เพราะเหตุใด จึงต้องมีการประเมินคุณค่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์

การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

การตรวจสอบและประเมินหลักฐาน

           การประเมินคุณค่าของหลักฐาน คือ การประเมินหลักฐานผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะใช้ในการตรวจหลักฐานว่ามีคุณค่าและความน่าเชื่อถือเพียงพอหรือไม่ก่อนที่จะนำมาใช้ศึกษาประวัติศาสตร์

          วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ

1. การประเมินภายนอก

          การพิจารณาจากลักษณะภายนอกของหลักฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้รู้จักตัวหลักฐานนั้นเป็นอย่างดี รวมทั้งรู้ว่าเป็นหลักฐานจริงหรือปลอม สิ่งที่ควรพิจารณาได้แก่

          1. อายุของหลักฐาน การรู้ว่าหลักฐานสร้างหรือเขียนขึ้นเมื่อไร ทำให้เราตีความสำนวนภาษาที่ใช้ได้ถูกต้อง และเข้าใจสิ่งที่หลักฐานกล่าวถึงโดยอาศัยสภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ของยุคสมัยนั้นมาประกอบ

          2. ผู้สร้างหรือผู้เขียนหลักฐาน การรู้ว่าใครเป็นผู้สร้างหรือผู้เขียนหลักฐานทำให้เราสืบค้นได้ว่า ผู้นั้นมีภูมิหลังอย่างไร เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับเหตุการณ์หรือไม่ มีอคติต่อสิ่งที่สร้างหรือเขียนหรือไม่

          3. จุดมุ่งหมายของหลักฐาน การรู้จุดมุ่งหมายของหลักฐานช่วยให้ประเมินความน่าเชื่อถือได้ เช่น โคลงที่แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ย่อมหลีกเลี่ยงที่จะไม่กล่าวถึงด้านลบของพระมหากษัตริย์องค์นั้น จากหลักฐานที่ยกตัวอย่างมานั้น เมื่อนำมาใช้จะต้องแยกแยะข้อเท็จจริงออกมาให้ได้

          4. รูปเดิมของหลักฐาน หลักฐานเป็นจำนวนมาไม่ใช่หลักฐานดั้งเดิม แต่ผ่านการคัดลอกต่อๆ กันมาจึงเกิดความคลาดเคลื่อนได้ หลักฐานประเภทพระราชพงศาวดารที่ผ่านการชำระมักมีการตัดทอนหรือเพิ่มเติมเนื้อความ แก้ไขสำนวนโวหาร รวมทั้งแทรกทัศนคติของยุคสมัยที่มีการชำระพระราชพงศาวดารนั้นลงไปด้วย ทำให้ผิดไปจากหลักฐานเดิม

2. การประเมินภายใน

           เป็นการประเมินสิ่งที่ปรากฏบนหลักฐาน อาทิ ตัวอักษร รูปภาพ ร่องจารึก ตำหนิ ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด มีข้อความใดที่น่าสงสัย หรือกล่าวไว้ไม่ถูกต้อง

           ตัวอย่าง ปีที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้างพระวิหารวัดจุฬามณี เมืองพิษณุโลก ในพระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ ระบุไว้ตรงกันบ้างไม่ตรงกันบ้าง เช่น

          พระราชพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับของบริติช มิวเซียม และ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ว่าสร้างเมื่อศักราช 810 ปีมะโรงสัมฤทธิศก (ตรงกับพ.ศ. 1991)

          พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐฯ ว่าสร้างเมื่อศักราช 826 วอกศก (ตรงกับพ.ศ. 2007)

          จะเห็นว่า หลักฐานชิ้นหลังระบุเวลาห่างจากหลักฐาน 2 ชิ้นแรก 16 ปี

          หลักฐานทั้งหมดที่ยกมาเป็นหลักฐานชั้นรอง ควรหาหลักฐานชั้นต้นมาเทียบ คือ ศิลาจารึกวัดจุฬามณี ปรากฏว่าจารึกระบุว่า พระวิหารวัดจุฬามณีสร้างเมื่อ “ศักราช 826 ปีวอกนักษัตร” ตรงกับพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐฯ

          หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ ต้องเป็นหลักฐานที่ให้ข้อมูลที่เป็นจริง หลักฐานที่ให้ข้อมูลจริงบ้างเท็จบ้าง นำส่วนที่เป็นจริงไปใช้ได้ ส่วนหลักฐานที่เป็นเท็จทั้งหมดไม่นำไปใช้ในการศึกษา

โจทย์ปัญหา

เพราะเหตุใด จึงต้องมีการประเมินคุณค่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์

  • มัธยมต้น
  • วิชาอื่น ๆ

ช่วยอธิบายวิธีคิดหน่อยค่ะ


เพราะต้องตรวจสอบว่าหลักฐานอาจจริงหรือเท็จ

  • #เพราะเหตุใด จึงต้องมีการประเมินคุณค่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์
  • #เพราะเหตุใดจึงต้องมีการประเมินคุณค่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์
  • #เพราะเหตุใด จึงต้องมีการประเมินคุณค่าหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์
  • #เพราะเหตุใด จึงต้องมีการประเมินคุณค่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ *
  • #เพราะเหตุใดจึงต้องมีการประเมินคุณค่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ * 1 คะแนน

ยังไม่เข้าใจใช่ไหม?

ลองถามคำถามกับคุณครู QANDA!

            หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นคว้ามาได้ ก่อนที่จะทำการศึกษาจะต้องมีกาีรประเมินคุณค่าว่าเป็นหลักฐานที่แท้จริง เพียงใด การประเมินคุณค่าของหลักฐานนี้เรียกว่า “วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์” ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี ดังต่อไปนี้

1) การประเมินคุณค่าภายนอกหรือวิพากษ์วิธีภายนอก ซึ่งหมายถึง การประเมินคุณค่าของหลักฐานจากลักษณะภายนอกของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ บางครั้งก็มีการปลอมแปลง เพื่อการโฆษณาชวนเชื่อ ทำให้หลงผิด หรือเพื่อเหตุผลทางการเมือง การค้า ดังนั้น จึงต้องมีการประเมินว่าเอกสารนั้นเป็นของจริงหรือไม่ ในส่วนวิพากษ์วิธีภายนอกเพื่อประเมินหลักฐานว่าเป็นของแท้ พิจารณาได้จากสิ่งที่ปรากฏภายนอก เช่น เนื้อกระดาษ กระดาษของไทยแต่เดิมจะหยาบและหนา ส่วนกระดาษฝรั่งดังที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เริ่มเข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ทางราชการจะใช้กระดาษฝรั่งหรือสมุดฝรั่งมากขึ้นในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับตัวพิมพ์ดีดเริ่มใช้มากขึ้นในกลางรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถ้าปรากฏว่ามีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัวใช้ตัวพิมพ์ดีด ก็ควรสงสัยว่าหลักฐานนั้นเป็นของปลอม

2) การประเมินคุณค่าภายในหรือวิพากษ์วิธีภายใน เป็นการประเมินคุณค่าของหลักฐานจากข้อมูลภายในหลักฐานนั้น เป็นต้นว่า มีชื่อบุคคล สถานที่ เหตุการณ์ ในช่วงเวลาที่หลักฐานนั้นทำขึ้นหรือไม่ ดังเช่น หลักฐานซึ่งเชื่อว่าเป็นของสมัยสุโขทัยแต่มีการพูดถึงสหรัฐอเมริกาในหลักฐาน นั้น ก็ควรสงสัยว่าหลักฐานนั้นเป็นของสมัยสุโขทัยจริงหรือไม่ เพราะในสมัยสุโขทัยยังไม่มีประเทศสหัฐอเมริกา แต่น่าจะเป็นหลักฐานที่ทำขึ้นเมื่อคนไทยได้รับรู้ว่ามีประเทศสหรัฐอเมริกา แล้ว หรือหลักฐานเป็นของเก่าสมัยสุโขทัยจริง แต่การคัดลอกต่อกันมามีการเติมชื่อประเทศสหัฐอเมริกา เข้าไป เป็นต้น

            วิพากษ์วิธีภายในยังสังเกตได้จากการกล่าวถึงตัวบุคคล เหตุการณ์ สถานที่ ถ้อยคำ เป็นต้น ในหลักฐษนว่ามีความถูกต้องในสมัยนั้นๆ หรือไม่ ถ้าหากไม่ถูกต้องก็ควรสงสัยว่าเป็นหลักฐานปลอมแปลง หลักฐานที่แท้จริงเท่านั้นที่มีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์ ส่วนหลักฐานปลอมแปลงไม่มีคุณค่าใดๆ อีกทั้งจะทำให้เกิดความรู้ที่ไม่ถูกด้วย ดังนั้น การประเมินคุณค่าของหลักฐานจึงมีความสำคัญและจำเป็นมาก

การประเมินคุณค่าของหลักฐานหมายถึงอะไร

การประเมินคุณค่าของหลักฐาน คือ การประเมินหลักฐานผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะใช้ในการตรวจหลักฐานว่ามีคุณค่าและความน่าเชื่อถือเพียงพอหรือไม่ก่อนที่จะนำมาใช้ศึกษาประวัติศาสตร์

การประเมินหลักฐานภายนอกมีประโยชน์อย่างไร

การประเมินหลักฐานภายนอกเป็นการประเมินตัวหลักฐานจากภายนอกว่าใครเป็นผู้บันทึก หลักฐานนั้น ผู้บันทึกหลักฐานมีสถานภาพใดในขณะนั้น บันทึกขึ้นโดยจุดมุ่งหมายใด มีความเป็นกลาง เพียงใด ทั้งนี้เพราะบางครั้งผู้บันทึกอาจบันทึกขึ้นโดยคำาสั่งของผู้มีอำานาจ หรือบันทึกจากอคติส่วนตัว โดยยึดผลประโยชน์และมุมมองของตนเป็นสำาคัญ

เพราะเหตุใดจึงต้องใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์มีความสาคัญ คือ ทาให้เรื่องราว กิจกรรม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ประวัติศาสตร์มีความน่าเชื่อถือ มีความถูกต้องเป็นความจริง หรือใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด เพราะได้มี การศึกษาอย่างเป็นระบบ อย่างมีขั้นตอน มีความระมัดระวัง รอบคอบ โดยผู้ได้รับการฝึกฝนในระเบียบ วิธีการทางประวัติศาสตร์มาดีแล้ว

เพราะเหตุใด ผู้ที่ศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์จึงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลในหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์

เนื่องจากการน าเสนอองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์เป็นการน าเสนอเรื่องราวในอดีต ผู้ศึกษาจึงต้องตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานและข้อเท็จจริงให้รอบคอบและ ระมัดระวังไม่ให้ผิดพลาด มีลาดับการทางาน ที่เป็นตรรกะ ความเป็นเหตุเป็นผลในการล าดับความคิดเกี่ยวกับการน าเสนอเนื้อหาก่อน – หลัง ในการเชื่อมโยงหลักฐาน และการใช้หลักฐานอ้างอิง