หน่วยการเรียน รู้ ที่ 2 ความ ปลอดภัย ในการปฏิบัติงานช่าง

                                                                             ใบความรู้ที่ 1

เรื่อง งานช่างกับการดำรงชีวิต

ปัจจุบันการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคนต้องการความเป็นอยู่ที่อบอุ่นมีความสุข และปลอดภัย ดังนั้นทุก ๆ คนต่างก็พยายามใฝ่หาสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้คนใดครอบครัวมีความสุข

และสิ่งเหล่านั้นก็คือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ในบ้าน ซึ่งการใช้เครื่องใช้ อุปกรณ์ในบ้านให้ถูกวิธี และมีอายุการใช้งานได้นานนั้น ผู้ใช้จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการใช้เครื่องใช้ อุปกรณ์ในบ้าน

อย่างถูกวิธี เช่น การบำรุงรักษา การซ่อมแซม การติดตั้ง เป็นต้น

ความรู้เบื้องต้นกับงานช่าง

          งานช่าง มีมาควบคู่กับมนุษย์ตั้งแต่ในยุคต่าง ๆ ตั้งแต่ในยุคหิน ยุคโลหะ จนกระทั่งในยุคปัจจุบัน เพื่อประโยชน์ในด้านการดำรงชีวิตและความสะดวก  สบาย ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือ กลายเป็นอาชีพในสาขาต่าง ๆ

          งานช่างจึงมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่  การมีความรู้ความเข้าใจในงานช่างตลอดจนการมีทักษะงานช่าง  สามารถปฏิบัติตามทักษะกระบวนการทางช่างอย่างถูกต้อง ก็จะเกิดประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันเป็นอย่างดี  ทั้งในเรื่องการเลือกและการใช้วัสดุสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ในบ้าน

          ศาสตร์ หมายถึง ต้องใช้ความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์          

          ศิลป์ หมายถึง ต้องมีความสวยงาม ประณีต ละเอียดอ่อน งานช่างจึงต้องใช้ทั้งสองอย่างควบคู่กัน จึงจะได้ผลงานที่ดีมีประโยชน์และสวยงามด้วย…   

ความหมายทักษะงานช่าง

          ทักษะ (Skill) หมายถึงความสามารถในการทำงานได้อย่างคล่องแคล่ว ว่องไว รวดเร็วถูกต้องแม่นยำ และความชำนาญในการปฏิบัติจนเป็นที่เชื่อถือและยอมรับของบุคคลทั่วไป

          ช่าง (Handy man)  หมายถึง  ผู้ที่มีความรู้และชำนาญในงานหรือในศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง ในการสร้าง การผลิต การซ่อมแซม บำรุงรักษา การดัดแปลงแก้ไขวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ

          งานช่าง (Handicraft) หมายถึง สิ่งที่เป็นผลเกิดจากการทำงานของช่าง งานช่างแบ่งออกได้หลายสาขา เช่น งานไม้ ช่างไฟฟ้า ช่างโลหะ ช่างยนต์ ช่างประปา เป็นต้นผู้เป็นช่างจึงมักมีคำต่อท้าย เพื่อบอกประเภทหรือสาขาของงานที่ทำ เช่น ช่างเขียนแบบ ช่างไม้ ช่างปูน ช่างไฟฟ้า ช่างประปา ช่างโลหะ ช่างคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

         ทักษะเชิงช่าง (Engineering skill) หรือทักษะปฏิบัติ หมายถึง ความสามารถหรือสมรรถนะในการใช้เครื่องมือช่างพื้นฐาน เพื่อสามารถปรับปรุงซ่อมแซม ตกแต่งบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน (กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์.  2554 : http://www.thairath.co.th)

