แนะนำตัว เด็กจบใหม่ ไม่มี ประสบการณ์

‘ไม่มีประสบการณ์’ ปัญหาหลักที่เด็กจบใหม่หลายคนต้องเจอเวลาหางาน เนื่องจากองค์กรต่าง ๆ ที่มองหาพนักงานก็มักจะมองหาคนที่มีประสบการณ์มาบ้างแล้ว เพราะจะได้ไม่ต้องมาคอยสอนหรือคอยแนะนำงานมาก ซึ่งตรงนี้เองก็เป็นเหตุผลที่ทำให้เด็กจบใหม่หลายคนถูกปฎิเสธในการสมัครงาน แล้วถ้าเรากำลังเจอกับสถานการณ์นี้อยู่ควรทำยังไง บทความนี้จาก JobThai เลยอยากมาแนะนำ 4 เรื่องที่เด็กจบใหม่ควรทำเพื่อเอาชนะความไม่มีประสบการณ์

Show

เล่าประสบการณ์การทำงานในช่วงเรียน

ก่อนจะส่งใบสมัครงานข้อมูลแรกที่เราควรรวบรวมก็คือประสบการณ์การทำงานต่าง ๆ ที่จะทำให้ HR ได้ทำความรู้จักเรามากขึ้น ถึงแม้เด็กจบใหม่อาจไม่เคยได้ทำงานมาก่อน ก็ไม่ใช่ว่าเราจะไม่พูดถึงประสบการณ์ของเราไปเลย เพราะช่วงการเรียนของหลาย ๆ คนคงต้องเคยผ่านการฝึกงานหรือการทำงาน Part-time ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นอีกหนึ่งข้อได้เปรียบในการหางานของเรา หากเรามีประสบการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่เรากำลังจะสมัคร ก็สามารถนำมาเขียนไว้ในเรซูเม่ได้เหมือนกัน เพราะการฝึกงานก็เหมือนการที่เราได้ลงไปทำงานจริง ๆ ได้ฝึกฝนตัวเอง และต่อยอดสิ่งที่ได้เรียนมา

ในขณะที่การทำงาน Part-time ก็จะเพิ่มประสบการณ์จากการทำงานจริง แม้งานที่เราเคยทำช่วงเรียนจะไม่ได้ทำงานตรงกับสายงานที่เราจะสมัคร แต่เราก็ยังได้ทักษะที่เป็น Soft Skills ต่าง ๆ เช่น การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งจะทำให้ Resume ของเราจะโดดเด่นกว่าเพื่อนนักศึกษาจบใหม่คนอื่น ๆ แน่นอน

เขียน Cover Letter และ Resume ให้ดึงดูด

Cover Letter เป็นสิ่งแรกที่จะบอกให้ HR รับรู้ถึงประสบการณ์การทำงาน หรือการฝึกงานที่ผ่านมาของเราเบื้องต้น ในขณะที่เรซูเม่เป็นสิ่งที่จะทำให้ HR ได้ทำความรู้จักกับเราเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์การเรียน การฝึกงาน การทำงาน Part-time หรือทักษะต่าง ๆ ที่เรามี แต่สิ่งที่เด็กจบใหม่หลายคนทำผิดพลาดก็คือ ไม่ใส่ประสบการณ์ด้านอื่น ๆ นอกจากการเรียนเลย ทำให้ยากต่อการตัดสินใจเรียกมาสัมภาษณ์ ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ว่าเราจะทำงานเล็กน้อยแค่ไหน ก็สามารถใส่ลงไปในเรซูเม่หรือ Cover Letter ได้ เราอาจลองพิจารณาจากงาน Part-time หรือการฝึกงานของตัวเอง แล้วเขียนอธิบายถึงหน้าที่ที่เราทำและทักษะที่เราได้รับมา เพื่อ HR จะได้รู้จักตัวตนของเรามากที่สุด ที่สำคัญก่อนส่งเอกสารเพื่อสมัครงานทุกครั้ง ‘อย่าลืมตรวจเช็กคำผิดก่อนส่งเสมอ’

