Ludwig van Beethoven ผลงานที่ โดด เด่น

เบโธเฟนได้เริ่มเรียนดนตรีอย่างจริงจังกับ คริสเตียน กอทท์ลอบ นีฟ (Christine Gottlob Neefe) ดังรูปที่ 2 ได้เริ่มงานด้านดนตรีในตาแหน่งนักออร์แกนประจำโบสถ์ นักเปียโนและนักไวโอลินในตำแหน่งผู้ช่วยของนีฟ และต่อมาได้รับตาแหน่งหัวหน้าวงของวงดนตรีในสานักของเจ้าเมืองบอนน์ เบโธเฟนเริ่มประพันธ์เพลงสาหรับเปียโนเมื่ออายุ 12 ปี และเมื่ออายุ 16 ปี เบโธเฟนเดินทางมากรุงเวียนนาเพื่อที่จะฝึกหัดดนตรีและเล่นดนตรีให้กับโมซาร์ท ซึ่งเมื่อโมซาร์ทฟังแล้วได้กล่าวว่า…. จงคอยดูเด็กคนนี้ให้ดี วันหนึ่งเขาจะดังก้องไปทั่วโลก (“Keep your eyes on him; somebody he will give the world something to talk about”) โมซาร์ทมีความชื่นชมในความสามารถทางด้านดนตรีของเบโธเฟน และยังกล่าวอีกว่าเบโธเฟนจะประสบความสาเร็จในโลกดนตรีต่อไป

หลังจากนั้นเบโธเฟนเดินทางกลับมายังเมืองบอนน์และทางานในเป็นนักออร์แกนและไวโอลิน ในขณะเดียวกันก็ประพันธ์เพลงไปด้วย จนกระทั่งอายุ 22 ปี เบโธเฟนย้ายมาอยู่ที่กรุงเวียนนาด้วยความตั้งใจที่จะหาชื่อเสียงในการเล่นดนตรีและประพันธ์เพลง เขามีโอกาสได้ศึกษาดนตรีกับ Franz Joseph Haydn, Johann Albrechtsberger (1736 – 1809), Johnn Schenk (1753 – 1836) และ Antonio Salieri (1750 – 1825) เบโธเฟนมีความตั้งใจที่จะมุ่งมั่นหาชื่อเสียงในการเล่นดนตรีและประพันธ์เพลงต่างๆ ตามความสามารถของเขาให้ดีที่สุด ซึ่งลักษณะงานดนตรีของเบโธเฟนเต็มไปด้วยลีลาและความรู้สึกที่ระบายออกอย่างรุนแรงและงดงาม เบโธเฟนได้ตระเวนแสดงดนตรีตามแนวของเขาจนทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วกรุงเวียนนา มีลูกศิษย์มาเรียนดนตรีกับเขามากขึ้น และด้วยความสามารถทางดนตรีของเบโธเฟน ทาให้ได้รับการอุปถัมภ์จากหมู่ชนชั้นสูงอยู่เรื่อยมา
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1800 เป็นต้นมา เบโธเฟนหันไปมุ่งเอาดีทางด้านการประพันธ์ และเริ่มประพันธ์เพลงที่สะท้อนถึงความรู้สึกนึกคิดที่เต็มไปด้วยการแสดงออกของอารมณ์อย่างชัดเจน เพลงของเขาแสดงออกมาอย่างเสรีและแหวกแนว ไม่ตรงกับแบบแผนและกฏเกณฑ์ จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า…. “เป็นนักดนตรีที่นอกแบบแผน ทาให้เกิดอันตรายต่อศิลปะทางดนตรี” แต่อย่างไรก็ตามผลงานก็ยังถูกซื้อและตีพิมพ์จาหน่ายหมดอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นไม่นานเบโธเฟนต้องประสบกับปัญหาเกี่ยวกับระบบการได้ยิน เขาเริ่มมีอาการไม่ได้ยินเป็นระยะ
จนกระทั้งปี ค.ศ. 1819 เบโธเฟนได้หยุดการแสดงคอนเสิร์ตในที่สาธารณะและเริ่มเก็บตัวอยู่ที่เมืองเฮลิเกนสตัดท์ (Heiligenstadt) แต่ด้วยความเป็นอัจฉริยะทางดนตรี เบโธเฟนตั้งปณิธานว่า… “ฉันจะไม่ยอมสยบให้แก่ความเคราะห์ร้ายเป็นอันขาด” เบโธเฟนตัดสินใจเดินทางกลับมากรุงเวียนนาและได้สร้างสรรค์ผลงานทางดนตรีต่ออย่างมากมาย ตัวอย่างเช่น Symphony no. 3 (Eroica) เป็นบทแรกที่เบโธเฟนใส่อารมณ์และความรู้สึกอย่างรุนแรง โดยละทิ้งหลักเกณฑ์ยุคคลาสสิค แนวเพลงของไฮเดินและโมซาร์ทโดยสิ้นเชิง นับว่าเป็นสัญลักษณ์ของบทเพลงยุคโรแมนติก

