ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

          เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลกระทบในหลาย ๆ ภาคส่วน ทำให้องค์กรต่าง ๆ เริ่มนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในการติดต่อสื่อสาร ทดแทนการพบเจอกันโดยตรง หรือที่เรียกกันอย่างแพร่หลายว่า Social Distancing เพื่อลดความเสี่ยงในการระบาดของเชื้อไวรัส

          แน่นอนว่าแม้สถานการณ์จะยืดเยื้อสักเพียงใด แต่ชีวิตของคนเราก็ยังต้องดำเนินต่อไปอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในส่วนของการเรียนก็เช่นกัน นับวันยิ่งเข้าใกล้วันเปิดเทอมเข้าทุกที เป็นที่กังวลของหลาย ๆ คน เรื่องแนวทางการเรียนการสอนออนไลน์จะเป็นอย่างไร ต้องเตรียมพร้อมอย่างไรบ้าง วันนี้พวกเรา IT Kuma จากเว็บไซต์ Overclockzone ได้เตรียมแนวทางและสิ่งต่าง ๆ ที่ควรรู้ ในการเรียนออนไลน์ เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่เปิดเทอมของนักเรียนและผู้ปกครองทุกคนไว้ในซีรีส์ “Trick ที่ต้องมีในการเรียนออนไลน์ฉบับรวบรัด” นี้แล้ว

          สำหรับในตอนแรกของซีรีส์ “Trick ที่ต้องมีในการเรียนออนไลน์ฉบับรวบรัด” นี้ พวกเราขอเริ่มต้นตอนแรกด้วยแพลตฟอร์มที่น่าจะเรียกว่า ใช้งานง่ายที่สุดในบรรดาคู่แข่งทั้งหมด และในหลายโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยน่าจะใช้กันเป็นส่วนใหญ่ กับตอนที่มีชื่อว่า

“Trick ที่ควรมีสำหรับ Google Meet”

มารู้จัก Google Meet กันก่อน

          Google Meet เป็นแพลตฟอร์มที่เกิดมาเพื่อการประชุมทางไกลโดยเฉพาะ เดบิวท์ตัวเองครั้งแรกเมื่อปี 2017 (3 ปี ช่างผ่านไปไวเหมือนโกหก) ในฐานะลูกของ Hangout หรือในชื่อเดิมคือ Hangout meet มาพร้อมกับฟังก์ชั่นที่เหมาะสมสำหรับการประชุมค่อนข้างครบครัน และชูจุดเด่นเรื่องความปลอดภัยและด้านความเป็นส่วนตัว ซึ่ง Google ยืนยันว่าจะไม่มีการนำข้อมูลโปรไฟล์ผู้ใช้ใน Google meet ไปใช้เพื่อการโฆษณาอย่างแน่นอน โดยในตอนแรก Google meet เป็นบริการที่จัดอยู่ใน G suite อันเป็นบริการบัญชีแบบพิเศษใส่ไข่ของ Google ที่ต้องเสียเงินเพิ่ม ซึ่งเพิ่งจะมีการเปิดให้บัญชีทั่วไปใช้งานฟรีได้ชั่วคราวครั้งแรกในช่วงที่เชื้อไวรัส Covid-19 ระบาดเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา พร้อม ๆ กับบริการเสริมอื่น ๆ ในตระกูล G suite ทำให้มีการใช้งาน Google meet ในด้านต่าง ๆ มากขึ้น

“ทำไมต้องเป็น Google Meet?”

          ถึงแม้ว่าบัญชีทั่วไปจะสามารถใช้งานได้ครบทุกฟังก์ชันไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 แต่ในหลาย ๆ สถานศึกษาที่ได้ดีลบัญชีองค์กร G suite เอาไว้อยู่แล้ว ดังนั้น Google meet ก็ยังคงถูกเลือกเป็นตัวเลือกที่จะใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์เป็นอันดับต้น ๆ อยู่ดี (ก็แหงสิ เพราะมันรวมอยู่ในราคาที่ต้องจ่ายอยู่แล้วไง)

“โอเค แล้วมันทำอะไรได้บ้าง?”

เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา งั้นเราไปว่ากันที่หัวข้อฟีเจอร์ของ Google Meet กันเลยดีกว่า…

ฟีเจอร์ของ Google meet

  1. ความจุคนสูงสุด

           อย่างแรกที่พูดถึงไม่ได้คือเรื่องความจุคนของ Google Meet ครับ ปัจจุบันตัวแพลตฟอร์มรองรับจำนวนผู้เข้าประชุมสูงสุด 100 คน สำหรับบัญชี G suite ทั่วไป (บัญชีทั่วไปที่ได้เปิดฟรีในช่วงนี้ก็รองรับเท่ากันที่ 100 คน) และสูงสุด 150 คน สำหรับบัญชี G suite แบบธุรกิจ แต่สำหรับบัญชีประเภทองค์กรของ G suite จะรองรับได้สูงสุดถึง 250 คน (ซึ่งในที่นี้มีข้อสังเกตที่ยังไม่ได้ทำการทดลองอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อมีการแชร์หน้าจอ ในส่วนที่นับจำนวนคนในหน้าเว็บหรือแอพจะนับว่ามีผู้ใช้เข้าใหม่ 1 คน ต่อ 1 จอที่แชร์  ซึ่งเราไม่มั่นใจว่าหากมีการแชร์หน้าจอเกิดขึ้น จะสามารถให้คนจริง ๆ เข้าประชุมได้ตามที่ระบุไว้หรือไม่)

