กรณีลงทุนเป็นแรงงานในห้างหุ้นส่วน

          ในประเทศไทยเรามีการจัดตั้ง ธุรกิจหลายประเภทด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่มีเจ้าของคนเดียว หรือจัดตั้งร่วมกับผู้อื่นในรูปแบบห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจำกัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงินลงทุนและวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง

          “ห้างหุ้นส่วน” เป็นการจัดตั้งธุรกิจโดยบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เป็นเจ้าของและมีผลประโยชน์ในกิจการร่วมกัน มีบัญชีทุนหุ้นส่วนแยกแสดงส่วนได้ส่วนเสียของแต่ละบุคคล

          การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้นมีอยู่ 3 ประเภทด้วยกันคือ

  1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Ordinary Partnership)
  2. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (Registered Ordinary Partnership)
  3. ห้างหุ้นส่วนจำกัด (Limited Partnership)

          เมื่อบุคคลสองคนได้ ตกลงกันที่จะดำเนินกิจการร่วมกัน จำเป็นต้องมีการลงทุนแรกเริ่มของห้างหุ้นส่วน โดยหุ้นส่วนทั้งสองคนจะต้องนำเงินหรือทรัพย์สิน หรือเงินและทรัพย์สินอื่นมาลงทุนเพื่อร่วมดำเนินกิจการด้วยกัน

  1. ลงทุนเป็นเงินสด
  2. ลงทุนด้วยทรัพย์สิน
  3. ลงทุนด้วยเงินสดและทรัพย์สิน

          เนื่องจากในกิจการ ห้างหุ้นส่วนผู้เป็นหุ้นส่วนอาจลงทุนไม่เท่ากัน ทำให้มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการไม่เท่ากัน หรือมีการกำหนดอัตราส่วนแบ่งกำไรขาดทุนไม่เท่ากัน การบันทึกส่วนได้ส่วนเสียของผู้เป็นหุ้นส่วน จึงจำเป็นต้องแยกบัญชีของแต่ละคนเรียกว่าบัญชีทุนหุ้นส่วน ซึ่งมี 2 แบบ คือ วิธีทุนคงที่ และ วิธีทุนเปลื่ยนแปลง

  1. วิธีทุนคงที่ (Fixed Capital Method) ห้างหุ้นส่วนจะบันทึกการเปลี่ยนแปลงในส่วนทุนของหุ้นส่วนที่มีลักษณะถาวร เช่น เงินลงทุนเริ่มแรก การเพิ่มทุน และการลดทุน ไว้ในบัญชีทุนหุ้นส่วน สําหรับการเปลี่ยนแปลงจากเรื่องอื่นๆ เช่น การรับส่วนแบ่งผลจากการดําเนินงาน เงินเดือน โบนัส ดอกเบี้ย ฯลฯ จะบันทึกไว้ในบัญชีกระแสทุน
  2. วิธีทุนเปลี่ยนแปลง (Alternative Capital Method) ห้างหุ้นส่วนจะบันทึกการเปลี่ยนแปลงในส่วนทุนของหุ้นส่วนทุกรายการ เช่น เงินลงทุนเริ่มแรก การเพิ่มทุน การลดทุน ส่วนแบ่งกําไรขาดทุนเงินเดือน หุ้นส่วน โบนัสหุ้น ส่วน ดอกเบี้ยเงินทุน ฯลฯ ในบัญชีทุนบัญชีเดียว