เทคนิคในการเขียน Cover Letter และ Resume

  • Cover Letter เราควรเขียนแนะนำตัวเองเบื้องต้น และเล่าถึงทักษะและความสามารถที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับตำแหน่งที่จะสมัครได้
  • Resume เขียนรายละเอียดที่เกี่ยวกับตัวเองให้เรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ-นามสกุล ข้อมูลส่วนตัว จุดมุ่งหมายในอาชีพ ประวัติการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และอีเมลหรือเบอร์โทรศัพท์ในการติดต่อกลับ
แนะนำตัว เด็กจบใหม่ ไม่มี ประสบการณ์

แสดงทักษะให้มากที่สุดในห้องสัมภาษณ์

เมื่อได้รับโอกาสในการสัมภาษณ์แล้ว สิ่งที่เราควรทำในขั้นตอนนี้ก็คือการแสดงความเป็นมืออาชีพของเราให้ได้มากที่สุด และแสดงออกให้ผู้สัมภาษณ์เห็นว่าเราอยากได้งานนี้จริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำการบ้านเกี่ยวกับองค์กร แสดงออกถึงความรู้ในสายอาชีพของตัวเอง และแสดงความเป็นตัวของตัวเองออกมาระหว่างการสัมภาษณ์ด้วย เพราะบางครั้งคนสัมภาษณ์ก็ไม่ได้ต้องการจะรู้แค่ว่าเรามีความสามารถอะไร แต่เขาก็อยากรู้ด้วยว่าเรามีนิสัยยังไงและเข้ากับทีมได้หรือเปล่า

นอกจากนี้ก็ยังมีรายละเอียดเล็ก ๆ อย่างการส่งอีเมลตอบรับการสัมภาษณ์หรือไปก่อนเวลาสัมภาษณ์สัก 15-30 นาที และการรักษามารยาทที่ดีในการทักทายผู้สัมภาษณ์ก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน

เรื่องที่ต้องระวังในวันสัมภาษณ์งาน

หนึ่งเรื่องที่คนทำงานหลายคนมักทำพลาดในวันสัมภาษณ์งานคือการคิดว่าโกหกไปก็ไม่มีใครรู้ ซึ่งจริง ๆ แล้วคนที่มาสัมภาษณ์เราเขาก็ต้องเป็นคนที่มีประสบการณ์ผ่านการสัมภาษณ์มาเป็นจำนวนมากแล้วทั้งนั้น พวกเขาเลยจะดูออกทันทีว่าคนไหนพูดความจริงหรือคนไหนกำลังโกหก

เรียนเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ใบ Certificate หรือใบรับรอง

นอกจากนี้การเรียนเพิ่มเติมและการได้ฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ในการทำงานก็เป็นอีกปัจจัยที่จะทำให้องค์กรรับรู้ว่าเราเป็นคนที่ชอบการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตัวเองมากแค่ไหน ซึ่งปัจจุบันก็มีทั้งคอร์สเรียนฟรีและคอร์สเรียนที่เสียค่าใช้จ่ายที่เราสามารถลงทะเบียนและเรียนได้เลยภายในไม่กี่นาที และใบรับรองหลังการเรียนหรือผลทดสอบต่าง ๆ จะทำให้เรากลายเป็นผู้สมัครที่น่าสนใจ นอกจากนี้หากเราได้ไปเรียนในสถาบันก็อาจทำให้เราเจอกับคอนเน็กชันใหม่ ๆที่จะนำไปสู่การได้งานในอนาคตของเราก็ได้

