วิธี พา คน ไปบำบัดยาเสพติด

รูปแบบการบำบัด

การบำบัดรักษาเป็น 4 ขั้นตอน

1. การเตรียมการ

วิธี พา คน ไปบำบัดยาเสพติด
วิธี พา คน ไปบำบัดยาเสพติด

เพื่อเตรียมความพร้อม และ ทำความเข้าใจกับญาติ และ ผู้ป่วยถึงรูปแบบการรักษา การปฏิบัติตนของผู้ป่วย และบทบาทของญาติ ที่จะเข้ามา มีส่วนร่วมในการรักษา

  1. ซักประวัติ
  2. พูดคุยให้คำปรึกษา
  3. ให้ข้อมูลการรักษารูปแบบต่าง ๆ
  4. ประเมินและคัดกรองผู้ช่วย

2. ถอนพิษยา

วิธี พา คน ไปบำบัดยาเสพติด
วิธี พา คน ไปบำบัดยาเสพติด

ดูแลบำบัดรักษาผู้ป่วย เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจที่เกิดขึ้นเมื่อขาดยา

  • ให้ยาตามแต่ชนิดของยาเสพติด และตามอาการที่เกิดขึ้น
  • บริการให้คำปรึกษา สุขศึกษา
  • ประเมินผู้ป่วย เข้าสู่ขั้นฟื้นฟูสมรรถภาพ ตามความสมัครใจ

3. ฟื้นฟูสมรรถภาพ

วิธี พา คน ไปบำบัดยาเสพติด
วิธี พา คน ไปบำบัดยาเสพติด

เป็นการฟื้นฟูสมรรถภาพ ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ โดยใช้กระบวนการกลุ่มชุมชนบำบัด เพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิด และพฤติกรรม ให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิต ในสังคมอย่างมีคุณค่า ระยะเวลา ประมาณ 4 เดือน

4. ติดตามผล

วิธี พา คน ไปบำบัดยาเสพติด

เป็นการติดตามดูแลตนเองและการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย เพื่อร่วมเป็นกำลังใจและเป็นที่ปรึกษา หากผู้ป่วยมีปัญหาของตนเองขณะอยู่ในสังคมใช้ระยะเวลา 1 ปี โดยติดตาม 7 ครั้ง นับจากวันจำหน่าย

ผู้ป่วยนอก

วิธี พา คน ไปบำบัดยาเสพติด
วิธี พา คน ไปบำบัดยาเสพติด

  • จิตสังคมบำบัด (Matrix Program)
  • Methadone Clinic
  • Clinic ยาเสพติดทั่วไป
  • Clinic โรคทั่วไป

ผู้ป่วยใน

Fast Model การบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยในแบบเข้มข้นทางสายใหม่

  • F : Family การที่ครอบครัวมีส่วนร่วมในการบำบัดรักษา
  • A : Alternative Treatment Activity การใช้กิจกรรมทางเลือกให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นและ ความต้องการของผู้ป่วย
  • S : Self – Help กระบวนการให้ผู้ป่วยมีการเรียนรู้
  • T : Therapeutic Community แนวทางในการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าทางสังคม โดยใช้กระบวนการกลุ่มชุมชนบำบัด

วิธี พา คน ไปบำบัดยาเสพติด

การปฏิบัติตนสำหรับผู้ที่เข้ารับการบำบัดยาเสพติดแล้ว ให้สามารถลุกขึ้นมาเดินหน้าใหม่


