นโยบายการเงิน การคลัง สรุป

เราจะสอนดอกเบี้ยและมูลค่าของเงินสมบูรณ์ได้อย่างไรถ้าไม่ได้ลองนำไปใช้จริง งานนี้เลยเป็นการให้นักเรียนคิดดอกเบี้ยเงินฝากในชีวิตจริงเลย หลังจากที่สอนสูตรการคำนวณดอกเบี้ยคงต้นและทบต้นไปแล้วก็คิดว่าเราจะพานักเรียนไปดูระบบเงินฝากในชีวิตจริง โดยผมเลือกอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารแห่งหนึ่งมาเป็นตัวอย่าง จุดที่น่าสนใจและหลายคนยังไม่ทราบคือฝากประจำจะคิดดอกเบี้ยทบต้นเมื่อครบเวลาฝาก ส่วนบัญชีออมทรัพย์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นทุก 6 เดือน โดยเริ่มจากการให้นักเรียนศึกษาเอกสารอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารก่อนแล้วจึงอภิปราบกันว่าสังเกตเห็นอะไรบ้าง แล้วจึงให้นักเรียนทำโจทย์แบบละคนซึ่งทำให้นักเรียนลอกกันได้ลำบาก หลังจากที่นักเรียนได้คำตอบแล้วก็ชวนมาอภิปรายกันว่าใครได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่ ใครได้เยอะที่สุด เพราะเหตุใดมีปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อดอกเบี้ย รวมไปถึงคำถามสำคัญที่ว่านักเรียนคิดว่าเพราะเหตุใดบัญชีฝากประจำระยะยาวจึงมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือการฝากประจำระยะสั้น

คีย์เวิร์ดยอดนิยมของ มัธยมปลาย

ค้นหาเนื้อหาที่ต้องการไม่เจอเหรอ? ลองค้นหาใน Q&A ดูสิ!

คำสำคัญ: นโยบายการเงิน

・ตรวจสอบความถูกต้องของการสะกดคำ
・ลองใช้คีย์เวิร์ดอื่น
・ค้นหาจากประเภทของสมุดโน้ตที่เผยแพร่ในหน้าบนสุด หรือจากอันดับรายสัปดาห์

พบ - เนื้อหาที่ตรงกันบน Q&A

ผู้ดูแลเศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่ง นอกจากรัฐบาลแล้วยังมีธนาคารกลาง(แบงก์ชาติ) ของประเทศนั้นๆ อีกด้วย ฉะนั้นแล้วเราจะได้ยิน "นโยบายการคลัง" รัฐบาลเป็นผู้ควบคุม หรือ "นโยบายการเงิน" ธนาคารกลางเป็นผู้ควบคุมจากในข่าวบ่อยๆ ซึ่งวันนี้จะมาพูดถึง นโยบายการเงินกันครับ

นโยบายการเงิน คือ มาตรการทางการเงินชนิดหนึ่งที่ธนาคารกลาง(แบงก์ชาติ) เป็นผู้ควบคุมเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินภายในประเทศ ตัวอย่างเช่น หากเศรษฐกิจภายในประเทศกำลังเข้าสู่ภาวะเงินเฟ้อหรือเงินฝืดนั้น ธนาคารกลางจะประกาศนโยบายทางการเงินออกมา เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เงินฝืดหรือเงินเฟ้อมากเกินไป โดยนโยบายการเงินหลักๆแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ

  1. นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
  2. นโยบายการเงินแบบเข้มงวด

โดยทั้ง 2 นโยบายต่างใช้ในเวลาที่ต่างกัน ยกตัวอย่างในช่วงเศรษฐกิจซบเซา ธนาคารกลางจะใช้ "นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย" เพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจในประเทศไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืด หรือกล่าวคือเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ตัวอย่าง การใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย 