สิทธิประโยชน์ของผู้เป็นหุ้นส่วน

  1. กรณีลงทุนเป็นแรงงานในห้างหุ้นส่วน
    ผลตอบแทนจากการลงทุน
    ผู้เป็นหุ้นส่วนจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนตามที่ได้ทำข้อตกลงกันไว้ หากไม่ได้ทำข้อตกลง กฎหมายให้แบ่งผลตอบแทนตามสัดส่วนของการลงทุน
  2. ดอกเบี้ยเงินทุน ห้างหุ่นส่วนอาจคิดดอกเบี้ยเงินทุน ให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนโดยแบ่งจากกําไรขาดทุน ทั้งนี้ ดอกเบี้ยทุนนี้ จะไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายแต่ถือเป็นเกณฑ์หนึ่งในการแบ่งกําไรขาดทุนให้แก่หุ้น ส่วน กําไรขาดทุนที่เหลืออาจแบ่งกันตามอัตราส่วนที่หุ้นส่วนตกลงกันไว้ล่วงหน้าใน สัญญาการคิดดอกเบี้ยทุน ตามข้อตกลงต้องกําหนดเป็นอัตราร้อยละในสัญญาว่าจะคิดจากยอดทุน ณ วันใด เช่น ทุนต้นงวด หรือ ทุนปลายงวด
  3. ดอกเบี้ยเงินกู้หุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วน และผู้เป็นหุ้นส่วนอาจกู้ยืมเงินระหว่างกันดอกเบี้ยเงินกู้ที่จ่ายให้หุ้น ส่วน และดอกเบี้ยที่ได้จากการให้เงินหุ้นส่วนแต่ละคนกู้เงินไปใช้ ห้างหุ้นส่วนต้องถือว่าเป็นค่าใช้จ่าย และรายได้ตามแต่กรณี
  4. เงินเดือน การให้เงินเดือนแก่ ผู้เป็นหุ้นส่วน จะต้องมีข้อตกลงไว้ในสัญญา โดยถือเป็นการแบ่งผลการดําเนินงานในรูปของเงินเดือน ดังนั้น บัญชีเงินเดือนจึงไม่ใช่ค่าใช้จ่าย แต่เป็นเกณฑ์หนึ่งในการจัดสรรแบ่งผลการดําเนินงาน ซึ่งจะแสดงในตอนแบ่งกําไรสุทธิ คือ หลังจากทราบผลกําไรสุทธิจากการดําเนินงานแล้ว
  5. โบนัสให้หุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วนอาจตอบแทนหุ้นส่วนที่บริหารงานให้้แก่ห้างหุ้นส่วนในรูปของ โบนัส หุ้นส่วนจึงต้องตกลงกันว่าจะถือโบนัสเป็นค่าใช้จ่าย หรือเป็นส่วนหนึ่งของการแบ่งผลกําไรสุทธิ เพราะถ้าถือว่าโบนัสเป็นค่าใช้จ่ายจะคํานวณโบนัสจากกําไรหลังหักโบนัส แต่ถ้าถือว่าโบนัสเป็นเกณฑ์หนึ่งในการจัดสรรแบ่งกําไรไม่ใช่ค่าใช้จ่ายจะ คํานวณโบนัสจากกําไรสุทธิก่อนหักโบนัส

ที่มา : www.avaccount.com

การบัญชีเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วน

ส่วนในทุนและส่วนในกำไรขาดทุนของหุ้นส่วน

ส่วนในทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน    หมายถึง เงินสดหรือสินทรัพย์อื่น ๆ ที่ผู้เป็นหุ้นส่วนนำมาลงทุนในตอนจัดตั้ง สิทธิส่วนได้เสียของผู้เป็นหุ้นส่วนอาจเปลี่ยนแปลงได้ภายหลังจากดำเนินงาน เนื่องจากผู้เป็นหุ้นส่วนอาจนำเงินสดมาลงทุนเพิ่ม ถอนทุน หรือได้รับส่วนแบ่งกำไร
ส่วนในกำไรขาดทุน    เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งกำไรหรือขาดทุนระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน

ตัวอย่าง       เอ และบี ตกลงเป็นหุ้นส่วนกัน โดย เอนำเงินสดมาลงทุน 300,000 บาท บี นำอุปกรณ์สำนักงาน 150,000 บาท และเครื่องตกแต่ง 50,000 บาท มาลงทุน ผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงแบ่งกำไรขาดทุนเท่ากัน

จากข้างต้น พบว่าสินทรัพย์ หรือเงินทุนทั้งสิ้นของห้างเท่ากับ 500,000 บาท เอมีสิทธิส่วนได้เสีย 300,000 บาท บีมีสิทธิส่วนได้เสีย 200,000 บาทหรืออัตราส่วน 3 : 2 อัตราส่วนแบ่งผลกำไรขาดทุนเท่ากันคือ 1 : 1        