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

  1. การเข้าประชุม

           หนทางในการเข้าประชุมในแพลตฟอร์มนี้จัดว่าหลากหลายที่สุดแล้ว แต่ทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าแอดมินหลังบ้านของระบบจะเลือกตั้งค่าให้ใช้อะไรได้บ้าง มีตั้งแต่เข้าแบบปกติ เข้าผ่านแพลตฟอร์มประชุมออนไลน์เจ้าอื่น หรือแม้กระทั้งโทรศัพท์เข้ามาประชุมก็ยังได้ด้วย ซึ่งประเทศไทยก็รองรับระบบนี้ ซึ่งถ้าเป็นประเทศแถบอเมริกาเหนือจะมีระบบที่ให้ตั้งเวลาการประชุม แล้วเมื่อถึงเวลาระบบจะโทรศัพท์เชิญให้เราเข้าประชุมเอง แต่น่าเสียดายที่ประเทศอื่นนอกแถบอเมริกาเหนือยังไม่มีที่ไหนรองรับ ซึ่งสุดท้ายก็ตามที่ว่าไปตั้งแต่แรกครับ ขึ้นอยู่กับว่าแอดมินที่ดูแลหลังบ้านในองค์กรนั้น ๆ (ปกติจะเป็นฝ่ายไอทีของบริษัท) จะตั้งค่าเปิดฟังก์ชันนี้หรือไม่

  1. การแชร์หน้าจอนำเสนองาน

           สำหรับแพลตฟอร์มการประชุม ถ้าไม่ใส่ฟังก์ชั่นนี้มาก็คงจะจัดว่า “บาป” ไม่ต่างจากห้องประชุมที่ไม่มีจอโทรทัศน์ หรือเครื่องฉาย Projector มาให้เลยแหละ เพราะขนาดแพลตฟอร์มการสื่อสารเพื่อความบันเทิงอย่าง Discord ก็ยังไม่เกี่ยงที่จะใส่ฟังก์ชั่นไลฟ์สดหน้าจอมาให้ตั้งแต่แพกเกจผู้ใช้งานแบบฟรีเลย แน่นอนว่า Google Meet ก็สามารถแชร์หน้าจอได้ตามแบบฉบับของซอฟต์แวร์เพื่อการประชุมนั่นแหละ แต่ความเจ๋งของมันก็คือ ถ้าเราเข้าประชุมผ่าน Google meet เองโดยตรง (ไม่นับพวกโทรศัพท์เข้ามา หรือใช้แพลตฟอร์มข้ามค่ายเข้ามาประชุมนะ) เราสามารถแชร์หน้าจอได้จากทุกอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็น  Android iOS, iPadOS หรือ PC ก็ทำได้ทั้งนั้น แต่ใน PC จะมีความพิเศษตรงที่เราเลือกแชร์หน้าจอเฉพาะโปรแกรม หรือเฉพาะหน้าจอที่ต้องการโชว์ได้ ซึ่งก็ถือว่าในแง่ความเป็นส่วนตัวของคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้ต่อจอแยกทำได้ดีเลยแหละ

  1. การรับส่งข้อความกับผู้เข้าร่วมการประชุม

           อันนี้ก็เป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์พื้นฐานสำหรับแอพประชุมออนไลน์ที่จะอนุญาตให้ผู้เข้าร่วมการประชุมสามารถรับส่งข้อความหากันได้ โดยสามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่คลิกที่ไอคอนแชทเพื่อแชร์ลิงก์ หรือข้อความอื่นๆ กับผู้เข้าร่วมประชุม แต่สามารถรับส่งข้อความกันได้เฉพาะในระหว่างการประชุมเท่านั้น ซึ่งจะมีข้อจำกัดที่ไม่น่าให้อภัยอยู่ตรงที่เราจะสามารถส่งข้อความได้เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถแนบไฟล์ หรือรูปภาพได้ นอกจากนี้เมื่อจบการประชุมในแต่ละครั้งประวัติการแชทจะถูกลบทั้งหมด ซึ่งอาจไม่ใช่เรื่องที่ดีสำหรับคนที่ชอบการบันทึกอะไรต่าง ๆ ไว้ในแชทเพื่ออ่านทีหลัง

  1. คำบรรยายสดระหว่างการประชุม

           เป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่น่าสนใจมากของ Google Meet ฟีเจอร์นี้ทำงานเหมือนกับคำบรรยายสดของยูทูบที่เราคุ้นเคยกัน โดยขับเคลื่อนอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการรู้จำคำพูดของ Google เพียงแค่เรากดที่จุด 3 จุด บนหน้าจอก็จะมีเมนูให้เราสามารถเลือก เปิด/ปิด คำบรรยายสดได้ง่าย ๆ แต่น่าเสียดายที่คำบรรยายสดในตอนนี้รองรับเพียงแค่ภาษาอังกฤษเท่านั้น ไม่แน่ว่าในอนาคตทาง Google จะทำภาษาอื่นมาให้เราลองเล่นกันก็เป็นได้