  1. การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เปรียบเสมือนการลดดอกเบี้ยอ้างอิง ซึ่งเมื่อดอกเบี้ยอ้างอิงปรับตัวลดลงอาจนำมาสู่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ รวมถึงปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากด้วยเช่นกัน ฉะนั้นหากเมื่ออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง จะส่งผลให้สนับสนุนภาคการลงทุนมากขึ้น เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น เมื่อเกิดการจ้างงานมากขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น ผู้คนมีรายได้เพิ่มขึ้น 
  2. การซื้อพันธบัตรจากภาคเอกชนหรือรัฐบาล เมื่อปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีการหมุนเวียนน้อยจนเกินไปหรือเกิดภาวะเงินฝืด ซึ่งจะส่งผลให้การผลิตและการบริโภคลดลง ฉะนั้นธนาคารกลางจะรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยการนำเงินเข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้น ผ่านการซื้อพันธบัตรจากภาคเอกชนหรือรัฐบาล ซึ่งจะทำให้เอกชนหรือรัฐบาลได้รับเงินจากการขายพันธบัตรให้กับธนาคารกลาง ทำให้เอกชนหรือรัฐบาลสามารถนำเงินมาใช้ตามจุดประสงค์ที่ต้องการได้ และจะส่งผลให้เกิดการสนับสนุนการลงทุนและบริโภคตามลำดับ
  3. การปรับลดอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ เมื่อธนาคารพาณิชย์ได้รับเงินฝากจากประชาชนเข้ามา ธนาคารพาณิชย์ต้องสำรองเงินส่วนหนึ่งไว้ตามกฎหมาย ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งจะนำไปปล่อยสินเชื่อเพื่อให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจต่อไป ตัวอย่างเช่น หากอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ 10% หมายความว่า ทุกๆ การฝากเงิน 100 บาท ธนาคารพาณิชย์จะต้องเก็บสำรองไว้ 10 บาท ในขณะที่อีก 90 บาท ธนาคารสามารถนำไปปล่อยสินเชื่อเพื่อให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้ ฉะนั้น หากมีการประกาศลดอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ จะทำให้มีปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น

กลับกันหากประเทศกำลังเติบโตอย่างร้อนแรง ธนาคารกลางจะใช้ "นโยบายการเงินแบบเข้มงวด" ซึ่งการดำเนินการจะตรงข้ามกับตัวอย่างด้านบน ตัวอย่างเช่น ปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบาย, ขายพันธบัตรเพื่อดึงออกจากระบบเศรษฐกิจ หรือเพิ่มอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น

จากตัวอย่างดังกล่าว เป็นเพียงเครื่องมือส่วนหนึ่งที่ธนาคารกลางสามารถควบคุมได้ อีกทั้งยังมีอัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารกลางสามารถเข้ามาแทรกแซงได้ ขึ้นอยู่กับประเทศนั้นใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบใด ซึ่งการใช้นโยบายเหล่านี้ใช้เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืดหรือเงินเฟ้อมากเกินไป จะเห็นได้ว่า นโยบายการเงิน เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในระบบเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางต้องพิจารณาการใช้นโยบายให้ดี เพราะจะกระทบเศรษฐกิจออกเป็นวงกว้าง

          ทั้งนี้ การมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินนโยบายทั้งการเงินและการคลัง จะช่วยให้เราประเมินได้ว่า ในภาวะเศรษฐกิจแบบใด นโยบายการเงินและการคลังควรจะดำเนินไปอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถประเมินได้ว่าทิศทางของภาวะเศรษฐกิจในอนาคตจะเป็นอย่างไร เพื่อประโยชน์ในการปรับตัวของเราทั้งในการวางแผนเพื่อการบริโภคและการลงทุนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในภาวะเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

คำว่านโยบายการเงินและการคลังเป็นเรื่องที่หลาย ๆ คนอาจได้ยินอยู่บ่อยและพอจะเข้าใจว่าคืออะไร แต่หากจะอธิบายรายละเอียดปลีกย่อย และเปรียบเทียบหลักการใช้นโยบายทั้งสองรูปแบบแล้ว เราอาจจำเป็นต้องเรียนรู้ วิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ และรับมือกับการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาของนโยบายการเงินการคลังที่การตัดสินใจมาจากธนาคารกลางแห่งประเทศไทย