ในงานแสดงคอนเสิร์ตครั้ง Symphony no. 9 ปี ค.ศ. 1824 ณ กรุงเวียนนา เบโธเฟนทาหน้าที่กากับเพลงและควบคุมวงดนตรีด้วยตนเอง ดังรูปที่ 3 สร้างความประทับใจและได้รับเสียงปรบมืออย่างล้นหลามและนี่คือการปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชนครั้งสุดท้ายของเขา  เบโธเฟนเสียชีวิตด้วยอายุเพียง 57 ปี แต่อย่างไรก็ตามผลงานของเบโธเฟนได้รับการยกย่องในเรื่องการสร้างสรรค์ผลงานทางดนตรีในรูปแบบใหม่จากยุคคลาสสิคมาสู่ยุคโรแมนติก ด้วยความตั้งใจและความเป็นอัจฉริยะทางด้านดนตรี เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ประพันธ์เพลงที่ยิ่งใหญ่ตลอดกาล

Ludwig van Beethoven ผลงานที่ โดด เด่น

ลีลาการกำกับวงและอำนวยเพลง

ลักษณะและผลงานทางดนตรี
หลังจากประสบปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน เบโธเฟนได้หันมามุ่งมั่นในด้านการประพันธ์เพลงมากขึ้น เขามีแนวคิดและพัฒนาในการประพันธ์มาเรื่อยๆจนได้รูปแบบใหม่ คือยังคงใช้รูปแบบและเทคนิคของการประพันธ์เพลงในยุคคลาสสิค แต่ได้เพิ่มพลังความเข้มข้นลงไป ทาให้ดนตรีในสมัยที่ไฮเดินและโมซาร์ทประพันธ์ไว้เปลี่ยนมาเป็นรูปแบบใหม่
ลักษณะงานของเบโธเฟน คือ การใช้จังหวะขัด (Syncopation) และการใช้เสียงที่ไม่กลมกลืน (Dissonance) ในการสร้างความตึงเครียดและความตื่นเต้นในบทเพลง มีการใช้ช่วงกว้างของเสียง (range) และความดัง-ค่อย (dynamic) มีมากกว่าในเพลงยุคก่อนๆ เมื่อดังจะดังมาก และเมื่อเบาจะเบาจนแทบไม่ได้ยิน หลายครั้งเบโธเฟนใช้ความเงียบทาให้เกิดความตึงเครียดด้วย ส่งผลให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกและอารมณ์มากกว่าดนตรียุคคลาสสิค นอกจากนี้สิ่งที่เบโธเฟนใช้เพื่อทาให้เพลงมีพลังขึ้นมา คือ การเน้นเสียง (Accent) และการใช้แนวคิดเรื่องเกี่ยวกับรูปแบบจังหวะสั้นๆ ซ้าๆ ต่อเนื่องกันหลายๆ
ครั้ง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ Symphony no. 5 ในท่อนแรก เบโธเฟนยังใช้การประสานเสียงที่แตกต่างจากยุคคลาสสิคได้แก่ การใช้คอร์ดที่ไม่ใช่ Triad ขึ้นต้นบทเพลง เพื่อช่วยเพิ่มความมีพลัง ความหนักแน่นมากขึ้น ในการสร้างความตึงเครียดที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นเพลงเช่นนี้ ทาให้เพลงมีความยาวมากขึ้น เบโธเฟนจึงเป็นผู้ที่นารูปแบบคลาสลิคมาใช้ แต่ได้ขยายให้แต่ละตอนหรือบางตอนมีความยาวมากขึ้น ตัวอย่างเช่น Symphony No. 3 ที่มีความยาวประมาณ 50 นาที ในขณะที่ซิมโฟนีในสมัยของไฮเดินและโมซาร์ทมักมีความยาวประมาณ 25 – 35 นาทีเท่านั้น นอกจากนี้ในช่วงปิดท้าย (Coda) ของสังคีตลักษณ์โซนาตา เบโธเฟนได้พัฒนาแนวความคิดส่วนนี้จนเป็นส่วนที่สาคัญ มีแนวทานองใหม่เกิดขึ้นเพื่อทาให้บทเพลงจบลงอย่างสมบูรณ์ และยิ่งไปกว่านี้รูปแบบที่เบโธเฟนได้พัฒนาขึ้นอีกอย่าง คือ สเกิร์ตโซ (Scherzo) โดยทั่วไปในยุคคลาสสิคท่อนนี้จะใช้มินูเอต ซึ่งเป็นลักษณะของเพลงเต้นรา ที่มีลักษณะเร็ว สดใส ไม่หนักแน่นจริงจัง แต่สเกิร์ตโซของเบโธเฟนจะมีความหนักแน่น มีพลัง จริงจังและสง่างาม สิ่งที่เบโธเฟนพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยส่งเสริมพลังความเข้มข้น คือการเพิ่มเครื่องดนตรีแต่ละประเภทให้มากขึ้น วงออร์เคสตราในสมัยของเบโธเฟนจึงมีขนาดใหญ่กว่าเดิม ทาให้บทเพลงมีเสียงดังมากกว่าแต่ก่อน แสดงพลังความรู้สึกได้มากกว่า