  1. การบันทึกการประชุม

           ฟังก์ชันนี้เป็นฟังก์ชันที่หลาย ๆ คนโดยเฉพาะเหล่านักเรียนนักศึกษาต้องการมากที่สุดและอาจเคยคิดว่าถ้าเราสามารถบันทึกสิ่งที่อาจารย์สอนในแต่ละครั้งมาเปิดดูใหม่กี่รอบก็ได้ตามต้องการคงจะดีไม่น้อย แต่ขณะเดียวกันก็เป็นฟังก์ชันที่ไม่ค่อยมีใครรู้ว่ามีอยู่ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะใช้มันได้ บัญชีที่สามารถจะบันทึกการประชุมได้นั้น จะต้องเป็นบัญชีที่ได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลระบบ G suite หรือก็คือ ผู้จัดการประชุม(host) ผู้อยู่ในองค์กรเดียวกับผู้จัดการประชุม (แต่ไม่นับนักเรียน) และครูที่ลงชื่อเข้าใช้ในบัญชี G suite (กรณีที่ใช้ Google meet ในการเรียนการสอน) นั่นหมายความว่านักเรียนนักศึกษาไม่สามารถบันทึกได้ด้วยตัวเองแต่สามารถขอให้อาจารย์บันทึกไว้ได้ ถ้าเจอคุณครูที่ใจดีพอ โดยการนำเสนอและแชทจากการประชุมนั้นจะถูกบันทึกไว้ใน Google Drive ในรูปแบบของวิดีโอนั่นเอง

วิธีใช้ Google Meet ฉบับรวบรัด (แต่แอบละเอียด)

Step 1 เข้าประชุม

     Route 1 เข้าตามตรอก ออกตาม Google ใช้ตามแพลตฟอร์มของ Google Meet เลย

          อันที่จริงแล้วหากเราไม่ใช่เจ้าภาพการประชุม แล้วทางเจ้าภาพหรือเจ้าของห้องส่งลิงก์สำหรับเข้าประชุมมาให้ไม่ว่าจะทางไหน เพียงแค่คลิกลิงก์ คุณก็จะถูกส่งไปหน้าสำหรับเตรียมเข้าห้องประชุมโดยทันทีอยู่แล้ว แต่หากว่าเขาส่งเป็นโค้ดหรือเราต้องเป็นผู้สร้างห้องเอง สามารถเลื่อนลงไปดูด้านล่างได้เลยครับ

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

          ถ้าคุณเป็นผู้ใช้งานผ่าน PC แล้วคิดไม่ออกบอกไม่ถูก ให้เข้าเว็บหน้าหลักครับ หน้าหลักถ้าเราล็อกอินด้วยอีเมลทั่วไปของ Google คุณจะเจอกับหน้าหลักแบบนี้ ซึ่งถ้าเราต้องเป็นคนเปิดห้องการประชุม ก็เพียงคลิก Start a meeting ปุ่มสีเขียวด้านซ้าย เพียงเท่านี้ คุณก็จะได้ห้องประชุมมาแล้วครับ หรือถ้าคุณมีโค้ดห้องประชุม คุณก็แค่พิมพ์ลงในช่องข้าง ๆ เท่านี้คุณก็จะได้ไปหน้าสำหรับเตรียมเข้าห้องประชุมแล้วครับ

          ซึ่งถ้าคุณอยากเชิญใครให้เข้ามาประชุมด้วย ก็สามารถก็อบปี้ลิงค์ส่งให้คนที่คุณอยากเชิญให้มาเข้าร่วมประชุมได้เลย! ง่ายใช่ไหมครับ ซึ่งถ้าคุณพร้อมประชุมแล้ว สิ่งที่คุณต้องทำก็มีเพียงแค่กด Join now สีเขียว หรือถ้าคุณอยากสตรีมจอด้วยก็แค่กด Present ทั้งหน้าจอ และหน้าคุณ(ถ้าเปิดกล้องไว้นะครับ) ก็จะเข้าไปอยู่ในการประชุมทันที

          เมื่อกดเข้าประชุมเรียบร้อยแล้ว หากคุณเป็นเจ้าภาพ ข้อมูลสำหรับเชิญคนให้เข้ามาประชุมก็จะเด้งมาให้คุณเห็นอีกครั้ง ซึ่งในช่วงที่เปิดให้คนทั่วไปใช้ฟรีนี้ บัญชี Google ธรรมดาที่ไม่ได้เป็นบัญชีแบบพิเศษใส่ไข่อย่าง G suite จะสามารถเชิญคนเข้าร่วมประชุมได้ผ่านลิงก์ หรือผ่านอีเมลโดยตรงเท่านั้น ไม่สามารถใช้ฟีเจอร์พิศดารอย่างการโทรเข้าหรือใช้แอพอื่นเข้าร่วมประชุมได้

