ผม ได้สืบทอด มรดก รอย พันล้าน บทที่ 37

21 พ.ย. 2565 เวลา 17:34 น.18

"โอ เทพรัตน์" ผู้รังสรรค์ของขวัญของที่ระลึกจากราชอาณาจักรไทยสำหรับผู้นำและแขกพิเศษของเขตเศรษฐกิจ APEC Thailand 2022


    การประชุม APEC Thailand 2022 นอกจากการเตรียมงานในด้านต่างๆ แล้ว การจัดเตรียมของขวัญ ของที่ระลึก สำหรับผู้นำและแขกพิเศษของเขตเศรษฐกิจที่เข้าร่วมประชุมก็เป็นอีกหนึ่งส่วนงานสำคัญที่จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศและมอบความประทับใจให้กับผู้มาเยือน ภายใต้แนวคิดหลัก BCG ( Bio-Circular-Green Economy Model )  
   


    โดย เทพรัตน์ สงเคราะห์ หรือ โอ เทพรัตน์ ได้รับมอบหมายจากกระทรวงวัฒนธรรมในนามรัฐบาลให้เป็นผู้สร้างสรรค์และผลิตของขวัญในวาระพิเศษนี้ เพื่อมอบให้กับผู้นำ คู่สมรส และแขกพิเศษของเขตเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นชุดของขวัญหลัก มีด้วยกัน 3 อย่าง ได้แก่ ภาพดุนโลหะ “รัชตะแสนตอก” กล่องใส่เครื่องประดับดุนโลหะ “รัชตะหมื่นตอก”และชุดเครื่องผ้า “จตุราภรณ์” ที่ประกอบไปด้วยผ้าคลุมไหล่ “รติระหง” หน้ากากอนามัย “สุขารมณ์” เน็คไท “ศักยบุรุษ” และผ้าเช็ดหน้า “ผกาพักตร์” 

ผม ได้สืบทอด มรดก รอย พันล้าน บทที่ 37

จับความเป็นไทยที่ปราณีตทรงคุณค่ามาใส่ความเป็นปัจจุบันที่งามสง่าโก้หรู

ผม ได้สืบทอด มรดก รอย พันล้าน บทที่ 37

    โอ เทพรัตน์ กล่าวว่า “ผมตั้งชื่อโครงการว่า ของขวัญจากราชอาณาจักรไทยซึ่งโดยชื่อแล้วย่อมแสดงถึงว่า ของขวัญทุกชิ้นที่จะถูกรังสรรค์ต้องมีรากเหง้ามรดกภูมิปัญญาจากราชอาณาจักรไทยอันงดงามแห่งนี้ ที่ไม่เพียงจะสร้างความประทับใจให้กับผู้นำทุกชาติแล้ว แต่ของทุกชิ้นต้องคู่ควรค่ามากประโยชน์ที่จะได้ถูกนำไปใช้สอย หรือเผยแพร่สู่สาธารณะในงานครั้งนี้และต่อเนื่องไปยังประเทศนั้น ๆ ซึ่งนั่นหมายถึงการถ่ายทอดเอกอัตลักษณ์ไทยสู่สายตาชาวโลกนับหลายร้อยล้านคน”
 

ผม ได้สืบทอด มรดก รอย พันล้าน บทที่ 37

ผม ได้สืบทอด มรดก รอย พันล้าน บทที่ 37

      ไฮไลท์ของการออกแบบของขวัญชุดนี้อยู่ที่ “ชะลอมโมโนแกรม” ที่พัฒนาจากรูป ‘ชะลอม’ ตราสัญลักษณ์การประชุมเอเปค ร้อยเรียงเป็นลายประจำยามหนึ่งในอัตลักษณ์ลายไทยพื้นฐาน สื่อถึงการค้าที่อยู่บนพื้นฐานค่านิยมเชิงวัฒนธรรมที่ดีงาม ลวดลายหลักที่จะประกอบกับการออกแบบจัดทำบนวัสดุรีไซเคิลเกือบ 100%ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด BCG หรือเศรษฐกิจชีวภาพ แก่นสารหลักของการจัดประชุมในครั้งนี้

