การ กำหนด หน้าที่ องค์กร ในการส่งเสริมสุขภาพของ โลก เกิด ขึ้น ครั้ง แรก ที่ ประเทศ ใด

องค์กรอนามัยโลกมีบทบาทเป็นหน่วยงานระหว่างประเทศที่ทำหน้าที่ดูแลและคอยประสานงานด้านการสาธารณสุขเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชนทั้งโลกมี 4 หน้าที่หลักคือ

1. อำนวยความช่วยเหลือแก่ประเทศต่างๆตามความต้องการเมื่อได้ร้องขอมา

2. จัดให้บริการด้านสุขภาพอนามัยแก่ประเทศต่างๆทั่วโลก

3. ส่งเสริมและประสานงานด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระหว่างชาติเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพต่างๆอันไม่อาจดำเนินไปได้โดยลำพังของแต่ละประเทศ 

4. ทำหน้าที่แก้ปัญหาโรคที่ยังไม่สามารถรักษาได้ เช่น ซาร์ส ไข้หวัดนก และล่าสุดคือโควิด-19

ทั้งนี้ความมุ่งหมายดั้งเดิมของการร่วมมือกันนี้ก็เพื่อช่วยกันหยุดยั้งการระบาดของโรคต่างๆแต่ในปัจจุบันได้ขยายความร่วมมือออกไปอีกโดยยกระดับเรื่องสุขภาพอนามัยทุกแห่งบนโลกและส่งเสริมความก้าวหน้าในด้านสาธารณสุขด้วยการศึกษาวิจัยและแลกเปลี่ยนความรู้ต่างๆอันเกี่ยวกับการคุ้มครองส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน  และที่สำคัญงานขององค์การอนามัยโลกดำเนินการภายใต้นโยบายและการปกครองของสมัชชาอนามัยโลกที่ประกอบไปด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิก และเพื่อเป็นการกระจายการปฏิบัติงานขององค์การให้ทั่วถึงส่วนต่าง ๆ ของโลก สมัชชาอนามัยโลกในการประชุมสมัยที่ 1 ได้มีมติกำหนดพื้นที่การดำเนินงานออกเป็น 6 ภูมิภาค คือ

1. ภูมิภาคอเมริกา มีสำนักงานอยู่ณกรุงวอชิงตันดีซี

2. ภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก  มีสำนักงานอยู่ ณ เมืองอเล็กซานเดรีย

3. ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสำนักงานอยู่ที่ณกรุงนิวเดลี

4. ภูมิภาคแอฟริกามีสำนักงานอยู่ณเมืองบราซาวีล

5. ภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกมีสำนักงานอยู่ณกรุงมะนิลา

6. ภูมิภาคยุโรปมีสำนักงานอยู่ณกรุงโคเปเฮเกน

สำหรับประเทศไทย อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งมีสมาชิกอยู่ทั้งหมด 11 ประเทศ คือ ประเทศบังคลาเทศ ประเทศพม่า ประเทศอินเดีย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนเกาหลี ประเทศสาธารณรัฐมัลดีฟส์ ประเทศมองโกเลีย ประเทศเนปาล ประเทศศรีลังกา ประเทศภูฏาน และประเทศไทย

WHO ยังให้ความสำคัญด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน อีกด้วย

การ กำหนด หน้าที่ องค์กร ในการส่งเสริมสุขภาพของ โลก เกิด ขึ้น ครั้ง แรก ที่ ประเทศ ใด

สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข  และสิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

