เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีสากล PowerPoint

โค้งมีไว้สำหรับเชื่อมกลุ่มตัวโน้ตที่ต่างระดับกันหรือคนละเสียงเพียงเพื่อต้องการให้เล่นโน้ตที่มีเครื่องหมายสเลอนี้
คล่อมอยู่ให้เสียงต่อเนื่องกัน

เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีสากล PowerPoint

เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีสากล PowerPoint


3) เครื่องหมายตาไก่ หรือ ศูนย์ (Fermata)
เป็นเครื่องหมายทางดนตรีที่มีลักษณะคล้ายตาไก่ คนไทยเราก็เลยนิยมเรียกง่าย ๆ ตามลักษณะที่เห็นว่า
ตาไก่ใช้สำหรับเขียนกำกับตัวโน้ตตัวใดตัวหนึ่งที่ผู้แต่งต้องการให้ยืดเสียงออกตามความพอใจ การเขียนเครื่อง
หมายตาไก่นิยมเขียนกำกับไว้ที่หัวตัวโน้ต และจะมีผลกับตัวโน้ตตัวนั้น ๆ ไม่ว่าตัวโน้ตลักษณะใดก็ตาม

เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีสากล PowerPoint


4.4 ระดับเสียง (Pith)

ด้วยการบันทึกโน้ตทางดนตรีเราสามารถทำให้เราทราบถึงระดับเสียง (Pith) หรือความแตกต่างของเสียงที่
แน่นอนได้ ในการบันทึกเสียงโดยใช้บรรทัด 5 เส้น (Staff) ซึ่งจะแสดงให้เห็นความสูงต่ำของเสียงชัดเจน โดยการ
วางตัวโน้ตต่าง ๆ ไว้บนบรรทัด 5 เส้น ซึ่งประกอบด้วย เส้น 5 เส้น 4 ช่อง ดังนี้

เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีสากล PowerPoint


ภาพแสดงบรรทัด 5 เส้น (Staff)

จากบรรทัด 5 เส้น (Staff) ข้างต้นซึ่งหมายถึงเส้นตรง 5 เส้น ที่ลากขนานกันในแนวนอนเราสามารถจำแนกระดับเสียงสูง ต่ำ ได้อย่างเป็นรูปธรรมได้ดังนี้

เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีสากล PowerPoint


จากข้างต้นเราจะเห็นว่ามีตัวโน้ตที่บันทึกอยู่บนบรรทัด 5 เสียงมีเพียง 11 ตัวโน้ตหรือ 11เสียงเท่านั้น แต่
ความเป็นจริงแล้วผู้ประพันธ์เพลงหรือคีตกวีต่าง ๆ ได้เขียนเพลงซึ่งต้องมีระดับเสียงที่สูงหรือต่ำกว่าโน้ตทั้ง 11
ตัวดังกล่าวแน่นอน เพื่อให้การบันทึกเสียงตัวโน้ตดนตรีได้เป็นไปตามความต้องการของผู้ประพันธ์เพลงก็จึงได้มี
การคิดวิธีการที่จะทำให้การบันทึกโน้ตได้มากขึ้นจึงใช้ เส้นน้อย” (ledger line) มาบันทึกโดยวิธีการขีดเส้นตรง
ทับตัวโน้ตและให้ตัวโน้ตอยู่ระหว่างช่องจึงทำให้เสียงนั้นสูง ต่ำได้ตามต้องการ ดังตัวอย่าง

เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีสากล PowerPoint

ภาพแสดงเส้นน้อย (ledger lines)

จากข้างต้นที่กล่าวมาเป็นส่วนที่เกี่ยวกับตัวโน้ต ลักษณะตัวโน้ต และตำแหน่งที่อยู่ของตัวโน้ตเท่านั้น ซึ่งยัง
ไม่เพียงพอที่เราจะระบุได้ว่าโน้ตตัวนั้น ๆ มีระดับเสียงชื่อว่าอะไรมีความสูงต่ำระดับใด จึงได้มีการกำหนดกุญแจ

คือสัญกรณ์ทางดนตรีชนิดหนึ่งที่ใช้แสดงถึงระดับเสียงของตัวโน้ตที่บันทึก กำกับไว้ที่ตำแหน่งเริ่มต้นของบรรทัดห้าเส้น ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกชื่อและระดับเสียงของตัวโน้ตที่อยู่บนเส้นนั้น