ละเอียดอ่อนในชิ้นงานลึกซึ้งในแนวคิด

ของขวัญจากราชอาณาจักรไทยถูกรังสรรค์จัดทำขึ้นมาสามชุด ได้แก่

ผม ได้สืบทอด มรดก รอย พันล้าน บทที่ 37


1.ภาพดุนโลหะ “รัชตะแสนตอก”


ความงดงามเรืองรองของพระบรมมหาราชวังและกระบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค อันสง่าภูมิอัตลักษณ์วัฒนธรรมไทยที่เด่นก้องไกลไปทั่วโลก ที่มองจากประชุมกองทัพเรืออันเป็นสถานที่จัดเลี้ยงอาหารค่ำ (Gala Dinner) อย่างเป็นทางการแก่ผู้นำที่เข้าร่วมประชุม
กลายเป็นแนวคิดสำคัญที่นำมาสร้างสรรค์ผ่านฝีมือดุน (ตอก) เงิน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติที่สืบทอดมากกว่า 700 ปี บนพื้นหลังลายนูนต่ำ กรอบตอกด้วยลายพื้นเมืองล้านนา บนวัสดุโลหะ (รัชตะ) รีไซเคิลสีเงิน ด้วยการตอกนับแสนครั้งต่อหนึ่งภาพ จึงเป็นที่มาของชื่อภาพ “รัชตะแสนตอก”

ภาพดุนโลหะ รัชตะแสนตอก ขนาดกว้าง 25 ซม. ยาว 55 ซม. ลึก 2 ซม. ผลิตจากโลหะรีไซเคิลสีเงิน 100% พร้อมโครงกรอบรูปด้านในทำจากแผ่นไม้ยางพารารีไซเคิลผ่านการฆ่าเชื้อตามมาตรฐานการส่งออก จัดทำสำหรับผู้นำและแขกพิเศษของเขตเศรษฐกิจ รวม 25 ชิ้น

ผม ได้สืบทอด มรดก รอย พันล้าน บทที่ 37

ผม ได้สืบทอด มรดก รอย พันล้าน บทที่ 37

ผม ได้สืบทอด มรดก รอย พันล้าน บทที่ 37


กล่องใส่เครื่องประดับดุนโลหะ “รัชตะหมื่นตอก”


ด้วยแนวคิดที่ว่า ผู้นำคือผู้สร้าง คู่สมรสเปรียบดังผู้รักษา และเครื่องวัตถุตั้งแต่ยุคการค้าของโลกเก่าที่เป็นสัญลักษณ์แห่งการเก็บรักษาคือหีบหรือกล่องกล่องใส่เครื่องประดับสำหรับคู่สมรสผู้นำเอเปค ได้รับแรงบันดาลใจจากพันธะหน้าที่ของคู่สมรสผู้นำที่เป็นผู้เก็บรักษาทั้งทรัพย์และความอบอุ่นในครอบครัว เป็นงานดุนโลหะด้วยมือทั้งชิ้นบนแผ่นโลหะรีไซเคิลสีเงิน เดินลวดลายตอกนูนต่ำ ด้วยการตอกนับหมื่นครั้งต่อหนึ่งชิ้นงาน

ผม ได้สืบทอด มรดก รอย พันล้าน บทที่ 37

ผม ได้สืบทอด มรดก รอย พันล้าน บทที่ 37

ผม ได้สืบทอด มรดก รอย พันล้าน บทที่ 37

กล่องใส่เครื่องประดับดุนโลหะ “รัชตะหมื่นตอก” นี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นของขวัญสำหรับคู่สมรสของผู้นำ จำนวน 25 ชิ้น ผลิตจากโลหะรีไซเคิลสีเงิน 100% มีขนาดกว้าง 13 ซม. ยาว 23 ซม. ลึก 5 ซม. ลายหลักสัญลักษณ์เอเปค ดุนนูนด้วยเทคนิคการดุนโลหะด้วยมือ บนพื้นหลังลวดลายชะลอมโมโนแกรมที่จัดทำด้วยเทคนิคการกัดกรดโลหะนำร่องก่อนตอกย้ำลวดลายให้เด่นชัดด้วยมือ ด้านในบุด้วยผ้าไหมทอมือสีแดงชาด