เคล็ดลับ การแนะนำตัวสัมภาษณ์งาน

เคล็ดลับการ แนะนำตัวเอง สัมภาษณ์งาน คือ เมื่อเราพูด แนะนำตัวเอง จบแล้ว ผู้ฟัง จะสามารถจับจุดได้ว่า คุณชื่ออะไร เป็นใครมาจากไหน มีบุคลิกภาพ อย่างไร ทำอะไรเก่ง และ เหมาะสมกับตำแหน่งงาน นี้ที่จะสมัครไหม ซึ่งถ้า กรรมการสัมภาษณ์งาน สนใจเรา ก็จะถามต่อ ลงรายละเอียด จากสิ่งที่เราตอบไป ระหว่างการ แนะนำตัวเอง

ดังนั้น เราจึงควรใช้ โอกาสนี้ ในการ อธิบายเกี่ยวกับตัวเอง ว่า คุณเก่งอะไรบ้าง ทำงานอะไรมาก่อน คุณน่าสนใจอย่างไร และ เหมาะสมยังไง กับ งานตำแหน่งนี้

1.เริ่มต้นแนะนำตัวเอง ว่าเราเป็นใคร

หลังจากที่ กรรมการ เริ่ม ขอให้เราแนะนำตัวเอง แล้ว เราจะเริ่มต้น แนะนำตัวเอง อย่างเป็นทางการว่า เราชื่ออะไร ปัจจุบันทำงานอะไรอยู่ แล้ว ทำไมถึงสนใจงานในทำแหน่งนี้ ซึ่งเราจะต้องพูดให้ น่าสนใจ โดยจะต้องพูดเน้น สิ่งที่กรรมการอยากฟัง ว่า คุณทำงานอะไรมาก่อน มีประสบการณ์การทำงาน ที่จะทำงานในตำแหน่งงานใหม่นี้ไหม

2. พูดถึง อาชีพ ปัจจุบัน ที่ทำอยู่

หลังจากที่แนะนำชื่อ ไปแล้วว่า เราเป็นใคร ถัดมาเราก็ควรพูดถึง อาชีพ ปัจจุบัน ที่เราทำอยู่ ว่า ตอนนี้ทำอะไรอยู่ หรือ ทำงานในตำแหน่งอะไรมาบ้างแล้ว แล้วทำมาเป็นระยะเวลากี่ปี ซึ่งตรงนี้ ถ้าคุณมีประสบการณ์การทำงานที่ เป็นระยะเวลานาน ก็ถือเป็น จุดเด่น ในการพูดแนะนำตัว และ จะทำให้คุณดูน่าสนใจยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ ถ้าประสบการณ์ที่ผ่านมา จะช่วยทำให้คุณทำงานในตำแหน่งนั้นๆ ได้ดีมากขึ้น

สำหรับการพูดแนะนำตัวเอง สำหรับ สมัครงานของนักศึกษาจบใหม่

ในการพูดถึง อาชีพปัจจุบัน สำหรับ นักศึกษาจบใหม่ สามารถบอกว่า เราเพิ่งเรียนจบ สาขาอะไรมา กำลังหางานทำอยู่ สามารถพูดตรงๆ ได้ โดยอาจจะเน้น พูดแนะนำตัว ไปในแนวทาง ว่า ทำไมถึงอยากทำงานที่นี่ แรงบันดาลใจ คืออะไร ในการตำงานในตำแหน่งนี้ได้

  • ผมเพิ่งเรียนจบ จากคณะ วิศวกรรมศาสตร์ สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ เคยไปฝึกงานที่บริษัท ABC มา ในตำแหน่ง XYZ เป็นระยะเวลา เท่านี้ และ ผมรู้สึกชอบทำงานในตำแหน่งนี้ เพราะอะไร
  • ผมเคยฝึกงานที่นี่มาก่อน หรือ ผมเคยฝึกงานสายนี้มา และ เป็นแรงผลักดัน ให้อยากทำงานตำแหน่งนี้

