สอบสัมภาษณ์ เข้า มหา ลัย เตรียม อะไรบ้าง

สำหรับน้องๆ ม.ปลายหลายคนที่สอบผ่านมีรายชื่อติดไปถึงรอบสัมภาษณ์ และกำลังเตรียมตัวเตรียมคำตอบดีๆ เพื่อการันตีที่นั่งในมหาวิทยาลัยที่ต้องการ

สอบสัมภาษณ์ เข้า มหา ลัย เตรียม อะไรบ้าง

บทความนี้เรามี สุดยอดเทคนิคปิดจุดพลาด ตอบคำถามสัมภาษณ์ยังไงให้โดนใจกรรมการ มาฝากให้น้องๆ เอาไปใช้เพื่อเตรียมตัวกันในการสอบสัมภาษณ์แต่ละรอบ จะมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันได้เลย

สอบสัมภาษณ์ เข้า มหา ลัย เตรียม อะไรบ้าง

ข้อมูลส่วนตัว สิ่งที่สนใจ
คำถามแรกที่ต้องเจอแน่นอนคือคำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่ออะไร อายุเท่าไหร่ จบแผนการเรียนอะไร มีความชอบ ความสนใจ ความสามารถพิเศษอะไรบ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่เชิงเป็นคำถาม แต่เป็นการให้น้องๆ แนะนำตัวเองอย่างคร่าวๆ แต่สิ่งที่น้องๆ มักพลาดคือ ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการตอบคำถาม หรือพยายาม Present ตัวเองจนมากไป

ดังนั้น เทคนิคที่เราจะแนะนำคือ 1. อย่ากังวล ให้แสดงความเป็นธรรมชาติ เป็นตัวของตัวเอง 2. สร้างความมั่นใจ และ First impression ด้วยการแต่งกายเรียบร้อย ยิ้มแย้ม ไหว้ ทักทายกรรมการ 3. คิดไว้เลยว่า เราจะตอบคำถามเหล่านี้ได้ง่ายๆ ทันที โดยไม่ต้องท่องจำ 4. ตอบคำถามด้วย ความจริงใจ เป็นตัวของตัวเอง และเป็นธรรมชาติ 5. แนะนำให้รู้จักด้านดีของเรา แต่อย่าพยายาม Present ตัวเองมากไป จนดูเป็นการโอ้อวด

สอบสัมภาษณ์ เข้า มหา ลัย เตรียม อะไรบ้าง

เหตุผลที่สนใจเรียนคณะ/สาขานี้
ทำไมคุณถึงเลือกมาเรียนคณะ/สาขานี้? เพราะอะไรถึงสนใจสาขานี้? รู้ไหมว่าสาขานี้เรียนอะไรบ้าง จบไปทำงานอะไรได้? คำถามสำคัญที่อาจารย์แทบทุกสถาบันใช้ถามเพื่อวัดว่า เรามีความรู้ความเข้าใจและเหมาะสมที่จะเข้าเรียนสาขานี้มากน้อยแค่ไหน

ซึ่งส่วนมากน้องๆ มักจะตอบว่า เป็นคณะ/สาขาที่อยากเรียน หรือใฝ่ฝันมาตั้งแต่เด็ก ซึ่งคำตอบเหล่านี้ก็ไม่ผิดอะไร แต่มันยังไม่โดดเด่นตราตรึงหรือน่าประทับใจมากพอ เพราะมันป็นคำตอบเบสิกมากเมื่อเทียบกับคนอื่นๆ

เคล็ดลับที่เราอยากแนะนำคือ น้องๆ ต้องเพิ่มความพิเศษที่แสดงให้เห็นถึง Mindset หรือชุดความคิด ทัศนคติของน้อง เช่น เล่าความประทับใจที่มีต่อสาขา แรงบันดาลใจ​ เหตุการณ์สำคัญในชีวิตที่จุดประกายให้รู้จักหรือสนใจคณะสาขาหรืออาชีพ เล่าแบบสั้นๆ แต่ตรงประเด็น ใช้การสื่อสาร การแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง น้ำเสียงที่เต็มไปด้วยความจริงใจและมุ่งมั่น เชื่อเถอะว่ากรรมการจะสัมผัสสิ่งที่เราต้องการสื่อได้และประทับใจในตัวเราอย่างแน่นอน

