แนวโน้มโลจิสติกส์ในประเทศไทย

360TRUCK Blog ขอสรุปรวบรวม “วิธีปรับตัว” รับอนาคตที่น่าสนใจด้วยกัน 5 ข้อ

Show

ปรับตัวแนวโน้ม “ธุรกิจโลจิสติกส์” รองรับอนาคต …(อันใกล้)

โลจิสติกส์ (Logistics) เป็นหนึ่งในธุรกิจที่เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ความต้องการในการบริโภคสินค้าขยายไปในทุกพื้นที่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การให้บริการขนส่งสินค้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเป็นกระบวนการทางธุรกิจที่สำคัญที่ผู้ประกอบธุรกิจต่างๆ มองหาผู้ให้บริการที่สามารถให้บริการได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย คลอบคลุมทุกพื้นที่ รับผิดชอบต่อการให้บริการ ค่าบริการสอดรับกับต้นทุนการผลิต สร้างราคาสินค้าให้สามารถแข่งขันได้

สภาวการณ์ของตลาดผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้ผู้ประกอบการ   โลจิสติกส์ ต้องปรับตัวให้สามารถรองรับความต้องการใช้บริการ ธุรกิจโลจิสติกส์ ในอนาคตอันใกล้มีแนวโน้มที่จะต้องปรับตัวอย่างมาก

 วิธีปรับตัว รับอนาคตของ ธุรกิจโลจิสติกส์ ที่น่าสนใจด้วยกัน 5 ข้อ ดังนี้

แนวโน้มโลจิสติกส์ในประเทศไทย

1. ต้องพยายามสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการ ธุรกิจโลจิสติกส์ ด้วยกันเอง (Supply Chain Collaborations) 

สร้างพื้นที่การให้บริการให้ครอบคลุมอย่างกว้างขวางมากขึ้น เปิดรับความร่วมมือกับผู้อื่น ให้บริการแบบ One-Stop Services ด้วยการดึงการบริการของ Supply Chain ที่ตนเองไม่มี เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการบริการของตนเอง พร้อมให้บริการขนส่งสินค้า ทั้งจากธุรกิจสู่ธุรกิจ B2B จากธุรกิจสู่ผู้บริโภค B2C และ B2B2C รวมถึงให้บริการขนส่งสินค้าช่วงสุดท้ายถึงมือผู้บริโภคโดยตรง (First/Middle/Last Mile Deliveries)

แนวโน้มโลจิสติกส์ในประเทศไทย

2. นำเทคโนโลยีดิจิตอลสมัยใหม่เข้ามาช่วยเสริม เพิ่มความรวดเร็ว เก็บรวมรวมข้อมูล สร้างความโปร่งใส ลดการใช้ทรัพยากร ลดต้นทุนรายจ่าย ยกระดับการให้บริการ และสร้างความเป็นศูนย์กลางการให้บริการด้านการขนส่งสินค้า (Logistic Service Center)

– เทคโนโลยี Blockchain สร้างความโปร่งใส ความถูกต้องแม่นยำสามารถตรวจสอบได้ พร้อมรองรับธุรกรรมทางการเงิน

– ใช้บริการแพลตฟอร์มที่น่าเชื่อถือบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อเข้าถึงธุรกิจอื่นๆได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

– Big Data ฐานเก็บข้อมูลขนาดใหญ่เก็บรวบรวมข้อมูลการขนส่งสินค้า เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการประมวลผลและวิเคราะห์ สร้างความเข้าใจในความต้องการของผู้ใช้บริการ

– AI & Chatbot หุ่นยนต์อัจฉริยะตอบในทุกคำถามที่ผู้ใช้บริการต้องการทราบแบบอัตโนมัติและเรียลไทม์

แนวโน้มโลจิสติกส์ในประเทศไทย

3. เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับการบริการ

สร้างการรองรับความต้องการการใช้บริการที่หลากหลายทั้งการบริการทั่วไปและเฉพาะเจาะจงของแต่ละธุรกิจของผู้ใช้บริการ ศึกษาและเรียนรู้ความต้องการของผู้ใช้บริการ เข้าถึงข้อมูลธุรกิจผู้ใช้บริการ ออกแบบการให้บริการอย่างสอดรับกับความต้องการ คิดคำนวณค่าบริการได้อย่างเหมาะสม

4. ดึงการบริการจากหลายฝ่าย

ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้บริการด้านโลจิสติกส์ ทั้งผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการ บริษัทประกันภัย สถาบันการเงิน และ ผู้ให้บริการด้าน Supply Chain (3PL & 4PL) เพิ่มความมั่นใจให้ผู้ใช้บริการ

5. โลจิสติกส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (GreenLogistics)