3. พูดถึง ประสบการณ์ทำงาน ที่ผ่านมา

ประสบการณ์การทำงาน เป็นสิ่งที่ควรรวมไว้ ในการพูด แนะนำตัวสัมภาษณ์งาน ของผู้มี ประสบการณ์ทำงาน แต่ไม่จำเป็นต้องพูดถึง ทุกประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมา ให้เลือก พูดถึงประสบการณ์การทำงาน ที่ตรงกับ ตำแหน่งงาน ที่จะสมัคร ให้มากที่สุด

วิธีการพูดเกี่ยวกับ ประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมา ในการแนะนำตัวให้น่าสนใจ

  1. พูดถึงบทบาท และ ความรับผิดชอบในงาน
  2. พูดถึงประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา ที่จะส่งผล กับงานปัจจุบัน
  3. ใช้คำศัพท์ Action Verb ในการอธิบายประสบการณ์การทำงาน ที่ผ่านมา
    เช่น ผมได้ สร้าง แอพพลิเคชั่น ในโปรเจ็ค Thailand SandBox .
  4. พูดถึงรายละเอียด ที่จำเป็น ในการแสดง ผลงานการทำงาน ที่ผ่านมา

อ่านต่อ ประสบการณ์การทำงาน ที่ควรเอามาใส่ใน เรซูเม่

4. พูดถึง จุดแข็ง หรือ ทักษะความสามารถพิเศษ ที่เรามี

จุดแข็ง หรือ ทักษะ ความรู้ความสามารถพิเศษ ที่เรามี เฉพาะนั้น อาจจะทำให้ เราโดดเด่น กว่า ผู้สมัครท่านอื่นๆ ได้ โดยเฉพาะ การสมัครงาน ที่ จำเป็นต้องใช้ ความรู้ ความสามารถพิเศษ ในการทำงาน ซึ่งสามารถ หา List ความสามารถพิเศษ ได้ที่นี่

ตัวอย่าง จุดแข็ง จุดเด่น ที่น่าสนใจ ในการแนะนำตัวสัมภาษณ์งาน

  • ความสามารถในการทำงานเป็นทีม
  • ความสามารถพิเศษภาษาอังกฤษ
  • ความสามารถทางคอมพิวเตอร์
  • ความสามารถในการตัดต่อวีดีโอ

เป็นต้น ซึ่งถ้าใคร ไม่มีความสามารถพิเศษ และ อยากจะ พัฒนาตัวเอง ให้ดีขึ้น ทำอย่างไร หาคำตอบได้ที่นี่ 10 วิธีพัฒนา ตัวเองให้เก่งขึ้น

5. พูดว่า ทำไมถึงสนใจ ทำงานตำแหน่งนี้

หลังจากที่พูด ชื่อ ว่าคุณเป็นใคร ทำงานอะไรมาก่อน หรือ เรียนจบอะไรมา ตรงจุดนี้คุณควรที่ สรุปว่า เพราะประสบการณ์ที่ผ่านมา เหล่านี้ ทำให้ผมสนใจ ที่อยากจะทำงานตำแหน่งนี้

คุณสามารถพูด และ แสดงออก ถึงเหตุผลที่แท้จริง ที่อยากมาทำงาน ตำแหน่งนี้ ได้ โดยให้มุ่งเน้นว่า คุณจะสามารถเอาประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาของคุณ มาทำประโยชน์อะไร ให้กับบริษัทได้บ้าง มากกว่า ผลประโยชน์ของคุณ ที่จะได้รับจากการทำงานที่นี่

พูดแนะนำตัว ให้สอดคล้องกับ Cover Letter

ก่อนที่คุณจะเข้า ไปสัมภาษณ์งานกับบริษัท ถ้าคุณ ได้ส่ง จดหมายสมัครงาน หรือ Cover Letter ไปก่อนหน้านี้ คุณควรที่จะไม่ลืม ที่จะกลับไปอ่าน จดหมายสมัครงาน ของคุณที่ส่งไป ให้กับบริษัทนี้ ว่าคุณเขียนไปว่าอย่างไร เพื่อที่จะได้ บอกเหตุผลว่า ทำไมคุณถึงต้องการทำงานที่นี่ ได้ ตรงกับ จดหมายที่คุณส่งไป (ในกรณีที่สมัครงาน หลากหลายตำแหน่ง)