สอบสัมภาษณ์ เข้า มหา ลัย เตรียม อะไรบ้าง

ผลงานหรือกิจกรรมที่เคยทำ
คำถามประเภทนี้จะบ่งบอกถึง EQ การปรับตัว และทักษะส่วนตัวของน้องๆ ในการใช้ชีวิตร่วมกับสังคม ถือว่าเด็กกิจกรรมหรือคนที่มีผลงาน จะได้้เปรียบเพราะมีเรื่องให้ตอบเยอะ

และนี่คือ เคล็ดลับกันพลาด เมื่อน้องๆ ต้องตอบคำถามเหล่านี้  1. พยายามตอบเรื่องผลงาน หรือกิจกรรมที่เคยทำ ให้สอดคล้องกับคณะ/สาขาที่จะเข้า  2. ตอบเหตุผลตามจริงไปตรงๆ พร้อมอธิบายเพิ่มเติม ว่าเข้าร่วมกิจกรรมแล้วดียังไง  3. ผลงานหรือกิจกรรมที่ทำนั้น ช่วยเพิ่มทักษะ เพิ่มประสบการณ์ หรือสามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตและการเรียนได้อย่างไรบ้าง  4. ถ้าไม่ค่อยมีผลงานโดดเด่นมาก ก็ให้ตอบ ผลงานหรือกิจกรรมที่เราประทับใจพร้อมเหตุผลสนับสนุน

สอบสัมภาษณ์ เข้า มหา ลัย เตรียม อะไรบ้าง

หลักสูตรของคณะ/สาขา
“รู้ไหมว่าสาขานี้เรียนเกี่ยวกับอะไร/คิดว่าสาขานี้เรียนหนักไหม?” คำถามที่จะแสดงให้กรรมการเห็นว่า น้องๆ เตรียมตัวมาพร้อมแค่ไหน ค้นคว้าหาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสาขาที่อยากเรียนมาหรือไม่ ถ้าใครรู้หรือหาข้อมูลมาแล้วนำไปตอบได้ฉะฉาน ก็จะทำให้กรรมการประทับใจได้ แต่หากมีบางคนลืมหาข้อมูล หรือมัวแต่ตื่นเต้นจนลืมทุกอย่าง

นี่คือเคล็ดลับสำคัญที่น้องๆ ต้องจำไว้ให้ได้ 1. ให้ตอบตามความคิดของตัวเองจริงๆ อย่าพยายามท่องจำหรือใช้คำพรรณนาเกินจริง  2. ใช้คำตอบเชิง แสดงความคิดเห็น เช่น เท่าที่ผมทราบมา...ในความคิดของหนู...ตามความเข้าใจของผม...เป็นต้น  3. ถ้าจำไม่ได้ อย่าพยายามแถหรือเดาไปเรื่อย เด็ดขาด!  4. หากไม่รู้หรือไม่แน่ใจจริงๆ ให้ตอบไปว่า ส่วนตรงนี้ขอไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมมาอีกครั้งนะคะ/ครับ

สอบสัมภาษณ์ เข้า มหา ลัย เตรียม อะไรบ้าง

คำถามวัด EQ และทักษะส่วนบุคคล
คำถามอย่างเช่น สาขานี้งานหนักนะ คิดว่าเรียนไหวไหม? เราเหมาะกับสาขานี้ยังไง? คิดไว้หรือยังว่าเรียนจบจะทำงานอะไร? คาดหวังยังไงกับสาขานี้? ถ้าไม่ติดที่นี่จะทำยังไงต่อ? คำถามเหล่านี้เป็นการวัดปฏิภาณไหวพริบ วัด EQ การจัดการกับอารมณ์ และรับมือสถานการณ์ที่อยู่ในภาวะกดดันของน้องๆ และนี่คือเคล็ดลับสำคัญที่เราอยากจะบอก

1. พยายามควบคุมอารมณ์ เรียงลำดับความคิด ถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดที่ชัดเจนและตรงประเด็นคำถาม  2. ไม่มีคำตอบไหนถูกหรือผิด แต่ให้พยายาม ตอบด้วยความมั่นใจ จริงจัง ไม่ตอบในแง่ร้ายหรือดูเหยาะแยะ 3. แม้จะไม่แน่ใจในคำตอบ แต่อย่างน้อยก็ต้องพยายามตอบให้กรรมการเห็นว่า เราสามารถควบคุมสติได้ และไม่ยอมแพ้อะไรง่ายๆ

การศึกษาในระดับปริญญาตรีนับว่าเป็นประตูสำคัญที่จะทำให้เราก้าวไปสู่อาชีพที่เราใฝ่ฝัน และการสัมภาษณ์ก็เป็นก้าวที่สำคัญ

..."