ผลงานของเบโธเฟนแบ่งได้เป็นสามระยะ ตามลักษณะดนตรีที่แตกต่างกัน ระยะแรก (1780 – 1802) ใช้รูปแบบการประพันธ์เพลงของดนตรียุคคลาสสิคอย่างเด่นชัด ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากไฮเดินและโมซาร์ท ระยะที่สอง (1802 – 1816) เบโธเฟนแสดงความเป็นตัวของตัวเองออกมาอย่างเด่นชัด รูปแบบการประพันธ์มีการพัฒนาอย่างสง่างามมากขึ้น ความยาวในแต่ละส่วนแต่ละตอนมีมากกว่าเพลงในยุคแรก วงออร์เคสตราปรับปรุงเพิ่มจานวนเครื่องดนตรีให้มากขึ้น เพราะต้องการแสดงถึงความมีพลัง ความยิ่งใหญ่ ชัยชนะ การประสานเสียงโดยใช้คอร์แปลกๆ มากขึ้น จัดได้ว่าเป็นผลงานเพลงที่แตกต่างจากยุคคลาสสิคอย่างชัดเจน ระยะที่สาม (1816 – 1827) เป็นช่วงที่เบโธเฟนเปลี่ยนแนวการประพันธ์ไป เนื่องจากต้องการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมา ผลงานในช่วงท้ายมักจะแสดงออกถึงความเข้มแข็ง ไม่นุ่มนวลมากนักและหลายบทเพลงไม่เป็นที่รู้จัก ผลงานของเบโธเฟนประกอบด้วย ซิมโฟนี 9 บท เปียโนคอนแชร์โต 5 บท ไวโอลินคอนแชร์โต 1 บท โอเปรา 1 เรื่อง สติงควอเตท 16 บท เปียโนโซนาตา 32 บทและผลงานสาคัญอีกจานวนมาก นับว่าเบโธเฟนเป็นผู้เชื่อมต่อระหว่างยุคคลาสสิคและยุคโรแมนติกเข้าด้วยกันอย่างแท้จริง

ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของลุดวิก ฟาน เบโทเฟน คือบทเพลงใด

แม้ว่าเบโธเฟนค่อย ๆ สูญเสียการได้ยินของเขา แต่เขาก็ยังคงแต่งเพลง ผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือซิมโฟนี หมายเลข 9 เขาแต่งในขณะที่เขาได้กลายเป็นคนหูหนวกโดยสิ้นเชิง ซิมโฟนีหมายเลข 9 ของเบโธเฟนถือว่าเป็นสุดยอดแห่งซิมโฟนี มีความยาว 4 กระบวน ใช้เวลาบรรเลงไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง และยังมีการนำกลุ่มนักร้องประสานเสียงมาสอดแทรกไว้ ...

ลุดวิค ฟาน เบโธเฟน มีความสําคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตก

เบทโฮเฟินยังเป็นบุคคลแรก ๆ ที่ศึกษาศาสตร์ของวงออร์เคสตราอย่างพิถีพิถัน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาบทเพลง การต่อบทเพลงเข้าด้วยกันโดยเปลี่ยนรูปแบบ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโน้ตแผ่นที่เขาเขียนให้เครื่องดนตรีชิ้นต่าง ๆ นั้น ได้แสดงให้เห็นวิธีการนำเอาทำนองหลักกลับมาใช้ในบทเพลงเดียวกันในรูปแบบที่มีเอกลักษณ์ โดยมีการปรับเปลี่ยนเสียง ...

เบโธเฟน มีผลงานอันโด่งดังไปทั่วโลกคือข้อใด *

ลุดวิก ฟาน บีโธเฟน (Ludwig van Beethoven) คีตกวีชื่อก้องของโลก สิ้นลมหายใจในปี 1827 ตลอดชีวิตการทำงาน แม้เขาจะมีผลงานมากมาย แต่เมื่อเทียบกับคตีกวีคลาสสิกคนอื่นๆ ก็นับได้ว่าเขาประพันธ์ 'ซิมโฟนี' (Symphony) —บทเพลงเพื่อใช้บรรเลงในวงออร์เคสตราไว้น้อยอย่างยิ่ง

ผลงานของ Ludwig van Beethoven มีอิทธิพลต่อดนตรีในยุคใด *

บีโธเฟน เริ่มแต่งเพลงแหกกฎเกณฑ์ทางดนตรี และออกนอกรีตนอกรอยมากขึ้น จึงเกิดเป็นยุคโรแมนติก (Romantic Period)เขามีแนวความคิดเป็นนักปฏิวัติทั้งในด้านดนตรีและความคิดทางสังคม โดยสอดแทรก ความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ของตนลงในดนตรี ซึ่งไม่ใช่วิสัยในยุคนั้น (ที่เรียกว่า Classical period) ดนตรีขั้นสูงคือรูปแบบทางศิลปที่สมบูรณ์ ...