การขนส่งด้วยรถบรรทุกนั้น ในส่วนจองรถบรรทุกที่จะนำมาให้บริการได้มาตรฐานรถบรรทุกเพื่อการขนส่งสินค้า ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ ลดการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดภาระการใช้แรงงานทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ไม่เป็นอันตรายต่อบุคคลและทรัพย์สินของบุคคลรอบข้าง เพราะในปัจจุบันธุรกิจต่างเริ่มให้ความสำคัญในการเลือกใช้บริการผู้ประกอบการที่มีการจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หากไม่ปรับตัวให้ทัน ก็จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างแน่นอน

[/vc_column]

แนวโน้มโลจิสติกส์ในประเทศไทย

LINE OA : @360Shipper

สำหรับเจ้าของสินค้า

แนวโน้มโลจิสติกส์ในประเทศไทย

LINE OA : @360Carrier

สำหรับผู้ให้บริการขนส่ง

แนวโน้มโลจิสติกส์ในประเทศไทย

FACEBOOK : 360TRUCK

ไม่พลาดทุกข่าวสารจากเรา

แนวโน้มโลจิสติกส์ในประเทศไทย

YOUTUBE : 360TRUCK

ติดตามเรื่องราวดีๆ จากเรา

แนวโน้มโลจิสติกส์ในประเทศไทย

วิเคราะห์ เทรนด์ โลจิสติกส์ ปี 2022

   ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโลจิสติกส์มากมาย เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่อุตสาหกรรมโลจิสติกส์กำลังพัฒนาและเติบโตอยู่เรื่อย ๆ และน่าจับตามองว่าแนวโน้มเทรนด์โลจิสติกส์ในปี 2022 จะเป็นไปในทิศทางไหน อย่างไรก็ตามจุดสูงสุดของบริการโลจิสติกส์ คือการให้บริการอย่างครบวงจร และตอบโจทย์ทุกความต้องการในการขนส่งพร้อมดูแลการจัดส่งสินค้าให้ถึงปลายทางอย่างปลอดภัย และมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจและขับเคลื่อนให้เติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ..

   1.Internet of Thing (IoT) หมายถึง เครือข่ายของสิ่งของที่มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ และเซ็นเซอร์ฝังตัวอยู่ ทำให้สามารถเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ ซึ่งเห็นได้จากเทคโนโลยีใหม่ๆ เกี่ยวกับการติดตามการขนส่งด้วย RFID, GPS มากขึ้น ซึ่งการติดตามการขนส่งได้อย่างแม่นยำจะทำให้ธุรกิจที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดสามารถจัดการส่วนต่าง ๆ ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งเรื่อง เส้นทางการขนส่ง การจัดการพนักงาน และการจัดเก็บสินค้าในโกดัง ช่วยให้การตัดสินใจแม่นยำขึ้นและประหยัดเวลาในการดำเนินการมากขึ้น

   2.มีการใช้แอปพลิเคชันในการทำงานมากขึ้น

  • เช่น แอปฯ ที่ช่วยในการกรอกข้อมูล เก็บข้อมูล เรียกดูข้อมูลเพื่อติดตามสินค้า
  • สถานะการจัดส่งแบบ Real Time ทุกที่ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง

   3.ใช้ระบบจัดการสต๊อก

   นำระบบจัดการสต๊อกเข้ามาใช้งานในด้านโลจิสติกส์เพื่อลด Human Error จากพนักงานแพ็คสินค้า เพื่อให้ผู้ขายสามารถมองเห็นและจัดการคำสั่งซื้อจากช่องทางต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย เป็นระบบระเบียบ และแม่นยำ ลดเวลาการดูแลออเดอร์จำนวนมากที่วุ่นวาย สามารถดึงข้อมูลจากแพลตฟอร์มได้อย่างถูกต้อง 100%

   4.บริหารจัดการสินค้าด้วยระบบ Fulfillment

   ระบบ Fulfillment หรือคลังสินค้าครบวงจร จัดการด้วยระบบ WMS : Warehouse Management System คือ โปรแกรมในระบบคอมพิวเตอร์ ที่ช่วยในการบริหารจัดการคลังสินค้า และกระบวนการทำงานต่าง ๆ ในคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น เพิ่มความแม่นยำในการจัดเก็บสินค้า, เพิ่มความถูกต้องในการจ่ายสินค้าให้ลูกค้า, สามารถค้นหาสินค้าได้อย่างรวดเร็ว, สามารถดูจำนวนสินค้าคงคลังในปัจจุบันได้อย่างถูกต้องและทันที เพื่อการจัดส่งอย่างถูกต้อง พร้อมเช็คสถานะการจัดส่งได้ทุกขั้นตอน ทำให้ลดความผิดพลาดของการจัดส่งที่อาจจะเกิดขึ้นจากการไม่มีระบบช่วยดูแลนั่นเอง…

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: www.prosoftgps.com,

Login