สวัสดีครับทุก ๆ คน วันนี้ผมอยากจะแบ่งปันคำถามสำหรับเพื่อใช้เตรียมตัวสัมภาษณ์เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีครับ

ก่อนอื่นเลยต้องขอบอกก่อนว่าการสัมภาษณ์เป็นขั้นตอนหนึ่งเพื่อคัดเลือกพวกเราเพื่อเข้าศึกษาต่อ ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังจากมีการสอบวัดผลทางความรู้แล้ว หรืออาจจะใช้โควต้าก็ตาม ฉะนั้นแล้วการสัมภาษณ์จึงมุ่งเน้นเพื่อวัดบุคลิกภาพ แนวความคิด หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นทักษะทางอารมณ์และทางสังคมของเรานั่นเองครับ

ผมได้รวมรวมคำถามจากเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมถึงประสบการณ์ส่วนตัวของผมเอง และน่าประหลาดใจอย่างยิ่งว่าในหลาย ๆ เว็บไซต์ มีคำถามในลักษณะที่คล้ายกันมาก จนเรียกว่าเป็นสูตรการสัมภาษณ์ได้เลยทีเดียว ... จะมีอะไรบ้างนั้น ไปเริ่มกันเลยครับ

 


1. ไหนลองแนะนำตัวเองหน่อยซิ?

คำถามนี้เป็นคำถามสุดยอดแห่งความคลาสสิคที่ผมมั่นใจว่าทุกคนต้องเจอแน่นอนครับ 100% ตั้งแต่ตอนเราเริ่มเข้าสัมภาษณ์ กรรมการสอบสัมภาษณ์จะเริ่มต้นด้วยการถามคำถามนี้นี่แหละครับ ....

คำถามนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ได้รู้จักตัวเราในแบบที่กระชับว่าเรามาจากที่ไหน เรียนด้านไหนมา (หรืออาจจะพูดถึงชื่นชอบอะไร มีนิสัยส่วนตัวและการเข้าสังคมอย่างไรด้วยก็ได้ แล้วแต่สถานการณ์ครับ) ... ให้เราตอบแนะนำตัวเองแบบสั้น ๆ กระชับ โดยส่วนตัวแล้ว ผมแนะนำว่าให้ใช้เวลาแนะนำตัวประมาณไม่เกิน 1 นาทีครับ


2. เธอเคยเข้าร่วมหรือทำกิจกรรมอะไรมาบ้าง?

คำถามนี้เป็นคำถามเพื่อดูว่าเรามีการเข้าสังคมหรือช่วยเหลือสังคมยังไงบ้าง ชื่นชอบการทำกิจกรรมประเภทไหน เพราะในหลาย ๆ อาชีพจำเป็นต้องใช้ทักษะทางสังคมเยอะมาก เราจำเป็นต้องติดต่อประสานงาน ทำงานร่วมกันกับคนอื่น ฉะนั้นแล้วทักษะทางสังคมจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากครับในการทำงาน และก็ช่วยทำให้คณะกรรมการเห็นว่าเรามีคุณสมบัติเหมาะสมมากน้อยแค่ไหนที่จะเข้ามาเรียนในคณะนี้


3. บอกข้อดี/ข้อเสียของตัวเองหน่อยสิ?