          ในทางกลับกันถ้าคุณล็อกอินด้วยบัญชี G suite เวลาเข้าหน้าหลัก คุณจะเห็นหน้าแรกที่แตกต่างกันออกไปแบบนี้

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

          ซึ่งหากจะเริ่มการประชุมก็ไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรครับ(เพราะเหลือหลัก ๆอยู่ปุ่มเดียว ฮ่าฮ่า) ไม่ว่าจะเป็นเจ้าภาพของห้อง หรือเป็นผู้เข้าร่วมประชุมก็คลิกที่ปุ่มเดียวกันคือปุ่มสีเขียวที่เขียนว่า “+ Join or start a meeting” ครับ

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

          เมื่อกดแล้วจะมีหน้าต่างเด้งมาให้กรอกข้อมูล ซึ่งถ้าเราจะเข้าร่วมประชุม ก็เพียงกรอกรหัสเข้าร่วมห้องประชุมไแต่ถ้าเป็นเจ้าภาพที่ต้องเริ่มการประชุมเอง คุณสามารถเลือกได้ว่าจะใส่ชื่อเล่นของห้องประชุม(ในที่นี้จะเป็นชื่อทีม หรือหัวข้อการประชุมก็แล้วแต่ศรัทธาครับ) หรือจะปล่อยว่างก็ได้ครับ เสร็จแล้วก็กดปุ่ม Continue สีเขียว ไปรอที่หน้าเตรียมเข้าประชุมได้เลย

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

          หน้าต่างสำหรับรอเข้าประชุมก็เช่นเดียวกันกับแบบของบัญชีปกติครับ สิ่งที่คุณต้องทำก็เพียงแค่กดปุ่ม Join now สีเขียว หรือถ้าคุณอยากสตรีมจอด้วยก็แค่กดปุ่ม Present ทั้งหน้าจอ และหน้าจอของคุณก็จะเข้าไปอยู่ในการประชุมทันที เพียงแค่ชื่อเล่นของห้องประชุมที่ตั้งไว้จะมาโชว์แทนที่คำว่า “Meeting Ready” และมี Other option อย่างการใช้โทรศัพท์โทรเข้าประชุมควบคู่กับการใช้คอมเพื่อให้เสียงจากโทรศัพท์ทดแทนการใช้ไมค์จากคอมแค่นั้น ซึ่งส่วนตัวมองไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องใช้ฟังก์ชันนี้นอกเสียจากว่าไมโครโฟนคอมพิวเตอร์ของเราจะเสีย (คอมมีไมค์อยู่แล้ว ก็ใช้ไมค์จากคอมเถอะครับ) เอาเป็นว่าวิธีเชื่อมต่อจะคล้ายกับการโทรศัพท์เพื่อเข้าประชุม แต่จะมีรายละเอียดต่างกันเล็กน้อยคือเมื่อคุณคลิกเข้าไปจะมีเบอร์โทรสำหรับการเชื่อมต่อเฉพาะเสียงมาให้ ซึ่งจะเป็นคนละเบอร์กับที่ใช้โทรเข้ามาประชุม

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

          เท่านี้โทรศัพท์ก็จะทำหน้าที่เหมือนไมค์ให้เรา นอกจากนั้นการใช้งานก็จะเหมือนกับที่ใช้บนคอมปกติ เมื่อเราวางสายในโทรศัพท์ก็จะเหมือนกับการที่เราปิดไมค์ซึ่งระบบจะย้ายไปใช่ไมค์บนคอมของเราทันทีถ้าเรากดเปิดไมค์อีกครั้ง ซึ่งวิธีเชื่อมต่อจะขอไปอธิบายรวมในหัวข้อการใช้โทรศัพท์โทรเข้าประชุมไปเลยทีเดียวนะครับ เพราะใช้วิธีเดียวกัน

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

          ก็อย่างที่ว่าไปครับ สำหรับบัญชีแบบพิเศษเพิ่มหมูเพิ่มไก่เพิ่มเส้นอย่าง G suite นั้น สิ่งที่ได้เพิ่มมาจากปกตินอกจากการใช้มือถือโทรเข้ามาเป็นไมค์แล้ว ก็มีของเล่นอีกหลายอย่างเช่นการที่คุณสามารถเปิดให้เข้าประชุมผ่านการโทร และผ่านแอพอื่นได้ ในเงื่อนไขที่ว่า “ถ้าแอดมินระบบหรือที่หลาย ๆ องค์กรเรียกว่าฝ่ายไอทีตั้งค่าไว้ว่าทำได้ล่ะนะ”

มาดูกันที่ผู้ที่ใช้แอพในมือถือหรือแท็บเล็ตกันบ้างครับ

          ในแพลตฟอร์มมือถือกับแท็บเล็ตนี้ จะต้องโหลดแอพพลิเคชัน Google Meet ที่มีให้โหลดใน Appstore(สำหรับ ios) และ Google play (สำหรับ Android) ซึ่งในแอพพลิเคชันก็สามารถทำได้เหมือนในเว็บทุกประการ ถึงตรงนี้บางคนอาจเกิดคำถามว่า “แล้วทำไมถึงต้องโหลดแอพด้วยล่ะ ถ้าเว็บก็ใช้ได้เหมือนกัน” คำตอบคือเพราะมือถือและแท็บเล็ตใช้งานผ่านเว็บเลยไม่ได้นั่นเอง meet.google.com ในเวอร์ชันมือถือกับแท็บเล็ตจะมีแค่ลิงก์ให้กดโหลดแอพอย่างเดียว ที่เหลือจะอยู่ในแอพทั้งหมด

