ศึกษาประวัติศาสตร์ได้อย่างไร

บทที่ ๑ กระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมาและมีความสำคัญควรแก่การศึกษาแต่ในการศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการและขั้นตอนที่ถูกต้อง เพื่อให้การศึกษานั้นได้ข้อเท็จจริงที่ใกล้เคียงและถูกต้องมากที่สุด เราเรียกกระบวนการศึกษานี้ว่า “วิธีการทางประวัติศาสตร์”

วิธีการทางประวัติศาสตร์

วิธีการในการศึกษาประวัติศาสตร์มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ กาลเวลาและนักประวัติศาสตร์ ดังนั้นจำเป็นต้องมีการรวบรวมค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์หาเหตุผล และข้อสรุป ซึ่งจะเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด โดยวิธีการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้

ศึกษาประวัติศาสตร์ได้อย่างไร

ขั้นตอนที่ ๑  การตั้งประเด็นที่จะศึกษา นับว่าเป็นขั้นตอนแรกของวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่ นักประวัติศาสตร์ หรือผู้สนใจทางประวัติศาสตร์มีความสนใจอยากรู้ เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ตอนใดตอนหนึ่ง โดยตั้งประเด็นคำถามว่า ศึกษาเรื่องอะไรในช่วงเวลาใด ทำไมจึงต้องศึกษา

ศึกษาประวัติศาสตร์ได้อย่างไร

ขั้นตอนที่ ๒  สืบค้นและรวบรวมข้อมูล ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถสอบสวนเข้าไปให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นได้ ประกอบด้วยหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ คำบอกเล่าของผู้เห็นเหตุการณ์ และหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ศิลาจารึก จดหมายเหตุ บันทึกและเอกสารต่างๆ ในการสะสม และรวบรวมข้อมูล ต่าง ๆ เหล่านี้ นักประวัติศาสตร์จำเป็นต้องใช้วิจารณญาณของตนสำรวจ เนื่องจากข้อมูลแต่ละประเภทเป็นผลิตผลที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นโดยมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นต้องค้นหาต้นตอหรือสาเหตุของข้อมูลอย่างลึกซึ้งเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันมิให้ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ถูกบิดเบือน

ขั้นตอนที่ ๓  การวิเคราะห์และตีความข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โดยการนำข้อมูลที่ได้สืบค้นรวบรวม คัดเลือก และประเมินไว้แล้วนำมาพิจารณาในรายละเอียดทุกด้าน ซึ่ง นักประวัติศาสตร์ต้องใช้เหตุผลเป็นแนวทางในการตีความเพื่อนำไปสู่การค้นพบข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง

ขั้นตอนที่ ๔  การคัดเลือกและประเมินข้อมูล นักประวัติศาสตร์จะต้องนำข้อมูลที่ได้รวบรวมไว้มาคัดเลือก และประเมินเพื่อค้นหาความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ต้องการทราบ

ศึกษาประวัติศาสตร์ได้อย่างไร

ขั้นตอนที่ ๕ การเรียบเรียงรายงานข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์

ที่ได้รับอันเป็นผลมาจากการวิเคราะห์และการตีความข้อมูล  หรืออธิบายข้อสงสัย เพื่อนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบตลอดจนความรู้  ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าในรูปแบบการรายงานอย่างมีเหตุผล

การนำวิธีการทางประวัติศาสตร์ไปใช้ศึกษาเรื่องราวในท้องถิ่น

การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับป้อมพระจุลจอมเกล้า  จังหวัดสมุทรปราการโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์

การนำวิธีการทางประวัติศาสตร์ไปใช้ศึกษาเรื่องราวในท้องถิ่น

การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับป้อมพระจุลจอมเกล้า  จังหวัดสมุทรปราการ ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์

๑. การตั้งประเด็นที่จะศึกษา  จะต้องตั้งประเด็นปัญหาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาก่อน  เพราะการตั้งประเด็นปัญหาจะช่วยกำหนดเป้าหมายในการศึกษาเรื่องราวในท้องถิ่นของเราได้ถูกต้องและตรงประเด็น การตั้งกำหนดปัญหาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษานั้นมีด้วยกันหลายอย่าง ดังนี้