ทุกคนมีทั้งข้อดีและข้อเสียครับ คำถามนี้นอกจากจะทำให้คณะกรรมการได้ทราบถึงข้อดีและข้อเสียของเราแล้วนั้น ยังช่วยทำให้เราได้ตระหนักถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเองด้วย ทำให้เราสามารถปรับปรุงและพัฒนาตัวเองให้ดียึ่งขึ้นได้ครับ

โดยปกตินั้นคณะกรรมการจะให้เราตอบข้อดีและข้อเสียของตัวเราอย่างละหนึ่งเรื่องครับ ผมเชื่อว่าพวกเราคงไม่มีปัญหาเรื่องการบอกข้อดีของตัวเอง แต่เราคงไม่อยากบอกข้อเสียของตัวเองใช่ไหมหล่ะครับ... ผมมีเทคนิคครับ ทำให้ข้อเสียเป็นข้อดีของเราด้วยในตัวมันเองครับ ...ยังไงหล่ะ? ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีข้อเสียเรื่องการตื่นนอนสายหรือการมาเรียนสาย เราสามารถตอบว่า "ผม/หนู มีปัญหาเรื่องการตื่นสายหรือมาสาย เพราะว่าต้องอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบจนดึกเพราะอยากจะสอบเข้าให้ได้คณะ/สาขานี้จริง ๆ บวกกับต้องช่วยงานทางบ้านเพราะอยากจะช่วยแบ่งเบาภาระของคุณพ่อคุณแม่ครับ/ค่ะ" เห็นไหมครับว่าเราสามารถเปลี่ยนข้อเสียเรื่องการไม่มีความรับผิดชอบเรื่องเวลา ให้กลายมาเป็นกำลังบอกว่าเรามีความขยัน มุ่งมัน และกตัญญูได้แบบหล่อ ๆ สวย ๆ เลยทีเดียว


4. เธอมีความสามารถพิเศษอะไรไหม?

ความสามารถพิเศษมีได้ในหลากหลายรูปแบบครับ ไม่ว่าจะเป็นเล่นดนตรี วาดรูป ร้องเพลง เล่นกีฬา เล่นเกม มายากล คิดเลขเร็ว คณิตศาสตร์ วิทยาศาตร์ จิตวิทยา ปรัชญา ภาษา การคิด การพูด การเขียน การถ่ายรูป การทำอาหาร การใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ งานฝีมือ และอื่น ๆ อีกมากมายครับ คำถามนี้นอกจากจะทำให้คณะกรรมการเห็นความสามารถพิเศษและความสนใจของเราแล้ว ยังช่วยให้เราเข้าใจจุดดีจุดเด่นของตัวเราเองมากยิ่งขึ้นด้วยครับ


5. ทำไมถึงเลือกเรียนคณะ/สาขานี้?

คำถามนี้ก็จัดว่าเป็นอีกหนึ่งคำถามสุดคลาสสิคที่คณะกรรมการจะถามเราอย่างแน่นอน 100% ครับ จุดประสงค์ของคำถามนี้ก็เพื่อดูว่าเรามีเป้าหมายหรือแรงจูงใจอะไรในการเข้ามาเรียนที่นี่ เราสามารถตอบเหตุผลของเราได้เลยครับ ไม่ว่าจะเป็นเรามีความสามารถทางด้านนี้ มีความรักความสนใจทางด้านนี้ อยากจะสานต่อกิจการทางบ้านเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้รับแรงบันดาลใจจาก แต่ถ้าเราไม่มั่นใจกับเหตุผลที่แท้จริงของตัวเองมากนัก เช่น คะแนนของเราไม่สูงมากพอที่จะเข้าคณะที่เราอยากเข้า แบบนี้เราก็ไม่ควรตอบไปจริงไหมครับ หรือแม้กระทั่งทางบ้านอยากให้เราเรียนคณะนี้ เราก็ไม่ควรตอบไปอีกเช่นกัน ฉะนั้นแล้วผมแนะนำว่าพยายามหาความชื่นชอบ หรือ inspiration ให้ได้จริง ๆ ครับ

6. ทำไมถึงเลือกวิทยาลัย/มหาวิทยาลัยนี้?

อีกนึงคำถามปราบเซียนสุดคลาสสิคที่สามารถชี้ชะตาของเราได้เลยทีเดียวครับ คำถามนี้คล้าย ๆ กับคำถามข้อ 5. แต่ทว่าทำไมต้องเป็นที่วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยนี้ ในเมื่อวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยที่อื่นก็มีคณะนี้เปิดสอนเหมือนกัน