ผม ได้สืบทอด มรดก รอย พันล้าน บทที่ 37

ผม ได้สืบทอด มรดก รอย พันล้าน บทที่ 37


ชุดเครื่องผ้า “จตุราภรณ์”
    ด้วยแนวคิดการทำชุดเครื่องใช้จากผืนผ้าไหมไทยพื้นบ้านภูมิปัญญาพื้นถิ่นที่สืบสานยาวนานให้สามารถใช้ร่วมกับยุคสมัยกับประโยชน์ใช้สอย ผู้สร้างสรรค์จึงคัดเลือกผ้าไหมปักธงชัยที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติจากเปลือกมะพร้าวเหลือทิ้งมาพิมพ์ลายประจำยาม “ชะลอมโมโนแกรม” แล้วนำไปออกแบบตัดเย็บเป็นเครื่องใช้จากผ้าประเภทต่าง ๆ ตามยุคสมัย โดยเพิ่มมูลค่า และสนับสนุนแนวคิดหลักด้วยการร้อยต่อผ้าจากเส้นใยรีไซเคิลของโลหะประกายสีทองรุ่งโรจน์กับปลายผ้าคลุมไหล่ แต่งชายด้วยลูกปะเกือมสีเงินที่เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติแห่งจังหวัดสุรินทร์ปิดปลายด้วยผ้าทอแบบทวิตจากเศษผ้าไทยเหลือทิ้ง แสดงให้เห็นถึงการผสานงานผ้าไหมและวัฒนธรรมไทยกับประโยชน์ใช้สอยและแนวคิดร่วมสมัยได้อย่างลงตัวงดงาม

ผม ได้สืบทอด มรดก รอย พันล้าน บทที่ 37

    ชุดเครื่องผ้า “จตุราภรณ์” เป็นผลิตภัณฑ์ผ้าสำหรับผู้นำเอเปค จำนวน 25 เซ็ต ในแต่ละเซ็ต ประกอบไปด้วยงานผ้า 4 แบบ ได้แก่ ผ้าคลุมไหล่ “รติระหง” ขนาดกว้าง 30 ซม. ยาว 180 ซม. หน้ากากอนามัย “สุขารมณ์” ขนาดกว้าง 8 ซม. ยาว 12 ซม.  เน็คไท “ศักยบุรุษ” ขนาดกว้าง 6 ซม. ยาว 120 ซม. และผ้าเช็ดหน้า “ผกาพักตร์” ขนาดกว้าง 20 ซม. ยาว 20 ซม.

ผม ได้สืบทอด มรดก รอย พันล้าน บทที่ 37

ผม ได้สืบทอด มรดก รอย พันล้าน บทที่ 37

ผม ได้สืบทอด มรดก รอย พันล้าน บทที่ 37

โดยชุดของขวัญทั้งหมดถูกบรรจงบรรจุในกล่องที่ทำจากไม้ยางพารารีไซเคิลด้านในบุด้วยผ้าสักหลาดสีทองแชมเปญ ฝากล่องติดโลหะสีเงินตัดฉลุลายตราสัญลักษณ์ APEC 2022