เพราะทุกความผิดพลาดล้วนควรได้รับโอกาสในการแก้ไขและเริ่มต้นใหม่อีกครั้งเสมอ สำหรับผู้ที่ติดยาเสพติดก็เช่นกัน ไม่มีคำว่าสายไป หากมีความคิดว่าอยากได้รับความช่วยเหลือและโอกาสในการรักษาบำบัดยาเสพติดอย่างถูกต้อง ผู้ป่วยเหล่านี้ก็สามารถที่จะเลิกเสพและกลับมาตั้งต้นชีวิตใหม่ได้ แต่แม้ว่าผู้ที่ได้รับการบำบัดยาเสพติดและออกจากสถานบำบัดยาเสพติดแล้ว ก็มีความเสี่ยงที่จะกลับไปสู่วงจรของยาเสพติดซ้ำได้ หากเจอสิ่งกระตุ้นในสภาพแวดล้อมหรือปัญหาเดิม ๆ ดังที่เคยเผชิญมาก่อนหน้า ที่เป็นต้นเหตุของหนทางนำกลับไปสู่การเสพยาเสพติดได้อีกครั้ง โดยการที่ผู้ป่วยไม่มีสิ่งที่จะยึดเหนี่ยวจิตใจ หรือไม่มีกิจกรรมอื่น ๆ ที่จูงใจให้ก้าวเดินออกมาจากจุดนั้น การบำบัดยาเสพติดก็อาจไม่ได้ผลต่อเนื่องในระยะยาว

ดังนั้น ศูนย์บำบัดยาเสพติด DAY ONE จึงมีแนวคิดในการปฏิบัติตนสำหรับผู้ที่เข้ารับการบำบัดยาเสพติด

ให้สามารถลุกขึ้นมาเดินหน้าใหม่ ด้วยการทำกิจกรรมเสริมเกราะป้องกันให้ทั้งทางร่างกายและจิตใจมีความเข้มแข็ง ไม่ย้อนกลับเข้าสู่วงจรยาเสพติดอีกครั้ง ดังต่อไปนี้


1. เปิดใจว่าทุกคนมีโอกาสที่จะเริ่มต้นใหม่อีกครั้งเสมอ
ผู้ป่วยที่มีปัญหาการติดยาเสพติดนั้น เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาฐานะความเป็นอยู่ สภาพสังคมแวดล้อม หรือจากสิ่งที่มีผลกระทบต่อจิตใจโดยตรงก็ตาม แต่ไม่ว่าจะมีปัญหาการติดยาเสพติดด้วยสาเหตุใดก็ตาม หากผู้ป่วยมีความคิดและความต้องการที่จะเข้ารับการบำบัดยาเสพติดให้หายขาด พวกเขาเหล่านี้ก็ควรได้รับโอกาสในการรักษาทั้งทางร่างกายและจิตใจ

โดยนอกจากผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดยาเสพติดนั้น จะมีความเข้มแข็งในการที่จะเลิกข้องเกี่ยวกับยาเสพติดในทุกด้านแล้ว ผู้ป่วยเองควรได้รับคำแนะนำในการเริ่มต้นใหม่ด้วยการพึ่งพาตนเองให้ได้เป็นหลัก ซึ่งโดยปกตินักจิตบำบัดในสถานบำบัดยาเสพติดจะให้คำปรึกษาและแนวคิดแก่ผู้ที่ได้รับการบำบัดยาเสพติด ให้มีทัศนคติในการรักตัวเอง มองเห็นคุณค่าของตัวเอง การเลือกสิ่งที่ดีให้กับตนเอง และแนวทางในการปฏิบัติตนที่จะสร้างความภาคภูมิใจให้ตัวเองสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้ตามปกติ

2. ครอบครัวคือกำลังใจสำคัญ ช่วยสร้างชีวิตมั่นคง
เพราะครอบครัวคือรากฐานสำคัญของสังคมที่แข็งแรง แต่สำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดยาเสพติดนั้น บางคนอาจมาจากครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์นัก เนื่องมาจากการมีปัญหาด้านปากท้อง มีปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว หรือไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่เพียงพอ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นต้นเหตุของความตึงเครียดและนำไปสู่การใช้ยาเสพติดของผู้ป่วยได้ทั้งสิ้น