ต่อมา ห้างหุ้นส่วนเอและบี ดำเนินงานมีผลกำไรสุทธิ 100,000 บาท สิทธิส่วนได้เสียของผู้เป็นหุ้นส่วนจะเพิ่มขึ้น ดังนี้
สินทรัพย์ ทุน - เอ ทุน - บี
ทุน ณ วันเริ่มกิจการ 500,000 300,000 200,000
ส่วนแบ่งกำไร 100,000 50,000 50,000
ทุน ณ วันสิ้นงวด 600,000 350,000 250,000
เมื่อวันสิ้นงวดบัญชีส่วนในทุนของ เอ เท่ากับ 350,000 และ ส่วนในทุนของ บี เท่ากับ
250,000 อัตราส่วนทุนของเอและบี เปลี่ยนเป็น 7 : 5 อัตราส่วนแบ่งกำไรขาดทุนยังเท่าเดิมคือ 1 : 1

วิธีการใช้บัญชีทุน บัญชีกระแสทุน และบัญชีเงินถอน
การบันทึกบัญชีของห้างหุ้นส่วนมี 2 วิธี                                                                                                      

1. วิธีทุนคงที่ (Fised Capital Method)หรือวิธีทุนไม่เปลี่ยนแปลง ต้องเปิดบัญชีของหุ้นส่วนแต่ละคนขึ้น 3 บัญชี คือ บัญชีทุน บัญชีกระแสทุน และบัญชีเงินถอน โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

1.1 บัญชีทุน (Capital Account) การใช้บัญชีทุนของห้างหุ้นส่วนต้องแยกบัญชีทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนขึ้น เช่น บัญชีทุน - เอ บัญชีทุน - บี หรือ บัญชีทุน - ซี เป็นต้น รายการที่ต้องนำมาบันทึกในบัญชีทุนมีลักษณะเป็นการถาวร ได้แก่

                              1.1.1 ลงทุนครั้งแรกด้วยเงินสดและสินทรัพย์อื่น

                1.1.2 เพิ่มทุนเป็นเงินสด หรือสินทรัพย์
               1.1.3 ถอนทุน
1.2 บัญชีกระแสทุน (Current Account) ใช้บันทึกรายการที่ทำให้ทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน เพิ่ม หรือ
ลดได้ มีลักษณะไม่เป็นการถาวร ได้แก่

1.2.1 ดอกเบี้ยทุน
              1.2.2 เงินเดือนที่คิดให้หุ้นส่วน
              1.2.3 โบนัสหุ้นส่วนผู้จัดการ
             1.2.4 ส่วนแบ่งผลกำไรขาดทุน

1.3 บัญชีเงินถอน (Drawing Account) ใช้บันทึกรายการของผู้เป็นหุ้นส่วนที่เกิดขึ้น ได้แก่

                                  1.3.1 ถอนกำไรไปใช้ล่วงหน้า รวมทั้งถอนเงินสดหรือสินทรัพย์อื่น ๆ ไปใช้
                                   1.3.2 ในวันสิ้นงวดบัญชี ต้องโอนปิดบัญชีเงินถอนไปยังบัญชีกระแสทุน เพื่อหายอดคงเหลือของบัญชีกระแสทุน ถ้ากิจการใช้ระบบบัญชีทุนคงที่  

2. วิธีทุนเปลี่ยนแปลง (Alternative Capital Method) วิธีนี้จะเปิดบัญชีทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนเพียงบัญชีเดียวเท่านั้น ใช้บันทึกรายการลงทุนครั้งแรก เพิ่มทุน ถอนทุน และรายการจัดสรรกำไรขาดทุน ผลตอบแทนต่าง ๆ อาทิเช่น ดอกเบี้ยทุน เงินเดือน ที่คิดให้หุ้นส่วน โบนัส และส่วนแบ่งกำไรขาดทุน ถ้ามีการถอนกำไรไปใช้ล่วงหน้าให้เปิดบัญชีเงินถอน และโอนไปบัญชีทุนในวันสิ้นงวด
สำหรับวิธีทุนเปลี่ยนแปลงนี้ ถ้ามีรายการถอนกำไรไปใช้ล่วงหน้า (ถอนใช้ส่วนตัว ที่ไม่ใช่ถอนทุน) ให้บันทึกในบัญชีเงินถอน และโอนปิดไปบัญชีทุนเมื่อวันสิ้นงวดบัญชี