         ทักษะงานช่างในชีวิตประจำวัน อาจกล่าวได้ว่า เป็นงานที่ต้องใช้ทักษะที่เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับการสร้าง การผลิต การซ่อมแซม บำรุงรักษา การดัดแปลงเครื่องใช้ในบ้าน  ที่ทุกคนสามารถทำได้ด้วยตนเอง ส่วนใหญ่เป็นงานเกี่ยวกับการซ่อมแซมแก้ไขสิ่งของเครื่องใช้ในบ้านที่ชำรุด เสียหาย หรือสร้างสิ่งของง่าย ๆ เช่น ซ่อมแซมโต๊ะ เก้าอี้ รั้ว ผนัง ถนน ทางเท้าในบ้าน การเดินสายไฟฟ้าในบ้าน การเดินสายโทรศัพท์ การต่อประปา การดูแลบำรุงรักษาเครื่องใช้ไม้สอยภายในบ้าน ด้วยตนเอง ตลอดถึงเครื่องยนต์กลไกและเครื่องมือเครื่องใช้ทางเทคโนโลยีต่าง ๆ เป็นต้น  เพื่อการดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข

          ช่างที่ดีนอกจากจะมีความรู้ในงานของตอนเองแล้ว ยังต้องมีฝีมือหรือศิลปะในการทำงานด้วย ความรู้เกี่ยวกับงานช่างอาจจะได้จากการเล่าสืบต่อกันมา หรือจากการศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม ประสบการณ์ในการทำงานของช่าง นอกจากจะเสริมความรู้ของช่างแล้ว ยังช่วยให้มีความชำนาญในฝีมือการทำงานและการแสดงความสามารถทางศิลปะอีกด้วย งานช่างจึงมีหลายระดับ  เริ่มจากระดับเบื้องต้น ซึ่งเป็นระดับธรรมดาสามัญทั่วไป แล้วจึงเป็นงานช่างในระดับสูงยิ่งขึ้น งานช่างบางอย่างเป็นงานช่างระดับสูงมากถึงต้องศึกษาในระดับอุดมศึกษาในอนาคตต่อไป (สรพงษ์ ศรีวินิจ : 2546 – 3)

คุณค่าและความสำคัญของทักษะงานช่าง

          ทักษะงานช่างในชีวิตประจำวันเกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือช่าง เช่น การใช้ค้อน คีม ประแจ ตะใบ มีดหรือ คัตเตอร์ ขวาน สิ่ว ไขควง รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ไฟฟ้าบางชนิด เช่น สว่านไฟฟ้า เลื่อยไฟฟ้า เป็นต้น นอกจากนั้นยังรวมไปถึงทักษะของการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งอาวุธ และพาหนะ เช่น รถจักยาน รถจักยานยนตร์ รถยนต์ เรือที่ใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อน และเครื่องมือเครื่องใช้ทางเทคโนโลยี นอกจากนั้น ยังเป็นการส่งเสริมให้มีสมรรถนะในการจัดระบบความคิดในการแก้ปัญหาที่ต้องใช้กลวิธีหรือเทคนิควิธีที่เหมาะสมอีกด้วยความสามารถหรือสมรรถนะเชิงช่างนี้จะถูกนำมาใช้เมื่อมีปัญหาที่ต้องแก้ไข ในยามภาวะปกติอาจไม่เห็นคุณค่าและความสำคัญ ทักษะเชิงช่างเป็นทักษะแฝงที่มีไว้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน และเมื่อประสบภัยพิบัติ หรือยามฉุกเฉิน เช่น ในสถานการน้ำท่วมจะพบว่า ผู้มี่ทักษะเชิงช่างสามารถแก้ปัญหาบ้านเรือนที่ประสบภัยได้ดีกว่า ประหยัดกว่าและมีประสิทธิภาพสูงกว่าผู้ขาดทักษะงานช่าง

   (กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์.2554: http://www.thairath.co.th)

ประโยชนที่ได้รับจากการปฏิบัติงานช่างในบ้าน

1.เป็นการฝึกฝนการเรียนรู้เพื่อเป็นช่างฝีมือต่อไปในอนาคต

2.เป็นการตรวจสอบและซ่อมแซมปรับปรุงแก้ไขเครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ให้มีสภาพการใช้งานได้เป็นอย่างดี เพื่อยืดอายุการใช้งาน