และถึงแม้ว่าผู้ป่วยที่ตัดสินใจเข้ารับการบำบัดยาเสพติดเป็นรายบุคคล แต่เพื่อให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพและได้ผลอย่างยั่งยืนในระยะยาว ก็จำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือจากสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวด้วย ทั้งการปรับทัศนคติในการใช้ชีวิตร่วมกันในครอบครัวระหว่างผู้ป่วยและญาติพี่น้องที่อยู่ร่วมบ้านด้วย ให้มีความเข้าใจและเป็นกำลังใจซึ่งกันและกัน แม้อาจจะไม่ได้ทำให้ปัญหาของครอบครัวหายไปอย่างสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่อย่างน้อยก็จะช่วยแก้ไขปัญหาที่เป็นต้นตอของการติดยาเสพติด และเป็นเกราะป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกลับไปข้องเกี่ยวกับยาเสพติดหลังออกจากสถานบำบัดยาเสพติดแล้ว ให้กลับมายืนหยัดใช้ชีวิตของตนเองอย่างถูกต้องได้อีกครั้ง โดยมีครอบครัวเป็นกำลังสำค้ญในการให้การสนับสนุนอยู่เบื้องหลังนั่นเอง

3. ทำกิจกรรมใหม่ ๆ ช่วยให้การบำบัดมีประสิทธิภาพ
ในระหว่างและหลังการรักษา อาจเป็นเรื่องง่ายที่จิตใจของผู้ป่วยนั้นจะอยากกลับไปพึ่งพายาเสพติดได้ทุกเมื่อ หากมีปัญหาเดิม ๆ เข้ามากระทบจิตใจ หรือมีความเครียดและทัศนคติเชิงลบเกิดขึ้น โดยเฉพาะในเวลาที่ว่างมากจนน่าเบื่อหน่าย จึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องจำเป็นที่ผู้ป่วยที่กำลังได้รับการบำบัดยาเสพติด หรือผ่านการบำบัดแล้ว ควรมีการทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อทั้งร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ของผู้ป่วยในด้านที่ดี ทั้งทางด้านการเรียนรู้วิชาต่าง ๆ เพิ่มเติม การเล่นกีฬา การใช้ดนตรีบำบัด หรือทำกิจกรรมสันทนาการที่ผู้ป่วยมีความสนใจและชื่นชอบ ซึ่งนอกจากจะได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แล้ว ยังเป็นการช่วยให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย สบายใจ รวมถึงอาจเป็นการฝึกเข้าสังคมเมื่อต้องทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นไปในตัวด้วย หรือบางกิจกรรมอาจกลายไปเป็นทักษะอาชีพ ที่ผู้ป่วยสามารถนำไปใช้ในการประกอบเป็นอาชีพหลังจากผ่านการรักษาจากสถานบำบัดยาเสพติดเสร็จเรียบร้อยแล้วด้วยก็เป็นได้

4. หมั่นฝึกจิตบำบัด ขจัดปัญหา ไม่กลับพึ่งพายาเสพติด
สาเหตุส่วนใหญ่ที่ผู้ป่วยหันไปพึ่งพาการใช้ยาเสพติด ส่วนหนึ่งมักมาจากการมีปัญหาทางด้านจิตใจเป็นหลัก ซึ่งนอกจากการบำบัดยาเสพติดทางร่างกายแล้ว ส่วนใหญ่ในสถานบำบัดยาเสพติดจะมีการนำวิธีการบำบัดทางจิตวิทยาและการทำสมาธิเข้ามาเป็นขั้นตอนในการรักษาควบคู่กับด้านอื่น ๆ ด้วย เพื่อทำให้จิตใจของผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดยาเสพติดนั้นมีความแข็งแกร่งไปพร้อม ๆ กับการมีร่างกายที่แข็งแรง นอกจากนี้ หากผู้ป่วยมีความสนใจในหลักธรรมคำสอนของศาสนาต่าง ๆ ก็สามารถนำคำสอนจากศาสนาเข้ามาเสริม เพื่อเป็นอีกหนึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ช่วยให้ผู้บำบัดยาเสพติดสามารถรับรู้ถึงสิ่งที่ผิดและถูก และมีความยับยั้งชั่งใจในเวลาที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดได้ หรือหาวิธีแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่างเหมาะสม โดยไม่ต้องใช้ยาเสพติดเป็นที่พึ่งอีกต่อไป

