็น สร้างความประทับใจในความสามารถ และความดีของครู ศิษย์ และสังคมจะได้ปฏิบัติตามแบบอย่างนั้น ๆ

62 ครู เปรียบได้กับดอกกล้วยไม้
งดงามทั้งบุคลิกภาพ วิชาการ คุณธรรม เป็นแบบอย่างที่จะต้องใช้เวลาศึกษานาน มีความสม่ำเสมอในวิถีชีวิตที่ดี เกิดความประทับใจ ซาบซึ้งจากศิษย์ ใช้เวลานานในการอบรม บ่มนิสัย ต้องเสียสละทั้งใจ กาย เวลา ในการดำเนินงาน สิ่งที่เกิดขึ้นจากการอบรมบ่มนิสัย จะเป็นสิ่งที่อยู่ในตัวศิษย์ได้อย่างถาวร

63 ครูต้องมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อนักเรียน
การสอน ต้องเน้นให้นักเรียนได้ค้นพบด้วยตัวเอง ครูต้องมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อนักเรียน ต้องจัดโครงสร้าง (Structure) ของบทเรียนให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก จัดลำดับความยากง่าย(Sequence)ของบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ครูควรชี้ให้นักเรียนเห็นความแตกต่าง รู้จักเปรียบเทียบความคล้ายคลึงและความแตกต่าง ต้องส่งเสริมให้นักเรียนใช้สมมติฐาน คิดตามสิ่งที่จะเรียนรู้ นักเรียนต้องมีส่วนร่วม หรือมีประสบการณ์ด้วยตนเอง

64 เหตุผลที่ครูควรจัดให้ผู้เรียนค้นพบ
๑. เพิ่มพูนสติปัญญาของนักเรียน เพราะผู้เรียนจะต้องหาทางแก้ปัญหาและค้นพบสิ่งที่ต้องการจะเรียนรู้ด้วยตนเอง ๒. ช่วยความจำได้ดีกว่าการสอนโดยวิธีอื่นๆ ๓. ช่วยในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ดี ๔. ช่วยทำให้นักเรียนอยากเรียนรู้มากขึ้น ๕. ช่วยทำให้นักเรียนมีความภูมิใจว่าตนเองมีความสามารถที่เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

65 ข้อห้ามในการสื่อความหมายกับศิษย์
หลีกเลี่ยงการออกคำสั่ง การออกคำสั่งเป็นการบอกนักเรียนว่าครูไม่สนใจว่าเขาจะรู้สึกอย่างไร ต้องการอะไรที่แท้จริง อย่าบังคับ ขู่เข็ญ เป็นการทำลายความสัมพันธ์ อย่ายัดเยียดคำแนะนำตลอดเวลา ใช้หลักของการแนะแนว อย่าค่อนแคะ หรือประเมินค่าทำให้รู้สึกด้อย อย่าหัวเราะเยาะ อย่าทำตัวครูฉลาดกว่าเขาทุกเรื่อง ให้รู้จักชมเชย อย่าแสดงความสงสารในทุกเรื่อง อย่าซักไซ้ แต่ให้เขาตอบด้วยความเต็มใจ อย่าตัดบทด้วยการพูดตลก หรือเปลี่ยนหัวเรื่อง อย่าเปรียบเทียบนักเรียนกับเพื่อน พี่ น้องที่เก่งกว่า อย่าคุ้ยประวัติ (ที่ไม่เหมาะสม) ของครอบครัวมาเล่าหน้าชั้น อย่าใช้การสอนแบบเทศน์

66 คนเก่ง ในอนาคต “ คนเก่งในอนาคต จะไม่ใช่คนที่จำอะไรต่อมิอะไรได้มาก แต่จะเป็นคนที่ทราบว่า ในสภาพการณ์อย่างไรจะต้องใช้ข้อมูลอะไร ทราบว่าจะไปหาข้อมูลที่ไหน เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว จะจัดการกับข้อมูลอย่างไร ”

67

68 “All learning is in the learner, not in the teacher.”
ปรัชญาของการศึกษา “All learning is in the learner, not in the teacher.” Plato, Phaedo 360 B.C.