  • รับผิดชอบในภาพรวม โดยจัดให้มีมาตรการในการป้องกันคุ้มครองเจ้าหน้าที่เพื่อลดความเสี่ยงทางสุขภาพตามหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
  • ให้ความรู้ จัดฝึกอบรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานให้แก่บุคคล ประกอบไปด้วย
  • การอบรมเพื่อทบทวนเรื่องการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ (IPC) และ
  • การอบรมเรื่องสวมใส่ การถอด และกำจัดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE)
  • จัดเตรียมอุปกรณ์ควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ (IPC) และ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) ให้เพียงพอ เช่น หน้ากาก, ถุงมือ, แว่นตาสำหรับป้องกัน, เสื้อคลุม, เจลทำความสะอาดมือ, สบู่และน้ำสะอาด และอุปกรณ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ให้มีปริมาณที่เพียงพอสำหรับบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข หรือผู้ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่ให้การดูแลผู้ป่วยสงสัยหรือผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ COVID-19 โดยบุคคลดังกล่าว ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ บนพื้นฐานข้อกำหนดด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
  • จัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสมตามความจำเป็น
  • จัดให้มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดจากการกล่าวโทษสำหรับบุคลากร เพื่อให้สามารถรายงานเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ เช่น หากมีการสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจ หรือกรณีที่เกิดความรุนแรงระหว่างปฏิบัติ พร้อมทั้งให้มีการติดตามรวมถึงการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ โดยเร่งด่วน
  • แนะนำให้บุคลากรประเมินตนเอง รวมทั้งรายงานอาการเจ็บป่วยและจำกัดตัวเองอยู่ที่บ้านเมื่อมีอาการเจ็บป่วย
  • จัดสรรระยะเวลาทำงานให้มีความเหมาะสม และควรมีการหยุดพักในระหว่างเวลางาน
  • ปรึกษาหารือกับผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขในประเด็นของอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของบุคลากร และรายงานต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยแรงงาน ในกรณีที่พบโรคจากการทำงาน
  • ไม่ควรกลับไปปฏิบัติงานในงานในสถานที่ทำงานที่ยังอยู่ในสถานการณ์ที่อันตรายอย่างมากต่อชีวิตหรือสุขภาพ จนกว่านายจ้างจะมีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้แล้ว
  • อนุญาตให้บุคลากรมีสิทธิที่จะออกจากสถานที่ทำงานที่มีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตอย่างรุนแรง นอกจากบุคลากรควรได้รับการปกป้องจากผลกระทบที่ไม่เป็นธรรมตาม มาจากการใช้สิทธินั้น
  • หากมีการติดเชื้อ COVID-19 ที่เกิดจากการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงในที่ทำงาน ผู้ปฏิบัติงานมีสิทธิที่ได้รับการชดเชย การฟื้นฟูเยียวยาและการได้รับการรักษา ทั้งนี้จะพิจารณาการได้รับความสี่ยงจากการทำงานซึ่งมีผลทำให้เกิดความเจ็บป่วย ให้เป็นกาฬโรคที่เกิดจากการทำงาน
  • จัดให้มีการเข้าถึงบริการรักษาและคำปรึกษาด้านสุขภาพจิต
  • เปิดโอกาสให้มีการประสานความร่วมมือระหว่างผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ และ/หรือตัวแทนของบุคลากร

ทุกท่านเห็นแล้วใช่หรือไม่ ว่าทุกประเทศได้ให้ความสำคัญกับระบบสาธารณสุขกับประชาชนภายในประเทศของตน จึงทำให้องค์กรนี้ได้มีการดำเนินงานที่สำคัญออกมามากมาย เพื่อให้คำแนะนำที่เกี่ยวกับมาตรการเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน และป้องกันการแพร่กระจายของการระบาดได้อย่างทันท่วงที

ในที่ประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) ปี พ.ศ. 2520 ได้มีมติร่วมกันว่า “การมีสุขภาพดีเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนที่พึงได้รับ โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม” โดยที่ประชุมได้เรียกร้องให้รัฐบาลของทุกประเทศเป็นผู้รับผิดชอบ และจัดหากลวิธีที่เหมาะสม เพื่อให้สุขภาพดีถ้วนหน้าในปี 2543 หรือ Health for all by the year 2000

ต่อมาในเดือนกันยายน 2521 องค์การอนามัยโลกได้จัดให้มีการประชุมว่าด้วยการสาธารณสุขมูลฐาน (Primary Health Care; PHC) ที่เมืองอัลมา อตา สหพันธรัฐรัสเซีย เพื่อร่วมกันพิจารณาหาวิธีที่จะทำให้บรรลุถึงการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าได้ และที่ประชุมได้มีแถลงการณ์ที่กันเรียกว่า คำประกาศอัลมา อตา (Alma Ata Declaration) ซึ่งระบุว่า “การสาธารณสุขมูลฐาน เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเพื่อความยุติธรรมในสังคม และเป็นกุญแจที่จะนำไปสู่เป้าหมายของการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าเมื่อปี 2543 ได้”

ประเทศไทยโดย พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ร่วมลงนามในกฎบัตรเพื่อพัฒนาทางสุขภาพ (Charter for Health Development) อันเป็นข้อตกลงระหว่างไทยกับองค์การอนามัยโลก ยืนยันว่าจะยึดถือการสาธารณสุขมูลฐานเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาระบบการสาธารณสุขของประเทศ ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2523 ดังนั้น จะเห็นได้ว่า งานสาธารณสุขมูลฐานไทยได้ดำเนินการผ่านมาแล้วสามทศวรรษ จวบจนเริ่มเข้าสู่ทศวรรษที่สี่ ซึ่งเส้นทางการดำเนินการที่ผ่านมานั้นล้วนน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