          ตอนที่เปิดแอพครั้งแรก สิ่งแรกที่จะปรากฏบนจอคือคำว่า ”ยินดีต้อนรับ” (ก็แหงสิครับจะให้ใช้คำอื่นเหรอ ฮ่าๆ) ที่อาจดึงความสนใจของคุณไปจากตัวหนังสือเล็ก ๆ ด้านล่างที่จะบอกคุณว่า “ต่อไปเรากำลังจะขออนุญาตเข้าถึงกล้องและไมโครโฟนของคุณนะ” ซึ่งถ้าไม่กดอนุญาตก็จะพูดหรือเปิดกล้องระหว่างการประชุมไม่ได้นั่นเอง (แน่นอนว่าสามารถเลือกอนุญาตแค่อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ครับ) แต่สำหรับใครที่พลาดกดไม่อนุญาตไปแล้วก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะทุกครั้งที่กดปุ่มเปิดกล้องหรือไมโครโฟน ตัวแอพก็จะถามอีกรอบให้เองครับ

      

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

          การเข้าประชุมด้วยแอพ นอกจากตำแหน่งปุ่มเริ่ม/ป้อนรหัสการประชุมแล้ว ก็ไม่มีความแตกต่างกับในเว็บเลย แต่ในแอพจะลดขั้นตอนลงหนึ่งขั้น หลังจากป้อนรหัสการประชุมหรือกดลิงก์เข้าร่วมการประชุมไปแล้ว ให้ตรวจเช็คกล้องกับไมโครโฟนก่อนกดยืนยันการเข้าร่วม เพื่อจะได้ไม่ต้องเขินเพราะเผลอเปิดกล้องทิ้งไว้ ซึ่งสามารถตรวจเช็คที่หน้าแรกได้เลยครับ

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

          สิ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้ก็คงจะเป็นความดีงามของพวกแอพประชุม อย่างการที่คุณสามารถตั้งค่าว่าจะเปิดหรือปิดไมค์ หรือกล้องได้ ก่อนจะเข้าร่วมประชุมที่สามารถทำได้ไม่ว่าจะใช้งานใน PC หรือเป็นแอพในโทรศัพท์ สำหรับฟังก์ชันนี้ในแอพวีดีโอคอลส่วนใหญ่จะไม่สามารถทำได้ครับ

Route 2 เล่นท่ายากด้วยการโทรเพื่อเข้าประชุม

          อันที่จริงการเล่นท่ายากยังมีส่วนของการใช้แอพหรือโปรแกรมอื่นมาเข้าประชุมด้วย แต่ด้วยความที่พวกเรายังไม่เคยลองใช้ ประกอบกับถ้าคุณมีอุปกรณ์ที่รับสัญญาณอินเตอร์เน็ตได้ เปิดเว็บหรือแอพก็ได้ มันคงจะง่ายกว่าถ้าจะเปิดเว็บของ Google Meet โดยตรง เพราะถึงเราจะใช้วิธีอื่นเข้าประชุมได้ แต่ก็ใช่ว่าจะใช้งานทุกฟังก์ชั่นได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นพวกเราจะนำเสนอเพียงวิธีการโทรเพื่อเข้าประชุม ซึ่งน่าจะเป็นวิธีที่เป็นประโยชน์ในยามที่ขาดแคลนอินเตอร์เน็ตได้ดีที่สุด ว่าแล้วก็เลื่อนลงมาดูเลยครับ

          สำหรับการโทรเพื่อเข้าประชุมจะใช้ได้แค่กับการประชุมที่มีเจ้าภาพเป็นบัญชี G suite และตั้งค่าเปิดให้มีการใช้งานแบบโทรได้เท่านั้น ในบัญชีปกติที่ได้ใช้ฟรีช่วงนี้ก็อดตามระเบียบครับ สำหรับฟังก์ชันนี้จะรองรับแค่บางประเทศเท่านั้น แน่นอนว่าในไทยก็รองรับครับ (ไม่อย่างนั้นคงไม่เอามานำเสนอหรอกฮ่าๆ)

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

          ถ้าหากว่าทางแอดมินตั้งค่าให้ใช้วิธีเข้าประชุมผ่านการโทรได้ จะมีข้อมูลสำหรับใช้โทรเข้ามาประชุมอยู่ตรงบรรทัด Dial-in ครับ จะมีเบอร์โทร และ PIN สำหรับเข้าห้องประชุมให้กรอกครับ