69 กระบวนการเรียนรู้ ท่องจำ ได้ยิน ได้ฟัง เข้าใจ วิเคราะห์ เชื่อมโยง
Information Knowledge Wisdom ท่องจำ ได้ยิน ได้ฟัง เข้าใจ วิเคราะห์ เชื่อมโยง สร้างสรรค์

70 จิตสำนึก จิตสำนึก (Conscientiousness) หรือ ความตระหนัก (Awareness)
หมายถึง การตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นและตัดสินใจเลือกสนองตอบต่อสิ่งนั้น ในทางที่ถูกต้อง ตามกฎระเบียบ กฎหมาย กฎระเบียบของสังคม จารีต ประเพณี

71 การเรียนรู้ จุดเริ่มต้นของการสร้างจิตสำนึก
“การเรียนรู้ถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาทั้งตนเอง และสถานศึกษาให้เจริญก้าวหน้า ถ้าหากครู หรือสถานศึกษาใด ไร้ซึ่ง ความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องแล้วไซร้ องค์กรนั้นก็ยากที่ จะอยู่รอด” การเรียนรู้แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ขององค์กร

72 การเรียนรู้เพื่อการพัฒนา
การเรียนรู้ขององค์กร (organization Learning) การเรียนรู้ของตนเอง (Self – Learning)

73 ระดับการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง
ประยุกต์ (Apply) เรียนรู้ (Learn) รับรู้ (Perceive)

74 ระดับที่หนึ่ง รับรู้ (Perceive)
หมายถึง การรับรู้คำสั่ง ขั้นตอน วิธีการทำงาน หรือ กฎระเบียบต่างๆ แล้วนำมาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ของตน เพื่อทำให้ได้ผลลัพธ์ของงานที่ตรงตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งเหมาะสมกับพนักงานใหม่ หรือ ผู้เริ่มต้นการทำงาน

75 ระดับที่สอง เรียนรู้ (Learn)
หมายถึง การเรียนรู้จากสิ่งที่ได้รับรู้ในขั้นตอนแรกว่า หลังจากที่ได้นำไปปฏิบัตินั้น มีผลเป็นอย่างไร มีปัญหา หรือ อุปสรรคอะไรหรือไม่ และผลกระทบต่างๆ จากการ ปฏิบัติงานของตนในด้านต่างๆ นั้นเป็นอย่างไรบ้าง เหมาะ กับผู้ที่ปฏิบัติงานได้ระยะหนึ่งหรือไม่

76 ระดับที่สาม ประยุกต์ (Apply)
หมายถึง การนำความรู้ แนวคิด สิ่งที่ตนได้ค้นพบจน เกิดประสบการณ์ และทักษะมาประยุกต์ให้เกิดสิ่งใหม่วิธีการ ขั้นตอนใหม่ๆ ที่มีระโยชน์ และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ เช่น มีคุณภาพดี ขึ้น ลดเวลาการทำงาน หรือของเสียลดน้อยลง เป็นต้น เหมาะกับผู้ที่ทำงานมานานจนมีความรู้ความชำนาญ และ ประสบการณ์มาก

77 การเรียนรู้ของหน่วยงาน (Organization Learning)
การเรียนรู้ด้วยตนเอง ( Self – Learning ) การเรียนรู้จากตัวอย่างที่ดี ( Best Practice Learning ) การเรียนรู้จากสิ่งที่ไม่ดี ( Bad Practice Learning )

78 การเรียนรู้เพื่อพัฒนาหน่วยงาน
การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self – Learn) การเรียนรู้จากตัวอย่างที่ดี (Best Practice Learning) การเรียนรู้จากสิ่งที่ไม่ดี (Bad Practice Learning)

79 สำนักวิชาศึกษาทั่วไป
ปรัชญาของการศึกษา “All learning is in the learner, not in the teacher.” จิตวิญญาณของความเป็นครู : บทบาทในการหล่อหลอมให้ลูกศิษย์ เป็นคนดี ควรมีมาตรการต่างๆที่จะนำมาเสริมมาตรการทางกฎหมาย ดังนี้ สำนักวิชาศึกษาทั่วไป

80 สำนักวิชาศึกษาทั่วไป
1. มาตรการแก้ไขจิตใจด้วย “หิริโอตตัปปะ” และ “กฎแห่งกรรม” ปัญหาความเสื่อมโทรมทางจิตใจเป็น “กิเลส” ของตัวบุคคล เราจึงควรมุ่งแก้ไขที่เรื่องของจิตใจเป็นสำคัญว่า ทำอย่างไรจึงจะทำให้คนมีหิริโอตตัปปะหรือมีความละอายต่อการกระทำชั่วและเกรงกลัวต่อบาป ซึ่งจะทำให้เขาไม่กล้าที่จะทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม สำนักวิชาศึกษาทั่วไป

