วิธี การอนุรักษ์ดนตรีไทย ป 4

วิธี การอนุรักษ์ดนตรีไทย ป 4

‘เครื่องดนตรีไทย’ จัดเป็นอีกหนึ่งมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษของคนไทย ได้สร้างสมเอาไว้ จนกลายเป็นเครื่องหมาย เป็นเอกลักษณ์ อีกอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะของชนชาติไทย เฉกเช่นเดียวกับ ภาษา, ศิลปะ, อาหาร รวมทั้งวัฒนธรรม เพราะฉะนั้นเราถือเป็นลูกหลาน ก็สมควรที่จะเกิดความภาคภูมิใจ พร้อมช่วยกันส่งเสริมรักษาดนตรีไทยไว้ให้ดำรงอยู่สืบไป

แนวทางในการอนุรักษ์ดนตรีไทย ให้คงอยู่สืบต่อไป

สำหรับแนวทางการรักษาดนตรีไทย จำเป็นต้องใช้ความร่วมมือ ร่วมใจ ของคนไทยทุกคน โดยมีวิธีการ ได้แก่…

  • ศึกษา, ค้นคว้า รวมทั้งวิจัยดนตรีไทยอย่างเจาะลึก เก็บไว้เป็นระเบียบ สามารถนำมาอ่านได้ แบบที่มีการเก็บข้อมูลเอาไว้แล้ว และยังไม่ได้มีการศึกษา เพื่อทำให้ทราบถึงความหมาย รวมทั้งความสำคัญของดนตรีไทย อันเป็นมรดกของไทยอย่างแท้จริง โดยองค์ความรู้ดังกล่าวจัดเป็นรากฐานที่สำคัญของการมองเห็นคุณค่า ก่อให้เกิดการยอมรับ รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมต่อไปในอนาคต
  • ส่งเสริมให้ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย เห็นคุณค่า ช่วยกันรักษาเอกลักษณ์ทางดนตรี อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจ ให้แก่ประชาชนในการยอมรับให้มากขึ้น ด้วยความเหมาะสม
  • รณรงค์ให้ประชาชน เล็งเห็นถึงความสำคัญ โดยเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้การรับผิดชอบร่วมกัน ตลอดจนประสานงานรื่นเริง รวมทั้งทุนทรัพย์ในการจัดกิจกรรมทางด้านดนตรีไทย
  • ส่งเสริม – แลกเปลี่ยนดนตรีภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน
  • เสริมสร้างทัศนคติ, องค์ความรู้, ความเข้าใจว่า ประชาชนทุกคนมีหน้าที่เสริมสร้าง, ฟื้นฟู ตลอดจนดูแลรักษาเครื่องดนตรีไทยอันเป็นสมบัติของชาติ
  • ปลูกฝังความคิดอันดีงามต่อดนตรีไทย ให้แก่กลุ่มประชาชนที่ยังอยู่ในวันเยาว์ ตั้งแต่เด็กเล็ก ไปยันเยาวชนให้พวกเขา มองเห็นว่าดนตรีไทย ไม่ได้เป็นเพียงดนตรีที่ล้าสมัยเท่านั้น หากแต่เป็นดนตรีที่เด็กและเยาวชนไทยทุกคนควรช่วยกันอนุรักษ์ไว้ อันเนื่องจากเป็นสมบัติของประเทศไทยที่มีมาแต่ช้านาน
  • ช่วยกันสร้างสรรค์ไอเดีย พัฒนา พร้อมผสมผสานดนตรีไทยแบบดั้งเดิม ให้เข้ากับเพลงสมัยใหม่ เช่น นำเครื่องดนตรีไทยมาผสมผสานให้เข้ากับเครื่องดนตรีสากล เป็นต้น
  • เผยแพร่ความรู้ในเรื่องของดนตรีไทยในสื่อต่างๆ เช่น สื่อวิทยุ, โทรทัศน์ Internet เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสสัมผัสหรือทำความรู้จักกับเครื่องดนตรีไทยมากยิ่งขึ้น