          สำหรับคนที่สงสัยว่าถ้าใช้วิธีโทรแบบนี้ จะต้องเสียค่าโทรศัพท์หรือไม่ ก็ขอบอกเลยครับว่าก็จ่ายตามแพ็กเกจโทรศัพท์ของคุณนั่นแหละ ไม่ได้เป็นเบอร์โทรฟรีแต่อย่างใด ขอตั้งข้อสังเกตว่าเบอร์ที่ต้องโทรไปเป็นเบอร์โทรศัพท์ในประเทศอเมริกา เบอร์โทรศัพท์ของคุณต้องสามารถโทรข้ามประเทศได้ และอาจจะเสียค่าโทรเพิ่มเติมในส่วนของการโทรข้ามประเทศซึ่งแพงกว่าค่าโทรปกติอีกด้วย (ถึงได้บอกว่ามีเน็ตมีสมาร์ทโฟนก็ใช้วิธีปกติเถอะครับ)

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

          การใช้งานก็แค่เปิดแอพโทรศัพท์ขึ้นมากดเบอร์โทรศัพท์หลังคำว่า Dial-in ครับ หากว่าเบอร์ของคุณโทรไปเมืองนอกได้จะมีเสียงระบบตอบกลับอัตโนมัติคล้ายกับตอนสั่งพิซซ่า (ไม่เหมือนขนาดนั้นหรอกครับ แค่เพิ่งสั่งไปเมื่อไม่กี่วันก่อน ฮ่าๆๆ) หลังจากฟังเสร็จให้ต่อเบอร์โทรศัพท์ภายในด้วย PIN ที่ระบบให้มาถัดจากเบอร์โทรศัพท์ (แบบที่ใช้โทรเวลาติดต่อราชการกับโรงเรียนน่ะครับ) เท่านี้คุณก็เข้าประชุมด้วยเสียงได้แล้วครับ

Step2 เมื่อเข้าประชุมแล้ว

          อันที่จริงแล้วเมื่อเข้าประชุมได้แล้วพวกฟังก์ชันพื้นฐานอย่างการเปิด/ปิดไมค์ หรือการเปิด/ปิดกล้อง ดูจะเป็นอะไรที่แทบไม่จำเป็นต้องสอนเลยครับ เพราะปุ่มของทั้งสองอย่างนี้ทั้งใน PC และในแอพทำมาได้ชัดเจนและเข้าใจง่ายอยู่แล้ว ส่วนถ้าคุณใช้วิธีพิศดารอย่างการโทรศัพท์เข้ามาร่วมประชุม  ที่ทำได้ก็มีแค่เปิดปิดเสียงด้วยการกดเลข *6 ซึ่งถ้าในมือถือบางรุ่นเราก็ปิดไมค์ในแอพมือถือได้เหมือนกัน โอเคครับเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาพูดถ้าการใช้ฟีเจอร์ต่าง ๆที่น่าจะใช้บ่อยระหว่างการประชุมดีกว่าครับ

  1. การแชร์หน้าจอนำเสนองาน

                ความดีงามของ google meet คือถ้าเราประชุมผ่านแอพหรือเว็บของ Google meet ไม่ว่าจะจากอุปกรณ์อะไร Browser เจ้าไหนก็สามารถแชร์หน้าจอได้ทั้งหมด ซึ่งถ้าเป็นในเว็บ ให้เริ่มจากการกดปุ่ม Present now ที่อยู่ทางด้านขวาของแถบควบคุมด้านล่าง

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

          เมื่อกดมาแล้วจะขึ้นมาให้เลือกระหว่างแชร์ทั้งหน้าจอ (Your entire screen) ทุกโปรแกรมซึ่งถ้าเราต่อจอ 2 จอก็สามารถเลือกได้ว่าจะแชร์จอไหน หรือจะเลือกเป็น (A window) แชร์เฉพาะหน้าจอโปรแกรมที่เราต้องการก็ย่อมได้

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

          ถ้ากด Your entire screen ถ้าเราต่อไว้หลายจอก็จะมีขึ้นมาให้เลือกหน้าจอที่เราอยากแชร์ครับ (แชร์ 2 จอพร้อมกันไม่ได้นะ ติดข้อจำกัดเรื่องขนาดหน้าจอครับ)

กดเลือกที่หน้าจอแล้วกด Share จอคอมของเราก็จะโชว์ให้ทุกคนในที่ประชุมเห็นแล้วครับ

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

          ถ้าเลือกเป็น A window จะขึ้นมาให้เลือกว่าจะแชร์หน้าจอโปรแกรมไหน กดเลือกโปรแกรมเสร็จก็ถือว่าโอเคครับ แต่เราต้องเปิดโปรแกรมนั้นไว้บนหน้าจอด้วยนะ ภาพที่เห็นก็จะเป็นเหมือนกับขนาดและภาพที่ขึ้นบนจอครับ ถ้าเราย่อหน้าต่างมันก็ย่อให้ตามด้วยเหมือนกัน ซึ่งตอนที่เราแชร์จอจะมีป็อปอัพมาสำหรับให้กด Stop sharing ได้ทันที ซึ่งถ้าเรารำคาญจะกดซ่อนก็ย่อมได้ เพราะเราสามารถหยุดแชร์จอผ่านหน้าเว็บประชุมของ Google meet ได้เช่นกัน