             “ป้อมพระจุลจอมเกล้าสร้างขึ้นมาเมื่อใด”

            “ใครเป็นผู้ที่สร้างป้อมพระจุลจอมเกล้านี้ขึ้น”

            “ป้อมพระจุลจอมเกล้าถูกสร้างขึ้นไว้ในบริเวณใด”

            “ป้อมพระจุลจอมเกล้าถูกสร้างขึ้นด้วยจุดประสงค์ใด”

            “ลักษณะโดยทั่วไปของป้อมพระจุลจอมเกล้าเป็นอย่างไร”

            “ป้อมพระจุลจอมเกล้ามีความสำคัญอย่างไรในทางประวัติศาสตร์”

ศึกษาประวัติศาสตร์ได้อย่างไร

ศึกษาประวัติศาสตร์ได้อย่างไร

  ๒. สืบค้นและรวบรวมข้อมูล ในการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับป้อมพระจุลจอมเกล้านั้นผู้ที่ได้   ศึกษาจะต้องทำการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับป้อมพระจุลจอมเกล้าจากแหล่งต่างๆ ซึ่งแหล่งข้อมูลที่สามารถรวบรวมข้อมูลหลักฐานได้นั้นมีด้วยกันหลายอย่าง เช่น ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดประชาชน หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ จังหวัดสมุทรปราการ ป้อมพระจุลจอมเกล้า จังหวัดสมุทรปราการ เว็บไซต์ต่างๆ นิตยสารสารคดี รวมถึงผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์หรือเกี่ยวกับป้อมพระจุลจอมเกล้า  เป็นต้น

๓. การวิเคราะห์และตีความข้อมูลทางประวัติศาสตร์  เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลหลักฐานจนได้ข้อมูลที่มีความถูกต้องและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลหลักฐานเหล่านั้น  ทั้งนี้ในการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับป้อมพระจุลจอมเกล้านั้นควรใช้ข้อมูลหลักฐานที่มีความหลากหลายและจะต้องมีการเทียบเคียงข้อมูลหลักฐานหลายๆอย่าง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้องมากที่สุด และจะต้องวิเคราะห์ด้วยใจที่เป็นกลาง ไม่มีอคติ

๔. การคัดเลือกและประเมินข้อมูล  เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลหลักฐานที่มีจนได้ข้อมูลที่มีความถูกต้องและใกล้เคียงมากที่สุดแล้ว ผู้ที่ทำการศึกษาจะต้องนำข้อมูลที่มีเหล่านี้ไปใช้ในการตอบประเด็นปัญหาที่ตั้งไว้เกี่ยวกับป้อมพระจุลจอมเกล้า ดังนี้

     ป้อมพระจุลจอมเกล้าสร้างขึ้นมาเมื่อใด  เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๗ รัชสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

      ใครเป็นผู้ที่สร้างป้อมพระจุลจอมเกล้านี้ขึ้น   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ 

  ป้อมพระจุลจอมเกล้าถูกสร้างขึ้นไว้ในบริเวณใด  บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งขวา  ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จงหวัดสมุทรปราการ

      ป้อมพระจุลจอมเกล้าถูกสร้างขึ้นด้วยจุดประสงค์ใด   เพื่อสกัดกั้นการรุกรานของกองเรือต่างชาติที่จะรุกล้ำเข้ามาบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา

    ลักษณะโดยทั่วไปของป้อมพระจุลจอมเกล้าเป็นอย่างไร   ป้อมพระจุลจอมเกล้ามีลักษณะการสร้างเป็นป้อมปืนใหญ่แบบตะวันตก ประกอบด้วยหลุมปืนใหญ่จำนวน ๗ หลุม ติดตั้งปืนอาร์มสตรองขนาด  ๑๕๕ มม. เรียกว่า “ปืนเสือหมอบ”  ซึ่งสั่งมาจากประเทศอังกฤษ ภายในประกอบด้วยคูหาและห้องสำหรับเก็บกระสุนปืนใหญ่ มีการออกแบป้อมเพื่อลดการสูญเสียหากถูกโจมตีด้วยการยิงจากปืนใหญ่จากฝ่ายตรงข้าม