รายการที่มีผลทำให้เงินทุนของห้างหุ้นส่วนเปลี่ยนแปลงไป

รายการซึ่งทำให้ทุน หรือ สิทธิส่วนได้เสียของผู้เป็นหุ้นส่วนเพิ่มขึ้น คือ
1. การลงทุนเพิ่ม
2. ผู้เป็นหุ้นส่วนชำระหนี้ให้แก่ห้างหุ้นส่วน
3. ส่วนแบ่งผลกำไรจากการดำเนินงาน
4. ส่วนแบ่งกำไรจากการปรับปรุงสินทรัยพ์ หนี้สิน ของห้างหุ้นส่วน
5. ห้างหุ้นส่วนคิดเงินเดือน เงินโบนัส หรือ ดอกเบี้ยทุน ให้กับผู้เป็นหุ้นส่วน
รายการที่ทำให้ทุนหรือสิทธิส่วนได้เสียของผู้เป็นหุ้นส่วนลดลงคือ
1. ผู้เป็นหุ้นส่วนถอนเงินสดหรือสินทรัพย์อื่นของห้างไปใช้ส่วนตัว
2. ห้างหุ้นส่วนชดใช้ หรือ รับเอาหนี้สินส่วนตัวของผู้เป็นหุ้นส่วน
3. ส่วนแบ่งผลขาดทุนจากการดำเนินงาน
4. ส่วนแบ่งผลขาดทุนจากการปรับปรุงสินทรัพย์ หนี้สิน ของห้างหุ้นส่วน
5. ห้างหุ้นส่วนคิดดอกเบี้ย จากวันที่ผู้เป็นหุ้นส่วนถอนกำไรไปใช้ล่วงหน้า

การเปิดบัญชีห้างหุ้นส่วน ( Opening The Books)

การบันทึกการเปิดบัญชีของห้างหุ้นส่วนนั้น ใช้วิธีการเช่นเดียวกับกิจการค้าเจ้าของคนเดียวเพียงแต่จำแนกทุนของหุ้นส่วนแต่ละคน แบ่งได้เป็น 4 กรณี ดังนี้คือ

1. หุ้นส่วนนำเงินสดมาลงทุน เช่น เอ บี และซี เป็นหุ้นส่วนกัน นำเงินสดมาลงทุน ดังนี้

จำนวน 20,000 บาท 30,000 บาท และ 40,000 บาท ตามลำดับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2547 การบันทึกบัญชี
ในสมุดรายวันทั่วไป ดังนี้
2547
ม.ค. 1                    เงินสด                                                  90,000

ทุน – เอ                                                 20,000
ทุน - บี                                                  30,000
ทุน – ซี                                                  40,000

เอ บี และซี นำเงินสดมาลงทุน เมื่อวันที่ 1 มกราคา 2547
2. หุ้นส่วนนำสินทรัพย์อื่น ๆ มาลงทุน วิธีนี้จะต้องตีค่าสินทรัพย์ก่อนว่ามีมูลค่าเท่าใด การใช้ราคาทุนเดิม (Original Cost) หรือราคาตามบัญชี (Book Value) นั้น ไม่ถูกต้อง ส่วนใหญ่นิยมใช้ราคาตลาด (Fair Market Value) บันทึกราคาสินทรัพย์ แต่อย่างไรก็ดีการใช้ราคาใดนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจะต้องยินยอมด้วย

เช่น เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2547 เอ บี และ ซี นำเงินสด สินทรัพย์ และหนี้สินมาลงทุน ดังนี้
                            เอ                 บี                     ซี                             รวม
เงินสด             2,000                 4,000             3,000                     9,000
ลูกหนี้             3,000                  2,000             5,000                     10,000
เครื่องตกแต่ง    4,000                 7,500             3,500                     15,000
อาคาร                 -                         -                200,000                 200,000
เจ้าหนี้             7,500                     9,500             18,000                 35,000

ยอดทุน            1,500                     4,000         193,500                 199,000

การบันทึกบัญชีเป็นดังนี้
2547
ม.ค. 1                     เงินสด                                                 9,000
                               ลูกหนี้                                                 10,000
                              เครื่องตกแต่ง                                    15,000
                              อาคาร                                             200,000
                                                            เจ้าหนี้                                                 35,000    
                                                            ทุน - เอ                                                  1,500
                                                            ทุน - บี                                                   4,000
                                                            ทุน - ซี                                                193,500
                                              เอ บี และ ซี นำเงินสด สินทรัพย์ และหนี้สินมาลงทุน