ประเภทของกุญแจประจำหลัก
กุญแจประจำหลักในการบันทึกดนตรีสมัยใหม่มีใช้อยู่เพียงสามชนิดคือ กุญแจซอล กุญแจโด และกุญแจฟา ซึ่งกุญแจแต่ละชนิดจะอ้างถึงเสียงซอล โด และฟา ตามลำดับ ตามตำแหน่งที่กุญแจนั้นได้ไปคาบเกี่ยวไว้บนบรรทัด เส้นและช่องอื่นๆ ก็จะสัมพันธ์กับโน้ตบนเส้นนั้น
รูปร่างชื่อใช้ระบุโน้ตตำแหน่งที่คาบเกี่ยว

เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีสากล PowerPoint
กุญแจซอล
กุญแจประจำหลัก G
(G-clef) เสียงซอลที่อยู่เหนือเสียงโดกลาง ส่วนโค้งก้นหอยตรงกลาง

เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีสากล PowerPoint
กุญแจโด
กุญแจประจำหลัก C
(C-clef) เสียงโดกลาง (middle C) กึ่งกลางกุญแจโด

เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีสากล PowerPoint
กุญแจฟา
กุญแจประจำหลัก F
(F-clef) เสียงฟาที่อยู่ใต้เสียงโดกลาง หัวของกุญแจ หรือระหว่างสองจุด
การใช้ความแตกต่างของกุญแจประจำหลัก ก็เพื่อให้สามารถบันทึกดนตรีสำหรับเครื่องดนตรีและเสียงอื่นได้ทุกอย่าง แม้ว่าจะมีธรรมชาติของเสียงที่แตกต่างกัน เช่นเสียงบางอย่างอาจฟังดูแล้วสูงกว่าหรือต่ำกว่าเสียงอื่น ซึ่งเป็นการยากที่จะบันทึกเสียงทุกอย่างโดยใช้กุญแจประจำหลักเพียงชนิดเดียว เนื่องจากบรรทัดมีเพียงแค่ห้าเส้นในปัจจุบัน แต่อาจนำเสนอระดับเสียงของตัวโน้ตไม่เพียงพอต่อจำนวนโน้ตที่วงออเคสตราสามารถสร้างขึ้น แม้จะใช้เส้นน้อย(ledger line) มาช่วยก็ตาม การใช้ความแตกต่างของกุญแจสำหรับเครื่องดนตรีและเสียงแต่ละชนิด มีส่วนช่วยให้เขียนตัวโน้ตได้ง่าย ลดจำนวนการใช้เส้นน้อย และปรับคีย์ดนตรีได้ง่าย ดังนั้นกุญแจซอลจึงใช้แทนการนำเสนอเสียงสูง กุญแจโดสำหรับเสียงกลาง และกุญแจฟาสำหรับเสียงต่ำ

ตำแหน่งของกุญแจประจำหลัก
กุญแจประจำหลักสามารถวางได้หลายตำแหน่ง ปกติแล้วจะวางไว้ให้คาบเกี่ยวกับเส้นใดเส้นหนึ่งบนบรรทัด และในเมื่อบรรทัดมี 5 เส้น จึงมีความเป็นไปได้ทั้งหมด 15 แบบในการใช้งาน อย่างไรก็ตามมี 6 แบบที่เป็นการกำหนดซ้ำซ้อนกัน ตัวอย่างเช่น กุญแจซอลที่กำกับเส้นที่สาม จะมีค่าเท่ากับกุญแจโดที่กำกับเส้นที่หนึ่ง เป็นต้น ดังนั้นจึงเหลือเพียง 9 แบบเท่านั้นที่ให้ผลแตกต่างกัน ซึ่งทุกแบบเคยใช้ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาแล้วทั้งสิ้น ได้แก่ กุญแจซอลบนสองเส้นล่าง กุญแจฟาบนสามเส้นบน และกุญแจโดบนทุกเส้นยกเว้นเส้นที่ห้า (เนื่องจากกุญแจโดบนเส้นที่ห้าซ้ำซ้อนกับกุญแจฟาบนเส้นที่สาม)

แต่สำหรับทุกวันนี้ กุญแจที่ใช้เป็นปกติมีเพียงแค่ กุญแจเทรเบิล กุญแจเบส กุญแจอัลโต และกุญแจเทเนอร์ ซึ่งสองอย่างแรกมักใช้ควบคู่กันบ่อยครั้งกว่า