พัฒนาการของสาธารณสุขมูลฐานในไทย

“การสาธารณสุขมูลฐาน คือการดูแลสุขภาพอนามัยโดยประชาชน เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน ด้วยการสนับสนุนของรัฐ”

หากเมื่อพิจารณาถึงงานสาธารณสุขมูลฐานในไทยนั้น พบว่า ได้มีการดำเนินงานมาก่อนที่รัฐบาลจะประกาศนโยบายตามมติองค์การอนามัยโลก สามารถแบ่งได้เป็น 8 ระยะ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ได้ดังนี้

1.พัฒนาการระยะแรก ( พ.ศ. 2504-2519)

งานสาธารณสุขมูลฐานเกิดขึ้นมาจากการที่ประชาชนในชนบทประสบกับปัญหาสุขภาพอนามัยและปัญหาการขาดแคลนของบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน ดังจะเห็นได้จากในปี พ.ศ. 2504-2505 มีการอบรมอาสาสมัครกำจัดไข้มาเลเรียขึ้น เพื่อช่วยแก้ปัญหาโรคมาเลเรียที่มีการระบาดในขณะนั้น  

ในปี 2509 นพ.สมบูรณ์ วัชโรทัย  ศึกษาและพบว่า อัตราการไปใช้บริการที่สถานีอนามัยตำบลทุกระดับมีระดับต่ำมาก จึงหาวิธีแก้ไขโดยจัดทำโครงการทดลองที่สำคัญ คือ โครงการส่งเสริมอนามัยชนบท จ.พิษณุโลก ในเวลาเดียวกันกับ นพ.อมร นนทสุต ที่ได้ทำการทดลองโครงการที่ อ.สารภี จ.เชียงใหม่ หลังจากทดลองโครงการไประยะหนึ่งคณะกรรมการดำเนินโครงการสารภี ประกอบด้วย นพ.สมบูรณ์ วัชโรทัย  นพ.อมร นนทสุต และนพ.ไพโรจน์ นิงสานนท์ เห็นว่า ควรนำประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ พร้อมทั้งได้คัดเลือกประชาชนมาเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้สื่อข่าวสาธารณสุข(ผสส.) หลังจากนั้น 1 ปี พบว่าอัตราการมาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น จึงได้มีการขยายโครงการไปยังอำเภออื่นๆในจังหวัดเชียงใหม่ และอ.โนนไทย จ.นครราชสีมา

2.ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524)

พ.ศ. 2522 โครงการสาธารณสุขมูลฐานได้เริ่มต้นและผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ภายใต้ “แผนงานสาธารณสุขมูลฐาน (สสม.)” มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐานแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบาย แผนงาน และการสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรม สสม. ต่อมาในปี 2523 หลังจากที่ไทยได้มีการร่วมลงนามกับองค์การอนามัยโลก ในกฎบัตรเพื่อพัฒนาการทางสุขภาพ เมื่อในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2523 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติสำนักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน ให้เป็นส่วนราชการ มีฐานะเทียบเท่ากอง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ปัจจุบันคือ กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

แผนงานสสม. จะเน้นหนักการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็น ครูฝึกสาธารณสุขมูลฐาน และจัดอบรม ผู้สื่อข่าวสาธารณสุข(ผสส.) และ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) รวมทั้งสนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ มีการกำหนดกิจกรรมจำเป็นของการสาธารณสุขมูลฐานไว้ 8 กิจกรรมตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ ระยะเวลานี้ ถือได้ว่าเป็นระยะการสร้างอสม.และผสส. กำเนิดกองทุนยาและเวชภัณฑ์ประจำหมู่บ้าน รวมทั้งมีการจัดระบบบริหารงานสาธารณสุขมูลฐานในกระทรวงสาธารณสุขอย่างเป็นทางการครั้งแรก เป็นการเริ่มต้นของการพัฒนา 3 ก. คือ กำลังคน กองทุน และการบริหารจัดการ 

3.ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2525 - 2529)

มีการจัดตั้งหน่วยงานฝึกอบรมสาธารณสุขมูลฐานขี้นหลายแห่ง ทั้งในเขตปริมณฑลและภูมิภาคโดยความ

