เรียนรู้ประชาธิปไตย หมายถึง

การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
1. ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตย
2. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
3. ประเทศไทยเป็นเอกรัฐ ราชอาณาจักรเดียว พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ
4. อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของประชาชนทั้งหลาย
5. พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขของประเทศทรงใช้อำนาจนั้น(อำนาจอธิปไตย)ผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมตรี และศาล
6. พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง
หลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย คือ
1. การปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน โดยการมอบอำนาจผ่านกระบวนการเลือกตั้งเลือกผู้แทนเข้าไปใช้อำนาจนั้นในสภา
2. ประชาชนมีศักดิ์และศรีความเป็นมนุษย์ มีสิทธิ มีเสรีภาพ มีความเสมอภาคทางกฎหมาย มีความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงและใช้อำนาจเพื่อปกครองตนเอง
3. ไม่ใช่ให้อำนาจปืนมาอยู่เหนือรัฐธรรมนูญ ฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง เขียนรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่เองได้ตามใจชอบ
4. ไม่ใช่ให้อำนาจปืนมาอยู่เหนืออำนาจอธิปไตย จัดตั้งรัฐบาลได้เองตามใจชอบ จะจัดตั้งเปิดเผยหรือแอบจัดในค่ายทหารไม่ได้ทั้งสิ้น
5. ไม่ใช่ให้ใครก็ได้แอบอ้างความจงรักภักดีเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือกำจัดประชาชนที่เห็นต่าง ใครเห็นต่างเป็นพวกไม่จงรักภักดี
6. ไม่ใช่ให้ใครก็ได้แอบอ้างความจงรักภักดีเพื่อนำไปใช้เนรเทศประชาชนที่เห็นต่าง ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจใครทำการไล่เนรเทศคนไทยออกนอกประเทศ
7. ไม่ใช่ให้ใครก็ได้แอบอ้างความจงรักภักดีเพื่อนำมาโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน หรือทำการแช่แข็งประเทศ ปิดประเทศยัดเยียดผู้ปกครองมาให้
8. ไม่ใช่ให้ใครก็ได้แอบอ้างความจงรักภักดีนำมาใช้บิดเบือนหลักการของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพ
ระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

เรียนรู้ประชาธิปไตย หมายถึง


ความหมายของประชาธิปไต
ประชาธิปไตยมีรากศัพท์มาจากภาาษากรีกซึ่งหมายถึงอำนาจของประชาชน ดังนั้นความหมายดั้งเดิม จึงหมายถึงการปกครองโดยชนหมู่มากหรือการปกครองโดยหมู่ชนผู้มีอำนาจประชาธิปไตยในสมัยแรกเริ่มนั้น 

และต่อมามีการพัฒนาแนวคิดของประชาธิปไตย ออกเป็น 3 รูปแบบคือ
1.  ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นฐานนะที่เป็นรูปแบบการเมืองการปกครอง
2.  ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นอุดมการณ์ทางการเมือง
3.  ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นวิถีกา
รดำเนินชีวิต

หลักการสำคัญของประชาธิปไตย

1.  อำนาจสู.สุดในการปกครอง หรืออำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ซึ่งหมายถึงประชาชนคึอรัฐนั่นเอง
2.  อำนาจทางการปกครองของรัฐ เกิดขึ้นจากความยินยอมของประชาชน
3.  การมีศรัทธาในความสามารถของมนุษย์
4.  มนุษย์จะต้องมีเสรีภาพ อิสรภาพ ความเป็นอิสระ
5.  ยอมรับในการเสมอภาคของมนุษย์
6.  สิทธิในการคัดค้าน

การปกครองในระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย
พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตยนั้นใน 3 ด้าน ได้แก่
1.  ด้านนิติบัญญัติ
2.  ด้านบริหาร
3.  ด้านตุลาการ

ทำไมต้องมีประชาธิปไตย

1. ให้โอกาสแก่ประชาชน ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการปกครองและสามารถเป็นผู้ปกครองเองหรือเลือกตัวแทนไปทำการปกครองตั้งแต่ระดับท้องถิ่น
     จนถึงระดับชาติ
2.  ให้ประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน หัวใจของระบบประชาธิปไตยคือประชาชน ประชาชนในที่นี้หมายถึงคนไทยทุกหมู่เหล่า ทุกสาขา อาชีพ ทุกภูมิภาค ทุกเผ่าพันธุ์ ทุกศาสนา ฯลฯ
3.  มีกติกา กติกาประชาธิปไตย คือ กฏเกณฑ์ที่ใช้เพื่อให้ประชาชนทุกหมู่เหล่ามีส่วนร่วมในการปกครอง อันได้แก่รัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พระราชบัญญัติการเลือกตั้ง และกฏหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