ปรึกษาเขียน Cover Letter กับเรา

6. อย่ารวม พูดถึงแสดง บุคลิกภาพ และ ทัศนคติ

ระหว่างที่ แนะนำตัวสัมภาษณ์งาน อย่าที่จะให้ความสำคัญกับ บุคลิกภาพ และ ทัศนคติ ที่เราสื่อออกมา ทั้งจากทาง ภาษากาย และ คำพูด ด้วย ซึ่ง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สามารถ Make or Break ภาพลักษณ์ ของเรา ให้กับ นายจ้างในอนาคต อีกด้วย

พื้นฐาน บุคลิกภาพ ในการพูด สร้างความประทับใจ ตั้งแต่ครั้งแรก คือ

  • กล่าวทักทาย สวัสดี ตั้งแต่ครั้งแรก ที่จบตา
  • ยิ้ม เป็นมิตร ที่ออกมาจาก สีหน้า แวดตา
    (เทคนิคการยิ้ม)
  • ขณะที่พูด รู้จักการ สบตาผู้ฟัง
  • แต่งตัว อย่างมั่นใจไปสัมภาษณ์งาน
  • ไม่จ้องตา ผู้ฟังคนใดคนหนึ่ง นานเกิน 8 วินาที
  • กล่าวขอบคุณ ก่อนเดินออก จากหน้องสัมภาษณ์

อ่านต่อ รวม 20 วิธีเสริม บุคลิกภาพ ที่ดีในการทำงาน

7. พูดถึง ผลงาน ที่ประสบความสำเร็จที่ผ่านมา

ถ้าคุณเป็นคนที่ มี ผลงาน หรือ ประสบความสำเร็จ ในโปรเจค อื่นๆ ก่อนหน้านี้ ในการทำงาน คุณควรที่จะไม่ ลืม กล่าวถึงสิ่งเหล่านี้ รวมไปอยู่ ในการ แนะนำตัวสัมภาษณ์งาน ของคุณด้วย เพราะนี่ เป็น การยืนยัน ว่าคุณมีคุณสมบัติ และ ความสามารถ ในการใช้ความรู้ ความสามารถในการทำงาน จริง

8. ฝึกซ้อม แนะนำตัว ก่อน ไปสัมภาษณ์งานจริง

แน่นอนว่า ก่อนที่จะ ไปสัมภาษณ์งาน ทุกคนควรที่จะ ฝึกซ้อม เขียนสคริป เนื้อหา การแนะนำตัว ของตัวเอง ก่อน เพราะแต่ละคน มี ทักษะ ความรู้ความสามารถ ที่แตกต่างกัน ซึ่ง เราควรที่จะ เขียนในกระดาษ ว่าเราจะพูดประมาณไหน เราจะ ชูอะไร ขึ้นมา เพื่อเป็น จุดเด่นในการ อธิบายเกี่ยวกับตัวเอง ให้ กรรมการ ได้เข้าใจในระยะเวลาสั้นๆ

ในขณะเดียวกัน เรื่องราวที่เขียน จะต้องเป็น เรื่องจริง พร้อมกับ ควรศึกษา ภาษากาย ต่างๆ ว่าอะไรควรทำ หรือ ไม่ควรทำ ก่อนไปสัมภาษณ์งานจริง และ ควรฝึกซ้อม แนะนำตัวสัมภาษณ์งาน ทั้ง ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ เพราะเราอาจจะ ถูกบริษัท ขอให้ สัมภาษณ์งาน เป็น ภาษาอังกฤษ ก็ได้

อ่านต่อ : ตัวอย่างคำถามสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ พร้อมคำตอบ