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

มาดูในส่วนของในแอพในมือถือหรือแท็บเล็ตกันบ้าง

                ในเวอร์ชันแอพปุ่มแชร์หน้าจอจะถูกรวมไว้กับฟังก์ชันอื่น ๆ อีกหลายอย่างในปุ่มเอนกประสงค์ที่พูดได้เต็มปากเลยว่าคิดอะไรไม่ออกบอกปุ่มนี้ นั่นคือปุ่มไข่ปลา 3 จุดตรงมุมขวาบนของหน้าจอนั่นเอง (หลังจากนี้เจ้าปุ่มไข่ปลาคาเวียร์นี่จะถูกพูดถึงบ่อยทีเดียวล่ะ) นอกจากจะมีหลายสิ่งหลายอย่างรวมกันอยู่แล้วยังมีปุ่ม “ความช่วยเหลือ” ที่เปรียบได้กับคู่มือบอกวิธีใช้ รวมอยู่ด้วย

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

          หลังจากกดเข้าไปในปุ่มไข่ปลาแล้วก็จะพบกับปุ่มที่เรียงกันลงมา โดยปุ่ม ”นำเสนอหน้าจอ” ที่เป็นเป้าหมายของเราเป็นปุ่มที่ 3 จากด้านบน เมื่อกดแล้วมือถือหรือแท็บเล็ตของคุณจะถามอีกครั้งว่าจะเริ่มถ่ายทอดสดเลยหรือไม่ เพื่อเช็คอีกทีว่าพร้อมแล้วใช่ไหม เพราะการนำเสนอโดยใช้แอพนั้นต้องนำเสนอทั้งหน้าจอไม่สามารถเลือกนำเสนอเฉพาะในแอพใดแอพหนึ่งได้ และปัญหาใหญ่ที่สุดของการนำเสนอทั้งจอคือการแจ้งเตือนต่าง ๆ ที่เด้งขึ้นมาระหว่างนำเสนอจะไม่ถูกตัดออก เพราะงั้นก่อนนำเสนองานสำคัญที่ซีเรียสจริงจังก็อย่าลืมปิดแจ้งเตือนแชทมุ้งมิ้งที่ไม่อยากให้ปรากฏในสถานการณ์นั้นก่อนนะครับ    (ด้วยความหวังดีจากคนที่เจอมากับตัว ฮ่า ๆ)

   

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

  1. แชทในการประชุม

                แม้จะเป็นฟังก์ชันที่สู้โปรแกรมแชทอื่น ๆ ไม่ได้ แต่เรียกได้ว่ามีไว้ก็ดีกว่าไม่มีนั่นแล ถ้าจะแชทก็แค่กดปุ่มบอลลูนที่ถ้าใครใช้ Pure Android จะคุ้นเคยว่ามันคล้ายกับไอคอนแอพ messages ของ google สุด ๆ ที่จะวางไว้อยู่บริเวณมุมขวาบนข้าง นาฬิกา แต่พึงระลึกไว้ว่าไม่สามารถส่งรูปในแชทได้ และเมื่อจบการประชุมประวัติการแชทจะถูกเคลียร์หายเรียบทั้งหมด

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

สำหรับในแอพก็จะมีปุ่มที่หน้าตาเหมือนกันเป๊ะ ๆ อยู่ในตำแหน่งที่แตกต่างกันเล็กน้อย คือเปลี่ยนมาอยู่แถวกลางจอระหว่างปุ่มรูปคนกับปุ่มรูปตัว i ล้อมกรอบแทน

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

  1. ตั้งค่า Layout หน้าจอระหว่างการประชุม

                สำหรับการการประชุมบางทีถ้าเราก็ไม่ถูกใจ Layout ที่ระบบออโต้ตั้งมาให้ เราก็ตั้งเปลี่ยนเองได้เหมือนกัน วิธีการเริ่มที่ปุ่มจุดไข่ปลาคาเวียร์ 3 จุด

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

          จากนั้นให้เลือก Change layout คลิกเข้าไปเลยอย่ารีรอ เท่านี้ก็จะมีป็อปอัพมาให้เราเลือกว่าจะใช้ Layout แบบไหน 3 แบบ ชอบอันไหนเชิญเลือกตามสะดวกเลย

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

          ในเวอร์ชันแอพจะไม่มีปุ่มเปลี่ยน layout ให้ใช้ (ก็แหงสิจอเล็กแบบนี้ปรับไปก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไรนี่) แต่สิ่งที่มาแทนตำแหน่งในปุ่มไข่ปลาคือปุ่ม “เปลี่ยนกล้อง” ซึ่งไม่ได้มีไว้ถอดกล้องเก่าออกจากมือถือแต่อย่างใด (ฮ่า ๆ) แต่มีไว้สลับกล้องหน้าเป็นกล้องหลังต่างหาก ก็มือถือมันมีกล้อง 2 นี่นะ (จริง ๆ ถ้าคอมต่อสองกล้องสลับได้ในหน้าตั้งค่านะ แต่ใครจะต่อสองกล้องเวลาประชุม ถ้าไม่ใช่พวกเรา ฮ่า ๆ)