ศึกษาประวัติศาสตร์ได้อย่างไร

ศึกษาประวัติศาสตร์ได้อย่างไร

           ป้อมพระจุลจอมเกล้ามีความสำคัญอย่างไรในทางประวัติศาสตร์   วิกฤติการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ ในช่วงที่มหาอำนาจตะวันตกพยายามคุกคามประเทศไทย ป้อมพระจุลจอมเกล้ามีบทบาทสำคัญในการสกัดกั้นการรุกรานของกองเรือฝรั่งเศส จำนวน ๓ ลำ ที่เข้ามาบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา เกิดการต่อสู้กันและทหารที่ป้อมพระจุลจอมเกล้าสามารถยิงเรือรบฝรั่งเศสจนเกยตื้นได้ ๑ ลำ เรือรบที่เหลือของฝรั่งเศสได้รับความเสียหายแต่สามารถฝ่าเข้าไปจนถึงกรุงเทพฯ ได้ ปัจจุบันป้อมพระจุลจอมเกล้าอยู่ในความดูแลของกองทัพเรือ  โดยฐานทัพเรือกรุงเทพซึ่งได้ปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปเที่ยวชมและศึกษาเรื่องราวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ ตลอดจนชมทัศนียภาพของระบบนิเวศที่อยู่โดยรอบป้อมพระจุลจอมเกล้าอีกด้วย

๕.  การเรียบเรียงรายงานข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์  ในการเรียบเรียงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์นั้นผู้ที่ทำการศึกษาจะต้องลำดับเรื่องราวให้มีความถูกต้องตามข้อมูลที่ได้มา และในการนำเสนอข้อมูลที่ได้จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้นสามารถทำได้หลายวิธีการ เช่น การนำข้อมูลเกี่ยวกับป้อมพระจุลจอมเกล้ามาเล่าให้เพื่อนๆฟัง การจัดทำรายงานเกี่ยวกับป้อมพระจุลจอมเกล้าและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ การจัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่ความรู้ เป็นต้น

 หลักฐานทางประวัติศาสตร์

  หลักฐานทางประวัติศาสตร์  หมายถึง  ร่องรอยหรือหลักฐานที่เกิดขึ้นในอดีตที่มีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการและความเป็นมาของมนุษย์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความคิด ความเชื่อ และการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในแต่ละยุคสมัย  หลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เพราะช่วยให้เราสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตได้อย่างถูกต้องตรงประเด็น สามารถทราบเรื่องราวได้อย่างใกล้เคียงกับความจริงที่สุด ในชั้นนี้จะยกตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ใช้ในการศึกษาเหตุการณ์สำคัญในสมัยรัตนโกสินทร์มาให้นักเรียนได้ศึกษา

 ตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ในการศึกษาเหตุการณ์สำคัญในสมัยรัตนโกสินทร์

ศึกษาประวัติศาสตร์ได้อย่างไร

๑.       จารึก เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทลายลักษณ์อักษรที่มีการบันทึกลงในวัตถุต่างๆ เช่น แผ่นศิลา  แผ่นผนัง  แผ่นกระเบื้อง ใบลาน เป็นต้น มักเป็นการบันทึกเรื่องราวของช่วงเวลานั้นๆ หรือบันทึกวิชาความรู้ต่างๆ เมื่อทำการจารึกและจะไม่มีการแก้ไข เพราะเป็นการจารึกเพียงครั้งเดียว จึงมีความน่าเชื่อถือ เช่น จารึกที่วัดพระเชตุพลวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ ซึ่งพระบาท   สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมสรรพวิชาที่สำคัญแล้วจารึกไว้บนแผ่น 

ศึกษาประวัติศาสตร์ได้อย่างไร

      ๒.  พงศาวดาร  เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะเป็นบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และราชวงศ์  เนื้อหามักเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอาณาจักรหรือราชสำนัก ซึ่งช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และราชสำนักได้อย่างดี  เช่น พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นต้น