3.เป็นการเรียนรู้เชิงประจักษ์ในการใช้เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ในงานช่างโดยตรงเพื่อการสร้างสรรค์ชิ้นงานในชีวิตประจำวัน หรือเพื่อการประกอบอาชีพต่อไป

4.ส่งเสริมการมีจิตสำนึกความปลอดภัยในการทำงานได้เป็นอย่างดี

5.ส่งเสริมการคิดคิดวิเคราะห์การแก้ปัญหา โดยการใช้งานช่างในการซ่อมแซม

6.ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ด้วยการซ่อมแซม เครื่องมือเครื่องใช้ในบ้าน

7.ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม โดยลดการใช้ทรัพยากรด้วยการซ่อมแซม ประกอบของใช้ที่มีอยู่แล้วให้มีสภาพดีทดแทนการชื้อใหม่

ประเภทของงานช่าง

งานช่างที่เกี่ยวข้องกับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถจำแนกได้ 4 ประเภทดังนี้

          1.งานบำรุงรักษา เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับหลักการวิธีการทำงาน การดูแลบำรุงรักษา และข้อควรรังในการใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ในบ้าน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องสุขภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ ให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง

              2.งามซ่อมแซม เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามรถเกี่ยวกับหลักการทำงานของเครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ เพื่อตรวจสอบอุปกรณ์ เครื่องใช้ในบ้านเมื่อมีการชำรุดหรือเสียหาย

              3.งานติดตั้ง  เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับหลักการทำงานของเครื่องมือวัสดุ และอุปกรณ์ เพื่อติดตั้งเครื่องใช้ อุปกรณ์ในบ้านให้สามารถใช้งานได้

  4.งานผลิต เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถและทักษะการใช้เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ โดยมีการคิดวิเคราะห์ วางแผน ออกแบบชิ้นงานวิธีการทำงานอย่างเป็นกระบวนการสามารถเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และผลิตชิ้นงานได้ตามความต้องการ 

หลักการ วิธีการ และขั้นตอนในการทำงานงานช่าง

     1.หลักการทำงานงานช่าง

          1.1.มีความรู้เกี่ยวกับลักษณะส่วนประกอบและประโยชน์ชองเครื่องมือเครื่องใช้

          1.2.มีความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงาน การดูแลรักษา และความปลอดภัยของเครื่องมือ

          1.3.มีความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานและดูแลรักษาวัสดุ อุปกรณ์ในบ้าน

     2.วิธีการทำงานช่าง

          การทำงานงานช่างทุกประเภทต้องมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

          2.1.ศึกษาข้อมูลการทำงานของเครื่องมือ เครื่องใช้ ศึกษาคำแนะนำหลักความปลอดภัยในการทำงาน

          2.2.วางแผนการดำเนินงาน การบำรุงรักษา การซอมแซม การติดตั้งและการผลิตคำนึงถึงการใช้เทคโนโลยี ทรัพยากร พลังงานและวิธีการใช้วัสดุ อุปกรณ์อย่างเหมาะสม

          2.3.ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ พร้อมทั้งมีการตรวจสอบ และแก้ไขระหว่างที่ปฏิบัติ จัดเก็บ บำรุงรักษาเครื่องใช้

          2.4.ตรวจสอบและประเมินการทำงานทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นเตรียมการ ขั้นดำเนินการและหลังดำเนินการ

    3.ขั้นตอนการทำงานช่าง

          3.1.ขั้นเตรียมการหรือขั้นวางแผน เป็นขั้นตอนศึกษาคู่มือการใช้และการทำงานของส่วนประกอบที่ต้องมีการบำรุงรักษา ผู้ปฏิบัติต้องวิเคราะห์ว่าเครื่องมือ เครื่องใช้แต่ละชนิดมีปัญหาเช่นใด