ถึงแม้ว่าคำถามนี้อาจเป็นคำถามชี้ชะตาของเรา แต่ก็วางใจได้ครับเพราะตัววิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยเองก็ต้องการให้มีนักเรียนเข้ามาเรียนเหมือนกัน ฉะนั้นเราก็ไม่ต้องกังวลมากครับ เว้นเสียแต่ว่ามหาวิทยาลัยที่เราสัมภาษณ์นั้นมีการแข่งขันสูงมาก แบบนี้เราจำเป็นยิ่งต้องตอบให้ดี เมื่อเป็นแบบนี้ สิ่งที่เราต้องทำก่อนก็คือเช็คข้อมูลมาก่อนว่ามหาวิทยาลัยนี้มีจุดเด่นอะไรบ้าง หรือมีรุ่นพี่ที่เราเคารพนับถือจบมาจากที่นี่รึเปล่า เช่น คนที่เป็นไอดอลของเราจบมาจากที่นี่ พ่อแม่ญาติพี่น้องของเราจบมาจากที่นี่ ตัววิทยาลัย/มหาลัยมีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมต่อการเรียน มีอาจารย์เก่ง ๆ มีชื่อเสียงสอนอยู่ที่นี่ หรือมหาลัยมีชื่อเสียงทางด้านที่เราสนใจโดดเด่น เป็นต้นครับ


7. รู้ไหมว่าคณะ/สาขานี้เรียนเกี่ยวกับอะไร?

เช่นเคยครับ คำถามนี้ก็เป็นอีกหนึ่งคำถามคลาสสิคที่พวกเราต้องเจอแบบ 100% เป็นคำถามเช็คความรู้ความเข้าใจพื้นฐานครับว่าคณะที่เรากำลังเข้ามาเรียนนั้นต้องเรียนเรื่องอะไรบ้างหรือมีขอบข่ายในการเรียนประมาณไหน แต่เอ๊... เรายังไม่เคยเรียนแล้วเราจะไปรู้ได้ยังไงหล่ะว่าต้องเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง? เราไม่จำเป็นต้องตอบถูกต้องเป๊ะ ๆ หรอกครับ (ถ้าตอบถูกเป๊ะก็คงไม่ต้องมาเรียนแล้วครับ จริงไหม) แค่คณะกรรมการต้องการเช็คว่าตัวเราได้ศึกษาหาข้อมูลมาก่อน หรือมีความฝักใฝ่ที่จะเรียนในคณะนี้มากน้อยแค่ไหนเท่านั้นเองครับ


8. เธอมั่นใจว่าจะเรียนในคณะ/สาขานี้ไหวหรอ? มันยากนะ...

คำถามนี้เป็นคำถามวัดใจครับ และก็เป็นคำถามที่กระตุ้นให้ตัวเรามีความกระตือรือล้นที่จะฝ่าฟันอุปสรรคด้วยเช่นกัน แล้วเราควรจะตอบยังไงดีหล่ะ...?

เริ่มต้นเราต้องรู้ตัวเองก่อนว่าเรามีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องแน่นขนาดไหน (แต่แน่นอนครับว่าเรามีความรู้พื้นฐานเพียงพอ เราจึงได้เข้าสัมภาษณ์ครับ) แต่ก็ไม่ใช่ว่าเรามั่นใจว่าเราเก่งแล้วตอบไปว่า "ผม/หนู เรียนได้สบาย ๆ อยู่แล้วครับ/ค่ะ" หรือเราไม่มั่นใจเลยแล้วตอบไปว่า "ผม/หนู ไม่มั่นใจเลย ครับ/ค่ะ ว่าจะเรียนไหว" เราไม่ควรประมาทหรือดูถูกศักยภาพของตัวเราเองครับ ถึงแม้เรามั่นใจเราก็ควรตอบว่า "ผม/หนู มีความมั่นใจมากครับ/ค่ะ เพราะผม/หนู มั่นใจในพื้นฐานความรู้ของตัวเอง แต่ผม/หนูจะหาความรู้ใหม่ ๆ ตลอดเวลาครับ/ค่ะ และผม/หนูเชื่อว่าคณะ นี้จะช่วยทำให้ผม/หนูได้เรียนสิ่งใหม่ ๆ ครับ/ค่ะ " หรือถ้าเราไม่มั่นใจในความรู้พื้นฐานของเรา เราสามารถตอบไปได้ว่า "ถึงแม้ว่าผม/หนู จะไม่ได้เก่งมากนัก แต่ผม/หนูเชื่อมั่นในศักยภาพของตัวเองว่าผม/หนูสามารถพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้นได้ และผม/หนูเชื่อว่าคณะ นี้จะช่วยพัฒนาทักษะทั้งด้านความรู้และความคิดให้เก่งขึ้นได้ครับ/ค่ะ" เห็นไหมครับว่าเราสามารถพลิกจุดด้อยของเรา แล้วตอบแบบหล่อ ๆ สวย ๆ ได้อีกเหมือนกัน




9. ถ้าเธอเข้าเรียนที่นี่ เธอจะพักที่ไหนหล่ะ?