ร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุขและทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ "โครงการศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานอาเซียน" เพื่อขอสนับสนุนด้านการเงินจากรัฐบาลญี่ปุ่น ภายใต้โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แห่งอาเซียน (ASEAN HUMAN RESOURCE DEVELOPMENT PROJECT) รัฐบาลญี่ปุ่นได้ลงนามให้ความช่วยเหลือด้านการก่อสร้างและด้านวิชาการในวงเงิน 400 ล้านบาท เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2525 ประกอบด้วยศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขแห่งอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา นครปฐมปัจจุบันคือ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน และศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐาน 4 ภาค ปัจจุบันคือ ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพภาคประชาชน ได้แก่ ภาคกลาง (ชลบุรี) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ขอนแก่น) ภาคเหนือ (นครสวรรค์) ภาคใต้ (นครศรีธรรมราช) และชายแดนภาคใต้ (ยะลา) รวมทั้งมีการกำหนดสายงานรองรับในระดับจังหวัด คือ “งานสาธารณสุขมูลฐาน” อยู่ภายใต้งานพัฒนาบุคลากร รวมทั้งกำหนดบทบาทรองรับในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และสถานีอนามัย

การดำเนินงานในระยะนี้ เป็นช่วงการประสานงานเพื่อดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐานร่วมกันใน 4 กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข  มีการกำหนดโครงการ “ปีรณรงค์การสาธารณสุขมูลฐานแห่งชาติ” ส่งเสริมให้เกิด “กระบวนการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ระหว่างหมู่บ้าน” หรือ “โครงการหมู่บ้านพึ่งตนเองทางสาธารณสุขมูลฐาน” ทั้งยังเริ่ม “โครงการปีรณรงค์คุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติ(ปรช.)” โดยใช้เครื่องมือชี้วัด “ความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.)” เป็นพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ภายใต้การวางแผนขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นใหม่ คือ “คณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ” โดยมีการดำเนินการตามกระบวนการ จปฐ. และกชช 2 ค. ซึ่งมี 8 หมวด 32 ตัวชี้วัด ในจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้านทั่วประเทศ

4.ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่  6 (พ.ศ.2530 - 2534)

ในระยะนี้ จะเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยใช้เกณฑ์จปฐ. เพื่อเร่งรัดให้เกิดการดำเนินงานสสม. ให้ขยาย

ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ทั้งเขตชนบทและเขตเมือง มุ่งปรับปรุงคุณภาพของสถานบริการตามระบบการพัฒนาระบบบริหารจัดการเครือข่ายบริการสุขภาพ (พบส.)  

ในการพัฒนาศักยภาพของอสม. มีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรเป็นรูปแบบผสมผสาน โดยได้รับงบประมาณในการฝึกอบรมโดยตรงจากคณะกรรมการสสม.  มีการเพิ่มกิจกรรมจำเป็นของการสาธารณสุขมูลฐาน 2 กิจกรรม ได้แก่ งานทันตสาธารณสุข และงานสุขภาพจิต รวมเป็น 10 กิจกรรม

การ กำหนด หน้าที่ องค์กร ในการส่งเสริมสุขภาพของ โลก เกิด ขึ้น ครั้ง แรก ที่ ประเทศ ใด

ขอบคุณภาพจาก www.siced.ac.th

5.ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535 - 2539)

เป็นการดำเนินการต่อจากแผนฯ 6 มุ่งเน้นให้ทุกครอบครัวมีความสามารถในการดูแลสุขภาพของตนเองและ

บรรลุคุณภาพชีวิต ในปีพ.ศ. 2535 ได้มีการยกระดับอาสาสมัครสาธารณสุขให้มีเพียงระดับเดียวคือ อสม. มีการเพิ่มกิจกรรมใหม่ของงานสสม.อีก 4 กิจกรรม คือ อนามัยสิ่งแวดล้อม, การคุ้มครองผู้บริโภค, การควบคุมอุบัติเหตุ อุบัติภัย และโรคไม่ติดต่อ, และการป้องกันและควบคุมเอดส์   รวมเป็น 14 องค์ประกอบ ได้แก่ งานโภชนาการ  งานสุขศึกษา การรักษาพยาบาล  การจัดหายาที่จำเป็น การสุขาภิบาลและจัดหาน้ำสะอาด อนามัยแม่และเด็กและการวางแผนครอบครัว  งานควบคุมป้องกันโรคติดต่อในท้องถิ่น การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การส่งเสริมสุขภาพฟัน  การส่งเสริมสุขภาพจิต อนามัยสิ่งแวดล้อม  คุ้มครองผู้บริโภค การป้องกันควบคุมอุบัติเหตุอุบัติภัย และโรคไม่ติดต่อ การป้องกันและควบคุมเอดส์