81 สำนักวิชาศึกษาทั่วไป
2. การปลูกฝังและปลุกจิตสำนึกสาธารณะ (PUBLIC CONSCIENCE) นอกจากทำให้ประชาชนมีหิริโอตตัปปะอันจะทำให้เขาไม่กล้าที่จะทำความชั่วแล้ว เรายังจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างให้ประชาชนในชาติมีจิตสำนึกสาธารณะที่จะเสียสละเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม โดยการ “ปลูกฝังจิตสำนึกสาธารณะ” ในเยาวชนและ “ปลุกจิตสำนึกสาธารณะ” ในตัวผู้ใหญ่ไปพร้อมกับกระตุ้นและรบเร้าให้ประชาชนเห็นความจำเป็นที่จะต้องเข้ามามีส่วนมีเสียงในส่วนได้ส่วนเสียของบ้านเมือง สำนักวิชาศึกษาทั่วไป

82 สำนักวิชาศึกษาทั่วไป
3. กระบวนการร่อนทอง (A CLEANSING PROCESS) “ร่อน” ความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมอันไม่พึงปรารถนาให้หลุดร่วงลงไป และสร้างความดีงามขึ้นเป็นลำดับเปรียบเสมือนการร่อนทองที่ต้องค่อยๆคัดกรองเอาเศษหินเศษดินออก ค่อยๆร่อนจนกระทั่งได้ทองคำที่มีความบริสุทธิ์จริงๆ สำนักวิชาศึกษาทั่วไป

83 สำนักวิชาศึกษาทั่วไป
4. การผนึกกำลังกันในหมู่ประกอบวิชาชีพ เดียวกัน (PROFESSIONAL SOLIDARITY) การผนึกกำลังกันนี้นับเป็นมาตรการที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งที่จะพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมในสังคมให้ยั่งยืนสืบไป สำนักวิชาศึกษาทั่วไป

84 สำนักวิชาศึกษาทั่วไป
ถึงเวลาแล้วที่พวกเราครูมืออาชีพ ต้องผนึกกำลังกันในการเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกศิษย์ และพร้อมที่จะบากบั่น และกระทำสิ่งที่เราทราบว่าเป็นความดี เป็นความถูกต้อง และเป็นธรรม ถ้าเราร่วมกันทำเช่นนี้ให้ได้จริงๆ ให้ผลของความดีบังเกิดมากๆขึ้น ก็จะช่วยค้ำจุนส่วนรวมไว้มิให้เสื่อมลงไป และจะช่วยให้ฟื้นคืนดีได้เป็นลำดับ สำนักวิชาศึกษาทั่วไป

85 แนวคิดในการพัฒนา คุณภาพคน คุณภาพงาน คุณภาพผู้เรียน

86 คุณภาพคน การพัฒนาจิตสำนึก(จิตวิญญาณ) ครู การพัฒนาค่านิยมอุดมการณ์
การสร้างวัฒนธรรมในการทำงาน การพัฒนาวิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพ การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงาน

87 คุณภาพงาน นวัตกรรมการปฏิบัติงาน กลยุทธ์ในการพัฒนาคุณภาพ
การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานตามคำรับรอง และตามกลยุทธ์ การบริหารการเปลี่ยนแปลง

88 ดี คุณภาพผู้เรียน เก่ง มีสุข สุขภาพทางกายดี แข็งแรงสมบูรณ์ สุขภาพจิตดี
ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการวางแผนการเรียนรู้ ดี มีความรับผิดชอบ มีคุณธรรมจริยธรรม ความสามารถในการวาง แผนการเรียนรู้ มีสุข สุขภาพทางกายดี แข็งแรงสมบูรณ์ สุขภาพจิตดี

89 ลักษณะของคนในสถานศึกษา
ไม่มีความสามารถ มีความสามารถ 2 1 เต็มใจ 3 4 ไม่เต็มใจ

90

91 ๑. ความมีระเบียบวินัย ความประพฤติ ทั้งทางกายและวาจาและใจ ๒. ความซื่อสัตย์สุจริต การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ความประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาชีวิตและ ปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิดประโยชน์ แก่ตนและสังคม ๓. ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ

92 ความประพฤติที่ไม่เอาเปรียบสังคม
๔. ความสำนึกในหน้าที่และการงาน ความประพฤติที่ไม่เอาเปรียบสังคม ความประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์ และปรับปรุงมีเหตุมีผล ในการทำหน้าที่การงาน ๕. ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล ๖. ความกระตือรือร้นในการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย มีความรัก และเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ความประพฤติที่สนับสนุนและ ให้ความร่วมมือ