เรื่องของที่พักและการเดินทางมาเรียนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตนิสิตนักศึกษาครับ นักเรียนหลาย ๆ คนจะเข้ามาจากต่างจังหวัด บางคนต้องเช่าหอพักอยู่ หรือบางคนอาศัยอยู่ในระแวกใกล้เคียงอยู่แล้ว ก็อาจจะพักอยู่ที่บ้านของตัวเอง แต่ในบางมหาลัยก็บังคับให้นิสิตนักศึกษาใหม่พักอยู่ในหอพักของมหาลัย (หรือที่เรียกสั้น ๆ กันว่า "หอใน") ก็คงจะไม่ได้เจอคำถามนี้ เราสามารถตอบได้เลยครับว่าเราพักที่ไหน พักอยู่คนเดียวหรือแชร์กับเพื่อน และในบางครั้งคณะกรรมการอาจจะแนะนำที่พักที่เขารู้จักให้กับเราด้วย

10. เธอเดินทางมาเรียนยังไง?

คำถามนี้มักจะมาพร้อมกันกับคำถามก่อนหน้านี้ครับ การเดินทางมาเรียนก็นับว่าเป็นเรื่องสำคัญครับยิ่งคนที่พักอยู่ไกล ก็ต้องใช้ทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง บางคนอาจจะมีรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ส่วนตัว หรือมากับเพื่อน บางคนนั่งรถเมย์ รถตู้ รถสองแถว รถแท็กซี่ มอเตอรไซค์รับจ้าง หรือบางคนอาจจะปั่นจักรยานหรือเดินมาเรียน หรือบางมหาลัยมีบริการเรื่องรถประจำทางให้ ฉะนั้นแล้วเราจะเห็นได้ว่าการวางแผนการเดินทางเป็นเรื่องสำคัญครับ


11. ถ้าเธอไม่ผ่านการคัดเลือกที่นี่ เธอจะทำอย่างไรต่อ?

คำถามนี้เป็นหนึ่งในคำถามวัดใจครับ ผมเชื่อว่าพวกเรามีคำตอบสำหรับคำถามข้อนี้อยู่ในใจแล้ว เช่น จะไปสมัครเรียนที่อื่นต่อ หรือจะกลับมาปีหน้าเพื่อสมัครเข้าที่นี่ใหม่ก็ตาม แต่หลาย ๆ คนก็กลัวว่า ถ้าตอบไปว่า "ผม/หนูก็จะเข้าไปเรียนต่อที่อื่นครับ/ค่ะ" จะดูไม่ดี จริงไหมครับ หรือแม้กระทั่งตอบว่า "ผม/หนูต้องเข้าเรียนที่นี่ให้ได้ครับ/ค่ะ ถ้าไม่ผ่านการคัดเลือกก็จะมาสมัครใหม่ปีหน้าครับ/ค่ะ" ก็อาจจะถูกคณะกรรมการถามกลับมาอีกว่าแล้วเวลาที่เหลือจะทำอะไรหล่ะ? ถ้าใครมั่นใจในความหนักแน่นของตัวเองก็สามารถตอบไปได้เลยครับ แต่ถ้าใครไม่มั่นใจว่าควรจะตอบยังไงดี ผมมีคำแนะนำที่จะพลิกสถานการณ์จากลบให้เป็นบวกได้ครับ เราสามารถตอบไปได้ว่า "ต่อให้ผม/หนูไม่ผ่านการคัดเลือกที่นี่จริง ๆ ผม/หนูก็จะยั่งคงมุ่งมั่นที่จะเรียนทางด้านนี้ครับ/ค่ะ เพราะผม/หนูรักและชอบทางด้านนี้จริง ๆ ครับ/ค่ะ" เห็นไหมครับว่าถึงแม้เราจะอาจะไม่ถูกคัดเลือก เราก็ยังสามารถแสดงให้คณะกรรมการเห็นถึงความมุ่งมั่นของเราได้ และคนที่มีความมุ่งมันอย่างเรานี้แหละเป็นคนที่ควรค่าที่เขาจะรับเราเข้าเรียน


12. เธอจะทำอะไรให้วิทยาลัย/มหาลัยของเราบ้าง?