สรุปแล้ว แนวทางการอนุรักษ์ พร้อมพัฒนามรดกวัฒนธรรมทางดนตรีไทย, ดนตรีพื้นบ้าน ให้เกิดความบรรลุผลได้อย่างดีนั้น ก็ขึ้นอยู่กับพลังของทุกคนผู้เป็นเจ้าของมรดกวัฒนธรรม โดยเฉพาะเยาวชนที่เป็นพลังคนรุ่นใหม่ของชาติ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมอันเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นชาติไทย เมื่อเยาวชนคนรุ่นใหม่หันมาให้ความสนใจ ร่วมกันรักษามรดกวัฒนธรรมไว้ได้อย่างเหนียวแน่น ก็เท่ากับเป็นการรักษาให้ประเทศชาติมีความเข้มแข็งตามไปด้วย

11 ม.ค. 2012

วิธี การอนุรักษ์ดนตรีไทย ป 4

เครื่องดนตรีไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมซึ่งบรรพบุรุษของเราได้สร้างสมไว้ และ      เป็นเครื่องหมาย อย่างหนึ่งที่แสดงลักษณะเฉพาะของชาติไทย เช่นเดียวกับภาษา และ  ศิลป      วัฒนธรรม ด้านอื่น ๆ สมควรที่เราจะภาคภูมิใจและช่วยกันทะนุบำรุง ส่งเสริม และรักษาไว้ให้ดำรง      คงอยู่สืบไป ในเบื้องต้นนี้ เราควรจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดนตรีไทย  อันอาจจะก่อให้เกิด      ความรักและ ความสนใจ ดนตรีไทยขึ้นมาได้ ต่อไปนี้จะขอแนะนำให้รู้จักส่วนหนึ่งของ “ดนตรีไทย”       คือ “เครื่องดนตรีไทย”

วิธีการอนุรักษ์ดนตรีไทย

1 ปลูกฝังดนตรีไทยให้แก่กลุ่มเด็ก เยาวชน
 2 สร้างสายสัมพันธ์อันดีระหว่างครูกับศิษย์
 3 ใช้อุปกรณ์ทันสมัยช่วยในการเรียนการฝึก
 4 ปรับปรุงผสมผสานวัฒนธรรมดั้งเดิมกับวัฒนธรรมเพลงสมัยใหม่
 5 มีการประเมินผลผู้เรียนเป็นขั้นตอน

             ดนตรีไทย      เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีความสำคัญต่อคนไทย  บ่งบอกให้ทราบถึงความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมที่บรรพชนไทยได้พัฒนาและสร้างสรรค์จนเป็นเอกลักษณ์ที่สะท้อนให้เห็นคุณค่า   ควรค่าแก่การอนุรักษ์และส่งเสริมดนตรีไทย  โดยแนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมดนตรีไทย  เพื่อความคงอยู่ของดนตรีไทยอย่างมีคุณค่า มีดังนี้

บทบาทหน้าที่ของเยาวชนไทย

เยาวชนไทยทุกคนเป็นผู้สืบทอดมรดกวัฒนธรรมที่บรรพชนได้สร้างสมไว้  ด้วยสติปัญญาของเยาวชน ซึ่งเป็นผู้ที่พร้อมด้วยข้อมูล  ข่าวสาร  ทำให้สามารถรับรู้ได้อย่างรวดเร็ว ภารกิจนี้เป็นบทบาทหน้าที่ของเยาวชนที่ต้องแสวงหารูปแบบ  วิธีการที่เหมาะสมในการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมดนตรีของไทย

สำหรับเยาวชนไทย แนวคิดที่ควรนำมาเป็นแนวทาง  และวิธีการสำหรับการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมดนตรี มีดังนี้เ

๑. ศึกษาประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของมรดกวัฒนธรรมทางดนตรี เพื่อให้ รู้จริง  รู้แจ้ง และให้เข้าใจดนตรีอย่างถ่องแท้

๒. ฟังและเผยแพร่ โดยพยายามหมั่นรับฟังดนตรีไทยบ่อยๆ เพื่อให้เกิดความซาบซึ้ง แล้วเราจะรู้ว่าเพลงไทยในปัจจุบันที่เรานิยมชมชอบ ทำนองเพลงได้จำลองมาจากดนตรีไทยตั้งแต่โบราณ ขณะเดียวกันก็พยายามชักนำและส่งเสริมใให้บุคคลอื่นฟังดนตรีไทยด้วย