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

  1. บันทึกอัดการประชุม

             ฟังก์ชันนี้มีเฉพาะบัญชี G suite และใช้ได้เฉพาะใน PC เท่านั้น (ก็ตามกลไกทางทุนนิยมแหละนะ จ่ายเงินให้เขาก็ควรได้อะไรมากกว่า) สำหรับบัญชีทั่วไปที่ใช้ได้ฟรีในช่วงนี้จะทำไม่ได้ เทียบความต่างของเมนูได้จากภาพด้านล่างได้เลยครับ

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

เมนูของแบบบัญชีทั่วไปที่ได้ใช้ฟรีช่วงนี้จะหายไปจำนวนหนึ่ง ตามที่เห็นเลยครับ

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

          ทำได้โดยการกดที่จุดไข่ปลา 3 จุด แล้วเลือก record meeting เมื่อคลิกไป จะขึ้นมาว่าเราจะอนุญาตให้มีการบันทึกไหม ซึ่งถ้าเราอนุญาต เหมือนกับจะขึ้นมาเตือนว่าคุณควรถามผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนนะ ซึ่งถ้าอยากอัดก็กด Accept โลด

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

          เมื่อสั่งให้บันทึกให้รอสักพักจะมี rec สีแดงขึ้นที่มุมซ้ายของจอ เป็นสัญญาณว่ากำลังอัดแล้วนะ

ซึ่งถ้าจะหยุดบันทึกก็ไปกดปุ่มรูปไข่ปลาแบบตอนที่จะอัดบันทึกการประชุม แล้วเลือก Stop recording จุดกลมสีแดง ๆ

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

          พอกดไปแล้วระบบจะขึ้นมาถามอีกทีว่าจะเลิกอัดแล้วใช่ไหม ก็กดยืนยันไป ซึ่งเมื่อเราเลิกบันทึก ไฟล์วีดีโอที่เราบันทึกจะไปเก็บไว้ที่ Google Drive ของเราโดยทันที ซึ่งจะมีเมลส่งมาบอกเราด้วยว่าเราบันทึกไว้การประชุมแล้วนะ ไฟล์อยู่ใน Google Drive พร้อมแนบลิงก์มาให้เรากดเข้าไปดูวีดิโอที่เราอัดไว้ ซึ่งสะดวกถูกใจสายที่ไม่ค่อยได้จัดระเบียบไฟล์ใน Google Drive ของตัวเองอย่างผมมาก ๆ

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

          จริงอยู่ที่ฟังก์ชันบันทึกการประชุมมีประโยชน์มากจริง ๆ แต่ Google meet ในเวอร์ชันแอพมือถือและแท็บเล็ตกลับไม่สามารถใช้มันได้ เป็นที่น่าเสียดายจริง ๆ แต่ไม่ต้องหมดหวังไปครับ หากต้องการบันทึกการประชุม แต่ว่าคุณดันใช้ IPhone IPad หรือ Android ก็ยังมีหนทางให้เรามุดไปได้เล่นอะไรได้นิดหน่อยอย่างการอัดวีดีโอทั้งหน้าจอตอนประชุมครับ สำหรับสาย Apple จะง่ายหน่อยตรงที่ Apple ฝังแอพไว้อัดทั้งหน้าจอมาให้อยู่แล้ว แค่ลากส่วนคอนโทรลขึ้นมา กดปุ่มอัดกลม ๆ (บางคนที่ไม่มี ก็ให้ไปตั้งค่าก่อนครับ) แค่นี้คุณก็อัดการประชุดทั้งหมดไว้ได้แล้วครับ ส่วนถ้าคุณใช้ Android ก็สุดแล้วแต่ว่าคุณจะโหลดแอพสำหรับอัดจอของเจ้าไหนมาใช้อัดตามที่สะดวกเลยครับ ซึ่งในที่นี้ขอทำให้แค่เฉพาะสาย Apple ดูแล้วกันนะครับ (Android แอพเสริมสำหรับอัดจอมันเยอะทำไม่ไหวน่ะ อิอิ)

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

แค่คุณเลื่อนฟึบหนึ่งที แล้วเห็นกดปุ่มอัดกลม ๆ ใช่ไหมครับ

ทํายังไงให้เห็นทุกคนในMeet

ใช่ครับอัดมันตรง ๆนี่แหละ

                สำหรับบทความสอนการใช้งาน Google Meet สำหรับการเรียนการสอนเป็นหลักก็คงจะจบลงแต่เพียงเท่านี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับทุกคนที่เพิ่งเริ่มต้องมาใช่ ไม่มากก็น้อยนะครับ ส่วนตอนต่อไปของซีรีส์  “Trick ที่ต้องมีในการเรียนออนไลน์ฉบับรวบรัด” เราจะมาพูดถึงอีกแพลตฟอร์มหนึ่งที่อาจจะไม่ได้นิยมเท่ากับ Google Meet แต่ก็มีการใช้งานเช่นกัน (โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งที่น้องสาวผมเรียนใช้แล้วหนึ่งที่แหละ) นั่นก็คือแพลตฟอร์มที่มีชื่อว่า Zoom นั่นเอง ไว้พบกันใหม่บทความหน้า ขอให้สนุกกับการเรียนออนไลน์นะครับ สวัสดีครับ