คำถามนี้จะมีโอกาสเจอมากสำหรับการสัมภาษณ์ประเภทให้ทุนการศึกษาแก่ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกครับ หรือแม้แต่จะไม่ใช่ประเภทที่มีทุนการศึกษาให้ก็ตามก็มีโอกาสเจอคำถามนี้ได้ครับแต่อาจจะน้อยหน่อย เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณของผู้ที่ให้ทุนการศึกษากับเราหรือมหาลัยที่ให้โอกาสเราเข้าไปเรียน เราจะทำอะไรบ้างครับ... บางคนอาจจะมีแผนเข้ากลุ่ม สโมสร หรือคณะกรรมการนักศึกษาเพื่อพัฒนามหาลัยอยู่แล้วก็สามารถตอบไปได้เลยครับ หรือแม้กระทั่งมีความตั้งใจที่จะไปเข้าแข่งขันระดับเขต ประเทศ หรือระดับโลกเพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับมหาลัยก็สามารถตอบไปได้เลยอีกเช่นเดียวกันครับ แต่ถ้าเราไม่ได้มีความมุ่งมั่นแบบนั้น แค่จะเข้ามาเรียนให้จบ รับปริญญา แล้วไปทำงาน เราควรจะตอบยังไง?

ถ้าเราไม่ได้จะเข้าไปพัฒนาหรือสร้างชื่อเสียงอย่างยิ่งใหญ่แบบนั้น เราสามารถตอบไปได้ว่า "ผม/หนูจะพัฒนาตนเองและนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการทำงาน มีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไปครับ/ค่ะ" ถึงแม้ว่าเราอาจจะไม่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับมหาลัยในตอนที่เรากำลังเรียนอยู่ได้ แต่เราก็สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับมหาลัยทางอ้อมด้วยการทำงานในอนาคตได้ครับ


13. เธอคิดว่าคนที่จะทำงานทางด้าน จะต้องมีคุณสมบัติหรือทักษะอะไรบ้าง?

คำถามนี้คล้าย ๆ กับคำถามข้อ 7. ครับ เพียงแค่เปลี่ยนจากระดับการเรียนไปสู่ระดับการทำงานจริงครับ โดยทั่ว ๆ ไปนั้นทักษะในการทำงานจะประกอบไปด้วยสองส่วนหลัก ๆ ครับ คือทักษะทางวิชาชีพกับทักษะทางการสื่อสาร หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Hard skills กับ Soft skills นั่นเอง โดยทักษะทางวิชาชีพนั้นจะแตกต่างกันไปตามอาชีพนั้น ๆ ส่วนทักษะการสื่อสารนั้นจะมีความใกล้เคียงกันในหลาย ๆ อาชีพ เช่น การทำงานเป็นทีม การรับมือกับแรงกดดัน การมีความเพียร รวมถึงการมีความคิดสร้างสรรค์ครับ

14. เธอเลือกคณะของเราเอาไว้เป็นอันดับสุดท้าย... นี่เธอไม่อยากเข้าเรียนที่คณะของเราเท่าไหร่หนิ?

สำหรับบางระบบอย่างเช่น TCAS นั้นจะมีให้เราเลือกอันดับคณะและมหาลัยที่เราต้องการจะสมัครเข้าเรียน นี่จะเป็นอีกหนึ่งคำถามวัดใจที่เราอาจจะได้เจอ แต่นี่จะเป็นคำถามวัดใจอันสุดท้ายแล้วครับ

ถ้ามหาลัยที่เราสัมภาษณ์ไม่ได้อยู่ในรายชื่อมหาลัยอันดับต้น ๆ ของเรา เราควรจะตอบยังไงดี?