มีการส่งเสริมและการสนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขโดยชุมชน จัดตั้ง “ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.)”  ครบทุกหมู่บ้าน ในเขตชนบท มีการปรับปรุงตัวชี้วัดจปฐ. เป็น 9 หมวด 37 ตัวชี้วัด และมีการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.เป็นประจำทุกปี จนถึงปัจจุบัน  

และได้ผลักดันให้มีวันสำคัญของอาสาสมัครสาธารณสุข จนวันที่ 21 ธันวาคม 2536 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้วันที่ 20 มีนาคมของทุกปีเป็น “วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ” กระทรวงสาธารณสุขจึงได้เริ่มต้นจัดงานในนามวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ 20 มีนาคม 2537 

6.ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540 - 2544)

มีการส่งเสริมบทบาทและศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุข ส่งเสริมแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ให้

เป็นแกนสำคัญในการดูแลสุขภาพของครอบครัว  และส่งเสริมบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการสาธารณสุขในชุมชน  มีการจัดสรรงบอุดหนุนเพื่อการพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐาน หมู่บ้านละ 7,500 บาทต่อหมู่บ้านต่อปี เพื่อดำเนินกิจกรรม 3 กิจกรรม ได้แก่ พัฒนาศักยภาพคน แก้ไขปัญหาสาธารณสุข และให้บริการใน

ศสมช.

7.ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545 - 2549)

เกิดการปฏิรูประบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ปรับเปลี่ยนเป็นกองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข  เกิดระบบสุขภาพภาคประชาชนที่ต่อยอดแนวคิดการสาธารณสุขมูลฐาน  มีการถ่ายโอนงบอุดหนุนเพื่อการพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐาน หมู่บ้านละ 7,500 บาท ต่อหมู่บ้านต่อปี ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

8.ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 – ปัจจุบัน)

เกิดกองทุนสุขภาพระดับตำบล โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้การสนับสนุน

งบประมาณ ให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข องค์กรอาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชน ในการพัฒนาด้านสาธารณสุข

การ กำหนด หน้าที่ องค์กร ในการส่งเสริมสุขภาพของ โลก เกิด ขึ้น ครั้ง แรก ที่ ประเทศ ใด

สัญลักษณ์การสาธารณสุขมูลฐานและความหมาย

ประเทศไทย ได้กำหนดสัญลักษณ์ของการสาธารณสุขมูลฐาน (สสม.) ดังภาพ โดยมีความหมาย ดังนี้

• ภาพคนยืนซ้อนและจับมือซ้อนกัน หมายถึง ประชาชน ครอบครัว และชุมชน

• ภาพกลุ่มคนประสานมือล้อมภาพคนยืนซ้อนและจับมือซ้อนกัน หมายถึง การประสานความร่วมมือขององค์กรภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรธุรกิจเอกชน และองค์กรประชาชน เพื่อส่งเสริมการพึ่งตนเองด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน ครอบครัว และชุมชน

• สีแดง หมายถึง เลือดเนื้อของชีวิตมนุษย์ เปรียบเสมือนการสาธารณสุขมูลฐานซึ่งจะหล่อเลี้ยงให้ประชาชนมีสุขภาพดี

• สีน้ำเงิน หมายถึง ความยิ่งใหญ่ กว้างใหญ่ ความหนักแน่นมั่นคง

 

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพ เขต 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช, [Online], สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กรกฏาคม 2557. จาก http://www.nakhonphc.go.th/history_asm.php

ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพภาคประชาชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, [Online], สืบค้นเมื่อวันที่ 4กรกฏาคม 2557. จาก http://www.esanphc.net/rtc/history.php

ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพภาคประชาชนภาคกลาง จังหวัดชลบุรี, [Online], สืบค้นเมื่อวันที่ 4กรกฏาคม 2557. จาก http://www.centralphc.org/about-1.php

วรเดช จันทรศร.นโยบายการสาธารณสุขมูลฐานในประเทศไทย ปัญหา ข้อจำกัด และลักษณะเด่น.มปป.

กองบก.วิชาการ.ทิศทางสสม.ในทศวรรษที่สี่. หมออนามัยปีที่ 18 ฉบับที่ 5 หน้า 22-43

กฤษณชัย กิมชัย. 30 ปี การสาธารณสุขมูลฐาน.เอกสารประกอบการประชุมปฏิบัติการสรุปการดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐาน และกำหนดทิศทางการพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐาน ทศวรษที่ 4 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีงบประมาณ 2551 วันที่ 17-19 กันยายน 2551 ณ โรงแรมเจริญศรีแกรนด์ รอยัล จังหวัดอุดรธานี