ศึกษาประวัติศาสตร์ได้อย่างไร

๓.    บันทึกของชาวต่างชาติ เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ชาวต่างชาติซึ่งเข้ามาในประเทศไทยได้บันทึกถึงเหตุการณ์ที่ตนเองได้ประสบพบเห็นในช่วงเวลานั้นๆ เช่น การดำเนินชีวิตของผู้คน ลักษณะทางภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมและประเพณี เป็นต้น  บันทึกของชาวต่างชาติที่น่าสนใจ เช่น บันทึกของเซอร์ จอห์น เบาว์ริ่ง  ราชทูตที่สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียแห่งอังกฤษส่งมาเจริญสัมพันธไมตรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพ.ศ.๒๓๙๗ ซึ่งได้มีโอกาสบันทึกถึงราชสำนักและบ้านเมืองในสมัยนั้น เป็นต้น

ศึกษาประวัติศาสตร์ได้อย่างไร

๔.    เอกสารทางราชการ  เป็นเอกสารที่หน่วยงานราชการต่างๆออกขึ้น เพื่อใช้ในงานหรือกิจการที่มีความเกี่ยวข้อง  ซึ่งถือเป็นหลักฐานที่มีความน่าเชื่อถือเพราะเป็นบันทึกที่อยู่ในช่วงเวลานั้น เช่น กฎหมายตราสามดวงที่ชำระแก้ไขในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  รัชกาลที่๑ เอกสารแจ้งข่าวของกระทรวงการต่างประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระราชหัตถเลขาของพระมหากษัตริย์ที่มีถึงหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น

๕.    แหล่งโบราณสถาน  โบราณสถานที่สำคัญที่สามารถใช้ในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในรัชสมัยรัตนโกสินทร์นั้นมีด้วยกันหลายแห่งด้วยกัน เช่น  วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมราชวัง วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดพระเชตุพลวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ป้อมพระสุเมรุ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นต้น

ศึกษาประวัติศาสตร์ได้อย่างไร

ศึกษาประวัติศาสตร์ได้อย่างไร

ศึกษาประวัติศาสตร์ได้อย่างไร

                           ป้อมพระสุเมรุ กรุงเทพฯ                                             วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร                                           วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

         นอกจากนี้แล้วหากเราต้องการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น เรายังสามารถไปศึกษาค้นคว้าหลักฐานทางประวัติศาสตร์หรือข้อมูลที่น่าสนใจได้จากแหล่งอื่นๆเช่นหอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร เป็นต้น

ข้อมูลที่ได้จากหลักฐานทั้งความจริงและข้อเท็จจริง

      ในการสรุปข้อมูลที่ได้จากหลักฐานนั้น  สิ่งที่ผู้ทำการศึกษาค้นนคว้าพบนั้นจะมีทั้งข้อเท็จจริงและความจริงที่ปรากฏอยู่บนหลักฐาน ผู้ที่ทำการศึกษาจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่าข้อเท็จจริงกับความจริงที่ได้จากหลักฐานนั้นแตกต่างกันอย่างไร

       ข้อเท็จจริง คือ เรื่องราวหรือสิ่งที่ปรากฏอยู่ในหลักฐานซึ่งมีทั้งส่วนที่เป็นจริง (ข้อจริง) และส่วนที่ไม่เป็นความจริง (ข้อเท็จ) ปะปนกันอยู่ จึงต้องได้รับการประเมินและตรวจสอบความน่าเชื่อถืออย่างรอบคอบ

         ความจริง คือ เรื่องราวซึ่งได้รับการประเมินและให้การยอมรับว่ามีความน่าเชื่อถือเป็นเรื่องราวที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด และมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้ให้การสนับสนุน

          ดังนั้นการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์โดยใช้ข้อมูลจากหลักฐานนั้น จึงต้องมีการแยกแยะถึงข้อเท็จจริงและความจริงเสมอ  เพราะเรื่องราวในประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต เราจึงไม่สามารถทราบได้ว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอย่างไร การใช้ข้อมูลจากหลักฐานจึงต้องทำการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนจนกว่าจะได้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือเพื่อให้ได้เรื่องราวที่ใกล้เคียงกับความจริงมากที่สุด

อ้างอิง: 1. แหล่งที่มา

             2. แหล่งที่มา                            

            3.แหล่งที่มา

            4.แหล่งที่มา