งาน ทัศน ศิลป์ ในท้องถิ่น ป. 3

ศิลปะในท้องถิ่น
          ศิลปะท้องถิ่นกับความเป็นมา
          ศิลปะท้องถิ่นในภูมิภาคต่าง ๆ มักมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามภูมิประเทศ วิถีชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรมของผู้คนในท้องถิ่น และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะถูกสร้างสรรค์โดยศิลปินหรือผู้คนในท้องถิ่นเอง และมีลักษณะไม่เหมือนกับผลงานศิลปะท้องถิ่นอื่น ๆ  ศิลปะในท้องถิ่นเป็นสิ่งที่นักเรียนควรเรียนรู้และเห็นคุณค่า โดยเฉพาะผลงานศิลปะในท้องถิ่นของตนเอง ดังนั้น นักเรียนควรศึกษาถึงความเป็นมาของผลงานศิลปะเหล่านั้น เพื่อสามารถแนะนำผู้อื่นได้ โดยอาจใช้วิธีการ ดังนี้
1.  สัมภาษณ์โดยตรงกับศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปะชิ้นนั้น
2.  จดบันทึกจากแผ่นป้ายนิเทศ
3.  ศึกษาจากหอสมุดหมู่บ้านหรือวัด
4.  ชมพิพิธภัณฑ์แสดงผลงานศิลปะในท้องถิ่น
นอกจากนี้ ยังมีวิธีค้นหาประวัติความเป็นมาของผลงานศิลปะวิธีอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งนักเรียนควรเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมต่อไป

งานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมต่างๆ
ศิลปะในท้องถิ่นเป็นผลงานศิลปะที่เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ของคนในท้องถิ่นนั้นๆโดยอาศัยความรู้ความสามารถที่มีอยู่ โดยนำเอาวัสดุท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับสภาพแวดล้อม ประเพณี วัฒนธรรม การดำเนินชีวิต ซึ่งงานศิลปะในแต่ละท้องถิ่นจะมีลักษณะแตกต่างกันไป
ผลงานศิลปะในท้องถิ่นมีหลายรูปแบบ เช่น เครื่องจักรสาน ภาพเขียน (จิตรกรรม) เครื่องประดับ เครื่องใช้สอยในครัวเรือน ของใช่ส่วนตัว ของเล่น เป็นต้น งานศิลปะท้องถิ่นมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้
1. ภาคเหนือ เป็นท้องถิ่นที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน และมีประเพณีวัฒนธรรมหลากหลาย ดั้งนี้มีแหล่งกำเนิดงานศิลปะอยู่มากมาย เช่น แหล่งทำร่มบ่อสร้าง และแหล่งผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ แหล่งทำถ้วยชามตราไก่ อ.เกาะคา จ.ลำปางเป็นต้น

2.ภาคอีสาน ในท้องถิ่นนี้ มีผลงานศิลปะอยู่หลายแห่งด้วยกัน บางแห่งก็มีชื่อสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่นแหล่งทำเครื่องปั้นดินเผา อ.หนองหาน จ.อุดรธานี เป็นต้น
3.ภาคใต้ ผลงานศิลปะของท้องถิ่นภาคใต้ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอยู่หลายอย่าง เช่น การทำเรือกอและ อ.ปะนาเระ จ.นรานิวาส เป็นต้น

4. ภาคกลาง แหล่งผลิตงานศิลปะทางภาคกลางส่วยมากจะอยู่ในจังหวัดรอบๆกรุงเทพมหานคร
แหล่งแหล่งผลิตผลงานศิลปะที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จัดกันทั่วไป เช่น ตุ๊กตาดินเผา อ.บางเสด็จ จ.พระนครสีอยุธยา เป็นต้น

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 งานศิลปะที่พบเห็นในชุมชนหรือผลงานศิลปะท้องถิ่น   ประดิษฐ์สร้างขึ้นจากวิถีชีวิต  วัฒนธรรมประเพณีของคนในท้องถิ่น  และวัสดุอุปกรณ์ที่มีในท้องถิ่น  ผลงานศิลปะในท้องถิ่นจึงมีความแตกต่างกันไป  สร้างมาจากภูมิปัญญาโดยใช้ลวดลายงานศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ในท้องถิ่น  ควรแก่การศึกษาที่มาของงานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ศ.1.2 ป3/1  เล่าถึงที่มาของงานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น

จุดประสงค์การเรียนรู้

เมื่อนักเรียนเรียนแล้ว  นักเรียนสามารถ

- เล่าถึงที่มาของงานทัศนศิลป์ที่พบเห็นในชุมชน ได้

การวัดผลและประเมินผล

- สังเกตความตั้งใจในการเรียน

- การเล่าถึงที่มาของงานทัศนศิลป์ที่พบเห็นในชุมชนได้

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 งานทัศนศิลป์ในท้องถิ่นเป็นงานที่มีคุณค่า เพราะเกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยแต่ละภาค แต่ละท้องถิ่นมีการใช้วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการสร้างสรรค์แตกต่างกันออกไป แต่ทุกงานล้วนเป็นสิ่งที่เราควรอนุรักษ์และรักษาให้คงอยู่สืบต่อไป

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ศ 1.2 ป.3/1 เล่าถึงที่มาของงานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น

ป.3/2 อธิบายเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และวิธีการสร้างงานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. สามารถเล่าถึงที่มาของงานทัศนศิลป์ในท้องถิ่นได้

2. สามารถอธิบายเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และวิธีการสร้างงานทัศนศิลป์ในท้องถิ่นได้

3. สามารถวาดภาพระบายสีงานทัศนศิลป์ท้องถิ่นได้

4. ตระหนักและเห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น

การวัดผลและประเมินผล

1. ตรวจสอบจากการตอบคำถามของนักเรียน

2. ประเมินจากแบบประเมินชิ้นงาน