5. หากมีการกลับไปเสพยา ให้เข้าใจว่าเป็นแค่เรื่องผิดพลาดแต่ไม่ใช่การล้มเหลว
ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้ที่ได้รับการบำบัดยาเสพติดแล้วทุกคน ที่จะไม่ให้หวนคืนไปยังวงโคจรที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดอีกครั้ง หลังจากที่ได้รับการบำบัดแล้ว เพราะการกลับไปเผชิญกับบรรยากาศและสังคมเดิม ๆ ที่อาจเป็นต้นเหตุทำให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ยาเสพติดซ้ำได้ทุกเมื่อ ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ จะยังไม่ถือว่าเป็นการติดยาเสพติด และไม่ใช่ความล้มเหลวในการบำบัดรักษา แต่เป็นเพียงแค่ความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้ รวมถึงยังมีโอกาสที่จะให้ผู้ป่วยเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง ซึ่งครอบครัวหรือผู้ที่ดูแลใกล้ชิดจำเป็นต้องให้กำลังใจผู้ป่วย ในการเริ่มต้นก้าวเดินออกมาจากจุดนั้นอีกครั้ง โดยอาจแจ้งและรับคำปรึกษาจากสถานบำบัดยาเสพติดเพื่อร่วมกันหาทางรักษาฟื้นฟูทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยให้ดีขึ้นและหายขาดให้ได้

6. สังคมและชุมชมก็มีส่วนช่วยเติมเต็มคุณค่าในชีวิตผู้ป่วย
ผู้ที่ได้รับการบำบัดยาเสพติด ควรได้รับกำลังใจและโอกาสจากคนรอบข้างทั้งคนในครอบครัว คนในชุมชน และสังคม โดยการช่วยกันหาทางแก้ไขปัญหาที่เป็นต้นเหตุของการติดยาเสพติดของผู้ป่วย ซึ่งอาจมีหลายคนในชุมชนเดียวกัน รวมถึงต้องสนับสนุนพร้อมให้กำลังใจในการดำเนินชีวิตต่อไป เพื่อเพิ่มความมั่นใจและความแข็งแกร่งในการเดินหน้าสู่ชีวิต ที่ไม่ต้องพึ่งพายาเสพติดได้อย่างมั่นคงและไม่ย้อนกลับไปข้องเกี่ยวอีก

ไม่มีคำว่าสายสำหรับการเริ่มต้นใหม่ หากตัวคุณ คนในครอบครัว หรือคนที่คุณห่วงใยกำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับสารเสพติด แอลกอฮอล์ หรือแม้แต่การพนัน และต้องการเข้ารับการบำบัดยาเสพติดและฟื้นฟูสุขภาพกายและใจ ให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างสดใสและมีความหมายอีกครั้ง

ให้ ศูนย์บำบัดยาเสพติด DAY ONE เป็นผู้ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือในการบำบัดยาเสพติดและด้านอื่น ๆ ด้วยโปรแกรมและกิจกรรมสำหรับการบำบัดที่เหมาะสมแบบรายบุคคล เพื่อให้เกิดผลและป้องกันการกลับไปสู่การเสพซ้ำในระยะยาว รวมถึงเพิ่มความมั่นใจได้ เพราะได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข พร้อมให้การช่วยเหลือโดยทีมแพทย์ พยาบาล และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการบำบัดฟื้นฟูโดยเฉพาะ ในบรรยากาศที่สวย สงบ สะอาดของธรรมชาติ

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
99/1 หมู่ 6 ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก 26000
064-645-5091
[email protected]
จันทร์ – อาทิตย์: 9.00 -17.00