93 ความมั่นคงและจิตใจ ให้สมบูรณ์
มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะอยู่ในจิตใจ อย่างมั่นคง ๗. ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ๘. ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง และมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไหว้วานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น

94 ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะ
และวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรม ของตนเองและทรัพยากรของชาติ ๙. ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ ๑๐. ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคี ความประพฤติที่แสดงออก ถึงความแบ่งปัน เกื้อกูลผู้อื่น

95 ครูพึงประพฤติตามหลักปฏิบัติ โดยตั้งตนอยู่ในธรรม ๕ ประการของผู้แสดงธรรม
๑. จัดกระบวนการเรียนรู้ให้มีขั้นตอนถูกลำดับ ๒. จับจุดสำคัญมาขยายให้เข้าใจเหตุผล ๓. ตั้งจิตเมตตาสอนด้วยความปรารถนาดี ๔. ไม่มีจิตเพ่งเล็ง มุ่งเห็นแก่อามิส ๕. วางจิตตรงไม่กระทบตนและผู้อื่น

96 ครูที่ดีต้องมี ๔ รู้ ๑. รู้จักรัก ๒. รู้จักให้ ๓. รู้จักให้อภัย
ครูที่ดีต้องมี ๔ รู้ ๑. รู้จักรัก ๒. รู้จักให้ ๓. รู้จักให้อภัย ๔. รู้จักเสียสละ

97 ครูที่ดีต้องมี ๕ ว. ๑. วินัย ๒. วิชา ๓. วิธี ๔. วิจารณญาณ ๕. เวลา

98 ครู :ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ
ครู เป็นผู้ชี้ทางแห่งความรู้ ครู ต้องเป็นนักเทคโนโลยี ครู ต้องรู้ภาษาอังกฤษดี ครู ต้องเป็นนักจิตวิทยาการเรียนรู้ ครู ต้องเป็นนักเรียน

99 ตรวจสอบตนเองเป็นครูที่ดีหรือไม่
๑. รับผิดชอบการสอนสม่ำเสมอ ๒. รับผิดชอบงานที่เกี่ยวเนื่องกับการสอน ๓. เตรียมการสอนสม่ำเสมอ ๔. มีความรู้ที่ถูกต้องในเนื้อหาวิชา ๕. ศึกษาค้นคว้าความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง ๖. ติดตามข่าวสารความก้าวหน้าทางวิชาการ ๗. ใช้เทคนิคการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหา

100 ตรวจสอบตนเองเป็นครูที่ดีหรือไม่
๘. ใช้สื่อการสอนอย่างเหมาะสม ๙. เร้าความสนใจผู้เรียน สร้างบรรยากาศที่ดี ๑๐. วัดและประเมินผู้เรียนถูกต้องเที่ยงธรรม ๑๑. มีเวลาให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้เรียน ๑๒. เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์สม่ำเสมอ ๑๓. ผลิตตำราและเอกสารที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน ๑๔. เขียนบทความ ทำวิจัยเผยแพร่เป็นระยะ ๆ

101 ตรวจสอบตนเองเป็นครูที่ดีหรือไม่
๑๕. เป็นวิทยากรบรรยายหรืออภิปรายทางวิชาการ ๑๖. ร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัยและสังคม ๑๗. ตรงต่อเวลา ๑๘. กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา ๑๙. ฝึกให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ความรู้ ๒๐. ฝึกให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ๒๑. มีอารมณ์ขันเวลาสอน

102 ความแตกต่างระหว่างแนวคิด
สหรัฐอเมริกา เด็กอายุ ๘ ปี ต้องอ่านหนังสือได้ อายุ ๑๒ ปี ต้องสามารถค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตได้ ส่วนเมืองไทย ข้าราชการที่จะเลื่อนจากระดับ ๕ เป็น ระดับ ๖ ต้องมีความรู้พื้นฐานคอมพิวเตอร์

103 บทสรุป การพัฒนาการศึกษาของประเทศ ขึ้นอยู่กับผู้ที่เป็นครูทั้งหลายทุกระดับ การเรียนรู้จะต้องได้รับการปฏิรูปในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะบุคคลที่เป็นผู้บริหารการศึกษา และครู การเรียนรู้ จะต้องยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center) โดยยึดเอา ความจำเป็น ความถนัด ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนเป็นหลักในการดำเนินการ

104 ครูดุจเรือจ้าง นำทางชีวิตให้เด็ก
ครูดุจเรือจ้าง นำทางชีวิตให้เด็ก