ผม ได้สืบทอด มรดก รอย พันล้าน บทที่ 37

ผม ได้สืบทอด มรดก รอย พันล้าน บทที่ 37

ผม ได้สืบทอด มรดก รอย พันล้าน บทที่ 37

ผม ได้สืบทอด มรดก รอย พันล้าน บทที่ 37


ความภูมิใจในผลงานอันทรงคุณค่า

โอ เทพรัตน์ หัวหน้าคณะทำงานสร้างสรรค์ของขวัญจากราชอาณาจักรไทย กล่าวเพิ่มเติมถึงชุดของขวัญที่จัดทำขึ้นว่า “โจทย์ที่ยากของงานนี้มีสามเรื่อง หนึ่งคือ การผสานคุณค่าดั้งเดิมแห่งวัฒนธรรมไทยเข้ากับความร่วมสมัยที่่โก้หรู ใช้งานได้จริงสองคือการเล่าเรื่องประเทศไทยผ่านลวดลายในพื้นที่ไม่กี่ตารางเซนติเมตร สามคือการนำทั้งสองเรื่องมาวางให้สวยงามลงตัวบนวัสดุรีไซเคิลอย่างสอดคล้องกับแนวคิดหลักของการจัดการประชุมครั้งนี้ เราใช้เวลาเตรียมการกว่าสามเดือน และ จัดทำให้เสร็จทุกชิ้นงาน 75 ชุด รวม 175 ชิ้นงาน ในเวลาแค่หนึ่งเดือน ทั้งหมดเป็นงานทำมือทำให้มีความยากในเรื่อง QC ที่ของขวัญทุกชิ้นจะต้องมีความเหมือนหรือคล้ายกันมากที่สุด เราลงพื้นที่มากกว่า 20 ครั้งเพื่อทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับชุมชน ใช้เวลาทำงานรวมไม่น้อยกว่า 1,000 ชั่วโมงเราเสาะหาอย่างละเอียดจนได้พบกับทีมสร้างสรรค์มืออาชีพในทุกเจเนอเรชั่นอีกหลายท่านทั้ง พี่โชษณ แห่งแบรนด์ AUSARA ผู้ทำวัสดุชนิดพิเศษเส้นใยรีไซเคิลจากโลหะให้กับแบรนด์ชั้นนำระดับโลก เช่น หลุยส์ วิตตอง และ คาร์เทียร์ พี่สิฐ ชนะชัย นักออกแบบแฟชั่นระดับตำนานแห่งแบรนด์ 27 FRIDAY สล่าดิเรก บรมครูแห่งงานดุนเงินของประเทศ รวมถึงน้องๆ ทีมไม้หน้าสาม นักออกแบบรุ่นใหม่ที่เป็นนิสิตเหรียญทองของสถาปัตยกรรมจุฬา  ฯ และ การสนับสนุนอย่างดีของกระทรวงวัฒนธรรม ด้วยองค์ประกอบอันยอดเยี่ยมทั้งหมดทำให้งานสำเร็จด้วยดีในเวลาที่กำหนด ... แม้ผมจะผ่านงานสร้างสรรค์ระดับโลกมามากมายแต่สำหรับงานนี้เป็นความภูมิใจมากที่สุดงานหนึ่ง ภูมิใจที่ได้เห็นผู้มาเยือนที่เป็นผู้นำระดับโลกชื่นชอบของขวัญจากราชอาณาจักรไทย ภูมิใจที่ได้มีส่วนสร้างรายได้ให้ชุมชน และที่ภูมิใจที่สุดคือได้มีส่วนสืบทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไทยให้อยู่ในวิถีการบริโภคของคนในปัจจุบันได้ทั้งในประเทศและผู้คนทั่วโลก...”

ผม ได้สืบทอด มรดก รอย พันล้าน บทที่ 37

ผม ได้สืบทอด มรดก รอย พันล้าน บทที่ 37

  คณะทำงานที่มีผลงานระดับโลก

ผม ได้สืบทอด มรดก รอย พันล้าน บทที่ 37

ผม ได้สืบทอด มรดก รอย พันล้าน บทที่ 37

คณะทำงานสร้างสรรค์ของที่ระลึกสำหรับผู้นำ คู่สมรส และแขกพิเศษของเขตเศรษฐกิจ ดำเนินการภายใต้แนวทางและการกำกับดูแลโดยกระทรวงวัฒนธรรม  ได้แก่ 
•    เทพรัตน์ สงเคราะห์ ผู้บริหารสูงสุด ผู้สร้างสรรค์และหัวหน้าคณะนักออกแบบ นักสร้างสรรค์ ผู้มีผลงานกำกับการแสดงแฟชั่นโชว์ครั้งแรกของโลกบนกำแพงเมืองจีน โครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่นมีผลงานที่ได้รับการบันทึกลงกินเนสส์บุ๊ก 2 ครั้ง จัดงานให้กับแบรนด์ระดับโลก อาทิ VAN CLEEF & ARPELS, CHANEL, GIORGIO ARMANI นักสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนมากกว่า 2,000 ชุมชน 10,000 ผลิตภัณฑ์นักเขียนเบสต์เซลเลอร์ผู้ได้รับการคัดเลือกจากนิตยสารเปรียวให้เป็นหนึ่งในสิบอัจฉริยะของประเทศในฐานะนักคิดและนักเขียน