การพัฒนาการปกครองของระบบประชาธิปไตยในประเทศไทย
1.  การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองนับว่ามีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพราะจะเป็นเครื่องบ่งชี้ระดับการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศนั้นๆ การมีส่วนร่วมทางการเมืองจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาประชาธิปไตย
2.  การส่งเสริมให้ประชาชนมีวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย จะต้องประกอบไปด้วยหลักการดังต่อไปนี้
     2.1 หลักการใช้เหตุผลในการดำเนินชีวิต
     2.2  หลักความสมัครใจ
     2.3  หลักความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา และเคารพในเสียงข้างมาก
     2.4  หลักการแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี
     2.5  หลักการเกี่ยวกับความมีระเบียบวินัย
     2.6  หลักการเคาระในคุณค่าและศักดิ์ศรีของบุคคล

แนวทางการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประชาธิปไตยของผู้นำชุมชน กลุ่ม/องค์กรชุมชน และประชาชน
1.  การเตรียมตัว ให้ความสนใจทางการเมือง ศึกษาหาความรู้ให้จริงก่อน ติดตามข่าวการเมือง โดยอ่านหนังสือพิมพ์ ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ ฯลฯ
2.  การลงมือปฎิบัติ เช่น การนำวิถึชีวติแบบประชาธิปไตยไปใช้ในชีวิตแบบประชาธิปไตยใช้ในชีวิตประจำวัน การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การรู้จักใช้เหตุผลนอกจากการแสดงความคิดเห็นและการับฟังความคิดเห็นยึดถือหลักการความถูกต้องและประโยชน์ส่วนร่วม รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย หลักการประชาธิปไตยถือเสียงข้างมากเป็นหลักในการดำเนินงาน

ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาประชาธิปไตย
     ในระบอบประชาธิปไตย ประชาชนเป็นผู้ใช้อำนาจในการปกครองประเทศ โดยเลือกตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่บริหารในทุกระดับเริ่มจากระดับท้องถิ่น จนถึงระดับชาติแต่การพันฒาประชาธิปไตยยัไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเพราะ
1.  ระบบการเมืองยังไม่เป็นประชาธิปไตย เนื่องจากประชาชนส่วนมากไม่ค่อยสนในการเมือง และขาดความรู้ความเข้าใจในการเมืองประชาชนคิดว่าเป็นหน้าที่ของผู้ปกครอง ก็เลยไม่คิดว่าตนมีสิทธิมีส่วนทางการเมืองค่านิยมระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทยทำให้เห็นแก่พวกพ้องมากกว่าประโยชน์ส่วนร่วม ค่านิยมระบบอาวุโส การซื้อสิทธิขายเสียง ระบบเผด็จการในรัฐสภา ขาดการรวมกลุ่ม ของประชาชนอย่างจริงจัง การไม่นำเอาประชาธิปไตย ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
2.  ระบบการมืองยังไม่มีประสิทธิภาพ
      2.1  ประชาชนไม่ใส่ใจศึกษาติดตามการมือง เพื่อจะได้ไปเลือกตั้ง และมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างมีคุณภาพ
      2.2  ระบบการเมืองไม่สามารถนำความเจริญไปสู่ประชาชนได้อย่างทั่วถึงเป็นธรรม
      2.3  ระบบการเมืองไม่สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้
      2.4  ระบบการเมืองไม่เปิดโอกาสให้คนดี มีความสามารถเข้าไปบริหารบ้านเมือง
      2.5  ระบบราชการไม่มีประสิทธิภาพ

   จากสภาพปัญหาต่างๆ ที่ทำให้การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยไม่ก้าวหน้าโดยสรุปจะเห็นว่าสาเหตุสำคัญ
       เกิดจากตัวประชาชนเองที่ขาดจิตสำนึก ขาดอุดมการณ์สำคัญเกิดจากตัวประชาชนเองที่ขาดจิตสำนึก ขาดอุดมการณ์ประชาธิปไตย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับระบอบการปกครองประชาธิปไตย
และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาระบบประชาธิปไตยให้เกิดประสิทธิภาพ