เราจะใช้โอกาสนี้พลิกเกมอีกครั้งครับ เราสามารถตอบไปได้ว่า "ผม/หนูมีความชื่นชอบและความสนใจในหลาย ๆ เรื่อง รวมทั้งเรื่อง นี้ด้วย ผม/หนูจึงได้ไปปรึกษากับทางบ้าน (อาจจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ หรือคนรู้จักก็ได้ครับ) พวกเขาแนะนำให้หนูไปเรียนอีกเรื่องนึงเป็นอันดับต้น ๆ ก่อน" การตอบคำถามแบบนี้จะแสดงให้คณะกรรมการเห็นว่าแท้จริงแล้วเรายังคงมีความสนใจ เพียงแค่ว่าเราฟังคำแนะนำของผู้ใหญ่ที่เขามีประสบการณ์ มีมุมมองมากกว่าเท่านั้นเองครับ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนด้วยทางหนึ่ง


15. เธอมีความคิดเห็นกับเรื่อง ยังไงบ้าง?

คำถามนี้เป็นคำถามเกี่ยวกับความรู้รอบตัว ความรู้ทางวิชาการหรือวิชาชีพเบื้องต้น หรืออาจเป็นเรื่องแนวคิดส่วนตัว รวมทั้งอาจจะเป็นการเมืองด้วยก็ได้ครับ คำถามนี้มีจุดประสงค์เพื่อเช็คความรู้ทั่วไป รวมทั้งแนวคิดของเราครับ เราสามารถตอบตามที่เรารู้ได้เลยครับ เว้นแต่ถ้าเป็นคำถามที่ส่งผลต่อความรู้สึกอย่างเรื่องความเชื่อ หรือเรื่องการเมือง เราก็ต้องระมัดระวังในการตอบคำถามพวกนี้ครับ พยายามตอบคำถามให้เป็นกลางให้มากที่สุด ไม่เข้าข้างฝั่งใดฝั่งหนึ่งจนเกินไป หรือเคารพความคิดเห็นของทุกฝ่ายก็ได้ครับ


16. มีคำถามอะไรไหม?

คำถามนี้จะมาเป็นคำถามสุดท้ายเสมอก่อนจะจบการสัมภาษณ์ เราสามารถถามคำถามที่เราสงสัยต่อคณะกรรมการได้ครับ รวมถึงอาจจะขอคำแนะนำเพิ่มเติมก็ได้ หรือแม้กระทั่ง "แถวนี้มีร้านอาหารอร่อย ๆ แนะนำบ้างไหมครับ?" ก็สามารถถามได้ แต่ถ้าเราไม่มีข้อสงสัยอะไรก็ตอบไปว่า "ไม่มี" ได้เลยครับ

 


และทั้งหมดเป็น 16 คำถามสัมภาษณ์ที่พวกเรามีโอกาสเจอตอนสอบสัมภาษณ์ครับ เราคงไม่เจอทุกคำถามเพราะปกติจะมีเวลาสัมภาษณ์อยู่ที่ประมาณไม่เกิน 10 นาที เราอาจจะได้เจอเพียง 5-7 คำถามเท่านั้น นอกเหนือจากนี้บางมหาลัยอาจมีให้ทำแบบทดสอบเชาว์ปัญญาด้วยก็ได้

อย่างไรก็ตาม ผมอยากให้พวกเราตั้งสติและควบคุมอารมณ์ของเราให้ดี อย่าให้การที่เราไม่สามารถตอบคำถามดี ๆ ได้มาทำลายความมั่นใจและการเป็นตัวของตัวเองของเรา เพราะถ้าเรารู้สึกแย่ ณ จุด ๆ หนึ่งแล้ว เราจะรู้สึกแย่ไปตลอดทั้งการสัมภาษณ์เลยครับ แล้วคำถามที่เหลือจะทำให้เราตอบได้ไม่ดีไปด้วย ฉะนั้นแล้วผมจึงอยากแนะนำเรื่องการควบคุมอารมณ์ของตัวเอง รวมทั้งอย่ายึดติดกับคำถามที่เราเตรียมตัวมามากเกินไป เราควรมีความยืดหยุ่นด้วย

สุดท้ายนี้ผมขอให้พวกเราทุกคนโชคดีกับการสอบสัมภาษณ์ แล้วก้าวไปสู่ประตูแห่งอาชีพที่ใฝ่ฝันไว้... โชคดีครับ