•    วรวิทย์ นัยสำราญ ผู้บริหารโครงการ
•    นฤภัทร บูรณวนิช ผู้จัดการโครงการ
•    สล่าดิเรก สิทธิการ ครูภูมิปัญญาไทยด้านศิลปกรรม (การดุน สลักเงินและโลหะ) ผู้ดำเนินการผลิตงานดุนโลหะ ครูช่างด้านศิลปกรรม ผู้สืบทอดมรดกภูมิปัญญาไทย 700 ปี การดุนเงิน และ โลหะแห่งชุมชนวัวลาย จังหวัดเชียงใหม่
•    สิฐ ธนะชัย จรียะนา ที่ปรึกษาอาวุโสด้านแฟชั่นและผู้ผลิตชุดผ้าจตุรภรณ์ เจ้าของแบรนด์ 27 FRIDAY
•    เจนณรงค์ ไชยสิงห์ ส่วนสร้างสรรค์และออกแบบลวดลายกราฟฟิก บริษัท ไม้หน้าสาม จำกัด
•    โชษณ ธาตวากร ผู้สร้างสรรค์เส้นใยผ้าจากโลหะรีไซเคิล ที่มีผลงานทำเส้นใยพิเศษให้กับแบรนด์ดังระดับโลกเช่น Louis Vuitton และ Cartier 
•    ฮิโตชิ ฟูนาดะ ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์

ประวัติ“โอ เทพรัตน์” 


“โอ เทพรัตน์”หรือ เทพรัตน์ สงเคราะห์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์สร้างสรรค์ และบริหารโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลและเอกชน มีผลงานการสื่อสารการตลาดและงานสร้างสรรค์กิจกรรมทางการตลาดระดับโลก และ มีผลงานที่ได้รับการบันทึกลงในกินเนสส์บุ๊กถึง 2 ครั้ง เขาเคยทำงานให้กับองค์กรชั้นนำทั้งภาครัฐและเอกชน รับผิดชอบงานโครงการตั้งแต่ระดับชุมชน ระดับประเทศ ระดับภูมิภาค ไปจนถึงระดับนานาชาติ มาแล้วหลายโครงการ โดยโครงการที่รับผิดชอบมีมูลค่าสูงสุดถึง 2 พันล้านบาท


  นอกจากงานด้านสื่อสารการตลาดและงานสร้างสรรค์กิจกรรมทางการตลาดแล้ว โอ เทพรัตน์ ยังเป็นอาจารย์พิเศษหลักสูตรผู้นำขององค์กรยั่งยืนอันดับหนึ่งของโลกหลายองค์กร เป็นนักคิด นักเขียน นักอภิปรัชญา นักวิทยาศาสตร์ผู้สร้างแนวคิด “ธุรกิจจิตสาธารณะ” ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้ปฏิวัติอุตสาหกรรมโฆษณาและแฟชั่นของประเทศไทย และยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในสิบอัจฉริยะของประเทศในฐานะนักคิดและนักเขียนอีกด้วย ผลงานล่าสุดของโอ เทพรัตน์ คือการสร้างสรรค์เพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชนโดยทุนวัฒนธรรมและทุนชุมชน สำหรับผลิตภัณฑ์ CCPOT (Community Cultural Product of Thailand) ระดับเพชร อันได้แก่ ฐานเทียนอโรมาอุบลราชธานีศรีวนาลัยกระจกลิเกชุดโนราราตรีปูนปั้นเพชรอาลัวกระเป๋าเรซิ่นตีนจก ฉากใหญ่ช็อกโกแลตทุเรียนนนท์ แมวไทยกวักมงคลชุดมวยไทยฤดูหนาว และ เก้าอี้เงินแสนตอก ที่ใช้งานฝีมือดั้งเดิม ค่าและคุณค่าจากภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมมาจัดทำเป็น ของกินของใช้ และ เครื่องตกแต่งร่วมสมัย เพื่อให้วัฒนธรรมไทยดำรงอยู่ได้ผ่านห่วงโซ่การบริโภคของยุคสมัยปัจจุบัน