 

นโยบายการเงิน

คือนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงิน ได้แก่ ปริมาณเงิน (Money supply) อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate) และอัตราดอกเบี้ย (Interest rate) ทำโดยการปรับลดเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจที่จะมีผลต่อการกำหนดทิศทางของอัตราแลกเปลี่ยนให้แข็งค่าหรืออ่อนค่า และการปรับลด – เพิ่มของอัตราดอกเบี้ย ตอบสนองต่อภาวะเงินเฟ้อ หรือเงินฝืด ซึ่งเป็นหน้าที่ของธนาคารกลาง หรือธนาคารแห่งประเทศไทยในการกำหนดทิศทางของการดำเนินนโยบาย

 

ยกตัวอย่างเช่น
1. อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate) กำหนดให้คงที่ หรือ อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว มีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าหรืออ่อนค่า เช่น กรณีค่าเงินบาทอ่อนค่า ก็จะทำให้สามารถส่งออกสินค้าได้มากขึ้น เนื่องจากเงินสกุลอื่นจะมีมูลค่ามากขึ้น สามารถซื้อของจากประเทศไทยได้มากขึ้น
2. อัตราดอกเบี้ย (Interest rate) กำหนดให้ปรับลด หรือเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เช่น กรณีเมื่อมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนักลงทุนก็จะกู้เงินมาลงทุนมากขึ้น เนื่องจากดอกเบี้ยต่ำ ตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์การลงทุนจะก่อให้เกิดการกระตุนเศรษฐกิจ ผ่านภาคการผลิตและการบริโภค เป็นต้น

 

นโยบายการคลัง

คือนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการหารายได้ และรายจ่ายของรัฐบาล รายได้ส่วนใหญ่ของรัฐบาลมาจากการเก็บภาษี (Tax) ประเภทต่าง ๆ เช่น ภาษีสรรพาสามิต ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น นโยบายการคลังเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการปรับสมดุลทางเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง หรือที่เรียกว่าการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

 

เมื่อรัฐบาลตัดสินใจเพิ่มหรือลดภาษี ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่น การขึ้นอัตราภาษีมีผลให้เงินสดที่อยู่ในมือเราลดลง เนื่องจากรายได้ส่วนหนึ่งต้องนำไปจ่ายภาษีมากขึ้น เงินที่เหลือจะใช้จ่ายก็จะลดลง ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว

 

นโยบายการคลังสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท เช่น เดียวกับนโยบายการคลัง ได้แก่
1. นโยบายการคลังแบบขยายตัว (Expansionary fiscal policy) คือ การที่รัฐบาลใช้จ่ายมากกว่ารายได้ภาษีที่จัดเก็บได้ หรือที่เรียกว่า “งบประมาณขาดดุล” (deficit budget) กรณีนี้จะใช้เมื่อเศรษฐกิจถดถอย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เปรียบเสมือนการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ
2. นโยบายการคลังแบบหดตัว (contractionary fiscal policy) คือ การที่รัฐบาลจ่ายน้อยกว่ารายได้ภาษีที่จัดเก็บได้ หรือการเพิ่มภาษีเพื่อดูดเงินออกจากระบบเศรษฐกิจ อาจจะเรียกว่า งบประมาณเกินดุล (surplus budget) จะใช้ก็ต่อเมื่อยามที่เกิดปัญหาเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจ

 

ดังนั้น นโยบายการเงินการคลังที่ตัดสินใจโดยธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นสำคัญอย่างยิ่ง กระทบต่อค่าครองชีพ เสถียรภาพของเศรษฐกิจ คุณภาพความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศ เราในฐานะพลเมืองที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายเหล่านี้ไม่ว่าจะในเชิงบวกหรือลบ จำเป็นต้องคอยติดตามการตัดสินใจและดำเนินนโยบายเพื่อปรับตัวเข้ากับความเป็นไปได้ที่กำลังจะเกิดขึ้น หลังนโยบายนั้นถูกบังคับใช้