3. หุ้นส่วนนำแรงงานมาลงทุน แรงงาน หมายถึง ความสามารถทางด้านความคิด ซื่อเสียง สติปัญญา กำลังกาย ของหุ้นส่วนนำมาลงทุน เรียกว่า ค่าความนิยม (Goodwill) และต้องมีการตกลงระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน ว่าจะมีการบันทึกในบัญชีหรือไม่ ถ้ามีการบันทึกในสมุดบัญชีของห้างจะใช้มูลค่าเท่าใด ขึ้นอยู่กับข้อตกลงดังนี้

3.1 ถ้าให้สิทธิรับคืนทุน จะต้องบันทึกค่าความนิยมให้กับหุ้นส่วนผู้นั้น และบันทึกไว้ในสมุดบัญชีของห้าง เช่น เอ บี เป็นหุ้นส่วนกัน โดย เอ และบี นำเงินสด 40,000 และ 30,000 บาทตามลำดับ และ บี ยังนำแรงงานมาลงทุนด้วย ซึ่งตกลงคิดเป็นมูลค่า 20,000 บาท และให้สิทธิ บี มีสิทธิรับคืนทุน กิจการเริ่มวันที่ 1 เมษายน 2547 บันทึกบัญชีดังนี้
2547
เม.ย. 1                 เงินสด                                                    70,000
                            ค่าความนิยม                                           20,000
                                                               ทุน - เอ                                                   40,000
                                                               ทุน - ซี                                                     50,000
                                เอ และ บี นำเงินสดและแรงงานมาลงทุน

3.2 ไม่มีสิทธิรับคืนทุน วิธีนี้ไม่มีการบันทึกค่าแรงงานในบัญชี เพียงแต่เขียนไว้ในสัญญาหุ้นส่วนเท่านั้น

การคำนวณส่วนทุนของห้างหุ้นส่วนที่นำแรงงานมาลงทุนก็คือ
แรงงาน = ส่วนถัวเฉลี่ยของหุ้นส่วนซึ่งนำเงินสดและสินทรัพย์อื่นมาลงทุน

ตัวอย่าง เอ นำเงินสดมาลงทุน 60,000 บาท บี นำเงินสดมา 20,000 บาท พร้อมด้วย เครื่องใช้สำนักงาน จำนวน 10,000 บาท มาลงทุน และ ซี นำแรงงานซึ่งไม่ได้ตีราคามาลงทุน การคำนวณหาส่วนในทุนของ ซี เป็นดังนี้
ทุน - ซี = 60,000 + 30,000 / 2
ส่วนทุนของ ซี = 45,000 บาท

4. หุ้นส่วนลงทุนเป็นสินทรัพย์แต่มิได้แสดงราคาไว้ ตามกฏหมายให้ถือว่าหุ้นส่วนทุกคน
ลงทุนในจำนวนที่เท่ากัน แยกได้เป็น 3 กรณี ดังนี้
4.1 เอ และ บี เป็นหุ้นส่วนกัน เอ นำอุปกรณ์มาลงทุน บี นำเครื่องจักรมาลงทุน ต่างก็
ไม่ได้ตีราคาสินทรัพย์ ตามกฏหมายถือว่า เอ และ บี ลงทุนเท่ากัน
4.2 เอ นำเงินสดมาลงทุน 30,000 บาท บี นำเครื่องมือและอุปกรณ์ มาลงทุน โดยไม่ได้ตีราคาไว้ ให้ถือว่า บีลงทุน 30,000 บาท เท่ากับ เอ
4.3 เอ บี และ ซี เป็นหุ้นส่วนกัน เริ่มกิจการเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2547 โดบ เอ นำ
เงินสดมาลงทุน 60,000 บาท บี นำเงินสดมาลงทุน 70,000 บาท และอุปกรณ์ จำนวน 30,000 บาท ซี ลงทุนเป็นแรงงาน ซึ่งมีสิทธิรับคืนทุนแต่ยังไม่ได้ตีราคา การคำนวณทุน ซี เป็นดังนี้
ทุน - ซี = 60,000 + 100,000 / 2 = 80,000 บาท

การบันทึกรายการเปิดบัญชี
2547
เม.ย. 1             เงินสด                                                     130,000
                        อุปกรณ์                                                     30,000
                        ค่าความนิยม                                            80,000
                                                    ทุน - เอ                                                    60,000
                                                    ทุน - บี                                                     100,000
                                                    ทุน - ซี                                                         80,000
                        เอ บี และ ซี นำสินทรัพย์และแรงงานมาลงทุน