๓. รับรู้สาระศิลปวัฒนธรรมด้วยใจที่เปิดกว้าง มีทัศนคติที่ดี

๔. หาแนวร่วมจากคนวัยเดียวกัน หรือผู้ที่มีแนวคิดเดียวกัน พร้อมที่จะร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ พัฒนามรดกวัฒนธรรมตามวิถีประชาธิปไตยที่เกิดจากมติของกลุ่ม

๕. เลือกรูปแบบเพื่อหาทางขับเคลื่อนวิธีการให้ดำเนินไปสู่เป้าหมาย คือ รูปแบบเพื่อการอนุรักษ์ดนตรี รูปแบบเพื่อการพัฒนา และรูปแบบเพื่อการปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัย

๖. การฝึกหัดเล่นดนตรีไทย ขับร้องเพลงไทย นับเป็นวิธีการเข้าถึงดนตรีและนำไปสู่การอนุรักษ์ดนตรีไทยได้

๗. การนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์และสื่อเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน มาสร้างให้เป็นนวัตกรรมทางดนตรีไทยด้วยวิธีการต่างๆ

ทั้งนี้ แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนามรดกวัฒนธรรมทางดนตรีให้บรรลุผลได้อย่างดีนั้น ขึ้นอยู่กับพลังของเยาวชนทุกคนผู้เป็นเจ้าของมรดกวัฒนธรรม เพราะวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นชาติ ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ว่า "การรักษาวัฒนธรรมเป็นการรักษาชาติ" เมื่อเยาวชนคนรุ่นใหม่ร่วมกันรักษามรดกวัฒนธรรมไว้ได้อย่างเข้มแข็งกับเป็นการรักษามรดกวัฒนธรรมไว้ได้อย่างเข้มแข็งก็เท่ากับเป็นการรักษาให้ประเทศชาติมีความเข้มแข็งด้วย

วิธี การอนุรักษ์ดนตรีไทย ป 4

 จดบันทึกและเผยแพร่

การทำให้ดนตรีไทยสืบทอดต่อไปถึงรุ่นหลังอีกวิธีหนึ่ง คือ การจดบันทึกประวัติความเป็นมา  วิธีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีแต่ละชนิด วิธีการบรรเลง และโน้ตเพลงต่างๆ  

ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้ามาก สามารถบันทึกและส่งต่อ หรือเผยแพร่ใ้เป็นวิทยาทานแก่ผู้ที่สนใจศึกษาได้ทั่วโลก 

วิธีการที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะช่วยทำให้ดนตรีไทยเป็นที่รู้จัก เมื่อมีผู้สนใจย่อมนำไปเผยแพร่บอกต่อกัน ทำให้ดนตรีไทยคงอยู่และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น

วิธี การอนุรักษ์ดนตรีไทย ป 4

 บูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนวิชาอื่นๆ 

             การศึกษารายวิชาต่างๆ ในปัจจุบันจำเป็นต้องศึกษารายวิชาพื้นฐาน ซึ่งเป็นรายวิชาที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ได้รู้ได้เข้าใจในสิ่งต่างๆ ที่ควรรู้ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานของชีวิต การเรียนวิชาต่างๆเหล่านั้นสามารถนำดนตรีไทยเข้าไปบูรณาการในการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจและจดจำเนื้อหาสาระได้ง่าย อีกทั้งยังทำให้นักเรียนสนุกสนานกับบทเรียน เช่น การเรียนคณิตศาสตร์ อาจแต่งบทร้องให้เกี่ยวข้องกับสูตรต่างๆ ในการคำนวณใช้ทำนองเพลงไทยที่ง่ายๆ และสนุกสนานในการขับร้องจะช่วยให้นักเรียนจำสูตรต่างๆ และสามารถคำนวณได้ถูกต้อง  ถ้าเป็นวิชาพลศึกก็สามารถนำเพลงไทยที่มีจังหวะสนุกสนานทำท่าทางประกอบได้ เช่น เพลงค้างคาวกินกล้วย เป็นต้น