          3.2.ขั้นตอนดำเนินการหรือปฏิบัติ เป็นขั้นตอนการทำงานตามที่วางแผนหรือเตรียมไว้ โดยผู้ปฏิบัติจะลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหมดไว้ มีแบบรายการอย่างไร

          3.3.ขั้นตรวจสอบ เป็นขั้นตอนการตรวจสอบหรือประเมินวิธีการทำงานช่างว่ามีข้อบกพร่องหรือปัญหาที่ส่วนใดเพื่อแก้ไขปัญหาในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

          3.4.ขั้นปรับปรุงและพัฒนา เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการทำงานช่าง เพราะขั้นตอนนี้เป็นการนำผลการตรวจสอบหรือประเมินการทำงานช่าง โดยนำข้อดีหรือข้อเด่นมาพัฒนาให้ดีขั้น

หลักการจัดการงานช่าง

          การทำงานกลุ่มในองค์กรมุ่งเน้นเป้าหมายสำคัญคือความสำเร็จและคุณภาพของงาน เพื่อให้การทำงานบรรลุเป้าหมาย การจัดการจึงเป็นสิ่งสำคัญของการทำงาน ดังนั้นการจะทำงานช่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ปฏิบัติต้องมีความรู้และความเข้าใจในการจัดการงานช่าง

       ความหมายและความสำคัญของการจัดการ

          การจัดการ หมายถึง ความพยามของบุคคลที่จะจัดระบบงาน (ทำงานเป็นรายบุคคล) และจัดระบบคน (ทำเป็นรายกลุ่ม) ให้เหมาะสม เพื่อให้การทำงานสำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

       กระบวนการจัดการงานช่าง

1.การวางแผนดำเนินการ เป็นความสามารถในการวางแผนว่าจะใช้กำลังคนในการทำงานอย่างไร จำนวนเท่าไร อุปกรณ์อะไรบ้าง

2.การแบ่งงาน เป็นความสามารถในการแจกแจงงานที่จะทำว่าเป็นงานประเภทใด ต้องใช้เครื่องมือ วัสดุ และอุปกรณ์อะไรบ้าง

3.การบริหารบุคคล เป็นความสามารถในการคัดเลือกคนเข้าทำงานได้เหมาะสมกับงาน สามารถสร้างบรรยากาศในการทำงานและสร้างแรงจูงใจ

4.การบริหารการเงินและวัสดุ เป็นความสามรถในการเตรียมและจัดหา ตลอดจนควบคุม ตรวจสอบงบประมาณและวัสดุที่ได้วางแผนก่อนและหลังปฏิบัติ

5.การผลิต เป็นความสามารถในการปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ และมีการควบคุม ตรวจสอบคุณภาพการผลิต

6.การจัดจำหน่ายและบริการ เป็นการอำนวยความสะดวกในการขนส่ง ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตไปสู่ลูกค้า

7.การแก่ไขปัญหา เกิดจาการตรวจสอบคุณภาพในขั้นตอนการผลิตหรือปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

การประเมินผลการทำงานงานงานช่าง

          1.การประเมินก่อนการดำเนินงาน เป็นการประเมินการวางแผนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานว่ามีความรู้ความเข้าใจในการทำงาน ตั้งแต่วัตถุประสงค์ ทรัพยากรที่ใช้ มีความเหมาะสมเพียงพอหรอไม่

          2.การประเมินระหว่างการดำเนินงาน เป็นการประเมินกระบวนการการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน ทั้งการทำงานเป็นรายบุคคล และการทำงานกลุ่ม ได้แก่ การวิเคราะห์งาน การปฏิบัติงานตามขั้นตอน

          3.การประเมินหลังการดำเนินงาน เป็นการประเมินความสำเร็จของงานหรือผลงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหมดไว้หรือไม่ หรือเป็นไปตามวัตถุประสงค์

หนังสืออ้างอิง

สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 .กรุงเทพมหานคร : บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด , 2555.